Home > โควิด-19 (Page 19)

แฟมิลี่มาร์ท รับสมัครแฟรนไชส์ ลงทุนต่ำ คืนทุนไว กำไรดี ไม่ต้องมีทำเลเอง

โอกาสทองเป็นเจ้าของธุรกิจง่ายๆ แฟมิลี่มาร์ท (FamilyMart) รับสมัครแฟรนไชส์ การันตีรายได้ขั้นต่ำ 30,000 บาท ต่อเดือน ลงทุนต่ำ คืนทุนไว กำไรดี ไม่ต้องมีทำเลเอง ในวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ แฟมิลี่มาร์ทในเครือเซ็นทรัล รีเทล พร้อมสร้างโอกาสการเป็นเจ้าของหนึ่งในธุรกิจ ดาวเด่น “ค้าปลีกร้านสะดวกซื้อ” (Convenience Store) เปิดรับสมัครแฟรนไชส์ร้านแฟมิลี่มาร์ท (FamilyMart) หลายรูปแบบให้ทุกคนเป็นเจ้าของร้านได้แม้ไม่มีพื้นที่หรืออาคารส่วนตัว และได้เปิดรับสมัครแฟรนไชส์รูปแบบใหม่ “การันตีรายได้ขั้นต่ำ 30,000 บาท/เดือน ในระยะเวลา 1 ปี ลงทุนต่ำ คืนทุนไว กำไรดี พร้อมทีมเทรนนิ่งมืออาชีพอบรมให้ความรู้ เป็นที่ปรึกษา ตลอดระยะสัญญา 6 ปี เพื่อผลักดันธุรกิจประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย พร้อมจัดหาสินเชื่อเพื่อการลงทุนกับธนาคารชั้นนำ ตั้งเป้าสิ้นปี 2563 ขยายสาขาแฟรนไชส์แฟมิลี่มาร์ทกว่า 100 สาขา ครอบคลุมทำเลย่านชุมชน สถานีบริการน้ำมัน คอนโดมิเนียม นายสเตฟาน คูม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร -

Read More

อาชีพไหนเนื้อหอม-มาแรง ในยุคบิสซิเนสดิสรัปชั่น (Business Disruption)

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป เผยผลวิจัยอาชีพไหนเนื้อหอม-มาแรง ในยุคบิสซิเนสดิสรัปชั่น (Business Disruption) จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ส่งผลให้ภาคธุรกิจและกลุ่มแรงงานมีการปรับตัว เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ และยังทำให้เกิดรูปแบบการทำงานแบบใหม่ จากวิถีความปกติในรูปแบบใหม่ หรือ New Normal ล่าสุด “แมนพาวเวอร์กรุ๊ป” ได้ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างประมาณ 1,246 คน จากแรงงานในหลายอาชีพว่ามีกลุ่มอาชีพในสายงานใดที่คนทำงานต้องการทำท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 นับเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของแรงงานในยุคที่เรียกได้ว่า “การหยุดชะงักทางธุรกิจ” หรือ “Business Disruption” แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ในฐานะที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญตลาดแรงงานเชิงนวัตกรรมชั้นนำระดับโลก ได้จัดอันดับกลุ่มอาชีพจากผลการสำรวจ ไว้ดังนี้ สำหรับกลุ่มอาชีพและสายงานที่ขึ้นมาเป็นอันดับแรก คือ กลุ่มอาชีพอิสระต่าง ๆ คิดเป็น 12.76 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในกลุ่มนี้ประกอบด้วยคนทำงานประจำที่ต้องการทำงานเสริมเพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติมจากช่วงการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ตลอดระยะเวลากว่า 4 เดือนที่ผ่านมาหลายองค์กรปรับรูปแบบการทำงาน Work from Home ทำให้มีการจัดสรรเวลาโดยการทำงานที่เป็นอาชีพอิสระที่นำทักษะความรู้มาต่อยอดเป็นการสร้างโอกาสและรายได้ควบคู่กัน และผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ต้องการทำงานอิสระจากงานระยะสั้นประเภทต่างๆ อาจะเป็นงานเดียวหรือหลายงานในเวลาเดียวกันเพื่อสร้างรายได้ ส่วนกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มอาชีพด้านโลจิสติกส์, ซัพพลายเชนส์ และการขนส่งเดลิเวอรี่ คิดเป็น 10.32 เปอร์เซ็นต์ นับว่าเป็นช่วงเวลาที่กลุ่มดังกล่าวมีการเติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะการรองรับการซื้อสินค้าออนไลน์ หรืออี-คอมเมิร์ซ

