Home > โควิด

สร้างเกราะป้องกันให้ปอด เพราะโควิดยังไม่จบ และ PM 2.5 ก็มาเหมือนนัดกันไว้

ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว อีกทั้งโควิด-19 ที่อยู่กับเรามาเกือบ 2 ปี ก็ปรับเปลี่ยนตัวเองอยู่ตลอดเวลาจนคาดเดาไม่ถูกว่าจะจบลงเมื่อไหร่ นอกจากนั้น PM 2.5 ฝุ่นจิ๋วตัวร้ายที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายก็มาเป็นประจำทุกปีประหนึ่งนัดกันไว้ ทำให้เราต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอเพื่อเป็นเกราะป้องกันให้กับตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ปอด” อวัยวะสำคัญของระบบทางเดินหายใจ ดังที่ทราบกันดีกว่า “ปอด” เป็นอวัยวะหนึ่งในระบบทางเดินหายใจที่สำคัญมาก ทำหน้าที่กรองอากาศและแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนที่หายใจเข้าแล้วปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ซึ่งต้องทำอยู่ตลอดเวลาไม่สามารถหยุดได้ตราบเท่าที่ยังต้องหายใจ นอกจากนั้น ยังมีหน้าที่อื่นๆ ทั้งควบคุมและขับสารต่างๆ อย่างแอลกอฮอล์ออกจากระบบเลือด ควบคุมสมดุลความเป็นกรด-ด่างในเลือด กรองลิ่มเลือดเล็กๆ ที่ตกตะกอนออกจากเส้นเลือดดำ ปกป้องและรับแรงกระแทกที่จะทำอันตรายต่อหัวใจ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของปอด ทำให้หลายคนหันมาใส่ใจดูแลและสร้างความแข็งแรงของปอดมากขึ้นเพื่อให้รอดจากเชื้อไวรัสโควิด ซึ่งท้ายที่สุดแล้วโควิด-19 อาจจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นไปในที่สุด ประกอบกับสภาพอากาศเมืองไทยที่เปลี่ยนแปลงและฝุ่น PM 2.5 ที่ต้องพบเจอเป็นประจำล้วนแต่ส่งผลโดยตรงต่อปอดทั้งสิ้น “ผู้จัดการ 360 องศา” จึงได้รวบรวมวิธีการสร้างความแข็งแรงให้กับปอดมาฝาก เพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างความแข็งแรงให้กับปอดของเราในระยะยาว วิธีดูแลปอดให้แข็งแรงสุขภาพดี 1. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และเข้าใกล้ควันบุหรี่ แน่นอนว่าการสูบบุหรี่และควันบุหรี่คือตัวการทำร้ายปอดตัวฉกาจ และยังสร้างความระคายเคืองต่ออวัยวะอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นช่องปาก ลำคอ หลอดลม และอวัยวะภายใน ดังนั้นถ้าอยากให้ปอดมีสุขภาพดีควรงดสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ เพื่อถนอมปอดไม่ให้ทำงานหนักเกินความจำเป็น 2. บริหารปอดด้วยการหายใจลึกๆ หายใจให้อิ่ม

