Home > ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (Page 9)

โค้งสุดท้ายตลาดคอนโด “แสนสิริ-บีทีเอส” ลอยลำ

  เข้าสู่โค้งสุดท้ายของปี 2558 แม้คาดการณ์กันว่า ความต้องการที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลยังสามารถเติบโตต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 15% มูลค่ารวม 337,000 ล้านบาท แต่เบื้องหลังตัวเลขดังกล่าวมาจากโครงการในระดับไฮเอนด์ จับกลุ่มเศรษฐี และโครงการเกาะแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ซึ่งมีดีเวลลอปเปอร์ยักษ์ใหญ่ยึดครองส่วนแบ่งเพียงไม่กี่ราย  โดยเฉพาะ “แสนสิริ” ที่ล่าสุดประกาศร่วมทุนกับ “บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์” และวางแผนภายใน 5 ปี ผุดโครงการตามแนวเส้นทางระบบขนส่ง จำนวน 25 โครงการ มูลค่าลงทุนมากกว่า 100,000 ล้านบาท  ยิ่งไปกว่านั้น บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ มีแผนประมูลโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าอีกหลายเส้นทาง และมีที่ดินตามแนวเส้นทางจำนวนมาก โดยคีรี กาญจนพาสน์ ในฐานะประธานกรรมการบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ย้ำว่า บริษัทร่วมทุนสามารถผุดโครงการที่อยู่อาศัยตลอดระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร  ที่ผ่านมา ทั้งสองยักษ์มีสัมพันธ์ในฐานะพันธมิตรใกล้ชิด ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนให้แสนสิริเจาะตลาดคอนโดมิเนียมตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า กอบโกยรายได้ยอดขายจากทำเลที่มีศักยภาพและสร้างแบรนด์จนสำเร็จ แน่นอนว่า หากเปรียบเทียบทำเลตลอดเส้นทางรถไฟฟ้า สายสุขุมวิทยังเป็นทำเลทองของตลาดคอนโดมิเนียม ทั้งในแง่ความต้องการและราคาซื้อขายที่ปรับขึ้นทุกปี โดยเฉพาะทำเลดีหายากขึ้น

Read More

อนุพงษ์ อัศวโภคิน เกมผูกขาด “บ้านกลางเมือง”

  อนุพงษ์ อัศวโภคิน ใช้เวลากว่า 2 ทศวรรษ ขยายอาณาจักร “เอเชี่ยนพร็อพเพอร์ตี้” ฉีกแนวออกจาก “แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์” ของพี่ชาย “อนันต์ อัศวโภคิน” โดยเฉพาะการสร้าง “จุดต่าง” จนกลายเป็นยักษ์ใหญ่เจ้าตลาด “Townhouse in the big city” ภายใต้แบรนด์  “บ้านกลางเมือง” และ “บ้านกลางกรุง” ยึดทุกทำเลหลักในเขตเมือง และล่าสุดกำลังเปิดสมรภูมิสู่พื้นที่เมืองใหม่ ไล่ตามโครงข่ายคมนาคมและแนวเส้นทางรถไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญ ในขณะที่ดีเวลลอปเปอร์รายอื่นกำลังลุยสงครามคอนโดมิเนียมช่วงชิงทำเลอย่างดุเดือด แต่ “เอเชี่ยนพร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเมนท์” หรือชื่อใหม่ บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หลังปรับภาพลักษณ์ครั้งใหญ่เมื่อปี 2556 สามารถขยายแนวรบ ทั้งตลาดคอนโดมิเนียมและทาวน์เฮาส์ จับกลุ่มลูกค้าทั้งระดับกลางและระดับบน ทั้งลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ ครอบครัวเดี่ยวและครอบครัวใหญ่ที่อยากมีพื้นที่ใช้สอยมากกว่าชีวิตคอนโดฯ  ทั้งนี้ แผนการปลุกปั้นแบรนด์ “บ้านกลางเมือง” และ “บ้านกลางกรุง”

