Home > ธุรกิจค้าปลีก (Page 4)

“ฮาบิโตะ” รุกเซกเมนต์ใหม่ สตาร์ทอัพคอมมูนิตี้มอลล์

  หลังจากใช้เวลาเกือบ 10 ปี ยึดที่ดินย่านถนนสุขุมวิท 77 ก่อร่างสร้างอาณาจักร T77 ล่าสุด บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ได้ฤกษ์ต่อจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญ  “ฮาบิโตะ รีเทลมอลล์” เติมเต็มเมืองแห่งใหม่ และมากกว่านั้น ยังหมายถึงการทดสอบโมเดลธุรกิจ เพื่อกระจายความเสี่ยงในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่ยังต้องรอการเลือกตั้งและรัฐบาลในอนาคต   ขณะเดียวกัน การประกาศตัวรุกเข้าสู่สมรภูมิค้าปลีก เจาะเซกเมนต์ตลาดคอมมูนิตี้มอลล์ถือเป็นเกมธุรกิจต่างจากเดิม แม้รีเทลมอลล์ขนาดกลางมีความง่ายในแง่พื้นที่และกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย แต่ที่ผ่านมามีบริษัทอสังหาริมทรัพย์หลายรายแห่เข้ามาลงทุนผุดโครงการ แต่สุดท้ายเจอปัญหาขาดทุนอย่างหนัก  อุทัย อุทัยแสงสุข รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายงานพัฒนา โครงการคอนโดมิเนียม บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า คอมมูนิตี้มอลล์หลายแห่งไม่ประสบความสำเร็จ สาเหตุสำคัญเกิดจากการไม่มีชุมชนของตัวเอง หรือไม่มีกลุ่มลูกค้าหลัก ซึ่งหากพิจารณาองค์ประกอบการสร้างคอมมูนิตี้มอลล์ โดยเฉพาะกรณีฮาบิโตะ คือมีพื้นที่และทำเลที่เหมาะสม ใจกลางเมือง มีจำนวนประชากร ในพื้นที่ประมาณ 5,000 ครอบครัว หรือเป็นที่ดินติดถนนใหญ่ เนื้อที่ไม่ต่ำกว่า

Read More

ศึกรอยัลตี้โปรแกรม เซ็นทรัลปูพรมชิงฐานลูกค้า

  ภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวบวกกับเทรนด์การจับจ่ายผ่านออนไลน์ของผู้บริโภคกลายเป็นโจทย์ข้อใหญ่ของบรรดาห้างค้าปลีก ทำให้ทุกค่ายเปิดศึก “รอยัลตี้โปรแกรม” อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างฐานลูกค้าสมาชิกและกระตุ้นการซื้อ โดยเฉพาะกลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งล่าสุดฉลองการดำเนินธุรกิจ “เดอะวันการ์ด” ครบ 10 ปี พร้อมประกาศทุ่มงบก้อนโต เร่งขยายฐานสมาชิกและเชื่อมเครือข่ายสิทธิประโยชน์ทุกกลุ่มธุรกิจในเครือที่มากกว่า 5,000 ร้านค้า  ปัจจุบันเดอะวันการ์ดมียอดสมาชิกรวม 12 ล้านคน เรียกว่าครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศและถ้าแยกสัดส่วนสมาชิกหลัก มีกลุ่มลูกค้าอายุ 35-44 ปี และกลุ่มอายุ 45-64 ปี มากสุด กลุ่มละ 30% ตามด้วยกลุ่มอายุ 25-34 ปี อยู่ที่ 25% กลุ่มลูกค้าที่อายุน้อยกว่า 24 ปี ประมาณ 10% และมากกว่า 65 ปี อีก 5%  ระวี พัวพรพงษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายบริการลูกค้าสัมพันธ์ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ผู้ดูแลธุรกิจบัตรเดอะวันการ์ด กล่าวว่า