Read More

“เจ็ทส์ ฟิตเนส” ปรับตัวรุกตลาดองค์กร ใช้เทคโนโลยีก้าวข้ามความท้าทายยุคโควิด

ฟิตเนสเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ต้องปิดให้บริการชั่วคราวตามข้อกำหนดของภาครัฐในระหว่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่การแพร่ระบาดระลอกแรกจนถึงระลอกล่าสุดที่ฟิตเนสต้องปิดให้บริการมาตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน 2564 และเพิ่งได้รับการอนุญาตให้กลับมาเปิดได้อีกครั้งในวันที่ 1 ต.ค. ส่งผลให้ผู้ประกอบการฟิตเนสต้องปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ ขณะที่บางรายอาจต้องปิดกิจการถาวร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการรายเล็กที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตโควิด แต่กระนั้นฟิตเนสยังคงเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มจะกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสามารถกลับมาเปิดให้บริการได้ตามปกติ เพราะการแพร่ระบาดของโควิดที่เกิดขึ้นทำให้ผู้บริโภคหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพและออกกำลังกายมากขึ้น เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ซึ่งถือเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการฟิตเนสในการปรับตัวและมองหานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อก้าวข้ามความท้าทายและข้อจำกัดต่างๆ และพร้อมเดินหน้าหลังการแพร่ระบาดของโควิดคลี่คลายลง เจ็ทส์ ฟิตเนส (jetts fitness) ฟิตเนสสัญชาติออสเตรเลีย ที่ทำการตลาดด้วยจุดขาย “24 hour fitness” เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการฟิตเนสที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิดเช่นกัน ทำให้ต้องเร่งปรับกลยุทธ์เพื่อก้าวข้ามวิกฤตครั้งนี้ โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป รวมถึงการรุกตลาดองค์กรเพื่อรับกับกระแส Corporate Wellness ที่กำลังมาแรง มร.เดน แคนท์เวล กรรมการผู้จัดการ เจ็ทส์ ฟิตเนส ประเทศไทย เปิดเผยกับ “ผู้จัดการ 360” ว่า “เราเชื่อมั่นว่าไม่มีอะไรสามารถทดแทนประสบการณ์การออกกำลังกายในฟิตเนสคลับได้ สำหรับกลุ่มคนรักการออกกำลังกายและสมาชิกฟิตเนสต่างเข้าใจดีว่า การออกกำลังกายในรูปแบบอื่นยังไม่สร้างแรงจูงใจได้เท่ากับการออกกำลังกายในคลับ เนื่องจากฟิตเนสเพียบพร้อมด้วยอุปกรณ์ และเต็มไปด้วยบรรยากาศที่สร้างแรงจูงใจในการสร้างสุขภาพที่ดี เราจึงเชื่อว่าอุตสาหกรรมฟิตเนสมีแนวโน้มจะกลับมาเติบโตหลังจากกลับมาเปิดได้อีกครั้ง ซึ่งเห็นได้จากการกลับมาของสมาชิกและการสมัครสมาชิกใหม่ที่เพิ่มขึ้นในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลังจากการแพร่ระบาดโควิดระลอก 2 ในไทย” การปรับตัวในช่วงล็อกดาวน์นั้น

Read More

เมื่อโควิดทำให้เราโหยหาการเดินทาง

“อยากไปนั่งชิลล์ริมทะเล” “อยากไปเดินป่า” “คิดถึงภูเขา” “เปิดประเทศเมื่อไหร่จะไปญี่ปุ่น” (และนานาประเทศ) รวมถึงการโพสต์ภาพท่องเที่ยวแล้วตบท้ายด้วยคำว่า “เที่ยวทิพย์” และอีกหลากหลายประโยคบนโซเชียลมีเดียที่บ่งบอกถึงการโหยหาการท่องเที่ยว ในยุคที่โควิด-19 ทำให้การเดินทางท่องเที่ยวไม่สามารถทำได้ดั่งใจหวัง เป็นเวลากว่า 2 ปี ที่เราต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เป็นภัยพิบัติของทั้งโลก การเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างกันถูกระงับเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ไม่ต้องพูดถึงการเดินทางท่องเที่ยว แม้แต่การเดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านที่ต่างจังหวัดยังเป็นไปได้ยาก หลายคนต้องกักตัวอยู่ในบ้าน ลดการเดินทาง กิจกรรมที่เคยทำไม่สามารถทำได้ บางคน work from home มาหลายระลอกตั้งแต่การระบาดรอบแรกเมื่อปีที่แล้ว ไม่ได้ออกไปไหนไกล ไม่ได้ไปเที่ยว ต้องอยู่แต่ในบ้าน และยิ่งแล้วใหญ่เมื่อผนวกกับไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ที่นิยมอยู่คอนโดมิเนียม กลายเป็นโดนจำกัดให้อยู่ในห้องสี่เหลี่ยมไปเสียอย่างนั้น ทำให้หลายคนเกิดความรู้สึกเครียด กังวล เบื่อหน่าย และไร้พลัง จนโหยหาการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อมาเยียวยาหัวใจและคลายความเครียด การท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมที่สร้างความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย เพิ่มความสุข และช่วยให้เราสามารถหลีกหนีจากความเครียดในชีวิตได้ แต่ไม่เพียงเท่านั้น ในทางจิตวิทยาการท่องเที่ยวยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของสมอง ช่วยพัฒนากระบวนการคิด ส่งผลดีต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ การท่องเที่ยวส่งผลดีต่อหัวใจ การท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นเที่ยวชมเมืองหรือชมวิวธรรมชาติ ทำให้เราได้เดิน ได้ทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องออกแรง เป็นการได้ออกกำลังกายไปในตัว ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพของหัวใจและสุขภาพโดยรวม เพิ่มสารแห่งความสุขและเติมเต็มรอยยิ้มให้กับชีวิต เพราะการท่องเที่ยวคือความสนุก ยามที่เราได้ออกไปเที่ยว เพลิดเพลินกับการทำกิจกรรมใหม่ๆ พบเจอวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม แม้กระทั่งได้กินอาหารอร่อยๆ ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดรฟิน หรือสารแห่งความสุขออกมา ทำให้เราผ่อนคลายสบายใจ และแน่นอนว่ารอยยิ้มย่อมเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน และยิ่งยิ้มมากเท่าไรชีวิตก็สดใสมากขึ้นเท่านั้น ช่วยเพิ่มประสิทธิผลการทำงาน ความเหนื่อยล้าจากการทำงานเป็นสิ่งที่ประสบพบเจอได้เป็นประจำ