Read More

ศึกโซลาร์รูฟท็อป กลยุทธ์ใหม่ปลุกอสังหาฯ

 การเดินหน้าโครงการนำร่องระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์สำหรับบ้านและอาคาร หรือ “โซลาร์รูฟท็อปเสรี” ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยวางแผนอนุมัติให้ชาวบ้านกว่า 1 ล้านครัวเรือน สามารถผลิตไฟฟ้าใช้เอง ด้านหนึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนของนโยบายรัฐและปฏิบัติการที่เห็นเป็นรูปธรรม อีกด้านหนึ่งกำลังเปิดเกมใหม่ในการแข่งขัน โดยเฉพาะการประกาศรุกธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์แบบเต็มตัวของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์อย่าง “เสนาดีเวลลอปเม้นท์” กลายเป็นเจ้าแรกในตลาดที่เปิดขายบ้านติดโซลาร์รูฟท็อป ที่ผ่านมา ในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เน้นการเกาะกระแสสิ่งแวดล้อมไปที่รูปแบบบ้าน เช่น “ศุภาลัย” ออกแบบบ้านเพื่ออนุรักษ์พลังงาน  มีบานหน้าต่างขนาดใหญ่ รับแสงธรรมชาติ และรับลมพัดผ่าน ใช้กระจกอนุรักษ์พลังงาน สุขภัณฑ์รุ่นประหยัดน้ำ และหลอดประหยัดพลังงาน  ส่วน “แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์” ชูคอนเซ็ปต์ “LPN Green” ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ใช้หลอดไฟแอลอีดี จัดสรรพื้นที่จอดรถแบบพิเศษสำหรับรถยนต์ประเภทอีโคคาร์ สร้างสวนขนาดใหญ่กว่า 4 ไร่ นำน้ำทิ้งจากการใช้งานของชุมชนมาบำบัดจนได้มาตรฐานเพื่อนำกลับมาใช้รดน้ำต้นไม้ และลดการพึ่งพาเครื่องปรับอากาศ ออกแบบโครงการให้ระบายอากาศด้วยระบบธรรมชาติ หรือแม้กระทั่งโครงการกรีนคาแนล (Green Canal) ของบริษัทโมเดิร์นกรีนกรุ๊ป (Modern Green Group) ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งประกาศตัวว่าเป็นโครงการที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แต่เป็นการผลิตพลังงานไฟฟ้ารองรับสาธารณูปโภคส่วนกลาง ไม่ใช่ “โซลาร์รูฟท็อป”

Read More

ถอดสูตรธุรกิจ “เสนากรุ๊ป” “แตกไลน์-พลิกเกม” สู้วิกฤต

  ระยะเวลามากกว่า 10 ปีที่เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ เข้ามารับไม้ต่อจาก “ธีรวัฒน์” ในฐานะเจนเนอเรชั่นที่ 2 พร้อมๆ กับโจทย์ทางธุรกิจ โดยเฉพาะบทเรียนจากวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” ปี 2540 และระเบิดเศรษฐกิจอีกหลายลูก ซึ่งกลุ่มอสังหาริมทรัพย์มักได้รับผลกระทบอย่างหนัก การปรับเปลี่ยนและขยายไลน์กลายเป็นสิ่งที่เสนากรุ๊ปนำมาพลิกสถานการณ์หนีรอดได้ทุกครั้ง ซึ่งรวมถึงการรุกธุรกิจพลังงานกับพันธมิตรยักษ์ใหญ่ “บี.กริม.พาวเวอร์” ครั้งล่าสุดด้วย   “เสนากรุ๊ป” ไม่ใช่บริษัทเล็กๆ ในวงการ แม้ครอบครัว “ธัญลักษณ์ภาคย์” เริ่มจากกิจการร้านขายลอดช่องย่านตลาดเก่าบางรัก เมื่อ 30 กว่าปีก่อน ซึ่งธีรวัฒน์มักยืนยันเช่นนั้นเสมอ กระทั่งเข้ามาจับธุรกิจโรงงานไม้ปาร์เกต์ จำหน่ายและติดตั้งวัสดุก่อสร้าง    แต่วันหนึ่ง เมื่อธุรกิจสร้างบ้านจัดสรรเฟื่องฟูมาก คนติดตั้งวัสดุก่อสร้างเริ่มมองเห็นอนาคตที่ใหญ่กว่ารออยู่ข้างหน้า  ปี 2536 ธีรวัฒน์ก่อตั้งบริษัท กรุงเทพเคหะกรุ๊ป เดินหน้ารุกธุรกิจบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ และอาคารพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ ภายใต้โครงการเสนาวิลล่า หลังจากนั้นอีก 3 ปี เริ่มดำเนินการโครงการบ้านเดี่ยวขนาดใหญ่ภายใต้ชื่อ โครงการวิลล่า รามอินทรา และเสนา แกรนด์โฮม จนกระทั่งปี

Read More