ดาบหน้าของผู้อพยพ กับมนุษยธรรมของประเทศมหาอำนาจ
ภาพผู้อพยพแตกฮือวิ่งหนีหลบแก๊สน้ำตาที่เจ้าหน้าที่สหรัฐอเมริกายิงใส่ เพื่อสกัดกั้นไม่ให้เหล่าผู้อพยพผ่านเข้ามาจนถึงชายแดนสหรัฐฯ ได้ หลังผู้อพยพพยายามข้ามรั้วพรมแดนเมืองตีฮัวนา ประเทศเม็กซิโก เพื่อหวังจะขอลี้ภัย เหตุการณ์ความโกลาหลนี้เกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา หลังจากที่จำนวนผู้อพยพเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นหลายพันคน พร้อมการประกาศกร้าวจากผู้นำสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าจะไม่ยินยอมให้ผู้อพยพผ่านเข้ามาในประเทศได้เด็ดขาด หญิงสาวยึดมือลูกของเธอแน่นขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าลูกของเธอทั้งสองคนจะไม่มีใครหลุดมือหรือพลัดหลงไปในขณะที่กำลังกระเสือกกระสนวิ่งหนีแก๊สน้ำตา เป็นภาพที่ถูกเผยแพร่ในหลายสื่อ สร้างความรู้สึกเศร้าสลดหดหู่ใจไม่น้อย พร้อมเกิดคำถามว่า การกระทำดังกล่าวของประเทศมหาอำนาจ รุนแรงและไร้มนุษยธรรมเกินไปหรือไม่ ภายหลังคำสั่งอย่างเป็นทางการจากประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ให้ส่งทหารกว่า 5,000 นายไปยังพรมแดนเม็กซิโก เพื่อสนับสนุนภารกิจของหน่วยป้องกันชายแดน สหรัฐอเมริกาเป็นจุดหมายปลายทางของผู้อพยพจากหลายประเทศ ในแต่ละปีมีผู้อพยพที่แสดงความประสงค์จะขอเป็นผู้ลี้ภัยจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะปีนี้สถานการณ์จำนวนผู้อพยพจากกลุ่มประเทศอเมริกากลางจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นจากหลักร้อยเป็นหลายพันคน โดยเฉพาะผู้อพยพที่เดินเท้ามาจาก 3 ประเทศนี้ ได้แก่ กัวเตมาลา เอลซัลวาดอร์ และฮอนดูรัส ซึ่งเหตุผลที่ผู้อพยพเหล่านี้ตัดสินใจทิ้งบ้านเกิดเมืองนอนและเดินทางมายังสหรัฐฯ เพราะปัญหาความยากจน ปัญหาอาชญากรรมที่รุนแรงในประเทศของตัวเอง แน่นอนว่า “การไปตายเอาดาบหน้า” อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนักในห้วงยามนี้ กระนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นภายในประเทศของผู้อพยพ ทางเลือกที่ว่า น่าจะมีเปอร์เซ็นต์รอด หรืออาจมีหนทางไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ คำถามเรื่องมนุษยธรรมของสหรัฐฯ ที่มีต่อผู้อพยพไม่ใช่เพียงแค่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดเท่านั้น เพราะเมื่อช่วงกลางปี โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ พยายามอย่างยิ่งยวดที่จะผลักดันให้เกิดการใช้นโยบาย “ความอดทนเป็นศูนย์” กับผู้อพยพ หรือให้เข้าใจง่ายๆ คือ
Read More