Home > การท่องเที่ยว (Page 3)

สกสว.จับมือภาคีขยายผลท่องเที่ยววิถีคลอง เจียระไนเป็นเพชรเม็ดงามของท่องเที่ยวไทย

ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดการประชุมหน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้องด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อรับฟังแนวคิดและสรุปการดำเนินงานเพื่อการขยายผลการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีคลองในประเทศไทย ภายใต้โครงการวิจัย “การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยววิถีคลองในประเทศไทยและขยายผลการศึกษาวิจัย” ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลลาดพร้าว กรุงเทพฯ ทั้งนี้ โครงการวิจัยได้ศึกษาศักยภาพของแม่น้ำลำคลองในประเทศไทยรวม 25 ลุ่มน้ำ เพื่อสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ วิเคราะห์และประเมินศักยภาพของวิถีคลอง เพื่อจัดทำฐานข้อมูลและเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีคลองที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจาก สกสว. ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานและนักวิจัยจากหลายมหาวิทยาลัย ซึ่งผู้อำนวยการ สกสว. คาดหวังว่าการประชุมในครั้งนี้จะได้รับข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงโครงการวิจัยและขยายผลต่อยอด สู่การพลิกโฉมการท่องเที่ยววิถีคลองตามวิสัยทัศน์ของนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โฮชา ที่ต้องการผลักดันให้ลุ่มน้ำต่าง ๆ เป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจด้วยเสน่ห์และอัตลักษณ์ของชุมชนที่ไม่แพ้ชาติอื่น นายอนันต์ วงศ์เบ็ญจรัตน์ รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวระหว่างการเสวนา “ทิศทางการนำผลการวิจัยศักยภาพการท่องเที่ยววิถีคลองในประเทศไทย สู่การขยายผลและการใช้ประโยชน์” ว่าเราต้องพยายามหาผลงานวิจัยและสนับสนุนการพัฒนาเพื่อกำหนดนโยบายการทำงานของส่วนราชการ สิ่งสำคัญอย่างมากคือ แผนงานและโครงการที่มีแผนงบประมาณชัดเจนเพื่อจะได้ไปสานต่อ ทำอย่างไรจึงจะให้องค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวกลั่นกรองทิศทางในอนาคต 5-10 ปีข้างหน้า เพื่อให้ไทยเป็น ‘พี่เบิ้ม’ ใคร ๆ ต้องมาเรียนรู้จากเรา

Read More

ร้อยเดียวเที่ยวทั่วไทย ดิ้นโค้งสุดท้ายปี 62

รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องรีบเร่งเครื่องขนานใหญ่ เพื่อผลักดันเม็ดเงินรายได้จากการท่องเที่ยวช่วงโค้งสุดท้ายก่อนปิดปี 2562 โดยเฉพาะล่าสุด เมื่อคณะกรรมการร่วมเอกชน (กกร.) ประกาศปรับลดประมาณการตัวเลขจีดีพีปี 2562 เหลือ 2.7-3% จากเป้าหมายเดิม 2.9-3.3% และปรับลดอัตราการขยายตัวของการส่งออกเหลือ 0% ถึงติดลบ 2% จากเดิม 1% ถึงติดลบ 1% เพราะเศรษฐกิจยังอ่อนแรงมากจากสารพัดปัญหามากมาย กกร. ระบุด้วยว่า แม้ภาครัฐพยายามออกมาตรการกระตุ้นหลายด้าน ทั้งมาตรการชิม ช้อป ใช้ ที่คาดว่ามีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 20,000-30,000 ล้านบาท ซึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ 0.1-0.2% มาตรการประกันรายได้สินค้าเกษตร และมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยที่คาดว่าจะกระทบต่อเศรษฐกิจ 20,000-25,000 ล้านบาท แต่ชดเชยผลกระทบจากปัจจัยลบภายนอกได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ขณะที่สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ปรับลดคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยปี 2562 จากเดิมเคยคาดไว้เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 40.06 ล้านคน สร้างรายได้ 2.13 ล้านล้านบาท เหลือ

Read More

ททท. เปิดตัว “ห้าง ททท. : Tourism Department Store” ผุดไอเดียกระตุ้นการเดินทางในประเทศ

ททท. ผุดไอเดีย กระตุ้นการเดินทางในประเทศ ภายใต้แนวคิด “ห้าง ททท. : Tourism Department Store” คัดสรรสินค้าการันตีคุณภาพเสนอขายนักท่องเที่ยวไทยและทั่วโลก นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) (อพท.) นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย นายภูริวัจน์ ลิ้มถาวรรัตน์ นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) ร่วมกันเปิดโครงการ “ห้าง ททท. : Tourism Department Store” เพื่อเป็นการกระตุ้นการเดินทางภายในประเทศ ด้วยแพ็กเกจท่องเที่ยวพร้อมเสนอขายผ่านช่องทางออนไลน์ที่สะดวกใช้ทุกแพลทฟอร์ม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 10 อาคาร ททท. นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ ททท. กล่าวว่า ททท. ได้ดำเนินโครงการ "ห้าง ททท.

