Home > โควิด-19 (Page 8)

จับชีพจรตลาดอสังหาฯ ไทย หวัง “วัคซีนต้านไวรัส” ช่วยบรรเทาพิษโควิด-19

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกล่าสุด ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของภาพรวมเศรษฐกิจไทยต่อเนื่อง แม้จะมีมาตรการจากภาครัฐมาช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการและประชาชนที่ได้รับผลกระทบ แต่ยังไม่เพียงพอที่จะขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจในช่วงปิดประเทศ ด้านตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงชะลอตัวตามกำลังซื้อผู้บริโภค กลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ยังคงมีความต้องการที่อยู่อาศัยแต่ไม่มีความพร้อมด้านการเงิน หวังความชัดเจนของแผนการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตัวแปรสำคัญเข้ามาพลิกฟื้นความเชื่อมั่นและกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคให้กลับคืนมา ข้อมูลล่าสุดจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Index เผยดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 190 จุด จาก 197 จุด หรือลดลง 4% จากไตรมาสก่อน ถือเป็นดัชนีราคาที่ต่ำที่สุดในรอบ 15 ไตรมาส (นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2560) แม้เคยคาดการณ์ว่าตลาดอสังหาฯ จะมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ในปีนี้ แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ อย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีแรก ทำให้มีความเป็นไปได้ยาก คาดว่าตลาดจะมีทิศทางเติบโตอีกครั้งเมื่อภาครัฐสามารถควบคุมการแพร่ระบาดฯ ได้ และมีการฉีดวัคซีนมากเพียงพอที่จะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในประเทศ นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า

Read More

วัคซีนใจภูมิคุ้มกัน ปัญหาสุขภาพจิต

แม้ว่าคนไทยจะกำลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์โรคระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นเวลานานกว่า 1 ปี แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า คนไทยจะไม่มีอาการวิตกกังวลต่อเหตุการณ์ในครั้งนี้ เมื่อการระบาดของเชื้อไวรัสระลอก 3 ดูจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ส่วนหนึ่งอาจมาจากมีการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส ที่พัฒนาตัวเองให้ร้ายกาจกว่าระลอกก่อน ส่งผลให้มีการติดเชื้อกันง่ายขึ้น และความรุนแรงของโรคเข้าขั้นอันตราย สำหรับผู้คนที่มีโรคประจำตัว เมื่อระยะเวลาการเพาะเชื้อและแสดงอาการรวดเร็วขึ้น บางเคสเสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่วันหลังพบเชื้อ ความรุนแรงดังกล่าวก่อให้เกิดความกังวลใจต่อผู้คนอย่างมาก ทั้งกังวลต่อความเสี่ยงที่อาจได้รับ กังวลต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่อาจจะชะลอตัวลงจากปัจจุบัน แน่นอนว่า ปัญหาความกังวลดังกล่าวย่อมส่งผลต่อปัญหาด้านสุขภาพจิต สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี “คนไทยกับโควิด-19 ระลอก 3” จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,082 คน สำรวจวันที่ 16-22 เมษายน 2564 พบว่า ประชาชนมองว่าการระบาดระลอก 3 นี้มีการแพร่กระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ อย่างรวดเร็ว ร้อยละ 74.29 ทำให้ตื่นตระหนก และวิตกกังวลมากกว่าครั้งที่ผ่านมา ร้อยละ 68.40 มองว่าระลอก 3 นี้มีความรุนแรงมากที่สุดร้อยละ 70.51 จะป้องกันตัวเองด้วยการสวมหน้ากากอนามัยและล้างมือบ่อยๆ ร้อยละ 83.90 มองว่ารัฐบาลน่าจะรับมือได้

