Home > เครือสหพัฒน์ (Page 3)

ตื่น “แพนิกชอปปิ้ง” บิ๊กคอนซูเมอร์โกย

แม้กระทรวงพาณิชย์เรียกถกกลุ่มภาคเอกชนยืนยันสินค้าอุปโภคบริโภคหลักๆ ไม่มีปัญหาขาดแคลน แต่ไม่สามารถหยุดยั้งกระแส “Panic Shopping” ที่ก่อตัวรุนแรงตั้งแต่การสั่งปิดสถานที่เสี่ยงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในกรุงเทพฯ และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกาศฉีดยาแรงใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ระยะเวลา 1 เดือนแรกก่อนประเมินสถานการณ์อีกครั้ง ทั้งการแห่ซื้อกักตุนสินค้า ผู้ค้าโก่งราคาแพงขึ้นหลายเท่า โดยเฉพาะที่เห็นเป็นปัญหาชัดเจน คือ “ไข่ไก่” ล่าสุดขาดตลาด ต้องต่อคิวยาวเหยียดรอซื้อ ทั้งตลาดค้าส่งและค้าปลีก ที่สำคัญ ราคาแพงขึ้นมากกว่า 30 บาทต่อแผง ตกแผงละ 120 บาท และมีแนวโน้มพุ่งขึ้นรายวัน จากปกติเฉลี่ยแผงละ 85-95 บาท นายประโยชน์ เพ็ญสุต รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ระบุว่า ไทยผลิตไข่ไก่ได้ปีละกว่า 15,000 ล้านฟอง หรือวันละ 41 ล้านฟอง ทั้งหมดใช้บริโภคภายในประเทศวันละ 39 ล้านฟอง เหลือส่งออกวันละ 1-2

Read More

สหพัฒน์ดัน “โคเมเฮียว” จับตาฟองสบู่เศรษฐกิจ

เครือสหพัฒน์เดินหน้าตามเป้าหมาย ผุดแฟลกชิปสโตร์แบรนด์เนมมือสอง “โคเมเฮียว (Komehyo)” แห่งแรกในประเทศไทย หลังจากใช้เวลากว่า 5 ปี ศึกษาตลาดแบรนด์เนมมือสองและเจรจาจับมือยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่น เพื่อขยายพอร์ตโฟลิโอสู่ธุรกิจรีเทลลักชัวรีที่สามารถปลุกปั้นอัตรากำไรแซงหน้าตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคมากกว่าเดิมได้อีกหลายเท่า ขณะเดียวกัน “โคเมเฮียว” ยังเป็นอีกหนึ่งจิ๊กซอว์ตามยุทธศาสตร์สำคัญในปี 2563 ที่กลุ่มตระกูลโชควัฒนาต้องการเร่งลงทุนและสร้างการเติบโตในธุรกิจใหม่ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจอาคารสำนักงาน โคเวิร์กกิ้งสเปซ ธุรกิจบริการด้านสุขภาพ และธุรกิจสเปเชียลตี้ สโตร์ คอนเซ็ปต์ใหม่ เพื่อขยายฐานลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงขึ้น ที่สำคัญ เส้นทางธุรกิจแบรนด์เนมมือสองและการเติบโตของโคเมเฮียวในประเทศญี่ปุ่นดูเหมือนกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับประเทศไทย แถมมีปัจจัยหนุนเรื่องการความนิยมในกลุ่มนักช้อปไทยและแบรนด์เนมยังถือเป็นช่องทางการลงทุนที่สามารถสร้างรายได้อย่างสวยงามด้วย ทั้งนี้ โคเมเฮียวมีจุดเริ่มต้นจากการเป็นร้านขายกิโมโนมือสองในเมืองนาโกยาของครอบครัวอิชิฮาระ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1947 เริ่มต้นจากห้องเสื้อผ้าเก่าเล็กๆ ขนาดเพียง 5 เสื่อ หรือประมาณ 16.5 ตารางเมตร ในช่วงนั้นความเป็นอยู่ของคนญี่ปุ่นดีขึ้น จึงมีกำลังซื้อและต้องการหาซื้อสิ่งของ เพื่อยกระดับความพึงพอใจในการใช้ชีวิตประจำวัน ร้านโคเมเฮียวจึงจัดหาเพิ่มสินค้าหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะพวกเครื่องประดับ นาฬิกา กล้องถ่ายรูป และเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่แตกในปี 1990 ลูกค้าประจำของร้านโคเมเฮียวจำเป็นต้องขายสินค้าแบรนด์เนมที่มีอยู่ เพื่อช่วยบรรเทาสภาพทางเศรษฐกิจในครัวเรือน ครอบครัวอิชิฮาระจึงตัดสินใจเริ่มต้นทำธุรกิจซื้อขายสินค้าแบรนด์เนมมือสองตั้งแต่นั้นมา เพื่อช่วยเหลือลูกค้าจนกลายเป็นปรัชญาการดำเนินธุรกิจในฐานะตัวกลางส่งผ่านสินค้าตามแนวคิด “Relay Use” ส่งต่อสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วไปให้กับบุคคลอื่นที่ยังต้องการ เพื่อนำไปใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพทำให้สิ่งของมีประโยชน์สูงสุด สามารถสร้างตลาดใหม่และรายได้เติบโตจนกลายเป็นผู้นำธุรกิจซื้อขายสินค้าแบรนด์เนม ปี