Read More

เซ็นทรัลชนทีซีซีกรุ๊ป ดัน “ท็อปส์-แฟมิลี่มาร์ท” ไล่บี้บิ๊กซี

  “ทีซีซีกรุ๊ป” ของเจริญ สิริวัฒนภักดี สามารถเอาชนะคว้าดีลฮุบกิจการ “บิ๊กซี” ในประเทศไทย ด้านหนึ่งสามารถเติมเต็มเครือข่ายค้าปลีกในอาณาจักรธุรกิจ แต่อีกด้านหมายถึงอภิมหาสงครามระดับแสนล้าน เพราะหากเทียบความเชี่ยวชาญและประสบการณ์แล้ว ถือว่า “บิ๊กซี” เป็นสมรภูมิใหม่ของเหล่าทายาทในตระกูล เมื่อต้องชนกับคู่แข่งยักษ์ใหญ่อย่างเทสโก้โลตัสและกลุ่มเซ็นทรัล  ที่สำคัญ “บิ๊กซี” ไม่ได้เจอเพียงแค่ปัจจัยลบด้านเศรษฐกิจ ปัญหาหนี้ครัวเรือน ความไม่มั่นใจของกลุ่มผู้บริโภคและกำลังซื้อหดหนัก แต่ยังต้องฝ่าแนวต้านการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งล่าสุดเปิดศึกดัน “ท็อปส์” รุกตลาดเต็มรูปแบบ ทุ่มเงินทุน 6,500 ล้านบาท ปูพรมขยายสาขาภายใน 5 ปี ครบ 600 สาขา เจาะทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย พร้อมๆ กับยกเครื่องเพิ่มความแข็งแกร่งให้ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ หรือคอนวีเนียนสโตร์ในเครืออย่าง “แฟมิลี่มาร์ท” ด้วย จากเดิม “ท็อปส์” เคยเจาะตลาดกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่าง บิ๊กซีเน้นจุดขายความเป็น “ซูเปอร์มาร์เก็ต” ในฐานะพันธมิตรผู้ถือหุ้นและผู้ก่อตั้งบิ๊กซี แต่ ณ วันนี้ ท็อปส์กระโดดเข้ามาเล่นตลาดซูเปอร์เซ็นเตอร์มากขึ้น แตกไลน์รูปแบบสาขาหลากหลายครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่ม ไม่แตกต่างจากกลุ่มไฮเปอร์มาร์เก็ต  ขณะเดียวกันตามแผนยุทธศาสตร์ของทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารบริษัท

Read More

ท็อปส์-บิ๊กซี จาก “พันธมิตร” สู่ “คู่แข่งทางธุรกิจ”

  การประกาศแผนลงทุนครั้งใหญ่ของ “ท็อปส์” ทุ่มเม็ดเงินมากกว่า 6,500 ล้านบาท เร่งปูพรมสาขาทั่วประเทศครบ 600 สาขาภายในปี 2564 เป็นทั้งการเปิดกลยุทธ์สู้ศึกระลอกใหม่และเตรียมพร้อมรับคู่แข่งยักษ์ใหญ่ หลังจากกลุ่มเซ็นทรัลตัดสินใจขายหุ้นที่ถืออยู่ใน “บิ๊กซี” ทั้งหมด 25% ผ่านกระบวนการรับซื้อหุ้นในขั้นตอนการเทกโอเวอร์ของ “เบอร์ลี่ ยุคเกอร์” ในเครือทีซีซีกรุ๊ป เปลี่ยนสถานะ “บิ๊กซี” จาก “Big Central” ของกลุ่มตระกูลจิราธิวัฒน์  เป็น “Big Charoen” พลิกเกมธุรกิจจาก “พันธมิตร” เป็น “ศัตรูคู่แข่ง” โดยถือฤกษ์การฉลองครบรอบ 20 ปีของ “ท็อปส์” ลุยสงครามฟู้ดรีเทลกับ “บิ๊กซี” และจุดชนวนสมรภูมิค้าปลีกระหว่างกลุ่มเซ็นทรัลกับทีซีซีกรุ๊ปด้วย  หากย้อนกลับไป ณ จุดเริ่มต้นเมื่อ 20 กว่าปีก่อน กลุ่มเซ็นทรัลเข้าไปถือหุ้นใหญ่ในบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) และรวมกิจการในธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ต ทั้งเซ็นทรัลกับโรบินสันเมื่อปี 2537   หลังจากนั้นอีก 2

Read More

ปลุกแผน ดิวตี้ฟรีซิตี้ เจาะฐาน “คิง เพาเวอร์”

