Home > ปัญหาการจราจร

การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนต้นทุนต่ำ?

คนไทยประสบปัญหาการจราจรติดขัด เมื่อไหร่ก็ตามที่ฝนตก ไม่ว่าปริมาณน้ำฝนจะมีเพียงเล็กน้อย หรือฝนตามฤดูกาล หรือการปรับปรุงพื้นผิวการจราจร การก่อสร้างโครงการขนส่งมวลชนระบบราง เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุผลทางกายภาพที่ส่งผลให้การจราจรในประเทศไทย โดยเฉพาะกรุงเทพฯ มหานครที่หลายคนใฝ่ฝันจะเดินทางเข้ามาแสวงหาความศิวิไลซ์ ประสบกับปัญหาการจราจรติดขัดอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง นั่นยังไม่นับรวมเหตุจากการใช้รถใช้ถนนที่ขาดระเบียบวินัย โดยมุ่งที่จะสร้างความสะดวกสบายของตัวเองเป็นหลัก จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด เมื่อทุกครั้งที่หลายสำนักมีการจัดอันดับ เมืองที่ “รถติด” ที่สุดในโลก เมืองหลวงของไทยมักติดโผเป็นอันดับต้นๆ เสมอ โดยเฉพาะการจัดอันดับของ BBC ในปี 2017 ที่ปรากฏชื่อ กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่รถติดเป็นอันดับ 1 ผลการจัดอันดับถือเป็นภาพสะท้อนชั้นดีถึงวิธีการแก้ปัญหาการจราจรที่ไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะรัฐบาลยุคใด สมัยใดก็ตาม หากจะมองหาต้นเหตุของปัญหาการจราจรที่เกิดขึ้นจนถึงทุกวันนี้ มีด้วยกันหลายสาเหตุ ประการแรกคือ การเพิ่มขึ้นของจำนวนรถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งมีหลากหลายเหตุผลที่คนไทยจำนวนหนึ่งตัดสินใจซื้อรถยนต์ ทั้งจากนโยบายรถคันแรกของรัฐบาลก่อนหน้า การซื้อรถเพื่อใช้งาน หรือเพราะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการใช้ระบบขนส่งมวลชนของไทยที่ด้อยทั้งคุณภาพ บริการ และเหนืออื่นใด คือความปลอดภัย ที่หาได้ยากจากบริการรถสาธารณะ ประการที่สองคือ นโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ของภาครัฐ ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่าภาพรวมตลาดรถยนต์ในปี 2561 น่าจะขยายตัวได้ถึงร้อยละ 2-5 เมื่อเทียบกับปี 2560 ซึ่งยอดขายน่าจะได้มากกว่า 880,000 ถึง 900,000 คัน แม้ว่าเหตุผลของผู้ที่ตัดสินใจซื้อรถคันใหม่อาจมาจากการถือครองรถยนต์ในโครงการรถคันแรก

Read More