Home > COVID-19 (Page 7)

เศรษฐกิจจีนโตต่อเนื่อง พินิจแผนฟื้นฟูจีน-ไทยปรับประยุกต์ใช้

โลกเผชิญกับเชื้อไวรัสโควิด-19 มาครบ 1 ปี การอุบัติของโรคระบาดส่งผลกระทบในหลายมิติ ทั่วโลกต้องประสบกับภาวะการหดตัวอย่างรุนแรงในด้านเศรษฐกิจ ไม่เว้นแม้แต่จีน ประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐฯ ทว่า ด้วยศักยภาพที่มีอิทธิพลมาจากรูปแบบการปกครอง เป็นผลสืบเนื่องให้รัฐบาลจีนสามารถสั่งการได้อย่างปัจจุบันทันด่วน แต่ประการสำคัญคือ การให้ความร่วมมือจากภาคประชาชน ในการต่อสู้กับโรคร้ายครั้งนี้ แม้ว่าโลกจะยังไม่สามารถประกาศชัยชนะที่มีต่อโรคโควิด-19 ได้ ทว่า การฟื้นตัวภายในระยะเวลาอันสั้นของจีน ดูจะเป็นการประกาศชัยชนะต่อการหดตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างมีนัยสำคัญ ตัวเลขที่น่าสนใจของเศรษฐกิจจีนเริ่มปรากฏให้เห็นในช่วงไตรมาส 3/2563 ที่จีดีพีขยายตัวร้อยละ 4.9 ต่อเนื่องจากไตรมาส 2/2563 ที่ขยายตัวได้ร้อยละ 3.2 เป็นผลสืบเนื่องจากการทยอยฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน นี่นับเป็นปัจจัยที่เกื้อหนุนให้เศรษฐกิจจีนเติบโตได้เป็นอย่างดี กระทั่งตัวเลขเศรษฐกิจจีนไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 เปิดเผย เศรษฐกิจจีนไตรมาส 4/2563 ขยายตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้จีดีพีทั้งปี 2563 เติบโตเกินคาดที่ร้อยละ 2.3 เป็นผลจากความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ และการใช้มาตรการกระตุ้นทางการเงินและการคลังอย่างทันท่วงทีและเห็นผล เห็นได้จากอัตราการขยายตัวของตัวเลขค้าปลีกที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในกรอบร้อยละ 4.3-5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนในไตรมาสสุดท้าย และสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตครอบคลุมในหลายหมวดหมู่อุตสาหกรรมมากขึ้น โดยเริ่มเห็นการฟื้นฟูได้ดีของภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่กลับมาได้ดีกว่าวิสาหกิจขนาดใหญ่ ชี้ให้เห็นจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ ที่ขยายตัวได้ดีกว่าในช่วงไตรมาส 4/2563 ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ทั่วโลกที่เริ่มคลี่คลายในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน 2563 (ก่อนเริ่มกลับมาล็อกดาวน์อีกครั้งในเดือนธันวาคม