Read More

โควิดทำเศรษฐกิจไทยช้ำหนัก อุทกภัยซ้ำเติม

โควิด-19 สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจไทยหากนับเป็นมูลค่าแล้วไม่ต่ำกว่าสิบล้านล้านบาท โดยเฉพาะเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตา ตัวแปรสำคัญที่ฉุดให้สถานการณ์โดยรวมทรุดหนักลง และนำมาสู่การล็อกดาวน์ในพื้นที่สีแดงเข้มรวม 29 จังหวัด ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจคิดเป็น 77 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีประเทศ ความเสียหายทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นกับทุกหย่อมหญ้า โดยเฉพาะภาคครัวเรือนที่สภาพัฒน์เปิดเผยตัวเลขหนี้ครัวเรือนไตรมาสแรกของปี 2564 ว่ามีมูลค่าหนี้สูงถึง 14.13 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.6 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของไตรมาสแรกปี 2563 หากคิดเป็นสัดส่วนต่อจีดีพีแล้วพุ่งสูงถึง 90.5 เปอร์เซ็นต์ เมื่อภาคครัวเรือนได้รับผลกระทบความสามารถในการจับจ่ายลดน้อยลง ด้านค้าปลีกสาหัสไม่แพ้กัน เมื่อดัชนีความเชื่อมั่นค้าปลีกในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 16.4 เป็นการลดต่ำสุดในรอบ 16 เดือน ติดลบ 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการลดลงของยอดขายสาขาเดิมเดือนกรกฎาคมปีนี้ การเติบโตของยอดขายจากสาขาเดิมเกิดจากทั้งยอดใช้จ่ายต่อใบเสร็จ และความถี่ในการจับจ่ายลดลงพร้อมกันทั้งคู่ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 270,000 ล้านบาท และมีกิจการกว่า 100,000 ร้านค้าเตรียมปิดกิจการ แน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อการจ้างงานกว่าล้านคน เป็นภาพสะท้อนว่าการฟื้นตัวให้กลับสู่สภาพเดิมอาจต้องใช้เวลา ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยเฉพาะร้านขายของที่ระลึก ธุรกิจสปา นวดแผนไทย สถานบันเทิง และธุรกิจโรงแรม ที่มีการปิดกิจการถาวรมากที่สุด โดยเฉพาะการระบาดในระลอก