  แม้สาเหตุหลักหนึ่งที่ฉุดธุรกิจค้าปลีกไทยทรุดหนักต่ำสุดในรอบ 20 ปี มาจากวิกฤตกำลังซื้อกลุ่มผู้บริโภคระดับกลางถึงล่างหดตัวหนัก แต่แย่มากไปกว่านั้น กลุ่มคนไทยระดับไฮเอนด์ เศรษฐีกระเป๋าหนัก แห่เดินทางไปหว่านเม็ดเงินในต่างประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี ปีละ 9% เฉพาะปี 2558 มีมูลค่าสูงถึง 170,032 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นการชอปปิ้งสินค้าแบรนด์เนมที่มีจำหน่ายในประเทศไทยสูงถึง 50,840 ล้านบาท ทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด มักย้ำกับสื่อทุกครั้งว่า ตัวเลขการชอปปิ้งสินค้าแบรนด์เนมในต่างประเทศของคนไทยเติบโตสูงทุกปี ทั้งที่ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าในไทยลงทุนเม็ดเงินจำนวนมหาศาลสร้างโครงการระดับไฮเอนด์รองรับกลุ่มลูกค้า ระดมสินค้าแบรนด์เนมยอดนิยมทุกเซกเมนต์และปลุกภาพลักษณ์ “Shopping Destination” ดึงนักท่องเที่ยวได้ส่วนหนึ่ง แต่กลับไม่สามารถลดตัวเลขการจับจ่ายสินค้าในต่างประเทศของนักชอปไทย กระแสเงินที่ควรเข้ามาหมุนเวียนในประเทศรั่วไหลจำนวนมาก  จากข้อมูลการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย 9 หมวดจาก 17 หมวด ตามนิยามของของกรมศุลกากร ในปี 2558 ได้แก่ เสื้อผ้าแฟชั่น เครื่องสำอาง นาฬิกา แว่น กระเป๋าหนัง รองเท้าหนัง เครื่องประดับคริสตัล ปากกา น้ำหอม สุราต่างประเทศ ผลไม้

Read More

เซเว่นฯ พลิกกลยุทธ์สู้ “ศึกนอก-ศึกใน” รุมถล่ม

  แม้ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ตัดสินใจพลิกกลยุทธ์ส่งสารแจงที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) พร้อมประกาศจัดตั้งบอร์ดบรรษัทภิบาล ยกระดับมาตรฐานเพื่อเรียกความเชื่อมั่น หลังเกิดเหตุสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สั่งปรับ 4 ผู้บริหารระดับสูง ซึ่งมีก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหารติดรวมอยู่ด้วย ข้อหาใช้ข้อมูลภายใน (อินไซเดอร์) ซื้อขายหุ้น “แม็คโคร” แต่ปัญหายังไม่จบ ล่าสุดสถาบันไทยพัฒน์ซึ่งเป็นสถาบันจัดอันดับบริษัทจดทะเบียนตลาดหุ้นไทยที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ประกาศผลการจัดอันดับบริษัทหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล 100 อันดับ ประจำปี 2559 หรือ “อีเอสจี 100 (ESG 100)” ซึ่งปรากฏว่าซีพีออลล์หลุดเกณฑ์อีเอสจี 100  ขณะเดียวกันการที่บอร์ดซีพีออลล์ไม่มีคำสั่งให้ผู้บริหารพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากมองว่ากระทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ส่งผลให้ผู้ถือหุ้นบางคน สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) และนักลงทุนสถาบันเรียกร้องให้ผู้บริหารออกจากตำแหน่ง พร้อมโต้กลับด้วยการลดน้ำหนักการลงทุนและทยอยขายหุ้นซีพีออลล์ ต้องถือว่าช่วงปี 2558 คาบเกี่ยวถึงปี 2559 ซีพีออลล์เจอศึกหนักหน่วงกว่าทุกปีที่ผ่านมา ทั้งปัญหาภาพลักษณ์ขององค์กรและต้องฝ่าสมรภูมิค้าปลีกที่มีคู่แข่งยักษ์ใหญ่เข้ามาช่วงชิงตลาดรอบด้าน เพราะทุกค่ายต่างประกาศรุกสงคราม

Read More

“เซ็นทรัล” เฉือน “ทีซีซี” ฮุบ “บิ๊กซีเวียดนาม”

