Home > โซลาร์ฟาร์ม

ONNEX by SCG Smart Living หมัดเด็ดบุกตลาดโซลาร์จากเอสซีจี

จากวิกฤตพลังงานที่เป็นปัญหาเร่งด่วน และประเด็นเรื่องความยั่งยืนซึ่งเป็นเมกะเทรนด์ของโลก ทำให้ทุกภาคส่วนทั้งผู้บริโภค องค์กรธุรกิจ และภาครัฐ ให้ความสำคัญกับภารกิจรักษ์โลก และมีแนวทางการปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่ Net Zero หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการใช้พลังงานสะอาดเพื่อเป็นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นั่นทำให้ “พลังงานแสงอาทิตย์” หนึ่งในพลังงานสะอาดเข้ามามีบทบาทและได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับ ในขณะที่บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เอสซีจี ในฐานะองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่อยู่คู่สังคมไทยมากว่าร้อยปีก็ไม่อยู่เฉย แม้ที่ผ่านมาจะมีภาพจำของการเป็นผู้นำในตลาดวัสดุก่อสร้างก็ตามที แต่ภายใต้ร่มใหญ่ของเอสซีจียังมีกลุ่มธุรกิจที่ครอบคลุมทั้งธุรกิจเคมิคอลส์ ธุรกิจแพคเกจจิ้ง และธุรกิจเอสซีจี สมาร์ทลีฟวิ่ง ที่เน้นการสรรค์สร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการใช้ชีวิตที่ยั่งยืน ที่สำคัญคือมีการพัฒนานวัตกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ โซลาร์ เพื่อปรับตัวให้รับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้น หลังสั่งสมองค์ความรู้ เทคโนโลยี และความเชี่ยวชาญมามากกว่า 10 ปี ล่าสุด เอสซีจี สมาร์ทลีฟวิ่ง เคลื่อนไหวครั้งใหญ่ประกาศรุกตลาดโซลาร์แบบเต็มตัว ด้วยการส่งแบรนด์ “ONNEX by SCG Smart Living” อาวุธลับมาบุกตลาด วชิระชัย คูนำวัฒนา Head of Living Solution

Read More

ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ เปิดโครงการโซลาร์ฟาร์ม “TAP’s Brewed by the Sun”

ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ มุ่งสู่เป้าหมายเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน เปิดโครงการโซลาร์ฟาร์ม “TAP’s Brewed by the Sun” นำพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์มาใช้เป็นพลังงานไฟฟ้าทดแทนในการผลิตเครื่องดื่ม ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ มุ่งสู่เป้าหมายเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน เปิดโครงการ “TAP’s Brewed by the Sun” ติดตั้งแผงโซลาร์ในโรงเบียร์ เพื่อนำพลังงานสะอาดที่ได้จากแสงอาทิตย์เข้ามาแทนที่การใช้พลังงานจากเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทด้านความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมของไฮเนเก้นในการบรรลุเป้าหมายทำให้ค่าคาร์บอนให้เป็นกลาง หรือ Carbon Neutrality ภายในพ.ศ. 2573 “TAP’s Brewed by the Sun” เป็นโครงการโซลาร์ฟาร์ม ที่ทางไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ ได้ริเริ่มขึ้นมาตามยุทธศาสตร์ความยั่งยืนของไฮเนเก้น “Brew A Better World” ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นต่อทั้งธุรกิจและสิ่งแวดล้อม ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานอื่นให้ได้สูงสุด อันเป็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนของภาคการผลิตให้ได้ตามเป้าหมายภายในพ.ศ. 2573 และตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจภายในพ.ศ. 2583 ซึ่งยังเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายที่ไฮเนเก้นได้ระบุไว้ให้โรงเบียร์ทุกแห่งทั่วโลกมีความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งคาดว่าจะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 30%

