Home > การเลือกตั้ง

เอกชนหวังรัฐบาลใหม่ สร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจไทย

หลังการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยในรอบ 8 ปีของไทยผ่านพ้นไปไม่กี่วัน ดูเหมือนสถานการณ์การเมืองไทยที่มักจะถูกยึดโยงไว้กับความมั่นคงด้านอื่นๆ ทั้งเศรษฐกิจระดับมหภาค จุลภาค อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การลงทุน ด้วยว่าเสถียรภาพทางการเมืองจะสร้างความมั่นใจจนไปถึงสามารถกระตุ้นสัญญาณชีพของเศรษฐกิจไทยได้ หลายฝ่ายเรียกร้องให้ไทยมีการเลือกตั้งในเร็ววัน ด้วยหวังว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนั้นจะสามารถเปลี่ยนหน้าเศรษฐกิจได้ คงไม่ต่างอะไรกับนักพนันที่วาดฝันว่าไพ่ในมือของตนจะเปลี่ยนแต้มในยามเข้าตาจนให้สร้างความได้เปรียบมากขึ้น แม้บางส่วนจะเห็นต่างว่า รัฐบาลทหารมีข้อดีอยู่บ้าง นั่นคือความสงบภายใต้กฎหมายข้อบังคับที่ถูกประกาศใช้ ขณะเดียวกันภายใต้สถานการณ์ความสงบที่ฉาบไล้อยู่เบื้องหน้านั้น กลับซ่อนเร้นคลื่นใต้น้ำที่รอวันกระเพื่อม และถึงวันนี้ผลการเลือกตั้งที่ถูกเปิดเผยออกมาเกือบครบร้อยเปอร์เซ็นต์ หลายพรรคที่ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับหนึ่ง อันดับสอง กำลังพยายามอย่างหนักที่จะจับขั้วการเมืองเพื่อจัดตั้งรัฐบาล แน่นอนว่าถึงเวลานี้ยังไม่มีใครให้คำตอบได้ว่า รัฐบาลใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น จะเป็นไปในรูปแบบใด เพราะความเป็นไปได้มีทั้งรัฐบาลผสมเสียงข้างมาก รัฐบาลผสมเสียงข้างน้อย หรือท้ายที่สุดจบที่รัฐบาลเฉพาะกาล แต่ถึงแม้จะยังไม่มีความแน่นอนในสถานการณ์การเมือง ทว่า ภาคเอกชนกลับแสดงความคิดความเห็น ที่เต็มไปด้วยความคาดหวังว่ารัฐบาลใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นน่าจะนำพาให้เศรษฐกิจไทยดำเนินไปข้างหน้าได้ ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แสดงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นการเมืองว่า “การเลือกตั้งอาจได้รัฐบาลผสม ซึ่งทำให้เกิดการยุบสภาบ่อยครั้ง แต่หากรัฐบาลใหม่มีนโยบายที่ชัดเจนและต่อเนื่อง เศรษฐกิจน่าจะขับเคลื่อนไปได้ แต่อาจไม่ใช่ทิศทางที่สูงมาก การเติบโตของประเทศในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีนี้ จะขยายตัวอยู่ในกรอบใกล้เคียง 4 เปอร์เซ็นต์ น่าจะมีโอกาสฟื้นตัวและเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ” หากดูตัวเลขการขยายตัวของ GDP ในห้วงยามที่ คสช. เข้ามาบริหารประเทศด้วยทัศนคติที่เป็นกลาง ต้องยอมรับว่าความสงบที่เกิดขึ้นภายในบ้านเมืองทำให้ไทยก้าวห่างจาก “คนป่วยแห่งเอเชีย” และทำให้ GDP