Read More

ลอว์สันเฉือนเซเว่นฯ ฮุบทำเลรถไฟฟ้าชิงส่วนแบ่ง

“สหพัฒน์” เดินหน้าเปิดเกมรุกต่อยอดธุรกิจร้านสะดวกซื้อ “ลอว์สัน 108” ประกาศจับมือกับบริษัท วีจีไอ โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) ในเครือบีทีเอสกรุ๊ป ตั้งบริษัทร่วมทุน “เอส แอล วี รีเทล” เหมาทำเลพื้นที่บนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส แถมเดินหน้ากลยุทธ์เชื่อมกลุ่มลูกค้าด้วยระบบ “Offline-to-Online (O2O) Ecosystem” โดยมีแรบบิทเป็นช่องทางการชำระเงิน ทั้งบัตรแรบบิท และ Rabbit Line Pay หลังจากช่วงปีที่ผ่านมา บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ และคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ตัดสินใจผนึกกำลังเชื่อม Big Data ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นระบบ E-Payment รองรับระบบซื้อขายในร้านค้าปลีกของกลุ่มสหพัฒน์ที่มีทั้งร้านซูรูฮะ ร้านไดโซะ ศูนย์บริการ His&Her และร้านสะดวกซื้อลอว์สัน 108

Read More

สหพัฒน์เร่งเจาะธุรกิจใหม่ หืดจับ หลุดเป้า 3 แสนล้าน

เสี่ยบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ ผิดหวังอย่างรุนแรง ทั้งที่เคยประกาศลั่นในงานเปิดตัว “สหกรุ๊ปแฟร์” เมื่อปีก่อน ตั้งเป้าหมายผลักดันบริษัทในเครือมากกว่า 200 บริษัท ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้ามากกว่าพันรายการ และร้านค้าปลีก ลุยเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ดันรายได้ฉลุยแตะ 3 แสนล้านบาท เพราะสุดท้ายต้องหดเป้าทั้งหมดและกุมขมับยอมรับว่า ภาพรวมเศรษฐกิจที่ยังไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลถือเป็นช่วงเลวร้ายที่สุด เหตุผลสำคัญ คือ กำลังซื้อในระดับรากหญ้าและภาคการเกษตรหายไปค่อนข้างมาก ซึ่งส่วนหนึ่งของกำลังซื้อที่หดหายมาจากพิษเงินบาทที่แข็งค่ามาที่ระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และยังทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้น ขณะที่ความสามารถในการส่งออกลดน้อยลง โดยเฉพาะภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรที่ใช้วัตถุดิบและแรงงานในไทยแบบต้นน้ำจนถึงปลายน้ำแบบ 100% นั่นทำให้ยักษ์ใหญ่อย่างสหพัฒน์ต้องปรับกระบวนทัพต่างๆ เมื่อแนวโน้มกลุ่มธุรกิจเสื้อผ้าและแฟชั่นเติบโตลดลง บริษัทเริ่มมองหากลุ่มธุรกิจใหม่ๆ โดยขยายไปยังกลุ่มธุรกิจอาหาร ซึ่งยังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี และหันไปลงทุนในธุรกิจที่มีการเติบโตสูง เช่น ธุรกิจกลุ่มสินค้าบริการและการศึกษา ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และโลจิสติกส์ ในย่านสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อรองรับสินค้าในเครือของบริษัทที่ต้องการส่งแบบรวดเร็วและสดใหม่ และธุรกิจพลังงานทดแทน ขณะเดียวกัน ในกลุ่มธุรกิจเสื้อผ้าและแฟชั่น ซึ่งยังเป็นแหล่งรายได้หลักนั้น เสี่ยบุณยสิทธิ์พลิกกลยุทธ์ลดขนาดธุรกิจ (Scale Down) และปรับแผนงานสู่ธุรกิจเสื้อผ้าเจาะตลาดลูกค้าองค์กร (B2B) เช่น เจาะตลาดชุดยูนิฟอร์มพนักงาน ทั้งนี้ ช่วงการจัดงานสหกรุ๊ปแฟร์

