“ชุมชนบ้านครัว” เสน่ห์ชุมชนที่ยังมีลมหายใจ ท่ามกลางกรอบแห่งการพัฒนาเมือง
ชื่อของ “ชุมชนบ้านครัว” น่าจะเป็นที่รู้จักของใครหลายคนในหลากหลายบริบทที่ต่างกันออกไป ซึ่งหนึ่งในนั้นคือความเป็นชุมชนมุสลิมขนาดใหญ่ที่เก่าแก่ที่สุดในฝั่งพระนคร เป็นชุมชนที่มีประวัติศาสตร์และผ่านความท้าทายมาอย่างยาวนาน แต่ยังคงเต็มเปี่ยมด้วยเสน่ห์แห่งความเป็นชุมชนท่ามกลางความเป็นเมืองใหญ่ที่พัฒนาอย่างไม่หยุดหย่อน ชุมชนบ้านครัวเป็นชุมชนมุสลิมขนาดใหญ่ที่ทอดตัวขนานไปกับคลองแสนแสบ แวดล้อมด้วยอาคารสูงและทางด่วนพาดผ่าน ในย่านที่เรียกได้ว่าราคาที่ดินสูงลิ่วอย่างราชเทวี มีผู้อาศัยอยู่หลายพันคน ซึ่งส่วนใหญ่คือผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม โดยแบ่งออกเป็น ชุมชนบ้านครัวเหนือ ชุมชนบ้านครัวตะวันตก และชุมชนบ้านครัวใต้ รวมทั้งสิ้น 1,376 ครัวเรือน มีมัสยิดยามีอุลค็อยรียะห์ หรือในอดีตที่รู้จักในชื่อ “สุเหร่ากองอาสาจาม” เป็นศูนย์กลางของชุมชน ตามประวัติความเป็นมา ชุมชนบ้านครัวเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวมุสลิมเชื้อสายจามที่อพยพมาจากกัมปงจาม ประเทศกัมพูชา ตั้งแต่สมัยอยุธยา ก่อนที่จะเข้าร่วมรบในสมัยสงครามเก้าทัพในนาม “กองอาสาจาม” จนได้รับพระราชทานที่ดินจากรัชกาลที่ 1 เพื่อตั้งครัวเรือนบริเวณป่าไผ่ทุ่งพญาไท ปทุมวัน-ราชเทวี ริมคลองแสนแสบ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการขุดขยายคลองแสนแสบทำให้การเดินทางสะดวกขึ้น จึงมีการอพยพแบบยกครัวเข้ามามากขึ้น อันเป็นที่มาของชื่อ “บ้านครัว” และได้นำอุปกรณ์และวัตถุดิบในการทอผ้าเข้ามาพร้อมกัน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาในราวสมัยรัชกาลที่ 5 ชุมชนบ้านครัวจึงได้เริ่มทอผ้าไหมขึ้นเพื่อค้าขายในหมู่บ้านและนำไปขายทางเรือตามต่างจังหวัด เช่น อ่างทอง อยุธยา โดยยุคแรกเป็นการทอผ้าขาวม้า ผ้าโสร่ง ผ้าโจงกระเบนลวดลายต่างๆ ที่ทอด้วยกี่มือ และนับเป็นจุดเริ่มต้นของผ้าไหมแห่งชุมชนบ้านครัว พร้อมๆ
Read More