Read More

ยานยนต์ไทยทรุดหนัก หวังโตใหม่ครึ่งปีหลัง

ผลพวงจากวิกฤตโรคระบาด COVID-19 ส่งแรงกระทบกระเทือนไปในวงกว้างมากกว่าที่จะจำกัดอยู่เฉพาะประเด็นเรื่องสุขภาพพลานามัยของประชาชนทั่วไปเท่านั้น หากแต่ยังมีผลต่อภาคเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง ซึ่งดูเหมือนว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยก็เป็นอีกหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วงจากพิษภัยของโรคระบาดนี้ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ก็คือผลกระทบที่มีต่อยอดการจำหน่ายและการผลิตรถยนต์ในประเทศและการส่งออกที่อยู่ในภาวะชะลอตัวลงนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาด และยังกระทบต่อเนื่องไปยังผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ผู้ผลิตอุปกรณ์ตกแต่งภายในรถยนต์ รวมถึงตัวแทนจำหน่าย ในแต่ละลำดับ ซึ่งผู้ประกอบการรถยนต์ในประเทศแต่ละราย ต่างต้องปรับตัวด้วยการลดพนักงานให้สอดรับกับการผลิตที่ลดลง แต่จะปรับลดมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทยและทั่วโลกว่าจะยืดเยื้อไปในทิศทางไหน โดยกลไกที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ดังกล่าวนี้ มีแรงงานที่ได้รับผลกระทบรวมไม่ต่ำกว่า 750,000 คน ภาพสะท้อนความทรุดต่ำลงของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในช่วงที่ผ่านมา อาจพิจารณาได้จากยอดการจำหน่ายและผลิตในเดือนเมษายน 2563 ซึ่งมียอดการผลิตรวมเพียง 24,711 คันลดลงร้อยละ 83.55 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ซึ่งนับเป็นตัวเลขต่ำที่สุดในรอบ 30 ปี โดยตัวเลขการผลิตดังกล่าวนี้เป็นการผลิตเพื่อส่งออกจำนวน 13,713 คัน ลดลงร้อยละ 81.76 และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 10,988 คัน ลดลงร้อยละ 85.35 และลดลงจากเดือนมีนาคม 2563 คิดเป็นร้อยละ 83.17 เนื่องจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ฉุดกำลังซื้อและการส่งออกให้ร่วงหนัก และเป็นเหตุให้โรงงานผลิตรถยนต์จำนวนไม่น้อยปิดทำการเป็นการชั่วคราว ตัวเลขการผลิตยานยนต์ในเดือนเมษายนที่ระดับ

Read More

จาก COVID-19 สู่วิกฤตการบินโลก

ข่าวการประกาศเลิกกิจการของสายการบินนกสกู๊ต (NokScoot) เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าจะไม่ได้อยู่เหนือความคาดหมายของทั้งผู้คนในแวดวงการบินและประชาชนทั่วไป ที่ต่างประเมินทิศทางธุรกิจการบินและการท่องเที่ยวในยุคหลัง COVID-19 ว่าจะต้องดำเนินไปอย่างยากลำบาก และทำให้อุตสาหกรรมการบิน-การท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมที่น่าจะฟื้นตัวได้ช้าในห้วงเวลานับจากนี้ก็ตาม การเดินทางท่องเที่ยวทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ดูจะเป็นไปภายใต้ข้อจำกัดและเงื่อนไขที่รัดกุมมากขึ้น ขณะที่การ lockdown หรือปิดเมืองของนานาประเทศก็ทำให้ผู้ประกอบการสายการบินต้องยกเลิกการให้บริการตลอดช่วงเวลาที่การแพร่ระบาด COVID-19 อยู่ในกระแสสูงและสร้างความตื่นตระหนกในวงกว้าง ซึ่งหมายถึงรายได้จากการประกอบการที่หดหายไป ควบคู่กับต้นทุนการดำเนินการที่ยังคงอยู่ในระดับเดิม ความเป็นไปของนกสกู๊ต สายการบินร่วมทุนราคาประหยัด ระหว่างสายการบินนกแอร์ของผู้ประกอบการชาวไทย และสายการบินสกู๊ต จากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2014 เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการประกอบการธุรกิจการบิน ท่ามกลางความท้าทายในสถานการณ์ต่างๆ รวมถึงข้อจำกัดในการขยายเครือข่ายการบิน ภายใต้สภาพแวดล้อมการแข่งขันที่รุนแรง ขณะที่การระบาดของ COVID-19 ผลักให้สถานการณ์ของ นกสกู๊ต เลวร้ายลงอย่างรุนแรง จนไม่อาจเห็นหนทางสู่การฟื้นตัวและการเติบโตที่ยั่งยืนของสายการบินได้อีก และต้องยุติกิจการพร้อมกับชดเชยการเลิกจ้างพนักงานตามกฎหมายต่อไป ผลพวงของการแพร่ระบาด COVID-19 ซึ่งส่งผลให้มีการปิดท่าอากาศยานและระงับการเดินทางเพื่อควบคุมโรคในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มีการประเมินรายได้ธุรกิจการบินสัญชาติไทยในปี 2020 ว่ามีแนวโน้มหดตัวติดลบที่ร้อยละ -60 (YoY) มาอยู่ที่ประมาณ 1.21 แสนล้านบาท ภายใต้สมมุติฐานการฟื้นตัวในธุรกิจสายการบินอย่างค่อยเป็นค่อยไปแบบ U-Shape ซึ่งทำให้สายการบินต้องลดค่าใช้จ่าย ลดจำนวนเครื่องบิน และในบางรายอาจได้รับผลกระทบถึงขั้นปิดกิจการ ทั้งนี้ประมาณการที่น่าสนใจอยู่ที่รายได้ธุรกิจการบินสัญชาติไทยจากเส้นทางระหว่างประเทศจะหดตัวติดลบถึงร้อยละ -65 (YoY)

