Home > เศรษฐกิจไทย (Page 5)

ฟุตบอลโลก 2018 เงินสะพัดในความเงียบ?

แม้ว่ากระแสฟุตบอลโลก 2018 ที่ประเทศรัสเซียจะเพิ่งจุดติด หลังจากที่ก่อนหน้านี้ถูกปล่อยให้ดำเนินไปท่ามกลางบรรยากาศที่ไม่ตื่นตัวคึกคักมากนัก แต่ดูเหมือนว่าสำนักวิจัยและพยากรณ์ทางเศรษฐกิจแทบทุกสำนักต่างเชื่อมั่นว่า การแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้จะส่งผ่านปัจจัยบวกให้เศรษฐกิจไทยได้รับอานิสงส์ในระดับหลายหมื่นล้านบาทเลยทีเดียว ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า การแข่งขันฟุตบอลโลกจะกระตุ้นการใช้จ่ายเพื่อกิจกรรมและเชิงพาณิชย์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อการซื้อเสื้อผ้า ของที่ระลึกเพื่อการเชียร์บอล งบถ่ายทอดสด งบประชาสัมพันธ์สนับสนุนการถ่ายทอด ซึ่งการเฝ้าชมการถ่ายทอดสดการแข่งขันอาจส่งผลต่อการซื้อโทรทัศน์ อาหาร/เครื่องดื่ม และการบริโภคอาหารที่ร้านอาหารนอกบ้านด้วย ข้อมูลตัวเลขอ้างอิงจากพฤติกรรมของการแข่งขันฟุตบอลโลกเมื่อครั้งที่ผ่านมา คาดว่าในปีนี้จะมีเงินสะพัดทางธุรกิจในระดับ 2 หมื่นล้านบาท และการใช้จ่ายนอกระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการพนันฟุตบอลอีกประมาณ 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพียงร้อยละ 0.2-0.3 เท่านั้น ประเด็นที่น่าสนใจก็คือวงเงินที่แพร่สะพัดอยู่ในกิจกรรมพนันฟุตบอลที่มูลค่าสูงถึง 6 หมื่นล้านบาทตามการประเมินนี้ อาจสร้างกำลังซื้อชั่วขณะได้ในระดับหนึ่ง หากผู้ที่ชนะพนันนำเงินนอกระบบนี้มาบริโภคหรือจับจ่ายที่อาจกระตุ้นการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจภายในได้บ้าง หากแต่การพนันฟุตบอลส่วนใหญ่ในปัจจุบันกระทำกันผ่านระบบออนไลน์ไปยังเจ้ามือหรือร้านรับแทงพนันในต่างประเทศ ซึ่งนอกจากจะยากต่อการควบคุมแล้ว กรณีดังกล่าวยังเป็นช่องทางให้เงินไหลออก ที่เป็นการบ่อนทำลายเศรษฐกิจของชาติอีกด้วย ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่าในช่วงฟุตบอลโลกจะมีเงินสะพัดในระดับ 6-7 พันล้านบาทกระจายเข้าสู่ธุรกิจจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5 จากช่วงเวลาปกติของมูลค่าตลาดสินค้าอุปโภคและบริโภค โดยสินค้าและธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับอานิสงส์โดยตรงจากการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้อยู่ที่ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจร้านอาหารและธุรกิจฟาสต์ฟู้ดเดลิเวอรี่ อุปกรณ์กีฬา เสื้อผ้า และรองเท้า ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะโทรทัศน์ดูจะเป็นธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์เชิงบวกโดยตรงมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง เพราะผู้ผลิตและเจ้าของแบรนด์สินค้าต่างโหมประโคมกิจกรรมและรณรงค์ส่งเสริมการตลาด ทั้งลด แลก แจก แถม

Read More

เศรษฐศาสตร์แห่งเทศกาล แรงกระตุ้นเศรษฐกิจไทย?