Read More

ช้อป โกลบอล (ประเทศไทย) เครือสหพัฒน์ จับมือ “คลัสเตอร์เครื่องสำอางไทย” เตรียมรุกตลาดเครื่องสำอางไทยสู่ตลาดโลก

สองธุรกิจยักษ์ใหญ่ของเมืองไทย “ช้อป โกลบอล (ประเทศไทย)ฯ” เครือสหพัฒน์ จับมือ “คลัสเตอร์เครื่องสำอางไทย” ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลไทย เตรียมรุกตลาดเครื่องสำอางไทยสู่ตลาดโลก ผ่านช่องทางทีวีช้อปปิ้ง “ช้อป ชาแนล(SHOP Channel)” ช่อง PSI 45 และ 445, ช่อง True visions HD 52, ช่อง G-MM Z 69 และ 102 หวังกระจายสินค้าสู่มือผู้บริโภค ผนึกกำลังพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้มีขีดความสามารถด้านการผลิตสินค้าเครื่องสำอางไทยสู่ความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น หลังครองแชมป์อันดับ 1 ตลาดเครื่องสำอางในอาเซียน และอันดับ 3 ในเอเชียเป็นรองแค่ญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ ด้วยยอดมูลค่ารวมทางเศรษฐกิจมากถึงเกือบ 3 แสนล้านบาท บริษัท ช้อป โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เจ้าของธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ผ่านทีวีช้องปปิ้งจากญี่ปุ่นในนาม “ช้อป ชาแนล (SHOP Channel)”

Read More

“สหพัฒน์” ทรานส์ฟอร์ม เร่ง “บิ๊กดาต้า” สู้ทุกวิกฤต

เสี่ยบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ ออกมาประกาศนโยบาย 5 ปี ตั้งเป้าหมายผลักดันบริษัทในเครือที่มีมากกว่า 200 บริษัท ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้ามากกว่าพันรายการ รวมถึงเครือข่ายค้าปลีกที่กำลังเร่งขยายอย่างครบวงจร ก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 เต็มรูปแบบ โดยมีรายได้กว่า 3 แสนล้านบาท เป็นเดิมพันสำคัญ เหตุผลไม่ใช่แค่การประเมินปัจจัยในระยะสั้น 1-2 ปี แม้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยืนยันจะจัดการเลือกตั้งภายในปี 2562 หรือแม้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวเกินคาด ชนิดที่หลายๆ หน่วยงานแห่ปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2561 ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ตัดสินใจปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2561 จากเดิม 3.6-4.6% เป็นคาดว่าจะเติบโต 4.2-4.7% ตามด้วยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ปรับจีดีพีไทยปี 2561 คาดว่าจะเติบโต 4.3-4.8% จากเดิมคาดไว้ 4.0-4.5% ล่าสุด คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50%