Read More

โควิดระลอกใหม่กระทบหนี้ครัวเรือน ซ้ำเติมความเปราะบางทางเศรษฐกิจ

กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยเริ่มฟื้นตัวนับตั้งแต่สถานการณ์ของผู้ติดเชื้อภายในประเทศเป็นศูนย์ และพบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อในปัจจุบัน เป็นกลุ่มผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศเท่านั้น ความฝัน ความหวังของผู้คนในหลายแวดวงเริ่มปรากฏแจ่มชัดขึ้น เมื่อเริ่มมองเห็นสัญญาณอันดี จากสถานการณ์การติดเชื้อที่ลดลงภายในประเทศ ภาครัฐจึงเร่งประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ลงลึกในระดับฐานรากมากขึ้น โดยมุ่งหวังให้คนในประเทศช่วยกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่หยุดชะงักไป ให้กลับมาเดินหน้าได้อีกครั้ง ซึ่งต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมหาศาลเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ แม้เครื่องจักรทางเศรษฐกิจกำลังเดินเครื่องไปข้างหน้าอย่างช้าแต่ก็เป็นสัญญาณที่ดี ทว่า ทุกสิ่งกลับพังครืนลงมาก่อนศักราชใหม่จะเริ่มขึ้น จุดเริ่มต้นการระบาดระลอกใหม่มาจากกลุ่มคนที่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน ทั้งการลักลอบนำแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามายังประเทศไทย โดยไม่ผ่านระบบตรวจคัดกรองโรค รวมไปถึงกลุ่มคนไทยที่เดินทางออกนอกประเทศเพื่อทำกิจกรรมในบ่อนพนันในต่างประเทศ และหลบหนีกลับเข้ามาหลังพบการติดเชื้อเพิ่มขึ้นในบ่อน ขณะที่คนในประเทศตั้งการ์ดสูง ด้วยความพยายามอย่างสุดกำลังที่จะดึงกราฟผู้ติดเชื้อในประเทศให้เป็นศูนย์ และรอคอยวัคซีนที่เป็นตัวแปรสำคัญในการหยุดวงจรการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสครั้งนี้ เมื่อการระบาดระลอกใหม่เกิดขึ้นและขยายวงกว้างมากกว่าเดิม ส่งผลให้ภาครัฐต้องออกคำสั่งหยุดดำเนินกิจการ กิจกรรมบางจำพวก เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัส แม้จะส่งผลดีต่อการควบคุมด้านสาธารณสุข แต่กลับส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจในภาพรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับฐานราก รายได้ที่หดตัวอยู่ในช่วงพีคของการระบาดระลอกแรก กำลังกลับสู่สภาพเกือบปกติจากการดำเนินกิจการได้หลังการผ่อนคลายมาตรการในปีที่ผ่านมา แต่การระบาดระลอกใหม่ส่งผลเสียต่อสถานการณ์ทางการเงินหนักกว่าเดิม เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะชะลอตัวมาอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่งผลให้กำลังซื้อของประชาชนลดลงจำนวนมาก จีดีพีของประเทศลดลงอย่างต่อเนื่องหลายไตรมาสติดต่อกัน และตัวที่ชี้วัดสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงทางเศรษฐกิจของไทยคือ สัดส่วนหนี้ครัวเรือนของไทยที่ค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้น กระทั่งไตรมาส 3/2563 ที่ทำสถิติสูงสุดในรอบ 18 ปีที่ 86.6 เปอร์เซ็นต์ต่อจีดีพี จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย แน่นอนว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ระลอกแรก และความเปราะบางทางเศรษฐกิจที่มีอยู่เป็นทุนเดิม ต้องยอมรับว่าความแข็งแรงด้านสภาพการเงินของครัวเรือนไทยดำเนินไปภายใต้กรอบโครงของการขอใช้สินเชื่อทั้งจากในระบบและนอกระบบ ในขณะที่ความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชนบางส่วนค่อยๆ ลดลงไปตามลำดับ ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ณ ปัจจุบัน ตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นส่งผลโดยตรงกับสภาพคล่องด้านการเงินของประชากรไทย สถานการณ์ในปัจจุบันกลายเป็นตัวซ้ำเติมปัญหาที่เปราะบางเป็นทุนเดิมให้สาหัสมากขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า มีความเป็นไปได้ที่หนี้ครัวเรือนของไทยอาจเพิ่มขึ้นมาที่

Read More

ออโต้บอท ผ่า 3 พฤติกรรมนักช้อปในยุค Next Normal เน้นอยู่บ้าน-ทันใจ-ไร้การสัมผัส

ออโต้บอท ผ่า 3 พฤติกรรมนักช้อปในยุค Next Normal เน้นอยู่บ้าน-ทันใจ-ไร้การสัมผัส พร้อมยกทัพโปรโมชั่นรับต้นปี 64 ในแคมเปญ Shopee 2.2 Free Shipping Sale ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบันที่การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจทั่วโลกต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุค Next Normal หรือ ความปกติถัดไป ‘ออโต้บอท’ แบรนด์หุ่นยนต์เครื่องดูดฝุ่นอัจริยะยอดนิยม จึงได้ทำการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคโดยพบ 3 เทรนด์ที่สำคัญ ได้แก่ 1. ให้ความสำคัญกับชีวิตภายในบ้านมากยิ่งขึ้น 2. เทคโนโลยีต้องตอบโจทย์ความสะดวกสบายและช่วยลดภาระ และ 3. ประสบการณ์การใช้งานแบบไร้การสัมผัส ทำให้ออโต้บอท เข้าใจผู้บริโภคได้เป็นอย่างดีพร้อมปรับกลยุทธ์การตลาดตอบโจทย์พฤติกรรมใหม่รับปี 2564 ด้วยการจับมือกับพันธมิตรยักษ์ใหญ่แห่งโลกอีคอมเมิร์ซอย่าง ช้อปปี้ ผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวันอย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นที่แคมเปญ Shopee 2.2 Free Shipping Sale นายธรรมสร มีรัตน์ ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท โรบอท