ความเป็นไปทางเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายปลายปี ดูจะดำเนินไปท่ามกลางกระแสข่าวดีที่เสริมสร้างความมั่นใจให้กับทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง จากเหตุที่ในช่วงปลายปีเช่นว่านี้ มีกิจกรรมที่ส่งเสริมและกระตุ้นการจับจ่ายอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ออกพรรษา มาสู่ฤดูกฐิน เทศกาลกินเจ และไล่เรียงไปสู่ลอยกระทง ควบคู่กับกิจกรรมส่งเสริมการขาย ไม่ว่าจะเป็นมหกรรมหนังสือระดับชาติ (Book Expo 2017) ในช่วง 18-29 ตุลาคม และมอเตอร์เอ็กซ์โป 30 พฤศจิกายน ถึง 11 ธันวาคม ซึ่งคาดว่าจะกระตุ้นสภาวะทางเศรษฐกิจได้ไม่น้อยเลย แม้ว่าบรรยากาศโดยทั่วไปของสังคมไทยจะยังอยู่ในความโศกเศร้าและโหยหาอาลัยต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใกล้กำหนดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ หากแต่ในอีกมิติหนึ่ง คลื่นมหาชนที่เปี่ยมด้วยความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ได้ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนตัวทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เป็นอานิสงส์ที่แผ่ซ่านครอบคลุมทุกแขนงธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมที่พักบริเวณโดยรอบเกาะรัตนโกสินทร์ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงและพระบรมมหาราชวัง ที่มีอัตราการจองห้องพักล่วงหน้าเต็มตั้งแต่ช่วง 2-3 เดือนก่อนหน้านี้แล้ว ขณะเดียวกันการเดินทางของมหาชนผู้ภักดีจากทั่วทุกสารทิศที่เดินทางเข้ามาถวายสักการะอาลัย ได้หนุนนำภาคการขนส่งให้ดำเนินไปด้วยอัตราเร่งอย่างต่อเนื่องมาตลอดทั้งปี ยังไม่นับรวมผลต่อเนื่องจากกิจกรรมอื่นๆ ที่ช่วยหนุนนำการสะพัดของเงินตราทั้งโดยทางตรงและโดยอ้อมอีกนับประเมินมูลค่ามิได้ การกระจายรายรับรายได้จากกิจกรรมทางสังคมที่ดำเนินต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี ทำให้กลไกภาครัฐประวิงเวลาในการนำเสนอมาตรการใหม่ๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเหตุที่เชื่อมั่นว่า กลไกและสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจที่ดำเนินอย่างเป็นธรรมชาตินี้จะมีแรงส่งที่มากเพียงพอให้เศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีบรรลุสู่เป้าหมายที่กำหนดวางไว้ได้ ความมั่นใจของกลไกภาครัฐจากตัวเลขประมาณการทางเศรษฐกิจที่หลั่งไหลเข้ามาในช่วงนี้ ซึ่งต่างประเมินสถานการณ์เชิงบวกต่อเนื่องนำไปสู่ดัชนีความมั่นใจของผู้บริโภคและนักลงทุน และกลายเป็นประกายความหวังให้รัฐเชื่อมั่นในทิศทางการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดำเนินอยู่ หากแต่ภายใต้ข้อเท็จจริงที่ว่าระบบการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาทั้งในมิติของสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าและการวางยุทธศาสตร์ระยะยาว ยังเป็นประเด็นที่สั่นคลอนและท้าทายศักยภาพการบริหารของรัฐไทยมาอย่างต่อเนื่อง และอาจทำให้ตัวเลขประมาณการที่มีแนวโน้มสดใส อาจไม่ปรากฏขึ้นจริงในระยะถัดไปจากนี้ ความคาดหมายที่เชื่อว่าภาคการส่งออกจะเติบโตและเป็นจักรกลที่ช่วยหนุนนำพัฒนาการทางเศรษฐกิจในช่วงปีที่กำลังจะมาถึง ยังผูกพันอยู่กับธุรกิจอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการแปรรูปพืชผลทางการเกษตร ในขณะที่ภาวะน้ำท่วมนาแล้งกลายเป็นวัฏจักรที่ไร้ทิศทางการบริหารที่มีรูปธรรมในทางปฏิบัติ ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้สินค้าส่งออกในกลุ่มนี้ขาดเสถียรภาพในเชิงปริมาณแล้ว ยังเป็นปัจจัยหนุนเสริมให้เกิดข้อได้เปรียบเสียเปรียบในเชิงราคาสำหรับการแข่งขันกับต่างประเทศอีกด้วย การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของกลไกภาครัฐในช่วงที่ผ่านมากลายเป็นกรณีที่ก่อให้เกิดคำถามและเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความสำเร็จ-ล้มเหลวอยู่พอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

Read More

กินเจเงินสะพัดหมื่นล้าน เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัว?

ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 (ตามปฏิทินจีน) ของทุกปี เทศกาลกินเจ หรือการถือศีลกินผัก ประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ธงสีเหลืองที่มีตัวอักษรจีนที่บรรดาห้างร้านมักจะนำมาปัก เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าเข้าสู่เทศกาลกินเจแล้ว แต่ละปีช่วงเทศกาลกินเจ หลายค่ายมักจะเผยผลวิเคราะห์ หรือผลสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภค ทั้งนี้รายงานดังกล่าวจะแสดงให้เห็นถึงเม็ดเงินที่จะถูกใช้จ่ายในช่วงเทศกาล โดยในแต่ละปีจะมีเม็ดเงินสะพัดไม่น้อยกว่า 4 หมื่นล้านบาท และแน่นอนว่าปี 2560 หอการค้าไทยคาดการณ์ว่าจะมีเงินสะพัดช่วงเทศกาลกินเจปีนี้ราว 4.5 หมื่นล้านบาท โดย ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชนในช่วงเทศกาลกินเจปี 2560 ซึ่งเป็นผลจากกลุ่มตัวอย่าง 1,177 ตัวอย่างทั่วประเทศ พบว่า ประชาชนจากกลุ่มตัวอย่าง 36.5 เปอร์เซ็นต์ ตัดสินใจกินเจปีนี้ โดยให้เหตุผลว่า ต้องการถวายเป็นพระราชกุศลแด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 อีกทั้งยังกินเจเป็นประจำทุกปี ขณะที่ 63.5 เปอร์เซ็นต์ให้เหตุผลในการไม่กินเจว่า ราคาอาหารและวัตถุดิบในการปรุงอาหารเจปีนี้มีราคาสูงขึ้น กลุ่มตัวอย่าง 23.6 เปอร์เซ็นต์บอกว่ากินเจปีนี้คงไม่คึกคัก เนื่องจากยังอยู่ในช่วงโศกเศร้า ขณะที่

Read More

อสังหาฯ รับผลเศรษฐกิจทรุด รอครึ่งหลังส่งสัญญาณกลับหัว

  ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2559 ที่แม้จะได้รับการโหมประโคมว่ากระเตื้องตื่นขึ้นมาบ้างแล้ว ยังไม่สามารถบ่งบอกทิศทางและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้มากนัก โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาผ่านความเป็นไปของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่ดูเหมือนจะอยู่ในภาวะชะลอตัวต่อเนื่องยาวนาน ความพยายามของภาครัฐที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านอสังหาริมทรัพย์ในช่วงที่ผ่านมาดูจะได้รับความสนใจและผลักให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีความเคลื่อนไหวขยับขยายตัวขึ้นบ้าง แต่หลังจากมาตรการดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อเดือนเมษายน สถานการณ์ของธุรกิจก็กลับมาสู่สภาวะที่น่าจับตามองอย่างยิ่งว่าจะดำเนินไปในทิศทางใด ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หลายรายยังมีปริมาณสินค้าล้นเกินอยู่ในมือเป็นจำนวนมาก และส่งผลให้เกิดการชะลอตัวที่จะเปิดโครงการใหม่ๆ ออกสู่ตลาด และบางส่วนได้ปรับเปลี่ยนวิถีธุรกิจและกลุ่มเป้าหมายไปสู่ตลาดระดับกลางและบนมากขึ้น ด้วยเหตุที่เชื่อว่าผู้บริโภคในกลุ่มนี้ยังมีสุขภาพทางเศรษฐกิจที่ดีอยู่พอสมควร กระนั้นก็ดี แนวโน้มการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในช่วงเดือนพฤษภาคมมีทิศทางชะลอตัวลงจากก่อนหน้าอย่างเห็นได้ชัด หลังจากสิ้นสุดมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐ ซึ่งมีส่วนดึงกำลังซื้อล่วงหน้าไปบางส่วนและทำให้ประชาชนชะลอการซื้อบ้านใหม่ลงไปพอสมควร และเป็นเหตุให้ผู้ประกอบการจำนวนมากต้องเร่งจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายด้วยหวังจะระบายสต็อกที่อยู่อาศัยที่เหลืออยู่ พร้อมกับการลดหย่อนยกเว้นค่าโอน ค่าจดจำนอง ในอัตราพิเศษให้ใกล้เคียงกับช่วงมีมาตรการกระตุ้น ซึ่งอาจหนุนเสริมยอดจำหน่ายได้อีกบางส่วน ปรากฏการณ์ของความชะลอตัวในการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม และอาจจะทอดยาวออกไปอีก 1-2 เดือนจากนี้ ไม่ใช่สิ่งที่เหนือความคาดหมายของผู้เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และสถาบันการเงิน ซึ่งต่างพยายามกระตุ้นยอดปล่อยสินเชื่อด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าที่มีความมั่นคงทางการเงิน  แต่สำหรับลูกค้ากลุ่มเสี่ยง อัตราดอกเบี้ยกลายเป็นประหนึ่งน้ำหนักที่พร้อมจะหน่วงนำให้ต้องจ่อมจมกับภาระหนี้หนักขึ้นไปอีก และมีโอกาสที่จะทำให้สัดส่วนรายได้กับหนี้สินดำเนินไปแบบที่ไม่มีหนทางจะออกจากวังวนของการก่อหนี้เพิ่ม และจะยิ่งทำให้สถานการณ์การแบกหนี้เพิ่มขึ้นด้วยอัตราที่รวดเร็วกว่าเดิมอีกด้วย ความป่วยไข้ทางเศรษฐกิจของผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ในห้วงเวลาปัจจุบัน ว่าด้วยภาวะหนี้สินครัวเรือน ได้รับการยืนยันล่าสุดว่าเพิ่มขึ้นไปสู่ระดับ 11 ล้านล้านบาทหรือกว่าร้อยละ 81 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และกลายเป็นปัจจัยหลักที่ไม่เพียงส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจทั้งระบบไม่สามารถขยายตัวได้ในช่วงที่ผ่านมาเท่านั้น หากยังจะเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถก้าวเดินไปสู่อนาคตอีกด้วย ผลพวงจากสถานการณ์เศรษฐกิจและปัญหาหนี้ครัวเรือนดังกล่าวนี้ ทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในกลุ่มคอนโดมิเนียมระดับราคาต่ำกว่า 5 หมื่นบาทต่อตารางเมตรหรือมีราคาขายอยู่ที่ยูนิตละ 2 ล้านบาท กลายเป็นกลุ่มน่าจับตามองเป็นพิเศษ เพราะเป็นกลุ่มที่มียูนิตเหลือขายอยู่เป็นจำนวนมากคิดเป็นกว่าร้อยละ 60 ของสต็อกที่มีมูลค่ารวมมากถึง 8

