Home > พิพิธภัณฑ์เหรียญ

เรื่องเล่าของเหรียญกษาปณ์และคุณค่าที่มากกว่ามูลค่า

น้อยคนนักที่จะสงสัยและหาคำตอบว่า เหรียญที่กระทบกันส่งเสียงกรุ๊งกริ๊งจากในกระเป๋าเรานั้น มีเรื่องราวการเดินทางมาอย่างไรบ้าง แต่เชื่อเถอะว่า เหรียญกษาปณ์ทุกเหรียญล้วนแล้วแต่มีที่มา และเรื่องราวมากมายแฝงเร้นอยู่ ย้อนไปเมื่อ 5 ปีก่อน ผู้จัดการ 360 องศา เคยนำเสนอเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์เหรียญในบริบทที่ว่า “พิพิธภัณฑ์เหรียญ ทุกการเดินทางมีเรื่องราว” ในเวลานั้นการถ่ายทอดเรื่องราวการเดินทางของเหรียญเป็นเพียงแค่ปฐมบทเท่านั้น หาใช่บทสรุปของการเดินทาง จวบจนกระทั่งเวลานี้ที่พิพิธภัณฑ์เหรียญได้เปิดให้บริการแก่นักสะสม และผู้ที่สนใจอย่างเต็มรูปแบบ ภายใต้การบริหารงานของกรมธนารักษ์ บรรยากาศประชาชนเข้าคิวเพื่อจองและแลกซื้อเหรียญที่ระลึกเนื่องในวันสำคัญต่างๆ คงเป็นภาพที่คุ้นตาไม่น้อย ไม่ว่าผู้คนที่ต่อแถวจะมีความจำนงที่จะซื้อเหรียญเพื่อเก็บไว้เอง หรือเพื่อนำไปเก็งกำไรต่อก็ตามที ทว่า เหรียญที่ระลึกเหล่านั้นไม่ได้มีคุณค่าอยู่ที่ความสามารถในการจับจองจนได้มาเป็นเจ้าของเท่านั้น หากแต่เหรียญที่ระลึกเป็นเสมือนเครื่องบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับบุคคล วันหรือเหตุการณ์สำคัญ และนั่นทำให้เหรียญเหล่านี้ไม่ได้มีคุณค่าตามมูลค่าที่ปรากฏอยู่บนเหรียญเท่านั้น ทว่า เรื่องราวมากมายที่ถูกถ่ายทอดลงบนเหรียญต่างหาก ที่บ่งบอกและแสดงให้เห็นคุณค่าของเหรียญนั้นๆ อย่างแท้จริง ท่ามกลางแดดร้อนระอุ ถือเป็นบททดสอบความมานะอุตสาหะของนักสะสมเหรียญและนักเก็งกำไรได้เป็นอย่างดี แต่หลังจากที่เหรียญมาอยู่ในครอบครองแล้ว จะมีสักกี่คนที่ยังหมั่นหยิบเหรียญเหล่านั้นขึ้นมาเพื่อหวนรำลึกถึงและมองคุณค่าของมัน นี่อาจเป็นโจทย์สำคัญของกรมธนารักษ์ ที่นอกเหนือไปจากหน้าที่หลักในด้านการผลิตเหรียญกษาปณ์ทั้งสองชนิด คือ เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน และเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก โดยเหรียญทั้งสองชนิดทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราวต้นกำเนิดของเหรียญที่กลายเป็นประวัติศาสตร์ซึ่งน้อยคนนักจะได้รู้ และเช่นเคย บริษัท ไร้ท์แมน จำกัด ที่เคยออกแบบนิทรรศรัตนโกสินทร์ พิพิธบางลำพู และศูนย์การเรียนรู้อีกมากมาย เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการย่อยสารและตีโจทย์ในครั้งนี้ แม้ว่าพิพิธภัณฑ์เหรียญจะเปิดให้บริการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2557 และเริ่มถ่ายทอดเรื่องราวการเดินทางของเหรียญมาตั้งแต่ครั้งนั้น แต่เหรียญกษาปณ์ถูกประกอบส่วนขึ้นจากเรื่องราวอีกมากมาย และพิพิธภัณฑ์เหรียญยังคงทำหน้าที่อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง จนกระทั่งมีการผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน ส่วนเติมเต็มของเรื่องที่ขาดหายไปบนพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้ปรากฏขึ้นอีกครั้งเมื่อวันที่

