Home > ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่

มูลนิธิฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น (ประเทศไทย) กับภารกิจแต่งแต้มรอยยิ้มให้คนไทย เดินหน้าโครงการ “100 รอยยิ้ม” เพื่อผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ทั่วประเทศ

“ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่” ถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายด้านสุขภาพที่ทำให้เด็กไทยจำนวนมากประสบปัญหาทางพัฒนาการในวัยเด็ก ส่งผลให้ขาดโอกาสในการใช้ชีวิตที่มีคุณภาพเมื่อเติบโตขึ้น และยังเป็นต้นเหตุของหลากหลายโรคแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อสุขภาพของเด็กในระยะยาว ข้อมูลทางสถิติจากมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ระบุว่า ทารกไทยที่เกิดมา 700 คน จะมี 1 คนที่เกิดมาพร้อมภาวะปากแหว่งหรือเพดานโหว่ และบางรายมีอาการทั้งสองอย่าง ซึ่งในประเทศไทยพบเด็กที่มีภาวะปากแหว่งหรือเพดานโหว่โดยเฉลี่ยจำนวน 2,000 รายต่อปี สำหรับสถิติทั่วโลกพบว่า ทุก ๆ 3 นาที จะมีทารก 1 คน ที่เกิดมาพร้อมภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ซึ่งเป็นความผิดปกติบนใบหน้าแต่กำเนิด ทารกที่มีภาวะ “ปากแหว่ง” จะมีรอยแยกของริมฝีปากบนและอาจมีรอยแยกไปจนถึงเหงือกและเพดานปากส่วนหน้า ส่วนภาวะ “เพดานโหว่” จะมีรอยแยกที่เพดานอ่อนไปจนถึงเพดานแข็ง ถือเป็นภาวะที่ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดทางการแพทย์ได้ แต่พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความผิดปกติดังกล่าวมาจากปัจจัยความผิดปกติทางพันธุกรรม ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม การใช้สารเสพติดหรือยาบางชนิดของมารดาเมื่อตั้งครรภ์ รวมถึงความผิดปกติในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ โดยภาวะปากแหว่งเพดานโหว่นั้นส่งผลกระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น การก่อให้เกิดโรคทางหูและปัญหาทางทันตกรรม การสูญเสียการได้ยิน ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ปัญหาด้านการพูดและการรับประทานอาหาร ที่สำคัญความผิดปกติบนใบหน้าที่เกิดขึ้น ยังลดทอนความมั่นใจในการใช้ชีวิตของผู้ป่วย และส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจในระยะยาวอีกด้วย ซึ่งภาวะปากแหว่งเพดานโหว่สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด แต่ต้องอาศัยการเข้าผ่าตัดที่ต่อเนื่องและใช้เวลา โดยเฉลี่ยต้องได้รับการผ่าตัดประมาณ 5 ครั้ง ใช้เวลาในการรักษาต่อเนื่องนานกว่า 10 ปี

Read More