Home > น้ำเต้าหู้

แลคตาซอย-โทฟุซัง เมื่อความเก๋าเจอรุ่นใหม่เบียด

Kantar บริษัทด้านข้อมูลการตลาดและการวิเคราะห์ เปิดเผยรายชื่อแบรนด์ที่ได้รับรางวัลจากงาน Thailand Brand Footprint Awards 2024 ซึ่งวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคใน 62 ตลาดทั่วโลก ครอบคลุม 76% ของประชากรโลกและ 86% ของ GDP โลก โดยสำรวจแบรนด์สินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) กว่า 590 แบรนด์ และแบรนด์ความงามอีก 400 แบรนด์ในประเทศไทย เพื่อเน้นย้ำแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จสามารถดึงดูดผู้บริโภคในสภาพแวดล้อมที่สินค้ามีราคาสูงขึ้น สร้างความสัมพันธ์ทาง Functional และ Emotional อย่างแข็งแกร่ง ทำให้ตัวเองเป็นที่จดจำและเข้าถึงทุกจุดสัมผัสของผู้บริโภค ทั้งนี้ กำหนดหน่วยวัด Consumer Reach Points (CRP) แสดงถึงการเลือกซื้อแบรนด์ของผู้บริโภคหนึ่งครั้ง รวมข้อมูลจากประชากร การเข้าถึงและการเลือกของผู้บริโภค แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ Most Chosen Brands หรือแบรนด์ที่ผู้บริโภคเลือกซื้อมากที่สุด,Top Outstanding

Read More

น้ำเต้าหู้หมื่นล้าน แห่เปิดร้านอัปเกรดพรีเมียม

แน่นอนว่า เมนูปาท่องโก๋ต้องกินคู่กับน้ำเต้าหู้ ซึ่งร้านน้ำเต้าหู้ยุคปัจจุบันสไตล์คนรุ่นใหม่ต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิงและได้ผลตอบรับค่อนข้างดีด้วย ทั้งในแง่ตลาดความต้องการของผู้บริโภคและจำนวนร้านเปิดใหม่พุ่งพรวดกว่าเท่าตัว หากเจาะเฉพาะตลาดน้ำเต้าหู้หรือนมถั่วเหลือง เคยมีข้อมูลการวิจัยของยูโรมอนิเตอร์ระบุว่า ประเทศไทยเป็นตลาดสำคัญที่บริโภคถั่วเหลืองเป็นอันดับ 3 ของโลก อัตราการบริโภคมากกว่า 12 ลิตรต่อคนต่อปี รองจากฮ่องกงและสิงคโปร์ และตลาดน้ำนมถั่วเหลืองในประเทศไทยเติบโตต่อเนื่องมากกว่า 10% ทุกปี ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากคนไทยที่มีอายุมากขึ้น จึงลดการบริโภคนมโคลงและหันมาบริโภคน้ำนมถั่วเหลือง ขณะที่คนรุ่นใหม่นิยมดื่มน้ำเต้าหู้ เพื่อลดความเสี่ยงการแพ้นมวัว รวมทั้งความนิยมในการบริโภคอาหารเจทำให้ตลาดนมถั่วเหลืองแข่งขันสูงขึ้น ทั้งเรื่องนวัตกรรมสินค้าและรสชาติใหม่ๆ ถ้าแยกสัดส่วนตลาดนมถั่วเหลืองพร้อมดื่มในประเทศไทยแบ่งเป็นชนิดกล่องยูเอชทีประมาณ 84% แบบขวดแก้วหรือสเตอริไรซ์ 13% และแบบพาสเจอไรซ์ (คั้นสด) 3% ซึ่งช่วงหลายปีที่ผ่านมาเกิดเทรนด์ใหม่ในกลุ่มผู้บริโภค มีความต้องการนมถั่วเหลืองพาสเจอไรซ์ ต่อยอดจากแบบคั้นสดมากขึ้น เพราะไม่ผสมนมผง ไม่ใส่วัตถุกันเสีย ไม่ใส่สารเคมี เติมสีหรือกลิ่น มีความอร่อยสดเหมือนกินน้ำเต้าหู้ตามร้านค้า แต่สามารถซื้อมาเก็บในตู้เย็นได้นานกว่าน้ำเต้าหู้ทั่วไป เพราะผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ขณะเดียวกัน ตลาดผลิตภัณฑ์นมจากพืช ซึ่งรวมถึงนมถั่วเหลืองหรือน้ำเต้าหู้มีการเติบโตสูงตั้งแต่ช่วงปี 2565 และปี 2566 ภาพรวมตลาดมีมูลค่าเกือบ 20,000 ล้านบาท ถือเป็นอานิสงส์จากเทรนด์การใส่ใจด้านสุขภาพ โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 กระตุ้นให้ผู้บริโภคในตลาดให้ความสำคัญกับการเลือกอาหารที่เป็นประโยชน์

Read More

นมถั่วเหลืองหมื่นล้านระอุ ยักษ์ใหญ่รุกเซกเมนต์ใหม่

  แม้ “เอฟแอนด์เอ็น” ในเครือไทยเบฟเวอเรจ รอจังหวะภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวก่อนรุกตลาดสินค้าแบรนด์ใหม่ หลังจากเปิดตัวเครื่องดื่มเกลือแร่ 100 Plus แต่ตามแผนผลักดันแบรนด์สินค้าในกลุ่มนอน-แอลกอฮอล์ เพื่อยึดตลาดอาเซียนภายใต้โรดแมพ “Vision 2020” มีการกำหนดแบรนด์เป้าหมายทั้งหมด 4 ตัว ได้แก่ เอส, โออิชิ, 100 PLUS และเครื่องดื่มนมถั่วเหลืองนูทริซอย (NutriSoy) ซึ่งถือเป็นสินค้าแชมเปี้ยนแบรนด์ของเอฟแอนด์เอ็น  ช่วงเวลานี้ถือเป็นการเตรียมความพร้อมอย่างเข้มข้นก่อนส่งนูทริซอยบุกสมรภูมิช่วงชิงเม็ดเงินในตลาดเครื่องดื่มนมถั่วเหลืองที่มีมูลค่ามากกว่า 18,500 ล้านบาท เพราะตั้งเป้ากินส่วนแบ่งและผลักดันแบรนด์ติดอันดับ 1-3 ให้ได้ภายใน 3 ปี  ขณะที่เจ้าตลาดอย่าง “แลคตาซอย” มีฐานลูกค้าและยึดกุมแชมป์ติดต่อกันยาวนาน มีส่วนแบ่งสูงถึง 55% ตามด้วย “ดีน่า” ในเครือดัชมิลล์มีส่วนแบ่ง 25% และไวตามิลค์ 18%เฉพาะ 3 เจ้ากวาดส่วนแบ่ง 98%  ทั้งนี้ ข้อมูลการวิจัยของยูโรมอนิเตอร์ระบุว่า ประเทศไทยเป็นตลาดสำคัญที่บริโภคถั่วเหลืองเป็นอันดับ 3 ของโลก อัตราการบริโภคเฉลี่ย 12 ลิตรต่อคนต่อปี รองจากฮ่องกงและสิงคโปร์

Read More