Read More

เจ็ทส์ ฟิตเนส พร้อมเปิดให้บริการ ฉลองให้ทุกคนกลับมาฟิต ด้วยดีลสุดพิเศษ

เจ็ทส์ ฟิตเนส พร้อมเปิดให้บริการแล้ววันนี้ ฉลองให้ทุกคนกลับมาฟิต ด้วยดีลสุดพิเศษ มอบส่วนลดสมาชิก 50% ประกันโควิด-19 พร้อมรางวัลรวมกว่า 1 ล้านบาท เจ็ทส์ ฟิตเนส ผู้นำธุรกิจฟิตเนสที่เติบโตเร็วที่สุดในประเทศไทย พร้อมเปิดให้บริการทุกสาขาทั่วกรุงเทพฯ ตั้งแต่วันนี้ ระหว่างเวลา 8.00 - 22.00 น. โดยคลับในกรุงเทพฯ จะเปิดบริการตามปกติ 24 ชั่วโมง พร้อมบริการเทรนเนอร์ส่วนตัว ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม เวลา 6.00 น. เป็นต้นไป ส่วนคลาสออกกำลังกายแบบกลุ่มยังคงงดให้บริการ จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง เจ็ทส์ ฟิตเนส ยังคงรักษามาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 และข้อปฏิบัติตามที่ราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อสร้างความมั่นใจสูงสุดให้แก่สมาชิกที่มาใช้บริการ เจ็ทส์ ฟิตเนส ฉลองต้อนรับสมาชิกให้กลับมาฟิตแอนด์เฟิร์มอีกครั้ง พร้อมตอกย้ำตำแหน่งผู้นำธุรกิจฟิตเนสในไทยด้วย 35 สาขาทั่วประเทศ ด้วยแคมเปญโปรโมชั่นสุดพิเศษ “เฟิร์มคนละครึ่ง” ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงฟิตเนสและสุขภาพที่ดีได้อย่างไร้กังวล โดยจะได้รับส่วนลด 50 เปอร์เซ็นต์

Read More

COVID ระลอกใหม่พ่นพิษ ฉุดความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมไทย

ผลจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 นอกจากจะส่งผลกระเทือนต่อชีวิตความเป็นอยู่และการดำเนินไปของสังคมไทยอย่างกว้างขวางหนักหน่วงแล้ว ล่าสุดพิษของการระบาดครั้งใหม่นี้ได้ฉุดให้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2563 ทรุดต่ำลงอีกครั้ง ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงในทุกองค์ประกอบ ซึ่งนับเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 8 เดือนนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคตั้งแต่เมื่อต้นปี 2563 ที่ผ่านมา ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2563 ปรับตัวมาอยู่ที่ระดับ 85.8 ลดลงจากระดับ 87.4 ในเดือนพฤศจิกายน โดยค่าดัชนีความเชื่อมั่นที่ปรับลดลงนี้ เป็นการปรับลดลงในทุกองค์ประกอบ ทั้งคำสั่งซื้อโดยรวม, ยอดขายโดยรวม, ปริมาณการผลิต, ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ โดยมีปัจจัยลบจากการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ที่มีความรุนแรงกว่ารอบแรก และขยายวงกว้างไปในหลายจังหวัดอีกด้วย การแพร่ระบาดระลอกใหม่ได้ส่งผลให้ภาครัฐออกคำสั่งปิดสถานที่บางแห่ง และกำหนดพื้นที่ควบคุมสูงสุดในจังหวัดที่มีการระบาดสูง รวมทั้งงดจัดกิจกรรมปีใหม่และขอความร่วมมือประชาชนชะลอการเดินทางข้ามจังหวัด อีกทั้งขอให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนและข้าราชการทำงานที่บ้าน (Work From Home) เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ปัจจัยดังกล่าว ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศชะลอลง ทั้งการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนและการเดินทางท่องเที่ยวลดลง ส่งผลกระทบต่อยอดขายสินค้าของผู้ประกอบการลดลงโดยเฉพาะ SMEs อย่างไม่อาจเลี่ยง นอกจากนี้ การขนส่งสินค้าข้ามจังหวัดยังมีความล่าช้าเนื่องจากมาตรการที่เข้มงวดของภาครัฐไปโดยปริยาย ก่อนหน้านี้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2563 ว่าอยู่ที่ระดับ 87.4 ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 86.0 ในเดือนตุลาคม