Read More

เอส เอฟ จับมือ CAT เปิดโรงหนัง “CAT Drive-in Cinema by SF” ครั้งแรกในไทย

เอส เอฟ จับมือ CAT เปิดโรงหนัง “CAT Drive-in Cinema by SF” มอบประสบการณ์ดูหนัง ‘ไดร์ฟ-อิน’ ระบบดิจิทัลครั้งแรกในไทย เผยกระแสตอบรับดีเกินคาด เต็มแล้วทุกที่นั่ง ! สุวิทย์ ทองร่มโพธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการตลาด บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ ดร. ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานการตลาดและบริการ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT พร้อมด้วย บริษัท ไทยน้ำทิพย์ คอมเมอร์เชียล จำกัด, บริษัท แอร์เพย์ (ประเทศไทย) จํากัด, บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน), บริษัทช้างอินเตอร์เนชั่นแนล

Read More

ปลดล็อกเฟสห้า หวังค้าชายแดน-ส่งออกฟื้น

การเรียกร้องให้ ศบค. หรือศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกาศมาตรการผ่อนปรนเฟส 5 เพื่อให้กิจการและกิจกรรมในหลายๆ ส่วนสามารถเปิดดำเนินการได้ หลังจากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อรายวันลดลง โดยผู้ติดเชื้อในประเทศเป็นศูนย์ติดต่อกันเกิน 30 วัน ด้วยความคาดหวังว่า คำสั่งดังกล่าวจะเป็นเสมือนน้ำมันหล่อลื่นเครื่องจักรทางเศรษฐกิจไทย ให้สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ หลังจากหยุดชะงักมานานหลายเดือน คำสั่งปลดล็อกเฟสก่อนหน้า แม้ว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจภายในประเทศสามารถขับเคลื่อนไปได้ ทว่า นั่นไม่ใช่ทั้งหมดของโครงสร้างเครื่องจักรของเศรษฐกิจไทย ฟันเฟืองแต่ละตัวในระบบเศรษฐกิจไทยมีบริบทแตกต่างกันไป และสำหรับการค้าชายแดน และการส่งออก เป็นเสมือนกุญแจดอกสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เส้นกราฟของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจพุ่งสูงขึ้น คำสั่งประกาศปิดด่านชายแดนทั้งของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน หรือประเทศคู่ค้า ส่งผลกระทบในด้านลบต่อผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้า ทั้งรายเล็ก รายใหญ่ นั่นเพราะไทยยังต้องพึ่งพาตลาดต่างชาติเสียเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าเศรษฐกิจโลกและไทยจะอยู่ในจุดที่เรียกได้ว่าอ่อนแรง และตัวเลขการส่งออกในระยะไม่กี่ปีให้หลัง จะไม่สวยหรูนัก แต่ก็ยังไม่เข้าขั้นติดลบ อีกทั้งการที่เศรษฐกิจไทยและอีกหลายประเทศไม่มีภูมิคุ้มกันเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อเจอกับเชื้อโควิดที่มีพิษแทรกซึมที่สามารถทำลายล้างไปทั่วโลก ส่งผลให้หลายตลาด หลายอุตสาหกรรมต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก และในบางอุตสาหกรรมต้องเจอกับความถดถอย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) ประเมินมูลค่าการส่งออกในเดือนพฤษภาคมว่ามีอัตราการหดตัวอยู่ในระดับสูงถึง -22.5% หากหักทองคำ การส่งออกจะหดตัวเพิ่มเติมเป็น -27.8% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า นับเป็นอัตราการหดตัวมากสุดในรอบเกือบ 11 ปี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2009 เป็นต้นมา ทั้งนี้