Read More

นับถอยหลังเปิดเมือง รีสตาร์ตเศรษฐกิจไทย

1 พฤศจิกายน 2564 คือกำหนดการที่ประเทศไทยเตรียมเปิดเมือง โดยเริ่มที่ 10 จังหวัดนำร่อง ซึ่งเป็นเมืองหลักหรือจังหวัดที่มีสัดส่วนรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กระบี่ (ทั้งจังหวัด) พังงา (ทั้งจังหวัด) ประจวบฯ (ต.หัวหิน หนองแก) เพชรบุรี (เทศบาลเมืองชะอำ) ชลบุรี (พัทยา อ.บางละมุง ต.นาจอมเทียน ต.บางเสร่) ระนอง (เกาะพยาม) เชียงใหม่ (อ.เมือง แม่ริม แม่แตง ดอยเต่า) เลย (เชียงคาน) บุรีรัมย์ (อ.เมือง) ซึ่งหากนับจากนี้คงเหลือเวลาอีกไม่ถึงเดือนแล้ว ที่ทั้งภาครัฐและเอกชน ประชาชนจะต้องเรียนรู้บทเรียนจากโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ซึ่งเป็นโครงการนำร่อง ที่เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวไปตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ภาครัฐคาดหวังว่าจะใช้โครงการนี้เป็นพื้นที่เรียนรู้และวัดศักยภาพความพร้อมด้านสาธารณสุข ว่าหากจะต้องใช้ชีวิตภายใต้การดำรงอยู่ของเชื้อโควิด-19 และหากมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น จะยังสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปพร้อมกันได้หรือไม่ ผลลัพธ์คือ มีผู้ติดเชื้อในระยะเวลาของโครงการสูงถึงกว่า 200 คนต่อวัน ที่น่าสนใจคือในจำนวนนี้ กว่า 90

Read More

โควิดอยู่นาน กับทักษะที่เพิ่มขึ้น

เป็นเวลา 1 ปีกว่า ที่เราได้เผชิญกับเชื้อไวรัสโควิด-19 จากความพยายามที่จะเอาชนะและหยุดยั้งเชื้อไวรัสที่ว่า กลายเป็นว่ามนุษย์โลกต้องเรียนรู้ ปรับตัว เพื่อที่จะอยู่กับโควิดให้ได้ โดยเป้าหมายหลักอยู่ที่การเปิดประเทศ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ต้องยอมรับว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี แม้เชื้อร้ายยังไม่หมดไป แต่นั่นไม่ใช่อุปสรรคในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ หลายคนอาศัยจังหวะนี้เพิ่มพูนทักษะใหม่ๆ ให้ตัวเอง มาดูว่ากัน ทักษะไหนบ้างที่เราจะเรียนรู้ได้ในช่วงเวลาสั้นๆ เริ่มจากทักษะง่ายๆ ใกล้ตัว ทักษะด้านเกษตร ปลูกต้นไม้ เพาะขยายพันธุ์ไม้ หลายคนอาจเริ่มเรียนรู้ทักษะด้านนี้จากความชอบ หรือเพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ บ้างก็ใช้การปลูกต้นไม้เพื่อเป็นการเยียวยาจิตใจ แน่นอนว่า ประโยชน์ของการปลูกต้นไม้ นอกจากจะช่วยกล่อมเกลาจิตใจได้แล้ว ยังช่วยให้เราได้รับอากาศที่สดชื่นขึ้น ขณะที่หลายคนใช้ทักษะด้านนี้ต่อยอดในการสร้างรายได้อย่างมหาศาล โดยเฉพาะในกลุ่ม ไม้ใบ ไม้ฟอกอากาศ ไม้ด่าง ที่ขยายพันธุ์ได้ไม่ยากนัก เพียงแค่ทำความเข้าใจถึงลักษณะของสายพันธุ์นั้นๆ นับว่าเป็นทักษะที่สามารถสร้างเงินแสน หรืออาจถึงเงินล้านได้ภายในเวลาไม่นาน ทักษะการลงทุน บางคนมีความสนใจด้านการลงทุนอยู่ก่อนแล้ว แต่ยังไม่ได้ศึกษาอย่างจริงจัง ห้วงยามนี้ดูเหมาะเจาะที่จะเรียนรู้ และค้นหาข้อมูลสำหรับการลงทุนในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล อย่าง Cryptocurrency ที่เริ่มมีบทบาทในชีวิตจริง อย่างไรก็ตาม แม้บางบริษัทจะมีผู้แนะนำการลงทุนคอยให้คำปรึกษา แต่ปัจจัยเสี่ยงภายนอกที่อาจส่งผลต่อค่าเงินและการลงทุนเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่อาจเสี่ยงต่อภาวะสงคราม