  ในที่สุด กลุ่มเซ็นทรัลสามารถเข้าวินฮุบกิจการ "บิ๊กซีเวียดนาม" เข้ามาอยู่ในพอร์ตรีเทลของเครือ แม้ก่อนหน้านี้ “ทีซีซีกรุ๊ป” ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ชนะศึกยกแรกคว้าชัยชนะฮุบกิจการบิ๊กซี ประเทศไทย มูลค่าเงินลงทุนกว่า 1.23 แสนล้านบาทไปได้ ทั้งนี้ เมื่อค่ำวันที่ 29 เมษายน นายทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด  ร่วมกับ กลุ่มเหงียนคิม ประกาศซื้อกิจการบิ๊กซี เวียดนามจาก "คาสิโนกรุ๊ป" อย่างเป็นทางการแล้ว มูลค่า 920 ล้านยูโร เสริมทัพความยิ่งใหญ่ของกลุ่มเซ็นทรัลในการลงทุนในประเทศแถบเอเชีย สำหรับบิ๊กซี เวียดนามดำเนินการมาแล้วยาวนานกว่า 18 ปี  มีทั้งสิ้น 43 สาขา ในประเทศเวียดนาม ซึ่งแบ่งเป็นดังต่อไปนี้ คือ ไฮเปอร์มาร์เก็ต 33 สาขา , คอนวีเนี่ยนสโตร์ 10 สาขา และเป็นศูนย์การค้า 30

Read More

“อิออน” เปิดยุทธการ 2020 เร่งเครื่องยึด “อาเซียน-เอเชีย”

  หลังจากค้าปลีกยักษ์ใหญ่ “อิออนมอลล์” ในเครืออิออนกรุ๊ป ประเทศญี่ปุ่น เปิดฉากบุกตลาดอาเซียนเมื่อ 3 ปีก่อน โดยปักหมุดแรกผุด “อิออนมอลล์” กลางกรุงโฮจิมินห์ซิตี้ ประเทศเวียดนาม พร้อมๆ กับตั้งทีมเดินสายดูการลงทุนและหาพันธมิตรคู่ค้าในทุกๆ ประเทศ  ล่าสุด ปี 2559 “อิออนมอลล์” ยกทัพผู้บริหารชุดใหญ่จากประเทศญี่ปุ่นเดินทางเข้ามาประกาศความร่วมมือกับพันธมิตรไทยที่มี “เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป” เป็นหัวเรือหลัก เป้าหมายไม่ใช่แค่เดินหน้าโครงการ “อิออนมอลล์” สาขา 2 ในประเทศกัมพูชา แต่ต้องการเปิดเกมรุกยุทธศาสตร์การขยายธุรกิจครั้งใหญ่ตาม Vision 2020 ของบริษัทแม่ที่ตั้งเป้าเป็นผู้นำตลาดค้าปลีกในภูมิภาคเอเชีย (Asia’s No.1 Super-Regional Retailer) ตามแผน อิออนมอลล์ต้องการปักธงยึด 3 ตลาดหลัก ประกอบด้วยตลาดญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นตลาดหลักอันดับ 1 โดยกลุ่มอิออนเริ่มเปิดสาขาค้าปลีกแห่งแรกเมื่อปี 2514 จนปัจจุบันสร้างค้าปลีกแบรนด์ในเครือและขยายสาขาทั้งสิ้น 144 แห่ง มีจำนวนผู้ใช้บริการรวมมากกว่า 1,000 ล้านคนต่อปี และตั้งเป้าขยายต่อเนื่อง

