วิกฤตพลังงานโลกจากสงคราม สู่เทรนด์พลังงานทางเลือก
นับจากการโจมตีครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ระหว่างรัสเซียและยูเครนที่มีชนวนความขัดแย้งมาจากความต้องการแยกตัวของภูมิภาคดาเนียตสก์และลูกานสก์ ที่อยู่ทางตะวันออกของยูเครน กระทั่งปัจจุบันยังไม่มีข้อยุติ ความขัดแย้งระหว่างสองชาติขยายตัวออกมาสู่กลุ่มชาติพันธมิตรของทั้งสองประเทศ ซึ่งยูเครนได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และยุโรปบางประเทศ ที่แสดงออกชัดเจนด้วยมาตรการคว่ำบาตรที่มีต่อรัสเซีย ด้วยหวังว่าจะให้รัสเซียยอมจำนน และยุติการโจมตียูเครน ทว่า รัสเซียยังคงยืนยันเจตนารมณ์เดิมต่อไป แม้หลังบ้านจะมีการประชุมเจรจาเพื่อหาข้อยุติที่น่าจะเป็นที่พอใจทั้งสองฝ่าย กระนั้นรัสเซียไม่ได้นิ่งเฉยต่อการคว่ำบาตรที่เกิดขึ้น และการโต้กลับของรัสเซียดูจะสร้างความหวั่นวิตกไปทั่วโลก และอาจจะหนักหนาสาหัสกว่ามาตรการคว่ำบาตรที่รัสเซียได้รับ รัสเซียถูกคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกด้วยมาตรการด้านการเงิน ทั้งการตัดธนาคารรัสเซียออกจากระบบการโอนเงินระหว่างประเทศ หรือ SWIFT รวมไปถึงยกเลิกการแลกเปลี่ยนกับธนาคารกลางรัสเซีย แน่นอนว่านั่นทำให้รัสเซียประสบปัญหาเงินเฟ้อสูงขึ้น เมื่อการพยุงเศรษฐกิจของรัสเซียจำเป็นที่จะต้องใช้เงินทุนที่สำรองไว้ในธนาคารจากต่างประเทศ นอกจากนี้ รัสเซียยังโดนคว่ำบาตรอีกหลายมาตรการที่ชาติตะวันตกเหล่านั้นจะนึกออก ซึ่งรวมไปถึงองค์กรและบริษัทเอกชนที่ลงทุนหรือทำการค้ากับรัสเซียเอง ต่างคว่ำบาตรใส่รัสเซียกันถ้วนหน้า อย่างไรก็ตาม รัสเซียซึ่งถือว่าเป็นชาติมหาอำนาจเช่นกัน การโต้กลับของรัสเซียทำให้ทั่วโลกแสดงอาการร้อนๆ หนาวๆ เพราะรัสเซียในฐานะผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอันดับต้นๆ ของโลก รวมไปถึงสินค้าโภคภัณฑ์หลายรายการ ประกาศว่าจะงดส่งออกสินค้ากว่า 200 รายการจนถึงสิ้นปี 2566 ด้านสหรัฐอเมริกาเคยประกาศห้ามการนำเข้าน้ำมัน ก๊าซจากรัสเซีย ขณะที่สหราชอาณาจักรจะเลิกใช้น้ำมันจากรัสเซียภายในสิ้นปีนี้ ด้านสหภาพยุโรปจะพิจารณาลดการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ 72% ของปริมาณการนำเข้าก๊าซจากรัสเซียทั้งหมดภายในปี 2565 และจะยุติการนำเข้าก๊าซจากรัสเซียให้ได้ภายในปี 2570 ทว่า ข้อมูลล่าสุด ณ ปัจจุบัน สหรัฐฯ ยังนำเข้าน้ำมันดิบจากรัสเซีย
Read More