Read More

“GBDi” โชว์ระบบ CO-link 4 เดือน ผู้ป่วยโควิดเข้าถึงการรักษาเกือบแสนราย

“GBDi” โชว์ระบบ CO-link 4 เดือน ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาเกือบแสนราย พร้อมขยายระบบเชื่อมโยงข้อมูลจองและรับวัคซีนโควิด-19 สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล โดยสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ จัดทำระบบบริหารจัดการเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ภายใต้ชื่อ CO-link เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เผยตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน สามารถติดตามผู้ป่วยจนเข้าสู่ระบบการรักษาไปแล้วเกือบแสนราย พร้อมขยายระบบเชื่อมโยงข้อมูลการจองและรับวัคซีน เพื่อลดความซ้ำซ้อน หนุนกระทรวงสาธารณสุขจัดหาวัคซีนได้แม่นยำมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ยังพบจำนวน ผู้ติดเชื้อต่อเนื่อง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ได้บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ซึ่งที่ผ่านมา สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (GBDi) ได้ดำเนินโครงการสนับสนุนการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลในช่วงสถานการณ์โควิด-19 อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการจัดทำระบบบริหารจัดการเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ในชื่อ CO-link รศ.ดร.ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการ GBDi กล่าวว่า ระบบ CO-link คือ ศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสายด่วนเฉพาะกิจ 1668, 1669, 1330

Read More

อนาคตท่องเที่ยวไทย บนรอยทางความหวังอันเลือนราง

เชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่จะส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ไม่เป็นไปอย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตาที่เป็นตัวแปรสำคัญทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มจำนวนสูงขึ้นในเวลาไม่นาน หลายประเทศที่มีการระบาดของสายพันธุ์เดลตา ต้องนำมาตรการล็อกดาวน์กลับมาใช้เป็นการด่วน ซึ่งเป้าหมายหลักล้วนอยู่ที่การสกัดไม่ให้เชื้อไวรัสแพร่ระบาดลุกลามจนยากเกินจะควบคุม ถึงกระนั้นความพยายามของภาครัฐที่จะเปิดประเทศและขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยก็เกิดขึ้นภายใต้โครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ โครงการที่หลายคนตั้งความหวังว่าจะประสบความสำเร็จ อันจะนำไปสู่การเปิดโครงการแซนด์บ็อกซ์ในจังหวัดอื่นๆ ต่อไป เช่น จังหวัดเชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี สงขลา ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2564 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติภายใต้ Special Tourist Visa (STV) เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยต่อเนื่องและในเดือนกรกฎาคม 2564 การเปิดโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ได้รับการตอบรับที่ดีจากนักท่องเที่ยวต่างชาติทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยสูงเกิน 1 หมื่นคนในรอบ 10 เดือน หลังจากที่ไทยเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์เปิดดำเนินการมาครบสองเดือน มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาแล้วประมาณ 24,000 คน โดยเป็นการจองห้องพักตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน ซึ่งมีการจองไปกว่า 430,000 คืน ก่อนหน้านี้มีการเปิดเผยตัวเลขรายได้ที่เข้ามาในจังหวัดภูเก็ตช่วงภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ โดย นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ระบุว่า หลังจากเปิดดำเนินการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ในเดือนแรกมีรายได้ประมาณ 829 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 58,982 บาทต่อทริป แบ่งเป็นค่าที่พักมากที่สุด 282