Read More

โคเมเฮียว บุกไทย จับมือ “สหพัฒน์” เจาะกลุ่มลักชัวรี

การประกาศลงนามสัญญาความร่วมมือระหว่างบริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) กับยักษ์ใหญ่ธุรกิจร้านจำหน่ายสินค้าแบรนด์เนมมือสอง “Komehyo” (โคเมเฮียว) จากประเทศญี่ปุ่น เพื่อผุดแฟล็กชิปสโตร์แห่งแรกในประเทศไทย ด้านหนึ่งถือเป็นยุทธศาสตร์เจาะรีเทลกลุ่มใหม่ของเสี่ยบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ซึ่งไม่ใช่แค่รับเทรนด์การเติบโตของตลาดแบรนด์เนมมือสอง แต่ยังเกาะกระแสการรักษาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเรียกร้องพฤติกรรม Reuse สินค้าให้ได้มากที่สุด ที่สำคัญ เสี่ยบุณยสิทธิ์กำลังรุกขยายเครือข่ายร้านค้าปลีกให้ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าต่างๆ มากขึ้นและฉีกกลยุทธ์ชนิดที่สหพัฒน์ไม่ต้องการวิ่งไล่หลังใครอีกแล้ว ไม่ให้เหมือน “ลอว์สัน” ที่ยังทิ้งห่างจากเซเว่นอีเลฟเว่นและแฟมิลี่มาร์ท หรือ “ซูรูฮะ” ซึ่งยังต้องไล่บี้คู่แข่งอย่างวัตสันและบู๊ทส์ แต่โคเมเฮียวที่มีทั้งทุนเต็มหน้าตักและโนว์ฮาวระดับเบอร์ 1 จากญี่ปุ่น น่าจะเปิดทางการก้าวขึ้นเป็นเบอร์ 1 ในตลาดรีเทลกลุ่มแบรนด์เนมมือสองได้ไม่ยากนัก ว่ากันว่า เคยมีการคาดการณ์ตลาดสินค้าแบรนด์เนมมือสอง หรือ Pre-owned luxury ในตลาดโลก มีมูลค่าสูงถึง 19,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 6.7 แสนล้านบาท เฉพาะกลุ่มสินค้าเครื่องหนังและเสื้อผ้ามือสองมีมูลค่าสูงถึง 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.4 แสนล้านบาท ยิ่งเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่และอาจเจอวิกฤตอีกหลายรอบ ยอดขายสินค้าแบรนด์เนมชื่อดังระดับโลกหลายค่ายไม่ได้พุ่งกระฉูดเหมือนก่อน แม้มีความพยายามเจาะตลาดประเทศใหม่ๆ มากขึ้น ทั้งการเปิดชอปและการส่งสินค้าจำหน่ายผ่านเอาต์เล็ตระดับโลก เนื่องจากมีกลุ่มลูกค้าหันไปซื้อสินค้าแบรนด์เนมมือสองมากขึ้น ชนิดที่ว่า ตลาดแบรนด์เนมมือสองระดับหรูมีอัตราเติบโตแบบก้าวกระโดดทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ ลูกค้าส่วนใหญ่ต่างเห็นข้อดีหลายอย่าง

Read More

สหพัฒน์ปลุก 20 ปี BSC พลิกบทเรียน “ต้มยำกุ้ง”

“เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังเหมือนกำลังขับรถเกียร์ 3 เข้าสู่ขาขึ้นและใกล้เจอทางเรียบ ปีหน้าคาดว่าจะเป็นเกียร์ 4 คือเศรษฐกิจดี หากไม่มีอะไรมาสะดุดขาตัวเอง ภาพรวมเศรษฐกิจไทยถือว่าดีกว่าประเทศเพื่อนบ้าน กำลังซื้อจากนี้ไปจะดีขึ้น เพราะสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้น อีกทั้งที่ผ่านมาคนไทยอยู่ในสถานการณ์โศกเศร้าเลยทำให้ไม่ค่อยซื้อสินค้า แต่สถานการณ์ซบเซามาปีกว่าแล้ว ทุกอย่างน่าจะดีขึ้นหลังจากนี้" บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ สะท้อนภาพรวมเศรษฐกิจไทยด้วยความหวังและความมั่นใจ แม้ดูจะสวนทางกับบรรดานักวิเคราะห์และนักวิชาการที่ยังประเมินสถานการณ์ประเทศไทยอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อและต้องเผชิญกับปัจจัยลบอีกหลายตัว หลายคนหวาดกลัวกับภาวะฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ปัญหาการส่งออก ผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่สำคัญ คือปัจจัยด้านการเมืองและความชัดเจนเรื่องการเลือกตั้ง แน่นอนว่า เครือสหพัฒน์ผ่านวิกฤตหลายครั้ง โดยเฉพาะวิกฤตค่าเงินครั้งใหญ่ “ต้มยำกุ้ง” เมื่อปี 2540 ซึ่งบุณยสิทธิ์ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่สุดของการทำธุรกิจ แม้สถานการณ์ในปัจจุบันยังไม่รุนแรงมากเหมือนอดีต แต่มีรูปแบบคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะปัญหากำลังซื้อหดตัว หากเปรียบเทียบปี 2540 มีปมใหญ่อยู่ที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวจนแตะ 50 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งโชคดีที่ธุรกิจของกลุ่มตระกูลโชควัฒนามีสัดส่วนการกู้เงินต่างประเทศจำนวนไม่มาก เพราะบริษัทในเครือเน้นนโยบายการทำธุรกิจด้วยความระมัดระวัง จึงไม่เกิดภาวะหนี้ท่วมเหมือนหลายๆ บริษัท แต่ผลกระทบในเวลานั้น คือกำลังซื้อของชาวบ้านลดลงอย่างหนัก เพราะสถานประกอบการหลายแห่งแบกรับหนี้ไม่ไหว ต้องปิดตัว เลิกจ้าง คนจำนวนมากไม่มีรายได้ ไม่มีงานทำ ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายทุกอย่าง ไม่เว้นแม้กระทั่งสินค้าอุปโภคบริโภคประจำวัน ในฐานะยักษ์ใหญ่สินค้าคอนซูเมอร์ บุณยสิทธิ์งัดกลยุทธ์จัดงาน “สหกรุ๊ป