Read More

พิษโควิดกลายพันธุ์ ตกงานพุ่งอีก หนี้ท่วม

แม้สถานการณ์โควิดรอบ 3 ยังไม่มีการใช้มาตรการล็อกดาวน์ 100% แต่การประกาศกฎเหล็กในบางจังหวัดบวกกับตัวเลขการแพร่ระบาดที่ยังมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นจากการกลายพันธุ์ กำลังส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างรุนแรง โดยเฉพาะจำนวนคนตกงานที่สะสมตั้งแต่ระลอกแรกและยืดเยื้อจนถึงวิกฤตครั้งล่าสุด ล่าสุด บริษัทหลายแห่งจำเป็นต้องงัดหลากหลายแผน เพื่อความอยู่รอด ตั้งแต่กดดันให้พนักงานเร่งทำยอดขายสร้างรายได้ ลดชั่วโมงการทำงานเพื่อลดค่าตอบแทน ไปจนถึงกำหนดเงื่อนไขเข้มงวด หากติดเชื้อโควิดต้องถูกพักงาน ไม่ได้รับเงินเดือน หรืออาจถึงขั้นไล่ออก หากพิสูจน์พบว่า เดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง ไปสังสรรค์ ไปเที่ยวสถานบันเทิง อย่างเช่นกรณีเฟซบุ๊ก Thawichaya Tungsaharangsee ของนายทวิษย์ชญะ ตั้งสหะรังษี หรือแจ็ค รัสเซล นักแต่งเพลง เล่าเหตุการณ์ที่รุ่นน้องคนหนึ่งเป็นพนักงานบริษัทเอกชน บริษัทให้หยุดทำงานที่บ้าน หรือ Work from Home 2 สัปดาห์ และยินดีจ่ายค่าทำงานให้เต็มจำนวน โดยมีกติกาห้ามออกนอกบ้าน ถ้าไม่จำเป็น เช่น เที่ยวเตร่ ดื่ม สังสรรค์ เดินชอปปิ้ง แต่หยุดได้แค่ 3 วัน เขากับเพื่อนในบริษัทอีก 3 คน รวม 4

Read More

กระทรวงดิจิทัลฯ จับมือหัวเว่ย เสริมแกร่งโรงพยาบาลสนาม ด้วยนวัตกรรมการติดต่อสื่อสาร ช่วยบุคลากรทางการแพทย์รับมือโควิด-19

กระทรวงดิจิทัลฯ จับมือหัวเว่ย เสริมแกร่งโรงพยาบาลสนาม ด้วยนวัตกรรมการติดต่อสื่อสาร ช่วยบุคลากรทางการแพทย์รับมือโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เสริมกำลังภาคสาธารณสุขประเทศไทย โดยเฉพาะโรงพยาบาลสนามที่ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น พร้อมเพิ่มความปลอดภัยในแก่บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานด่านหน้า ด้วยการสนับสนุนเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ให้แก่โรงพยาบาลสนามบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ประกอบด้วย นวัตกรรมการสื่อสารทางไกล 5G เพื่อการแพทย์ (5G Telemedicine) ระบบบริหารจัดการผู้ป่วยอัจฉริยะ (Inpatient area Intelligent Management) และระบบโครงข่ายวิทยุสื่อสารไร้สายบรอดแบนด์ eLTE (eLTE broadband trunking) โดยใช้ Idea Hub เป็นศูนย์กลางการดำเนินการโซลูชันทั้งหมด คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 6 ล้านบาท โดยนวัตกรรมเหล่านี้จะเพิ่มศักยภาพในการจัดการโครงข่ายการสื่อสารของบุคลากรในพื้นที่ให้เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว ยกระดับประสิทธิภาพในการรับมือกับโรคระบาดอย่างเต็มที่ ตอกย้ำหนึ่งในพันธกิจของหัวเว่ยในการมีส่วนร่วมสร้างคุณค่าให้แก่สังคมไทยอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์ที่ยังคงมีจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องทำงานกันอย่างเต็มที่ รวมไปถึงระบบสาธารณสุขขั้นพื้นฐานซึ่งรวมถึงสถานพยาบาลในประเทศไทยที่ต้องถูกนำมาใช้งานเพื่อรักษาผู้ป่วยในขณะนี้จนใกล้ถึงขีดจำกัด ทางภาครัฐและภาคสาธารณสุขจึงร่วมมือกันจัดตั้งโรงพยาบาลสนามอย่างเร่งด่วนเพื่อรับมือสถานการณ์โควิด-19 ทั่วประเทศไทย รวมถึงโรงพยาบาลสนามบางขุนเทียน