Read More

คุณค่าแห่งโอกาสการเรียนรู้เพื่อผู้พิการ

  “ดีใจค่ะ ดีใจมาก” คำตอบจากน้องพลอย เด็กหญิงผู้พิการทางสายตาที่มาร่วมกิจกรรมในงาน “ทุกสัมผัสแห่งวิถีของเงินตรา” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 9-16 สิงหาคม ที่ผ่านมา โดยกรมธนารักษ์จัดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559  นับเป็นครั้งแรกของพิพิธภัณฑ์เหรียญที่จัดนิทรรศการพิเศษ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้พิการทางสายตา ผู้พิการทางหู ได้เข้าชมและเรียนรู้วิวัฒนาการเงินตราของไทย และแน่นอนว่าเป็นครั้งแรกของน้องพลอยเช่นกัน  รอยยิ้มและเสียงหัวเราะที่ดังขึ้นในงาน ไม่ได้แค่สร้างความสุขให้อวลอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์เท่านั้น หากแต่ยังสร้างความอิ่มเอมให้กับผู้ที่อยู่เบื้องหลังของพิพิธภัณฑ์เหรียญอย่างไร้ท์แมนอีกด้วย  โดยในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นมีกิจกรรมที่น่าสนใจที่จัดขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อรองรับผู้พิการ ทั้งการสร้างเหรียญในจินตนาการด้วยการวาดภาพจากอุปกรณ์พิเศษ การปั้นเหรียญจากดินปั้น การฝนลวดลายภาพนูนต่ำ การวาดรูปร่างสิ่งของแลกเปลี่ยนจากการคลำของจริง และการปั๊มลวดลายของเหรียญในอดีตลงบนแผ่นพับ  และแม้ว่ากิจกรรมดังกล่าวจะเป็นการสร้างประสบการณ์ที่พิเศษสำหรับผู้พิการ แต่ด้วยระยะเวลาอันสั้นที่เกิดขึ้นเพียงหนึ่งสัปดาห์ ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า เหตุใดโอกาสในการเรียนรู้สำหรับผู้พิการจึงสั้นนัก ทั้งนี้ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของอาคารพิพิธภัณฑ์เหรียญที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับผู้พิการที่ต้องใช้รถวีลแชร์สามารถเข้าถึงและเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ได้สะดวกแล้ว แต่ลักษณะของการจัดแสดงเรื่องราวในพิพิธภัณฑ์ไม่ได้มีไว้รองรับผู้พิการด้านอื่นๆ อย่างไรก็ตาม หากจะกล่าวถึงประเด็นการให้โอกาส ที่คนส่วนใหญ่มักจะหยิบยื่นให้แก่ผู้พิการแล้ว รูปแบบที่มักถูกเลือกใช้คือการแบ่งปันสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน การเลี้ยงอาหารและกิจกรรมสันทนาการตามมูลนิธิ หรือในรูปแบบของการให้เงินช่วยเหลือ ซึ่งหากวิเคราะห์ในด้านของมูลค่าแล้ว คุณค่าของสิ่งเหล่านี้มักจะค่อยๆ ลดลงไปตามกาลเวลา แต่คงไม่ใช่กับการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ที่ผู้บริหารบริษัท ไร้ท์แมน จำกัด อย่างอุปถัมป์ นิสิตสุขเจริญ มองว่า “การสร้างโอกาสให้ผู้พิการได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ หรือพิพิธภัณฑ์ แม้จะไม่สามารถตีค่าออกมาในรูปแบบของเงินได้ แต่เป็นคุณค่าของการเรียนรู้สำหรับผู้พิการและเป็นคุณค่าของความพยายามในการสร้างสรรค์”  แม้ในกิจกรรมดังกล่าวจะเป็นเพียงนิทรรศการชั่วคราว แต่ในอนาคตอุปถัมป์เล่าว่า

