Home > เลิร์น คอร์ปอเรชั่น

ก้าวใหญ่ของ LEARN Corporation โรงเรียนแนวใหม่ที่ออกแบบได้

แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจโรงเรียนนานาชาติในไทยมีการขยายตัวอย่างมากในช่วงเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา หรือหากย้อนลึกลงไปถึงปี พ.ศ. 2555 ประเทศไทยมีโรงเรียนนานาชาติจำนวน 138 แห่ง กระทั่งปี พ.ศ. 2567 มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 249 แห่ง มูลค่าธุรกิจโรงเรียนนานาชาติรวมกว่า 8 หมื่นล้านบาท แม้ว่าพื้นที่ชั้นในอย่างกรุงเทพฯ เริ่มมีพื้นที่จำกัด จึงมีการขยายตัวไปสู่พื้นที่รอบนอกมากขึ้น แม้ว่าภาพรวมของจำนวนนักเรียนมีภาวะหดตัวลงตามแนวโน้มสถิติการเกิดที่ลดลง แต่ความนิยมในโรงเรียนนานาชาติกลับเพิ่มขึ้น ปัจจัยหลักน่าจะมาจากการลงทุนด้านการศึกษาเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองมองว่าคุ้มค่า เหตุผลการลงทุนด้านการศึกษาของผู้ปกครองน่าจะเป็นสิ่งที่ LEARN Corporation (เลิร์น คอร์ปอเรชั่น) เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพราะกลุ่มผู้บริหารคร่ำหวอดอยู่ในธุรกิจการศึกษามาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาชื่อดังอย่าง OnDemand และนี่เป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญที่เลิร์น คอร์ปอเรชั่น ขยายธุรกิจไปสู่การเปิดตัวโรงเรียน Crest School และ Mastery School ภายใต้คอนเซ็ปต์ Modern School ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางแหล่งชอปปิ้งย่านสยาม บนอาคาร MBK Tower “เราโตมาจากโรงเรียนกวดวิชา ออนดีมานด์ อยากโฟกัสเรื่องการศึกษา จึงหันมามองโมเดิร์นสคูล ตามรอย

Read More

“สาธร อุพันวัน” 16 ปี บนเส้นทางการศึกษา กับแนวคิด “EdTech & Lifelong Learning”

“เราเริ่มทำออนดีมานด์ในปี 2548 ด้วยความตั้งใจหลักคือต้องการพัฒนาการศึกษา สร้างโอกาสให้กับเด็กไทย และช่วยพัฒนาสังคมโดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือ ซึ่งตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้ออนดีมานด์ไม่ใช่แค่โรงเรียนกวดวิชา แต่มันคือช่องทางที่ทำให้เราในฐานะเอกชนสามารถเข้ามาช่วยพัฒนาการศึกษาได้” บทสนทนาเริ่มต้นระหว่าง “ผู้จัดการ 360” กับ “สาธร อุพันวัน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เลิร์น คอร์ปอเรชั่น จำกัด และผู้ก่อตั้งออนดีมานด์ สถาบันกวดวิชาอันดับหนึ่งของประเทศ กับบทบาทของภาคเอกชนในการพัฒนาการศึกษาของไทยที่ดำเนินมากว่า 16 ปี จากบัณฑิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาธรเริ่มต้นการทำงานในภาคการเกษตรของเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ราวๆ 6-7 ปี ก่อนที่จะเบนเข็มสู่เส้นทางธุรกิจด้านการศึกษา จากคำชวนของ โหน่ง-สุธี อัสววิมล ผู้ที่มีบทบาทสำคัญและเป็นอีกหนึ่งผู้ร่วมก่อตั้งออนดีมานด์ สาธรเล่าว่า “เรามีโอกาสเข้าไปทำโปรเจกต์โรงเรียนในโรงงาน ไปช่วยสอนหนังสือพี่ๆ ป้าๆ ที่เป็นพนักงานในโรงงานดอกไม้ประดิษฐ์ที่โหน่งเขาทำอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ ปรากฏว่าผ่านไป 6 เดือน ป้าๆ สามารถอ่านออกเขียนได้ เหมือนเขาได้ชีวิตใหม่ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เรามาทำงานด้านการศึกษาในรูปแบบการส่งเสริมการศึกษาในภาคเอกชน เพราะเราเชื่อว่าการศึกษามันช่วยพัฒนาสังคมได้” นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ทั้งสองคนร่วมกันก่อตั้งสถาบันกวดวิชาออนดีมานด์ขึ้นในปี 2548 เพื่อเป็นช่องทางในการพัฒนาด้านการศึกษาของเด็กไทย โดยเป็นโรงเรียนกวดวิชาที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนแบบหนึ่งต่อหนึ่งเป็นรายแรกๆ ในเมืองไทย ซึ่งแตกต่างจากโรงเรียนกวดวิชาส่วนใหญ่ในยุคนั้น “ในสมัยนั้นอุปกรณ์ต่างๆ แพงมาก