Read More

ชฎาทิพ จูตระกูล ผู้หวังสร้างนวัตกรรมค้าปลีก

 หลายต่อหลายครั้งที่ข่าวสารของวงการค้าปลีกไทยที่มักจะวนเวียนอยู่เพียงแค่ไม่กี่กลุ่มบริษัท ซึ่งโดยส่วนใหญ่เนื้อหาสาระที่ถูกกล่าวถึงมักจะเป็นไปในด้านการเปิดตัวโครงการใหม่ การปักหมุดล้อมเมือง การสร้างฐานที่ตั้งทางธุรกิจใหม่ๆ  แต่หากเป็นข่าวสารที่เกี่ยวกับนวัตกรรมการค้าปลีก ชื่อของนักธุรกิจหญิงจากบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ชฎาทิพ จูตระกูล ที่นั่งแท่นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มักจะถูกพูดถึงอยู่บ่อยๆ ในฐานะผู้สร้างปรากฏการณ์ หรือหากจะกล่าวว่าเป็นนักปฏิวัติวงการค้าปลีกดูจะไม่เกินไปนัก ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ว่ามีทิศทางเป็นเช่นไร กระแส Talk of the Town ที่เกิดขึ้นจากแนวความคิดของ ชฎาทิพ จูตระกูล มักจะมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่การคิดการใหญ่ของนักธุรกิจหญิงผู้นี้ที่จับมือกับพันธมิตรที่เป็นผู้ชำนาญด้านการค้าปลีก ร่วมกันพัฒนาสยามพารากอน รวมไปถึงการร่วมกับกลุ่ม MBK ที่ปัดฝุ่นห้างเก่าอย่างเสรีเซ็นเตอร์ และชูให้เป็น “สวรรค์แห่งการชอปปิ้งของกรุงเทพฯ ย่านตะวันออก” และจบที่ชื่อพาราไดซ์พาร์ค กระทั่งอภิมหาโปรเจกต์บนพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยมูลค่าโครงการกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท ที่ร่วมกับกลุ่มซีพี ในการพัฒนาโครงการอสังหาฯ ในชื่อไอคอนสยาม นอกเหนือไปจากการปลุกปั้นโครงการใหม่ๆ แล้ว โครงการ Renovate สยามเซ็นเตอร์ นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากมันสมองของชฎาทิพ และทีมงานมืออาชีพของสยามพิวรรธน์ กระทั่งถึงเวลาที่สยามพิวรรธน์ตัดสินใจที่จะปรับโฉมศูนย์การค้าอย่างสยามดิสคัฟเวอรี่ ภายใต้คอนเซ็ปต์ The Exploratorium โดยมีความพยายามจะทิ้งภาพจำของศูนย์การค้าและปรับสู่การเป็นไฮบริดรีเทลสโตร์แห่งแรกของไทย หลักฐานดังกล่าวทำให้ ชฎาทิพ ถูกสื่อหลายแขนงเขียนถึงในเชิงบวกเสมอ

Read More

Re-Discovery “สยามดิสฯ” ปรับ-เปลี่ยน-ถอด เพื่อเป็นผู้นำ

 หลังจากสร้างปรากฏการณ์จนกลายเป็นกระแส Talk of the Town ให้สยามเซ็นเตอร์ไปเมื่อปี พ.ศ. 2556 ด้วยการปิดปรับปรุงนานถึง 6 เดือน ซึ่งครั้งนั้นสยามพิวรรธน์ใช้งบประมาณไปกว่า 1.8 พันล้านบาท เสียงตอบรับเชิงบวกที่ได้จากการปรับปรุงสยามเซ็นเตอร์ไปเมื่อสามปีก่อน น่าจะสร้างความมั่นใจให้แก่บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ที่นำทัพโดยชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จนบังเกิดเป็นไอเดียที่กำลังจะถูกถ่ายทอดออกมาบนอาคารที่ตั้งอยู่บนย่านสำคัญของการค้าปลีก ห้วงเวลานี้คงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปรับโฉมสยามดิสคัฟเวอรี่ ถือเป็นการปรับปรุงครั้งที่สอง นับตั้งแต่สยามดิสคัฟเวอรี่เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2540  บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด มักจะสร้างกระแสให้เกิดขึ้นในวงการค้าปลีกอยู่เนืองๆ และมักถูกจับตามองทั้งจากนักธุรกิจ คู่ค้า สื่อมวลชน และลูกค้า ทั้งจากการลงทุนในโครงการใหม่ๆ ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นมหากาพย์แห่งวงการค้าปลีก หรือจากการปรับปรุงรูปลักษณ์ของศูนย์การค้า ที่อุดมไปด้วยดีไซน์ เช่นที่เคยสร้างความโดดเด่นแตกต่างให้แก่สยามเซ็นเตอร์ ซึ่งการันตีได้จากการคว้ารางวัลระดับนานาชาติจำนวน 8 รางวัล รวมถึงการได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งใน 5 ศูนย์การค้าที่ออกแบบดีที่สุดในโลก จากสมาคมศูนย์การค้าระหว่างประเทศ (International Council of Shopping Centers–ICSC) ยิ่งเป็นการตอกย้ำคำว่า

Read More