ผลจาก COVID-19 ย้ำภาพเหลื่อมล้ำการศึกษาไทย
การแพร่ระบาดของ COVID-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบจำกัดอยู่เฉพาะต่อประเด็นว่าด้วยกิจกรรมทางด้านสาธารณสุข และสร้างความเสียหายให้กับระบบเศรษฐกิจของไทยอย่างหนักหน่วงเท่านั้น หากแต่ในอีกด้านหนึ่งยังสะท้อนภาพความไร้ประสิทธิภาพในการกำหนดมาตรการในเชิงสังคมที่ทำให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยต่อยุทธศาสตร์และนโยบายที่กำหนดโดยรัฐตามมาอีกด้วย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจจากการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 อีกประการหนึ่งก็คือ การแพร่ระบาดของโรคนี้ส่งผลต่อระบบการศึกษาเป็นอย่างมาก และทำให้รัฐบาลหลายประเทศ ประกาศปิดสถานศึกษาทั้งประเทศ มีผู้เรียนได้รับผลกระทบกว่า 1.5 พันล้านคน หรือมากกว่าร้อยละ 90 ของผู้เรียนทั้งหมด สำหรับประเทศไทยสถานการณ์การระบาดเกิดขึ้นในช่วงสถานศึกษาขั้นพื้นฐานปิดภาคเรียน โดยในช่วงต้นเดือนเมษายน คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้เลื่อนวันเปิดเทอมภาคเรียนที่ 1 ไปเป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ไทยจึงมีโอกาสทบทวนบทเรียนจากต่างประเทศเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่สอดรับกับมาตรการป้องกันการระบาด พร้อมกับเตรียมมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เรียนได้รับผลกระทบจากรูปแบบการเรียนที่เปลี่ยนไป หากแต่ความเป็นไปของมาตรการด้านการศึกษาของไทยเพื่อรองรับกับการแพร่ระบาดของโรคกลับกลายเป็นภาพสะท้อนความเหลื่อมล้ำทางสังคม ทั้งในมิติเชิงโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร และในมิติของเศรษฐสภาพที่หนักหน่วงของสังคมไทยให้เด่นชัดขึ้นไปอีก เพราะในขณะที่สถานการณ์ระบาดยังคงอยู่ ทำให้ระบบการศึกษาต้องปรับให้การเรียนรู้ของนักเรียนไม่ขาดช่วง การเรียนการสอนออนไลน์ที่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นทางเลือกหนึ่ง กลับดำเนินไปท่ามกลางความไม่พร้อมทั้งในมิติของบุคลากรทางการศึกษาในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ รวมถึงความต้องการสิ่งสนับสนุนจากโรงเรียนและรัฐบาลเพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ในส่วนของผู้เรียนก็พบว่ามีนักเรียนจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบการเรียนการสอนออนไลน์ได้ จนนำไปสู่ข้อเรียกร้องความช่วยเหลือจากโรงเรียน และรัฐบาล ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ อย่างเร่งด่วน รวมถึงการจัดหาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและอุปกรณ์สื่อสารสำหรับนักเรียนทุกคน ข้อมูลของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) บ่งชี้ว่าประเทศไทยมีข้อจำกัดในการเรียนทางไกลค่อนข้างสูง โดยสัดส่วนของครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์ค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของประเทศพัฒนาแล้ว นอกจากนี้ การสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติยังสะท้อนให้เห็นความเหลื่อมล้ำสูงในการเข้าถึงอุปกรณ์ดิจิทัล โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีฐานะยากจน และครัวเรือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีนักเรียนกว่า 8 หมื่นคนอยู่ในพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ดังนั้น
Read More