Read More

ตลาดบ้านป่วนหดตัว เบรกโครงการ ลุ้นกำลังซื้อรอบใหม่

วิกฤตโควิดที่ยังแพร่เชื้อไม่หยุดเริ่มทลายความหวังการฟื้นเศรษฐกิจปี 2564 โดยเฉพาะตลาดอสังหาริมทรัพย์ส่งสัญญาณการหดตัวชัดเจนจากตัวเลขการเปิดขายโครงการใหม่ช่วงไตรมาสแรกและมีแนวโน้มติดลบสูงขึ้น เนื่องจากต้องรอมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อรอบใหม่ การฟื้นตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติและการลุยกระจายวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่อย่างเร่งด่วนที่สุด ล่าสุด คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสมาคมธนาคารไทย ตัดสินใจปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 จากเดิม 1.5-3.5% เป็น 1.5- 3.0% ขึ้นอยู่กับการฉีดวัคซีนได้ตามเป้าหมายและมาตรการของรัฐที่มีขนาดกว่า 2 แสนล้านบาทจะเข้ามาเยียวยาเศรษฐกิจ แต่หากไม่มีเม็ดเงินดังกล่าว จีดีพีจะไม่ขยายตัวหรือเติบโต 0% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังเผชิญความเสี่ยงสูงจากการระบาดระลอกใหม่ที่รวดเร็วและรุนแรง กระทบอุปสงค์ในประเทศ แม้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวชัดเจนขึ้นมากจะส่งผลดีต่อแนวโน้มส่งออกของไทยในระยะต่อไป ขณะเดียวกัน รัฐบาลเริ่มมีปัญหาด้านเสถียรภาพ เกิดความแตกแยกภายในพรรคร่วมรัฐบาล ทั้งพรรคภูมิใจไทย และพรรคประชาธิปัตย์ ประชาชนเริ่มปลุกกระแสเรียกร้องให้มีการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ยุบสภา ไปจนถึงกดดันให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลาออก ซึ่งหากการเปลี่ยนแปลงไม่ได้สะท้อนภาพลักษณ์ดีขึ้นย่อมกระทบต่อความเชื่อมั่น ทั้งในระดับประเทศและกับประชาชน สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดทำให้ทุกธุรกิจต่างอยู่ในภาวะ Wait and See ลุ้นมาตรการใหม่จากทางการ หวังกำลังซื้อและการพลิกฟื้นรอบใหม่

Read More

“คนไทยไม่เคยทิ้งกัน” ซีพี ออลล์ พร้อมฝ่าวิกฤตไปด้วยกัน เร่งส่งมอบครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ให้รพ.สนาม-วัด-กลุ่มเปราะบาง ป้องกันโควิด-19 ต่อเนื่อง

เป็นที่รับทราบกันดีว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19 ระลอกใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและสุขภาพของคนไทย การติดเชื้อเกิดขึ้นได้กับทุกคนและในทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมงทำให้มีความเสี่ยงสูงตลอดเวลา หรือแม้กระทั่งวัดที่เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนา สถานที่ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยอยู่คู่กับชุมชนและสังคมมาช้านาน ต่างก็ได้รับผลกระทบและต้องปรับตัวเพื่อยกระดับมาตรการในการระวังป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งสิ้น ซีพี ออลล์ เล็งเห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น จึงได้เดินหน้าสานต่อโครงการ “คนไทยไม่ทิ้งกัน” ส่งมอบครุภัณฑ์ทางการแพทย์พร้อมด้วยเครื่องอุปโภค บริโภค ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลสนามที่เป็นพื้นที่ควบคุมใน 18 จังหวัด พร้อมถวายเครื่องวัดอุณหภูมิและแอลกอฮอล์ให้กับวัด พระสงฆ์ สามเณร และทยอยมอบของใช้ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตให้กับผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส กลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตามโครงการซีพีร้อยเรียงใจ สู้ภัยโควิด-19 อย่างเร่งด่วน นายวิชัย จันทร์จริยากุล กรรมการผู้จัดการ (ร่วม) บมจ.ซีพี ออลล์ กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้น ซีพี ออลล์ เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วน จึงได้เดินหน้าสานต่อโครงการ “คนไทยไม่ทิ้งกัน” ตามปณิธาน “ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสให้กับทุกคน” โดยในช่วงเวลาที่ผ่านมา ซีพี