Read More

QTC มาตามนัด ฝ่าโควิคโชว์ผลงานครึ่งปีแรก 528 ล้านบาท

QTC มาตามนัด ฝ่าโควิคโชว์ผลงานครึ่งปีแรก 528 ล้านบาท เดินเกมรุกครึ่งปีหลัง จ่อคว้างานหม้อแปลงไฟฟ้า – ติดตั้งแผงโซลาร์ฟาร์ม เข้าพอร์ต บมจ. คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ (QTC) ฝ่าวิกฤตโควิค-19 โชว์ผลงานครึ่งปีแรก รายได้รวมแตะระดับ 528 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 45.14 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาส 2/2564 รายได้รวม 294.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26% (QoQ) และกำไรสุทธิ 22.49 ล้านบาท รับอานิสงส์จากการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ส่งผลมีงานทยอยเข้ามาเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ด้าน CEO “พูลพิพัฒน์ ตันธนสิน” ประกาศเดินเกมรุกธุรกิจในครึ่งปีหลังเร่งต่อจิ๊กซอว์การลงทุนด้านพลังงาน หม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมศึกษาแผนการลงทุนใหม่ๆ ขยายฐานลูกค้าทั้งใน-ต่างประเทศ พร้อมส่งซิกจ่อคว้างานหม้อแปลงไฟฟ้าเข้าพอร์ตเพิ่ม 100 ล้านบาท ขณะที่ติดตั้งแผงโซลาร์ฟาร์มยังฉลุย หนุนทั้งปีรายได้แตะ 1,200 ล้านบาทตามแผน บริษัท คิวทีซี

Read More

ศึกโซลาร์รูฟท็อป กลยุทธ์ใหม่ปลุกอสังหาฯ

 การเดินหน้าโครงการนำร่องระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์สำหรับบ้านและอาคาร หรือ “โซลาร์รูฟท็อปเสรี” ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยวางแผนอนุมัติให้ชาวบ้านกว่า 1 ล้านครัวเรือน สามารถผลิตไฟฟ้าใช้เอง ด้านหนึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนของนโยบายรัฐและปฏิบัติการที่เห็นเป็นรูปธรรม อีกด้านหนึ่งกำลังเปิดเกมใหม่ในการแข่งขัน โดยเฉพาะการประกาศรุกธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์แบบเต็มตัวของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์อย่าง “เสนาดีเวลลอปเม้นท์” กลายเป็นเจ้าแรกในตลาดที่เปิดขายบ้านติดโซลาร์รูฟท็อป ที่ผ่านมา ในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เน้นการเกาะกระแสสิ่งแวดล้อมไปที่รูปแบบบ้าน เช่น “ศุภาลัย” ออกแบบบ้านเพื่ออนุรักษ์พลังงาน  มีบานหน้าต่างขนาดใหญ่ รับแสงธรรมชาติ และรับลมพัดผ่าน ใช้กระจกอนุรักษ์พลังงาน สุขภัณฑ์รุ่นประหยัดน้ำ และหลอดประหยัดพลังงาน  ส่วน “แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์” ชูคอนเซ็ปต์ “LPN Green” ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ใช้หลอดไฟแอลอีดี จัดสรรพื้นที่จอดรถแบบพิเศษสำหรับรถยนต์ประเภทอีโคคาร์ สร้างสวนขนาดใหญ่กว่า 4 ไร่ นำน้ำทิ้งจากการใช้งานของชุมชนมาบำบัดจนได้มาตรฐานเพื่อนำกลับมาใช้รดน้ำต้นไม้ และลดการพึ่งพาเครื่องปรับอากาศ ออกแบบโครงการให้ระบายอากาศด้วยระบบธรรมชาติ หรือแม้กระทั่งโครงการกรีนคาแนล (Green Canal) ของบริษัทโมเดิร์นกรีนกรุ๊ป (Modern Green Group) ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งประกาศตัวว่าเป็นโครงการที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แต่เป็นการผลิตพลังงานไฟฟ้ารองรับสาธารณูปโภคส่วนกลาง ไม่ใช่ “โซลาร์รูฟท็อป”

Read More