Read More

ไร้สัญญาณบวก! เศรษฐกิจไทยรอขยับหลังเลือกตั้ง

ภายใต้เงื่อนไขว่าด้วยกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปในปี 2562 ที่กำลังขยับใกล้เข้ามาทุกขณะ แต่ดูเหมือนว่าภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในห้วงเวลาปัจจุบันดำเนินไปอย่างไร้ปัจจัยบวก เพื่อมาเกื้อหนุนพลวัตให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างที่หลายฝ่ายคาดหวัง มิหนำซ้ำศักยภาพและแนวคิดว่าด้วยการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของรัฐบาล คสช. ก็ดูจะตีบแคบลงจนหัวหน้าคณะ คสช. ถึงกับต้องเอ่ยปากให้ประชาชนพึ่งพาตนเองและปรับตัวรับกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่นี้เองด้วย แม้ว่าหน่วยงานภาครัฐจะประเมินว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการส่งออกสินค้าและบริการที่เติบโตต่อเนื่อง โดยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีการขยายตัวดีด้วยแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐ หากแต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏก็คือ กำลังซื้อภาคครัวเรือนมีการปรับตัวอย่างเชื่องช้า ซึ่งเป็นผลมาจากภาระหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง และปัญหาเชิงโครงสร้างในตลาดแรงงาน ความกังวลใจว่าด้วยทิศทางเศรษฐกิจไทยภายหลังการเลือกตั้ง นอกจากจะอยู่ที่รูปร่างหน้าตาของคณะรัฐบาลว่าจะมีการจัดตั้งภายใต้พรรคการเมืองใดเป็นแกนนำ และจะมีเสถียรภาพในการนำพานโยบายทางเศรษฐกิจ สังคมของไทยให้ก้าวหน้าไปได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งต้องติดตามผลการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดมีขึ้นแล้ว บรรยากาศระหว่างการเลือกตั้งที่กำลังดำเนินอยู่ในห้วงเวลาปัจจุบันอาจช่วยกระตุ้นให้เกิดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจและการเมืองไทยในระยะสั้น ปรับตัวดีขึ้นบ้าง และช่วยให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนมกราคม 2562 ซึ่งสำรวจโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน และคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะถัดจากนี้ ปัจจัยทางจิตวิทยาเชิงบวกและข้อเท็จจริงจากประสบการณ์ของประเทศไทยในช่วงที่ผ่านๆ มา ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่าในระหว่างที่มีการรณรงค์หาเลือกตั้ง จะมีเม็ดเงินสะพัดและสร้างความคึกคักให้เกิดขึ้นทั่วประเทศไม่น้อยกว่า 3-5 หมื่นล้านบาท ซึ่งปริมาณเม็ดเงินที่หมุนเวียนเข้าสู่ระบบเหล่านี้ จะมีส่วนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 2562 ขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4 แต่นั่นก็เป็นเพียงการคาดการณ์ที่มีข้อสงวนในเงื่อนไขและเหตุปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้อีกมากมาย ประเด็นที่น่าสนใจติดตามนอกเหนือจากสภาพการเมืองไทยหลังจากทราบผลการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลว่าจะมีเสถียรภาพอย่างไรแล้ว ยังมีปัจจัยว่าด้วยเศรษฐกิจระดับมหภาคและสถานการณ์การค้าโลก ที่ดำเนินผ่านคู่ขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ที่กำลังกดทับให้เศรษฐกิจการค้าโลกมีแนวโน้มที่ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง สอดรับกับข้อมูลขององค์กรการค้าโลก WTO ที่ระบุว่าสถานการณ์การค้าโลกในห้วงปัจจุบันตกต่ำหนักที่สุดในรอบ 9 ปี ซึ่งเป็นผลมาจากความตึงเครียดของข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา ขณะที่การถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ (BREXIT) ก็กลายเป็นปัจจัยลบที่สั่นคลอนความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจระดับโลก ท่ามกลางปัจจัยลบทางเศรษฐกิจโลกที่ดำเนินอยู่รอบด้าน ค่าเงินบาทกลับแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว

Read More

บทบาทของผู้หญิงในแวดวงการเมือง

Column: Women in Wonderland ในช่วงเกือบหนึ่งปีที่ผ่านมา มีการจัดการเลือกตั้งทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศเกิดขึ้นในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งในมาเลเซีย นิวซีแลนด์ และภูฏาน เป็นต้น และในช่วงสิ้นปีนี้จนถึงต้นปีหน้าก็ยังจะมีอีกหลายประเทศที่จะมีการจัดการเลือกตั้ง อย่างเช่นสหรัฐอเมริกาที่เพิ่งจัดการเลือกตั้งกลางเทอมไป และในปีหน้าก็จะมีการจัดการเลือกตั้งในฟิลิปปินส์ อินเดีย ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย เป็นต้น ประเทศไทยเองก็อาจจะมีการเลือกตั้งในช่วงต้นปีหน้าด้วยเช่นกัน แน่นอนว่าในช่วงของการเลือกตั้งเราจะได้เห็นสีสันต่างๆ ของการหาเสียง การบอกเล่านโยบายของพรรค และการโต้วาทีที่แต่ละหัวข้อประชาชนให้ความสนใจโดยหัวหน้าพรรค และปัจจุบันแต่ละพรรคการเมืองไม่ได้มีเพียงแค่ผู้สมัครที่เป็นผู้ชาย แต่ผู้สมัครที่เป็นหญิงก็เข้ามามีบทบาททางการเมืองมากขึ้น และได้รับความไว้วางใจให้ทำงานมากขึ้นเช่นกัน ในหลายประเทศมีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่ชนะการเลือกตั้งทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ และก็ได้ทำงานการเมืองแบบจริงจัง บางครั้งผู้หญิงได้รับความไว้วางใจจากพรรคจนได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรค และยังนำพาพรรคให้ได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้ง และได้รับเลือกเป็นผู้นำในการบริหารประเทศ อย่างเช่น Angela Merkel นายกรัฐมนตรีของประเทศเยอรมนี ที่นำพาพรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน (Christian Democratic Union-CDU) ชนะการเลือกตั้ง ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศเยอรมนี และยังนำพาพรรค CDU ชนะการเลือกตั้งมาแล้วถึง 4 สมัยด้วยกัน ปัจจุบันผู้หญิงเข้ามามีบทบาทในทางการเมืองมากขึ้น โดยเห็นได้ชัดเจนจากการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ ในครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายนที่ผ่านมา การเลือกตั้งกลางเทอมนี้จะถูกจัดขึ้นเมื่อประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดำรงตำแหน่งมาได้ 2

Read More

ถอดรหัสเลือกตั้งเมียนมา “ประชาธิปไตยแบบมีวินัย”

 โฉมหน้าทางการเมืองของประเทศเพื่อนบ้านทางทิศตะวันตกของไทย ในนามเมียนมา กำลังเข้าสู่ห้วงเวลาที่น่าสนใจติดตาม ซึ่งอาจเป็นการกำหนดบทบาทและทิศทางการขับเคลื่อนประเทศบนหนทางประชาธิปไตยที่สำคัญที่สุดอีกครั้งหนึ่ง การเลือกตั้งทั่วไปที่กำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 ได้รับความสนใจและเป็นที่จับตามองจากประชาคมนานาชาติว่าจะดำเนินไปอย่างสุจริตเที่ยงธรรมและเป็นประชาธิปไตยมากน้อยเพียงใด ซึ่งความคาดหวังเหล่านี้อาจเป็นเพียงแนวคิดอุดมคติ เพราะในความเป็นจริงที่ปรากฏในปัจจุบัน กระบวนการเปลี่ยนผ่านตาม Roadmap to Discipline-flourishing Democracy ของเมียนมาที่ประกาศไว้ตั้งแต่เมื่อปี 2003 ยังต้องเผชิญกับอุปสรรคและความไม่แน่นอนอยู่พอสมควร เงื่อนไขสำคัญอีกประการหนึ่งที่เป็นเสมือนเครื่องหมายของการกระชับอำนาจของฝ่ายทหารในการรักษาอำนาจไว้ก็คือ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ระบุให้มีการแต่งตั้งสมาชิกรัฐสภาในสัดส่วนที่มากถึงหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกที่พึงมี โดยสมาชิกแต่งตั้งเหล่านี้มีสิทธิที่จะยับยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ฝ่ายทหารเป็นผู้ยกร่างอีกด้วย แม้ความเป็นไปในบทบัญญัตินี้จะได้การวิพากษ์และท้วงติงจากประชาคมประชาธิปไตย แต่ฝ่ายกุมอำนาจในเมียนมา ระบุว่านี่คือการสร้างประชาธิปไตยแบบมีวินัย หรือ Discipline-flourishing Democracy ซึ่งทำให้ผลการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้น นอกจากจะได้รับการประเมินในมิติของความโปร่งใสและสะท้อนเจตจำนงที่แท้จริงของประชาชนเมียนมาเพียงใดแล้ว ยังต้องประเมินต่อไปอีกว่าจะสามารถมีนัยความหมายมากพอที่จะสร้างกระบวนการประชาธิปไตยที่แท้จริงให้เกิดขึ้นได้หรือไม่ ขณะเดียวกัน ท่ามกลางพรรคการเมืองจำนวนมากถึง 91 พรรค พรรค NLD (National League for Democracy) ที่นำโดยออง ซาน ซู จี (Aung San Suu Kyi) ผู้นำฝ่ายค้านคนสำคัญ ได้รับการคาดหมายว่าจะได้รับคะแนนเสียงท่วมท้น แต่นั่นก็เป็นการคาดการณ์จากผลการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อครั้งที่เกิดขึ้นในปี 1990 ที่

Read More