Read More

คิดต่างอย่าง “OnDemand” กับคอนเซ็ปต์ที่เป็นมากกว่าโรงเรียนกวดวิชา

ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง มีผู้ประกอบการจำนวนมากทั้งรายใหญ่รายย่อยกระจายอยู่ทั่วประเทศ แต่จากวิกฤตโควิด-19 และการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ทำให้ธุรกิจกวดวิชาต่างได้รับผลกระทบและต้องเร่งปรับตัวให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ในขณะที่โรงเรียนกวดวิชาหลายแห่งกำลังปรับตัว บางแห่งสามารถไปต่อได้ แต่บางแห่งจำเป็นต้องปิดตัวลงหรือยุบรวมสาขาเพื่อลดค่าใช้จ่าย แต่ “ออนดีมานด์” (OnDemand) สถาบันกวดวิชาเบอร์ต้นๆ ของเมืองไทย กลับยืนหยัดและยังคงศักยภาพในการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางโจทย์ยากที่ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชากำลังเผชิญ “ตั้งแต่วันแรกที่เราตัดสินใจทำออนดีมานด์ เราไม่ได้วาดภาพของการเป็นโรงเรียนกวดวิชา แต่ออนดีมานด์คือช่องทางที่ทำให้เราในฐานะเอกชนสามารถเข้าสู่เส้นทางในการพัฒนาการศึกษาของเด็กไทยได้ เพราะฉะนั้นการออกแบบการเรียนการสอน การจัดรูปแบบองค์กร จึงแตกต่างจากโรงเรียนกวดวิชาทั่วไป” สาธร อุพันวัน ผู้ก่อตั้งออนดีมานด์ เปิดเผยกับ “ผู้จัดการ 360” ถึงความเป็นมาของสถาบันกวดวิชาที่คิดต่างตั้งแต่เริ่มต้น ย้อนกลับไปในปี 2548 ในยุคสมัยที่รูปแบบการเรียนการสอนของโรงเรียนกวดวิชาส่วนใหญ่เป็นการเรียนในห้องเรียนหรือผ่านทีวี แต่ออนดีมานด์เป็นสถาบันกวดวิชาที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนแบบหนึ่งต่อหนึ่งรายแรกในเมืองไทย ซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับแวดวงกวดวิชาในยุคสมัยนั้น สาธรอธิบายแนวคิดของออนดีมานด์เพิ่มเติมว่า เพราะจุดตั้งต้นในการสร้างออนดีมานด์คือต้องการพัฒนาการศึกษาให้กับเด็กไทย ดังนั้นจึงพยายามหาวิธีการเรียนการสอนที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับผู้เรียนมากที่สุด จึงกลายเป็นที่มาของการใช้คอมพิวเตอร์ในการสอน เพราะเชื่อว่าเทคโนโลยีคือเครื่องมือที่สามารถช่วยพัฒนาระบบการศึกษาได้ การเรียนการสอนของออนดีมานด์นอกจากเรียนจากครูผู้สอนโดยตรงในห้องแล้ว ผู้เรียนยังสามารถเรียนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ที่สามารถกำหนดเวลาเรียน จะหยุดจะเริ่มตรงไหน ปรับความเร็ว/ช้า เหมือนปรับสปีดเวลาดูยูทูบได้ตามความต้องการของผู้เรียน ตรงตามคอนเซ็ปต์ของคำว่า “OnDemand” อีกทั้งยังมีทีมวิชาการที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวิชาคอยให้คำแนะนำและหาคำตอบให้กับผู้เรียนผ่านระบบหลังบ้านอย่าง “clear” เพียงผู้เรียนแคปเจอร์หน้าจอในบทเรียนที่ไม่เข้าใจส่งเข้าระบบ ทีมวิชาการจะเป็นผู้หาคำตอบและอธิบายเพิ่มเติมให้กับผู้เรียนตลอด 24 ชั่วโมง และคอยช่วยครูผู้สอนอีกทางหนึ่ง นอกจากภาควิชาการแล้ว สิ่งที่ทำให้ออนดีมานด์ต่างจากสถาบันกวดวิชาอื่นๆ คือ เพิ่มการแนะแนวให้กับเด็กๆ

Read More