Read More

COVID-19 ถล่มค้าปลีกไทย วอนร้องรัฐเร่งช่วยเหลือด่วน

พิษจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบกระเทือนไปทุกแวดวงธุรกิจอุตสาหกรรม โดยล่าสุดสมาคมค้าปลีกไทยเป็นอีกองค์กรหนึ่งที่ได้ออกมาเปิดเผยถึงตัวเลขผลกระทบที่ผู้ประกอบการค้าปลีกได้รับจากผลของการแพร่ระบาดและมาตรการป้องกันควบคุมโรคของรัฐในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมา การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกไทยสูญเสียรายได้ไปมากกว่า 5 แสนล้านบาท จากผลของกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคมที่ชะงักตัวลง ความสำคัญและเป็นไปของธุรกิจค้าปลีกไทย ซึ่งถือเป็นกลไกและฐานรากสำคัญของระบบเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นกลไกที่ครอบคลุมและเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการผลิตการค้าทั้งระบบตั้งแต่ผู้ประกอบการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ และมีผู้ประกอบการในห่วงโซ่ค้าปลีกรวมในระบบมากกว่า 1.3 ล้านราย และมีการสร้างงานโดยตรงมากกว่า 6.2 ล้านราย และเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ธุรกิจค้าปลีกได้รับผลกระทบ และทำให้ดัชนีค้าปลีกของสมาคมค้าปลีกไทยปี 2563 ปรับตัวลดลงจากร้อยละ 2.8 ในปี 2562 มาอยู่ที่ระดับติดลบที่ร้อยละ -12 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ดัชนีติดลบด้วยตัวเลข 2 หลัก ความชะลอตัวลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากผลของมาตรการควบคุมโรคของรัฐยังส่งผลต่อเนื่องมาสู่การคาดการณ์ตัวเลขในไตรมาสที่ 1/2564 หลังจากที่เกิดการระบาดระลอกใหม่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งมีความหนักหน่วงและรุนแรงมากกว่าการแพร่ระบาดระลอกแรกและยังไม่มีแนวโน้มจะกลับมาสู่ภาวะปกติได้ในเร็ววัน โดยคาดว่าดัชนีค้าปลีกไทยในไตรมาส 1/2564 จะยังหดตัวติดลบที่ระดับร้อยละ 7-8 ผลจากภาวะชะลอตัวดังกล่าวนี้ได้ส่งให้เกิดผลเสียหายในวงกว้างอย่างมาก โดยนอกจากจะเกิดอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น รายได้ลดลง และมีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการ SMEs จำนวนมากทยอยปิดตัวลง

Read More

อิเกีย ปรับแผนสู้โควิดระลอกใหม่ ช้อปสะดวก ปลอดภัย ประหยัด ทั้งออนไลน์และที่สโตร์

อิเกีย ประเทศไทย ปรับกลยุทธ์รับมือการระบาดโควิดระลอกใหม่ เพิ่มความสะดวกให้ลูกค้าเข้าถึงง่ายขึ้น คุ้มค่ามากขึ้น ทั้งช่องทางออนไลน์และที่สโตร์ ช้อปออนไลน์สะดวกได้ของเร็วทันใจ ฟรีค่าบริการ Click & Collect และลดค่าจัดส่งโดยพัสดุ* 49 บาท จากปกติ 149 บาท ทางด้านการช้อปที่สโตร์ เพิ่มความสบาย และมั่นใจยิ่งขึ้น เปิดอาคารจอดรถใหม่ที่อิเกีย บางนา จุเพิ่มกว่า 2,000 คัน พร้อมเพิ่มมาตรการความปลอดภัยฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในอากาศทั่วพื้นที่สโตร์อิเกียทุกแห่ง อิเกีย ปรับรูปแบบและลดค่าบริการ เอาใจลูกค้าช้อปออนไลน์ ดังนี้ - ฟรีค่าบริการ Click & Collect 100 บาท ตั้งแต่วันนี้ - 28 กุมภาพันธ์ 2564 ทางเลือกใหม่ที่สะดวก ปลอดภัย และได้ของเร็วทันใจ สามารถช้อปออนไลน์แล้วเลือกรับสินค้าที่สโตร์อิเกีย บางนา และอิเกีย บางใหญ่ สำหรับลูกค้าที่ชำระเงินก่อน 14:00 น.