Read More

กรมธนารักษ์จัดนิทรรศการสำหรับผู้พิการ ณ พิพิธภัณฑ์เหรียญ

  กรมธนารักษ์ร่วมเทิดพระเกียรติในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยจัดนิทรรศการและกิจกรรม “ทุกสัมผัสแห่งวิถีของเงินตรา” เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้พิการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ด้านเงินตรา ระหว่างวันที่ 9-16 สิงหาคม 2559 ณ พิพิธภัณฑ์เหรียญ ถนนจักรพงษ์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้ ว่า เนื่องจากปีนี้เป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ กรมธนารักษ์จึงจัดงานนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นการร่วมเทิดพระเกียรติ โดยพิพิธภัณฑ์เหรียญซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมธนารักษ์ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีการออกแบบเพื่อรองรับผู้เข้าชมทุกประเภทรวมทั้งกลุ่มผู้พิการด้วย ขณะนี้เปิดให้ประชาชนเข้าชมการจัดแสดงวิวัฒนาการเงินตรา ในบริเวณอาคารชั้น 1 และอยู่ในระหว่างปรับปรุงการจัดแสดงบนชั้นที่ 2 และ 3 โดยจะแล้วเสร็จและเปิดให้เข้าชมอย่างเต็มรูปแบบในปี 2560 ที่จะถึงนี้ และเชื่อมั่นว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเงินตราที่ใหญ่และมีความทันสมัยที่สุดในประเทศไทย โดยจัดแสดงตั้งแต่จุดกำเนิดของเงินตราเรื่อยมาจนถึงเหรียญกษาปณ์ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังจัดแสดงเหรียญกษาปณ์จากนานาประเทศทั่วโลกกว่า 200 ประเทศ ซึ่งหาชมจากที่ไหนไม่ได้ ดังนั้น จึงถือเป็นโอกาสดีที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับเงินตรากับกลุ่มผู้พิการ

Read More

พิพิธภัณฑ์เหรียญ ทุกการเดินทางมีเรื่องราว

 เมื่อเดือนที่แล้ว (สิงหาคม) มีข่าวเหรียญ 10 บาท ที่ผลิตขึ้นในปี พ.ศ. 2533 เพียง 100 เหรียญ ซึ่งอยู่ที่กรมธนารักษ์จำนวน 60 เหรียญ ส่วนอีก 40 เหรียญนั้นได้มีการแจกให้กับผู้ร่วมการประชุม Mint Directors Conference (MDC) ครั้งที่ 16 ที่ประเทศอังกฤษ โดยมีคนไทยได้รับแจกเหรียญ 10 บาท ปี พ.ศ. 2533 จำนวน 20 คน และมีความเป็นไปได้ว่าอาจมีเหรียญ 10 บาท ปี พ.ศ. 2533 จำนวนหนึ่งอยู่ในตลาดของนักสะสม  ขณะเดียวกันข่าวนี้อาจปลุกจิตวิญญาณของนักล่าสมบัติที่มีอยู่ในตัวของใครอีกหลายคน เมื่อมีนักล่าสมบัติชาวอังกฤษค้นพบเหรียญโบราณ 3 เพนนีของอังกฤษ ซึ่งเป็นเหรียญที่หายาก ผลิตในปี ค.ศ. 1652 ที่ถูกพบเจอบริเวณทุ่งนาของเกษตรกรรายหนึ่ง และถูกนำไปเปิดประมูลในราคาสูงถึง 1.6

Read More