Read More

จับตาฟิตเนส ธุรกิจหมื่นล้าน ในวันที่กำลังกระอักเพราะพิษโควิด

ธุรกิจฟิตเนสเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การระบาดในระลอกแรก จนถึงระลอกล่าสุดที่ดูจะหนักหนาสาหัสและอาจทำให้ผู้ประกอบการกว่าครึ่งจำต้องโบกมือลา ก่อนการอุบัติขึ้นของโรคโควิด-19 ธุรกิจฟิตเนสถือเป็นธุรกิจดาวรุ่งที่มีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดดและมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด อันเนื่องมาจากเทรนด์ของคนในสังคมปัจจุบันที่หันมาใส่ใจในเรื่องการรักษาสุขภาพและออกกำลังกายกันมากขึ้น ผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่รายย่อยต่างก้าวเข้าสู่สังเวียน เพื่อหาโอกาสทางธุรกิจและช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาดก้อนโต ข้อมูลย้อนหลังจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า รายได้รวมของกลุ่มธุรกิจฟิตเนสในช่วงปี 2558-2560 เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยถึง 12.40% ต่อปี ฟิตเนสรายย่อยเปิดตัวมากขึ้นและกระจายตัวอยู่ในย่านชุมชนเพื่อจับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการออกกำลังกายใกล้บ้าน ในขณะที่ฟิตเนสรายใหญ่ยังคงมีรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งข้อมูล ณ ปี 2562 พบว่า มูลค่าตลาดโดยรวมของธุรกิจฟิตเนสอยู่ที่ 9,000-10,000 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 10%-12% ต่อปี และคาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องถ้าไม่ประสบกับวิกฤตโควิด-19 อย่างในปัจจุบัน การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยที่เริ่มมาตั้งแต่ต้นปี 2563 ทำให้รัฐออกมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการสั่งปิดสถานที่ออกกำลังกายและฟิตเนสเป็นการชั่วคราว เพราะมองว่าเป็นสถานที่สุ่มเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด โดยเป็นธุรกิจแรกๆ ที่ต้องปิดกิจการตามมาตรการรักษาความปลอดภัย แต่กลับเป็นกลุ่มท้ายๆ ที่จะสามารถกลับมาเปิดให้บริการตามปกติได้ ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นได้สร้างผลกระทบโดยตรงต่อผู้ให้บริการฟิตเนสทั้งรายใหญ่และรายย่อยอย่างถ้วนหน้า ผู้ประกอบการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ฟิตเนสจำนวนไม่น้อยมีรายได้ต่อเดือนเท่ากับ “ศูนย์” ในขณะที่รายจ่ายยังคงเท่าเดิม ศุกรีย์ สุภาวรีกุล นายกสมาคมกีฬาเพาะกายและฟิตเนสแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ฟิตเนสต้องแบกรับค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ทั้งค่าเช่า

Read More

อุตสาหกรรมอาหารเครื่องดื่ม ผู้อยู่รอดในยุคโควิดครองเมือง?

มาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาลที่มีหมุดหมายเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่ให้ขยายวงกว้างมากเกินกว่าความสามารถของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะทานไหว ส่งผลโดยตรงต่ออุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ มาตรการดังกล่าวคล้ายเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดความต้องการอาหารมากกว่าสถานการณ์ปกติ นอกจากนี้ ยังมีตัวแปรอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการกักตุนอาหารทั้งในแง่ของผู้ประกอบการร้านค้าขนาดเล็ก หรือประชาชน เช่น แรงงานภาคขนส่งจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว แต่แรงงานบางส่วนยังไม่ได้รับการจัดสรรวัคซีน หรือเกิดคลัสเตอร์ในกลุ่มแรงงานภาคการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ อาจทำให้ผลผลิตมีจำนวนลดลง รวมถึงระยะเวลาในการขนส่งที่อาจล่าช้ากว่าเดิม ซึ่งจะทำให้การกระจายสินค้าไปในพื้นที่ยากลำบากมากขึ้น ศูนย์วิจัยธนาคารออมสินเคยวิเคราะห์แนวโน้มภาพรวมของผู้ประกอบการรายใหญ่ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ว่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้นจากการขยายตัวของความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งได้รับอานิสงส์จากการที่หลายประเทศประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์ ส่งผลให้ความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารจากการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกไปประเทศคู่ค้าหลักขยายตัว โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูป อาหารพร้อมรับประทานพร้อมปรุง ตลอดจนอาหารที่สามารถเก็บรักษาได้นาน เช่น ไก่สดแช่แข็ง ไก่แปรรูป อาหารทะเลกระป๋อง น้ำมันพืช บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่คาดว่ามูลค่าการส่งออกอาหารและเครื่องดื่มของไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 น่าจะเติบโตดีขึ้นกว่าครึ่งปีแรก โดย 3 ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกอาหารและเครื่องดื่มไทยเติบโต คือ 1. เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว 2. การบริหารจัดการวัคซีนมีประสิทธิภาพ และ 3. การขาดแคลนแรงงานคลี่คลาย ทั้งนี้อาจมีปัจจัยที่ต้องติดตามทั้งราคาวัตถุดิบและค่าขนส่งที่มีแนวโน้มสูงต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ช่วงครึ่งหลังปี 2564 มูลค่าการส่งออกอาหารและเครื่องดื่มของไทยน่าจะเติบโตราว 4.9 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน ส่งผลให้ภาพรวมปี 2564

Read More