Read More

มุมมองของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ต่อโอกาสและความท้าทายของเศรษฐกิจไทย

 ช่วงเวลาท้ายปีหลายหน่วยงานมักนิยมจัดงานเสวนา งานสัมมนา และหัวข้อที่มักจะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นหลักของงานคงหนีไม่พ้นเรื่องเศรษฐกิจไทย หรือความพร้อมของไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้นปลายปีนี้ ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่ไม่มั่นคง ซึ่งมีเหตุมาจากการขาดเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศ และผลกระทบจากสภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายนอกประเทศ ทำให้หลายฝ่ายมีคำถามขึ้นในใจว่า ประเทศไทยพร้อมเพียงใด และยังรวมไปถึงแนวทางที่ควรปฏิบัติ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมา มีการจัดสัมมนาและเสวนาพร้อมกันสองงาน ซึ่งหัวข้อของทั้งสองงานนี้คล้ายเป็นการตั้งคำถามในทิศทางเดียวกัน ทั้งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่จัดสัมมนาในหัวข้อ “อนาคตเศรษฐกิจไทยปี 2559 โอกาสและความท้าทาย” และนิโอ ทาร์เก็ตจัดเสวนาเรื่อง “ก้าวสู่เออีซี โอกาสและความท้าทาย” ซึ่งบุคคลที่เป็นแม่งานทั้งสองฝ่ายเล็งเห็นว่าผู้ที่จะให้คำตอบ แนวคิด หรือคำนิยามที่ดีและเหมาะสมที่สุดคือ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียนและประธานสถาบันนวัตกรรมแห่งอนาคต (FIT)  “คนรุ่นใหม่เป็นความหวังของชาติ รู้จักแปรเปลี่ยนปรับวิธีคิด ท่ามกลางกระแสที่เกิดขึ้นรอบด้าน” ดร.สุรินทร์กล่าว อีกทั้งยังแสดงทัศนะต่อว่า อาเซียนเป็นโอกาสและเวทีในการแข่งขัน นับเป็นพื้นที่พิเศษที่ถูกบูรณาการเข้าหากัน ประเทศไทยต้องอาศัยความหลากหลายที่มี โดยเฉพาะตำแหน่งที่ตั้งของไทยที่อยู่กึ่งกลางของ GMS Corridors  ปัญหาเศรษฐกิจที่กำลังรุมเร้าไทยอยู่ในขณะนี้เป็นผลมาจากการขาดเสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่นที่เมื่อประสบกับสภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ ปัญหาเหล่านั้นจะมีผลต่อความมั่นคงทางการเมือง นอกเหนือไปจากปัญหาเศรษฐกิจ ความพร้อมด้านภาษาของคนไทยถือได้ว่าเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่ง “เราต้องปรับตัว อย่ายึดติดกับอดีตมากเกินไป ไม่อย่างนั้นไทยจะไม่สามารถต่อสู้กับทั่วโลกได้”  คนไทยบางส่วนยังขาดความสามารถด้านภาษา ซึ่งภาษาอังกฤษถือว่าเป็นภาษาทางการของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หากแต่หลายคนยังให้คำตอบต่อประเด็นนี้ว่า เพราะประเทศไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของชาติใด ไม่ตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของใคร จึงไม่แปลกที่เราจะพูดภาษาอังกฤษไม่ได้  นี่เองที่ทำให้

Read More