Read More

เรียนออนไลน์ สะท้อนความเหลื่อมล้ำ หรือโอกาสของการศึกษาไทย?

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อชีวิตผู้คนเป็นวงกว้าง อีกทั้งยังฉายภาพความเหลื่อมล้ำในมิติต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ในสังคมให้เห็นอย่างเด่นชัด ทั้งในแง่ของคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ รวมไปถึงการศึกษาอันเป็นฐานรากที่สำคัญของสังคม แต่อีกนัยหนึ่งก็เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบริบทของการศึกษาของไทยด้วยเช่นกัน การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้รัฐบาลในหลายประเทศประกาศปิดสถานศึกษาเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ มีผู้เรียนได้รับผลกระทบกว่า 1.5 พันล้านคน หรือมากกว่าร้อยละ 90 ของผู้เรียนทั้งหมด สำหรับประเทศไทยคณะรัฐมนตรีมีมติเลื่อนการเปิดเทอมออกไปเป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 พร้อมปรับการเรียนการสอนจากออฟไลน์มาเป็นออนไลน์ในช่วงที่นักเรียนยังไม่สามารถไปเรียนที่โรงเรียนได้ตามปกติ เพื่อให้การเรียนรู้ไม่เกิดการชะงักงัน แต่ภาพการเรียนออนไลน์ที่เกิดขึ้น กลับเป็นไปบนความไม่พร้อมของทั้งบุคลากรทางการศึกษา ผู้เรียน เทคโนโลยี ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็น อีกทั้งยังสะท้อนภาพความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรให้เห็นเด่นชัด มีนักเรียนจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงการเรียนการสอนรูปแบบใหม่นี้ได้ ข้อมูลที่น่าสนใจจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ระบุว่า ประเทศไทยมีข้อจำกัดในการเรียนทางไกลค่อนข้างสูง สัดส่วนของครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์และการเข้าถึงอุปกรณ์ดิจิทัลอยู่ในระดับต่ำ ยิ่งไปกว่านั้นนักเรียนกว่า 8 หมื่นคน ยังอยู่ในพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เมื่อผนวกกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัส การจัดหาอุปกรณ์สื่อสารเพื่อให้ลูกหลานเข้าถึงการเรียนออนไลน์ได้จึงดูจะเป็นไปได้ยากยิ่ง มีข้อเรียกร้องให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือในการจัดหาอุปกรณ์สื่อสารที่จำเป็นและอินเทอร์เน็ตที่เพียงพอสำหรับนักเรียน รวมไปถึงการเร่งปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แม้ว่าโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อการศึกษาชนิดที่ต้องเร่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแล้ว แต่อีกนัยหนึ่งยังถือเป็นการเปิดโอกาสในการปรับตัวและพัฒนาระบบการศึกษาของไทยในอนาคตอีกด้วย การเรียนออนไลน์ซึ่งเป็นมาตรการที่ถูกนำมาใช้แก้ปัญหาในครั้งนี้ ได้กลายมาเป็นรูปแบบทางการศึกษาที่หลายฝ่ายเล็งเห็นความสำคัญและพยายามพัฒนานวัตกรรมขึ้นมารองรับ โดยที่จริงแล้วการเรียนออนไลน์นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เสียทีเดียว ที่ผ่านมาประเทศที่มีการศึกษาชั้นนำอย่างสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ยุโรป ต่างมีการพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรทางการศึกษา

Read More

ปลดล็อก COVID-19 ดึงดัชนีเศรษฐกิจฟื้นตัว

การประกาศผ่อนคลายมาตรการป้องกัน COVID-19 ที่ได้สร้างความเสียหายและตื่นตระหนกในวงกว้างมาก่อนหน้า กำลังช่วยผลักดันให้ดัชนีทางเศรษฐกิจที่ทรุดตัวต่ำลงอย่างหนักจากผลของการหยุดชะงักในกิจกรรมทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่การประกาศปิดเมืองในเดือนมีนาคม 2563 ก่อนที่จะนำมาสู่มาตรการผ่อนปรนในระยะต่างๆ ที่รัฐกำลังดำเนินการอยู่ เพื่อให้ผู้คนในสังคมและกลไกทางเศรษฐกิจกลับมามีชีวิตและสภาพปกติท่ามกลางความเสียหายที่รอการเยียวยา ซึ่งตั้งอยู่บนความสำเร็จในการป้องกันโรคที่ทำให้ประเทศไทยเป็นเพียงไม่กี่ประเทศบนโลกที่มีความเสี่ยงต่ำในการแพร่ระบาดของ COVID-19 นี้ ความเป็นไปของภาวะเศรษฐกิจไทย ที่สะท้อนผ่านดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาชี้ให้เห็นถึงผลกระทบจากมาตรการปิดเมืองในช่วงก่อนหน้า ที่ทำให้เกิดความกังวลของครัวเรือนในประเด็นว่าด้วยเรื่องรายได้และการมีงานทำ ซึ่งเมื่อรัฐดำเนินมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 1 และ 2 กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบบางกลุ่มเริ่มคลายความกังวล และสามารถกลับเข้าไปทำงานหรือประกอบการทางเศรษฐกิจได้อีกครั้ง แม้ว่าจะไม่ใช่ในระดับปกติเหมือนที่เคยดำเนินมาก็ตาม ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยอีก 3 เดือนข้างหน้ามีแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้นสอดรับกับข้อเท็จจริงทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยครัวเรือนประเมินว่า มาตรการผ่อนปรนที่รัฐบาลทยอยออกมาอย่างต่อเนื่องประกอบกับจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ใหม่รายวันที่อยู่ในระดับต่ำน่าจะเป็นสัญญาณเชิงบวกต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า ภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 จึงดูเหมือนว่าจะอยู่ในสภาพที่พร้อมจะทยอยฟื้นตัวขึ้นอย่างช้าๆ แต่ยังมีความเปราะบางอยู่มาก ภายใต้สมมุติฐานที่ไม่มีการแพร่ระบาดซ้ำรอบ 2 จนนำไปสู่การบังคับใช้มาตรการปิดเมืองอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งภาครัฐจำเป็นต้องเร่งให้ความสำคัญกับมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจและมาตรการสร้างงานเพื่อช่วยประคับประคองกำลังซื้อของครัวเรือนไทยที่อ่อนแอลงจากผลกระทบของ COVID-19 หลังมาตรการเยียวยาสิ้นสุดลง สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในสังคมไทยดูจะดำเนินไปควบคู่กับการฟื้นตัวขึ้นของเศรษฐกิจโลกที่หลายฝ่ายประเมินว่าได้เคลื่อนผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และกำลังฟื้นตัวขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 ที่เหลืออยู่นี้ โดยมีมาตรการทางการคลังและการเงินคอยช่วยประคับประคองเศรษฐกิจและลดความผันผวนในตลาดเงิน ซึ่งทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินปรับตัวดีขึ้น แต่ในระยะข้างหน้า ต้องจับตามองหนี้ภาคเอกชนและหนี้ภาครัฐที่อาจปรับสูงขึ้นเร็วด้วย การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีลักษณะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีความแตกต่างในแต่ละภาคส่วน (U-shaped and Uneven recovery) ทำให้ผู้บริโภคจะยังระมัดระวังในการใช้จ่ายและมีพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป รวมถึงการลงทุนภาคเอกชนที่จะถูกกดดันจากยอดขายที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ งบดุลที่เปราะบางมากขึ้น

Read More

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ-บรรจุภัณฑ์โต ไวรัสโควิดสยบไม่ลง

การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ส่งผลในทางลบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยและอีกหลายๆ ประเทศ ภาวะชะงักงันที่ผู้ประกอบการธุรกิจจำนวนมากต้องเผชิญ เนื่องจากต้องหยุดดำเนินกิจการชั่วคราวจากมาตรการล็อกดาวน์ที่ภาครัฐประกาศใช้ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดที่อาจจะขยายวงกว้าง แม้ว่าเชื้อไวรัสจะมีความร้ายกาจและน่ากลัวขนาดไหน แต่มักจะมีช่องโหว่ที่กลายเป็นจุดอ่อน ที่นักวิจัยและพัฒนาวัคซีนสามารถเอาชนะได้เสมอ ในวงการธุรกิจก็เช่นเดียวกัน เพราะในวิกฤตแต่ละครั้งมักจะมีธุรกิจบางประเภทที่สามารถยืนหยัดอยู่ได้แม้ว่าสถานการณ์โดยรอบจะย่ำแย่เพียงใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเพราะความแข็งแกร่งของตัวผู้ประกอบการที่มีสายป่านยาว หรือเหตุผลอื่นใดที่ทำให้นักวิเคราะห์เศรษฐกิจ ธุรกิจ จากหลายสถาบันออกมาประเมินและพินิจต่อเหตุการณ์นี้ว่า จะมีธุรกิจใดบ้างที่อยู่รอดเงื้อมมือของไวรัสนี้และกลายเป็นดาวเด่นในช่วงที่ไวรัสระบาด ธุรกิจ E-Commerce และธุรกิจบรรจุภัณฑ์ กลายเป็นธุรกิจที่ถูกประเมินว่านอกจากจะอยู่รอดในภาวะยากลำบากครั้งนี้แล้ว ยังมีโอกาสที่จะขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นอีกด้วย Physical Distancing หรือการเว้นระยะห่างทางกายภาพ คือจุดเปลี่ยนที่สำคัญของวิถีชีวิตผู้คนในยามที่โรคไวรัสระบาด และกลายเป็นโจทย์ใหม่ที่ผู้ประกอบการธุรกิจต้องแก้และหาคำตอบ อันนำไปสู่การค้าออนไลน์เต็มรูปแบบ แม้ว่าเดิมที การค้าออนไลน์ในประเทศไทยจะถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการในการเข้าถึงผู้บริโภคมานานแล้ว และผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะดำเนินธุรกิจทั้ง Offline และ Online ควบคู่กันไป หรือบางเจ้าใช้รูปแบบ Online อย่างเดียวเพื่อเป็นการลดต้นทุนสำหรับพื้นที่หน้าร้าน ทว่า สถานการณ์ปัจจุบันทำให้ผู้ประกอบการแทบจะทั้งหมดต้องหันมาลงแข่งขันกันในตลาดออนไลน์มากขึ้น ทั้งการเสนอขายสินค้า การบริการ และทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลให้มูลค่าธุรกิจของตลาด E-Commerce และธุรกิจบรรจุภัณฑ์ขยายตัวแบบก้าวกระโดด เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด ผู้ให้บริการ “Priceza” เว็บไซต์ค้นหาสินค้าและบริการเปรียบเทียบราคา เปิดเผยข้อมูลตัวเลขมูลค่าตลาด E-Commerce ไทยปี 2019 ว่า มีมูลค่า

Read More

Hill+Knowlton Strategies เปิดตัวทีม I-ACT ช่วยแบรนด์รับมือโควิด-19

บริษัท ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทิจีส์ เปิดตัวทีม I-ACT ช่วยแบรนด์รับมือโควิด-19 ในภูมิภาคเอเชีย ด้วยกลยุทธ์แบบองค์รวมที่ได้รับการออกแบบเพื่อรับมือโควิด-19 ช่วยนำองค์กรผ่านพ้นสภาวการณ์การบริหารธุรกิจอันซับซ้อน ท่ามกลางสถานการณ์ที่ท้าทายในปัจจุบัน องค์กรธุรกิจทั่วโลกต่างกำลังเผชิญหน้ากับอุปสรรคในการค้นหาบทบาทของตนเอง (role) และจุดประสงค์ของแบรนด์ (brand purpose) บริษัท ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทิจีส์ (Hill+Knowlton Strategies) หนึ่งในบริษัทที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ชั้นนำของโลก ได้เปิดตัวทีมที่ปรึกษา Intelligence + Advisory Communications Team หรือ I-ACT Team ในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งพร้อมให้คำแนะนำเพื่อลดความเสี่ยง สร้างชื่อเสียง และเร่งการเติบโตขององค์กรธุรกิจ ทีมที่ปรึกษา I-ACT ของฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทิจีส์ จะให้คำปรึกษาและบริการด้านการสื่อสารองค์กรแบบบูรณาการและครบวงจร ซึ่งจะช่วยชี้แนะทิศทางของบริษัทในสภาวการณ์ที่ต้องบริหารธุรกิจอย่างซับซ้อนหลังได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 วิกฤตโควิด-19 ได้ก่อให้เกิดความท้าทายใหม่ๆ ในแวดวงนักประชาสัมพันธ์และการสื่อสาร การเผชิญหน้ากับแรงปะทะทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และภูมิรัฐศาสตร์

Read More