Read More

“เซ็นทรัลพัฒนา” กางโรดแมปช่วยสร้างภูมิคุ้มกันประเทศ เสนอใช้ศูนย์การค้าเซ็นทรัลสำหรับฉีดวัคซีน

"เซ็นทรัลพัฒนา" กางโรดแมปช่วยสร้างภูมิคุ้มกันประเทศ เสนอใช้ศูนย์การค้าเซ็นทรัลสำหรับฉีดวัคซีน เร่งให้ประเทศเกิด Herd Immunity พร้อมช่วยเหลือทุกฝ่าย ประคองและฟื้นฟูเศรษฐกิจพ้นวิกฤตด้วยกัน บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์, เซ็นทรัลพลาซา, เซ็นทรัลเฟสติวัล, เซ็นทรัล ภูเก็ต และ เซ็นทรัล วิลเลจ ลักชูรี่เอาท์เล็ตแห่งแรกของไทย ตอบรับแนวทางสภาหอการค้าไทย โดยทีม A ในการที่ภาคเอกชนจะแบ่งเบาภาระของภาครัฐ ซึ่งศูนย์การค้าเซ็นทรัลมีความพร้อมเต็มที่ในการเสนอให้ใช้พื้นที่ศูนย์การค้าของเรารวม 23 สาขา (จาก 33 สาขาทั่วประเทศ) ที่มีศักยภาพในการให้บริการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนได้ เพื่อเร่งการฉีดวัคซีนให้ประชาชนทุกภูมิภาคอย่างรวดเร็วที่สุด และพร้อมมีแผนในการสนับสนุนการฉีดวัคซีนให้กับพนักงานบริษัทและร้านค้าในศูนย์การค้าอย่างเร่งด่วน เพื่อลดภาระภาครัฐ และเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยประเทศไปสู่จุดที่จะเกิด ‘ภูมิคุ้มกันหมู่’ (Herd Immunity) ให้คนไทยกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติและเศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้ พร้อมเตรียมแผนช่วยเหลือธุรกิจต่างๆ เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจในช่วงนี้ และแผนฟื้นฟูหลังสถานการณ์คลี่คลายขึ้น ด้วยการลดค่าครองชีพ แบ่งเบาภาระประชาชน ต่อเนื่องถึงสิ้นปี นายปรีชา เอกคุณากูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา

Read More

COVID ระลอกใหม่ ฉุดเศรษฐกิจไทยดิ่งเหว?