Read More

ธุรกิจการศึกษา “บูม” กลุ่มทุนแห่ขยาย ต่อยอดอาณาจักร

ธุรกิจการศึกษาพุ่งติดทอปเท็นดาวรุ่งในปี 2560 โดยประเมินเม็ดเงินคร่าวๆ มูลค่ากว่าแสนล้านบาทและมีกลุ่มทุนแห่ลงทุนสินทรัพย์อย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2558 เพื่อรองรับการขยายตัวด้านการศึกษาที่มีแนวโน้มแข่งขันกันสูงจากการสอบวัดระดับของหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงการมีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) กำลังเปิดตลาดใหม่ในกลุ่มชาวต่างชาติที่ไหลทะลักเข้าสู่ประเทศไทย ขยายฐานการเติบโตเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว ก่อนหน้านี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเคยสำรวจเม็ดเงินค่าใช้จ่ายบริการด้านการศึกษาเฉพาะช่วงเปิดเทอมใหญ่เดือนพฤษภาคม 2559 ในระดับก่อนอุดมศึกษาจากผู้ปกครองทั่วประเทศไทย มีมูลค่าประมาณ 60,900 ล้านบาท เติบโต 2% เทียบช่วงเดียวกันของปี 2558 ที่มีมูลค่า 59,700 ล้านบาท แยกเป็นค่าเทอมโรงเรียนเอกชนประมาณ 40,600 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากค่าเทอมประมาณ 16,700 ล้านบาท ค่าเรียนกวดวิชาประมาณ 2,800 ล้านบาท และค่าเรียนเสริมทักษะอื่นๆ อีก 800 ล้านบาท ขณะเดียวกัน ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2559 พบว่า มีนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจการศึกษาที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ประมาณ 302 ราย มูลค่าสินทรัพย์รวมกว่า 3,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี

Read More

เซเว่นฯ พลิกกลยุทธ์สู้ “ศึกนอก-ศึกใน” รุมถล่ม

  แม้ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ตัดสินใจพลิกกลยุทธ์ส่งสารแจงที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) พร้อมประกาศจัดตั้งบอร์ดบรรษัทภิบาล ยกระดับมาตรฐานเพื่อเรียกความเชื่อมั่น หลังเกิดเหตุสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สั่งปรับ 4 ผู้บริหารระดับสูง ซึ่งมีก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหารติดรวมอยู่ด้วย ข้อหาใช้ข้อมูลภายใน (อินไซเดอร์) ซื้อขายหุ้น “แม็คโคร” แต่ปัญหายังไม่จบ ล่าสุดสถาบันไทยพัฒน์ซึ่งเป็นสถาบันจัดอันดับบริษัทจดทะเบียนตลาดหุ้นไทยที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ประกาศผลการจัดอันดับบริษัทหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล 100 อันดับ ประจำปี 2559 หรือ “อีเอสจี 100 (ESG 100)” ซึ่งปรากฏว่าซีพีออลล์หลุดเกณฑ์อีเอสจี 100  ขณะเดียวกันการที่บอร์ดซีพีออลล์ไม่มีคำสั่งให้ผู้บริหารพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากมองว่ากระทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ส่งผลให้ผู้ถือหุ้นบางคน สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) และนักลงทุนสถาบันเรียกร้องให้ผู้บริหารออกจากตำแหน่ง พร้อมโต้กลับด้วยการลดน้ำหนักการลงทุนและทยอยขายหุ้นซีพีออลล์ ต้องถือว่าช่วงปี 2558 คาบเกี่ยวถึงปี 2559 ซีพีออลล์เจอศึกหนักหน่วงกว่าทุกปีที่ผ่านมา ทั้งปัญหาภาพลักษณ์ขององค์กรและต้องฝ่าสมรภูมิค้าปลีกที่มีคู่แข่งยักษ์ใหญ่เข้ามาช่วงชิงตลาดรอบด้าน เพราะทุกค่ายต่างประกาศรุกสงคราม

Read More