Read More

กฎหมายใหม่ “โควตาบังคับ” ในเยอรมนี เพื่อลดปัญหาความไม่เท่าเทียมในที่ทำงาน

Column: Women in Wonderland จากรายงาน Global Gender Gap Report ประจำปี 2020 ซึ่งจัดอันดับเรื่องความเท่าเทียมกันทางเพศใน 4 ด้าน คือ โอกาสและการมีส่วนร่วมในด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข และการเมือง จัดทำโดย World Economic Forum พบว่า 2 ประเทศที่ยังคงส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศมากที่สุดยังคงเป็นไอซ์แลนด์และนอร์เวย์ สำหรับเยอรมนีในปี 2020 อยู่ในอันดับที่ 10 ของโลก จาก 153 ประเทศ แม้ว่าในปี 2020 เยอรมนีจะอยู่ในอันดับที่ 10 ซึ่งเป็นอันดับที่ดีขึ้นถึง 4 ลำดับ เมื่อเทียบกับปี 2018 แต่หากเทียบการจัดอันดับในแต่ละด้านจะพบว่า ตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา อันดับของเยอรมนีลดลงทุกปี ซึ่งเรื่องนี้น่าจะเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้รัฐบาลของเยอรมนีเริ่มให้ความสำคัญกับปัญหาความเท่าเทียมกันทางเพศในสังคมมากขึ้น นาง Angela Merkel นายกรัฐมนตรีหญิง

Read More

LPN Wisdom คาดตลาดอสังหาฯ ปี 2564 ติดลบ 3% ถึงเติบโต 10%

LPN Wisdom คาดตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2564 มีแนวโน้มติดลบ 3% ถึงเติบโตประมาณ 10% ขึ้นอยู่กับความสามารถในการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสสายพันธ์ใหม่ 2019 (COVID-19) รอบใหม่ นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (LPN Wisdom: LWS), บริษัทวิจัยและที่ปรึกษาในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือบริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) กล่าวถึงทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2564 ว่า การแพร่ระบาดของ COVID-19 รอบใหม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ที่ส่งผลต่อเนื่องต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปี 2564 LPN Wisdom ได้มีการปรับการคาดการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2564 หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการคาดการณ์ว่าสถานการณ์อสังหาฯ ในปี 2564 จะมีแนวโน้มทรงตัวหรือเติบโตได้ประมาณ 3-5% และการเปิดตัวโครงการใหม่มีแนวโน้มที่จะเปิดตัวเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 10% เมื่อเทียบกับปี 2563

Read More

ศึกพิพาทปิดตลาดสด ห้างยักษ์ทุ่มงบสกัดโควิด

การสั่งปิดตลาดสดในหลายจังหวัดเพื่อสกัดการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 หลังเจอต้นตอใหญ่มาจากตลาดกลางกุ้ง และมีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ถูกหลายฝ่ายจุดประเด็นเปรียบเทียบกับกลุ่มร้านสะดวกซื้อยักษ์ใหญ่ กลายเป็นข้อกล่าวหาเรื่องการเลือกปฏิบัติและเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลเสียหายต่อประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะการขาดรายได้ จนยอดหนี้ครัวเรือนพุ่งพรวดทุบสถิติในรอบ 12 ปี เฉลี่ยมากกว่า 480,000 บาทต่อครัวเรือน ล่าสุด เมื่อวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมา นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้ยื่นเรื่องขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบมาตรการของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาการแพร่เชื้อโควิด-19 เป็นการเลือกปฏิบัติและเอื้อกลุ่มทุนหรือไม่ ใน 3 กรณี คือ กรณีการปิดตลาดนัด กรณีบริษัทเอกชนรายใหญ่ได้ก่อสร้างโรงงานผลิตหน้ากากอนามัย และกรณีการนำวัคซีนป้องกันโควิด-19 มาฉีดให้คนไทยอย่างล่าช้า มีการจัดหาวัคซีนจากจีน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับบริษัทเจ้าสัว ในกรณีปิดตลาดนัดนั้น นายศรีสุวรรณระบุว่า รัฐเริ่มต้นด้วยการเลือกปิดตลาดนัด ปิดร้านอาหาร พ่อค้าแม่ค้าเดือดร้อนไม่มีแหล่งขายสินค้า เพื่อหารายได้ แต่รัฐไม่ปิดห้างสรรพสินค้าที่มีระบบแอร์ตลอดเวลาและเป็นสถานที่ปิด มีความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 มากกว่า รวมถึงการปิดบังไทม์ไลน์ของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไปใช้บริการร้านสะดวกซื้อ ไม่เปิดเผยชื่อร้านและไม่มีการสั่งปิด ทั้งนี้ ข้อพิพาทระหว่างการปิดตลาดสดกับกลุ่มโมเดิร์นเทรดเกิดการถกเถียงอย่างหนัก เมื่อนายแพทย์มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียูเฉพาะทาง ด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ประธานชมรมเชื้อราทางการแพทย์ประเทศไทย

Read More