การแพร่ระบาดระลอกใหม่ล่าสุดของ COVID-19 นอกจากกำลังเป็นภาพสะท้อนที่บ่งชี้ถึงความล่าช้าในการจัดหาวัคซีนเพื่อต้านทานและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคแล้ว ในอีกด้านหนึ่งยังเป็นการเน้นย้ำให้เห็นถึงความล้มเหลวในการบริหารจัดการสถานการณ์ในภาวะวิกฤตของกลไกรัฐได้อย่างชัดเจน และเผยให้เห็นถึงความไร้ประสิทธิภาพในการวางแผนและกำหนดมาตรการเชิงรุก ที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในสังคมไทยและต่อนักท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างชาติที่ได้รับการคาดหมายและฝากความหวังว่าจะเป็นปัจจัยหนุนนำให้เศรษฐกิจไทยกลับมาฟื้นตัวในอนาคต ผลของการแพร่ระบาดครั้งใหม่ดังกล่าว ทำให้การประเมินทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 2564 ซึ่งเดิมกลไกรัฐพยายามโหมประโคมว่า GDP ของไทยจะกลับมาเติบโตได้อีกครั้งที่ระดับร้อยละ 4 จากดฐานคิดที่ว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐได้ผลดี และฐานทางเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาหดตัวแคบมากแล้วการเติบโตที่ระดับร้อยละ 4 จึงไม่น่าจะเป็นความเพ้อฝันแต่เป็นสิ่งที่กระทำได้ไม่ยาก หากแต่ความเป็นไปของการแพร่ระบาดระลอกล่าสุดดูเหมือนจะทำให้ความคาดหวังของกลไกรัฐดังกล่าวพังครืนลงอย่างยากที่จะปฏิเสธ ขณะที่สำนักวิจัยและคาดการณ์ทางเศรษฐกิจหลายแห่งต่างปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยลงอีก โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ซึ่งได้เคยคาดการณ์เศรษฐกิจไทยว่าจะเติบโตได้ที่ร้อยละ 2.6 เมื่อไตรมาสแรกของปีที่ผ่านมา ได้ปรับลดประมาณการลงเหลือที่ระดับร้อยละ 1.8 เท่านั้น ปัจจัยที่ทำให้สำนักวิจัยแห่งนี้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยลงต่ำเช่นนี้ นอกจากจะเป็นผลกระทบเบื้องต้นจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ ซึ่งส่งผลต่อการท่องเที่ยวเดินทาง โดยเฉพาะเมื่อประเมินจากสถานการณ์ในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา ทำให้เห็นว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่มีความรุนแรงกว่าในระลอกก่อนหน้านี้ ขณะที่กลไกรัฐไม่สามารถออกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวด แต่ความกังวลต่อสถานการณ์จะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คน รวมถึงความเชื่อมั่นที่ลดลงมีผลต่อการบริโภคของครัวเรือนให้มีทิศทางต่ำกว่าที่ประเมิน เหตุดังกล่าวส่งผลต่อภาคธุรกิจการท่องเที่ยวที่น่าจะยืดเวลาฟื้นตัวออกไป ยังไม่นับรวมถึงกรณีการจัดหาและจัดสรรวัคซีนที่ล่าช้าอีกด้วย ความน่ากังวลจากสถานการณ์ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันอยู่ที่ภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มชัดเจนขึ้นว่าจะมีเข้ามาต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 2 ล้านคน ซึ่งกลไกรัฐต้องมีมาตรการเพื่อดูแลผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรค โดยตัวแปรสำคัญอยู่ที่การเร่งจัดการและกระจายฉีดวัคซีน ที่ไม่ได้เป็นไปเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคเท่านั้น หากยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคมไทยในวงกว้างและนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามาด้วย ความล่าช้าในการจัดหาและกระจายวัคซีนสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้การแพร่ระบาดยืดเยื้อหรืออาจเกิดการระบาดอีกระลอกในไตรมาส 3 ของปีนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างมาก ทำให้ความหวังของการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวให้ทยอยกลับมาเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอาจต้องล่าช้าออกไปอีกหนึ่งปี ส่งผลต่อการจ้างงานและการบริโภค ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นโอกาสที่เศรษฐกิจไทยในปี 2564 จะไม่เติบโตจากปีก่อนหน้าก็มีความเป็นไปได้สูงมาก การควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาด และการปูพรมกระจายวัคซีนเป็นภารกิจเร่งด่วน

Read More

วัคซีนต้านโควิด-โรงพยาบาลสนาม ความหวัง ความพร้อม และการจัดการของรัฐไทย

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ซึ่งถือเป็นระลอก 3 และมีการกระจายตัวในหลายกลุ่มคลัสเตอร์ เฉพาะระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน พบผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 17,000 ราย (ข้อมูลวันที่ 1-17 เมษายน 2564) ระลอกคลื่นแห่งหายนะในครั้งนี้ก่อให้เกิดคำถามอันนำมาซึ่งความขัดแย้งหลายประเด็นในสังคม การถามหาจิตสำนึกรับผิดชอบที่มีต่อสังคมส่วนรวม ไม่ว่าจะในแวดวงใดก็ตามเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อประชาชนบางส่วนยังไร้การตระหนักรู้ เมินเฉยต่อความเสี่ยงที่อาจได้รับ จนในที่สุดกลายเป็นต้นเหตุของการกระจายตัวของเชื้อไวรัสในระลอกสามที่ดูจะทวีความรุนแรงและขยายวงกว้างมากขึ้น นอกจากนี้ สังคมยังคงตั้งคำถามไปยังภาครัฐถึงเรื่องการสั่งซื้อวัคซีนต้านโควิด-19 และความพร้อมของโรงพยาบาลสนามในหลายพื้นที่ เพื่อรองรับกรณีที่จำนวนผู้ติดเชื้อมีจำนวนสูงขึ้น แน่นอนว่าโรงพยาบาลสนามนั้นมีไว้สำหรับรองรับผู้ติดเชื้อที่อาการไม่หนักหรือไม่มีอาการ และพร้อมจะส่งต่อผู้ติดเชื้อไปยังโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนที่มีรูปแบบการรักษาที่ได้มาตรฐาน คำถามต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในโลกโซเชียล ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะขาดการสื่อสารที่ครบถ้วนจากภาครัฐเอง อีกส่วนหนึ่งอาจเกิดจากความพยายามบิดเบือนข้อมูลอันมีผลประโยชน์แอบแฝงจากฝ่ายไม่หวังดี เมื่อขาดข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนบวกกับตาชั่งที่มีบรรทัดฐานไม่เท่ากันของแต่ละคน จึงไม่น่าแปลกใจที่คนไทยจะเกิดความขัดแย้งภายใต้สถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ ทั้งที่ห้วงยามนี้น่าจะเป็นช่วงเวลาที่เรียกหาความสามัคคีให้ก่อตัวขึ้นได้ในหมู่มวลประชาชน ความจริงที่ว่า วัคซีนด้านโควิด-19 คือความหวังอันเรืองรองที่จะพลิกฟื้นวิกฤตครั้งนี้ และเป็นอาวุธสำคัญของมนุษยชาติให้เอาชนะเชื้อไวรัสได้ ประเด็นสำคัญของวัคซีนจึงเป็นเรื่องที่หลายคนตั้งข้อสงสัยว่า เพราะเหตุใดประเทศไทยจึงมีการสั่งซื้อและนำเข้าวัคซีนต้านโควิด-19 ได้เพียงแค่ 2 ล้านโดส จากบริษัทซิโนแวค และจากแอสตราเซเนกาอีก 117,600 โดส เท่านั้น อีกคำถามที่ตามมาคือ การสั่งซื้อและนำเข้าวัคซีนผูกขาดอยู่แต่กับภาครัฐเท่านั้นใช่หรือไม่ เหตุใดจึงไม่อนุญาตให้บริษัทเอกชนที่มีศักยภาพจัดหาเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน เมื่อวัคซีนจะเป็นตัวแปรสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอันนำไปสู่การเปิดประเทศในที่สุด พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตอบข้อสงสัยของคำถามดังกล่าวหลังจบการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 เมษายน

Read More

สมาคมโฆษณาฯ ออก 3 มาตรการ ขอความร่วมมือคนโฆษณา รวมพลังหยุดยั้งโควิด-19

สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ออก 3 มาตรการ “Work From Home – ชะลอการผลิตงาน – ร่วมมือกับภาครัฐ” ส่งสารขอความร่วมมือจากบริษัทตัวแทนโฆษณา ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงานโฆษณาสื่อสารการตลาด สมาชิกและคณะกรรมการสมาคมฯ บุคลากรในอุตสาหกรรมโฆษณาและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวมพลังกันหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นายรติ พันธุ์ทวี นายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รอบ 3 ทวีความรุนแรงและแพร่กระจายรวดเร็วกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มคนวัยทำงานในสังคมเมือง ซึ่งรวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมและกิจการต่าง ๆ ของภาคอุตสาหกรรมโฆษณาที่มีกว่าหมื่นคน คณะกรรมการสมาคมฯ รู้สึกเป็นห่วงผลกระทบที่มีต่อการทำงาน และธุรกิจโฆษณา จึงขอความร่วมมือจากผู้ที่อยู่ในธุรกิจโฆษณาและธุรกิจที่เกี่ยวข้องให้พร้อมใจกันปฏิบัติงานตามมาตรการ ดังนี้ 1. จัดให้มีการทำงานจากที่พักอาศัย (Work From Home) โดยจัดประชุมต่าง ๆ ทางออนไลน์ทั้งหมด เพื่อหลีกเลี่ยงการพะปะกัน และลดปริมาณการสัญจรไปมาของบุคลากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบขนส่งสาธารณะ 2. ชะลอหรือเลื่อนกำหนดการทำงานผลิตชิ้นงานโฆษณาในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานถ่ายทำภาพยนตร์ วิดีโอ คลิปโฆษณา งานภาพนิ่ง งานห้องตัดต่อ ห้องบันทึกเสียง

Read More