Read More

ททท. พลิกโฉมสินค้าการท่องเที่ยว เปิดตัว “ขุมทรัพย์ท่องเที่ยวไทย” ดันเศรษฐกิจตั้งแต่ฐานราก

ททท. พลิกโฉมสินค้าการท่องเที่ยว เปิดตัว “ขุมทรัพย์ท่องเที่ยวไทย” (Tourism Treasures Throughout Thailand) ดันเศรษฐกิจตั้งแต่ฐานราก นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้อำนวยการฝ่ายสินค้าการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประธานการแถลงข่าว กล่าวว่า จากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการสร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้กับประชาชน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานด้านการส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยวไทย จึงได้สร้างกลยุทธ์ดำเนินการส่งเสริมด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวไทยเพื่อให้ตลาดท่องเที่ยวของประเทศมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยได้สร้างเม็ดเงินและความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของประเทศกว่า 3.08 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงเป็นอันดับ 4 ของโลก ทั้งนี้ ในการดำเนินงานช่วงครึ่งปีหลัง ททท. จึงพลิกโฉมกลยุทธ์การนำเสนอขายสินค้าท่องเที่ยวด้วยการเจียระไนแหล่งท่องเที่ยวเดิม และค้นหาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ภายใต้กระบวนการพัฒนาแบบ 360 องศา เพื่อเป็นการกระจายข้อมูลด้านการท่องเที่ยวใหม่ ๆ และก่อให้เกิดการเดินทางในหมู่นักท่องเที่ยว โดยเปิดตัวโครงการ "ขุมทรัพย์ท่องเที่ยวไทย" (Tourism Treasures Throughout Thailand) ที่จะใช้เป็นแผนในการดำเนินงานของ ททท.ในช่วงครึ่งปีหลังนี้ สินค้าท่องเที่ยวภายใต้กระบวนการพัฒนาแบบ 360 องศา นี้แบ่งตามประเภทสินค้าการท่องเที่ยว ได้แก่ ประเภทที่ 1

Read More

แกร็บ จับมือ ททท. ชวนเที่ยวไทยหน้าฝน แจกส่วนลดบริการสูงสุดถึง 40%

แกร็บ ผู้นำซูเปอร์แอปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ชวนเที่ยวกระหน่ำ ไม่หวั่นฝนพรำ สัมผัสบรรยากาศเมืองไทยในฤดูฝนภายใต้แคมเปญ “บินพักหลักร้อย หลักพัน ลุ้นรางวัลหลักล้าน” โดยมอบส่วนลดพิเศษสำหรับการใช้บริการแกร็บสูงสุดถึง 40% เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในช่วงหน้าฝน โดยนักท่องเที่ยวสามารถเรียกใช้บริการ “จัสท์แกร็บ” และ “แกร็บคาร์” พร้อมรับส่วนลดพิเศษ 40% (ไม่เกิน 40 บาทต่อครั้ง) สูงสุดถึง 4 ครั้ง สำหรับการเดินทางในจังหวัดนั้นๆ เป็นครั้งแรก* เพียงใส่รหัส “TATRAIN” นอกจากนี้ แกร็บ ยังมอบส่วนลดมูลค่า 200 บาทให้กับผู้ใช้บริการเช่ารถพร้อมคนขับจาก “แกร็บเรนท์” จำนวน 2 ครั้ง เพียงใส่รหัส “RENTRAIN” สำหรับการใช้บริการในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต กระบี่ หาดใหญ่ และพัทยา ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมถึง 30 กันยายน

Read More

พิษค่าบาทแข็ง ท่องเที่ยวซบ-ส่งออกฟุบ

แม้ว่าพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ในนามประยุทธ์ 2/1 จะส่งผลให้สถานการณ์แห่งความคลุมเครือทางการเมืองไทยคลี่คลายไปในระดับหนึ่ง หากแต่ในอีกด้านหนึ่งสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยดูจะยังเผชิญกับวิบากกรรมและความผันผวนไม่แน่นอนที่พร้อมจะส่งผลกระทบเป็นวิกฤตการณ์ครั้งใหม่ได้ไม่ยาก ปัจจัยว่าด้วยค่าเงินบาทที่แข็งค่าเป็นประวัติการณ์ และเป็นไปด้วยอัตราเร่งอย่างผิดปกติ ไม่เพียงแต่จะกดดันให้การส่งออกของไทยที่อยู่ในภาวะชะลอตัวมาในช่วงก่อนหน้านี้ ถูกโหมกระหน่ำด้วยปัจจัยลบด้านราคาเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าจากคู่แข่งขันในระดับภูมิภาคยิ่งขึ้นไปอีก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากประเทศเวียดนาม หรือแม้กระทั่งอินเดีย กรณีดังกล่าวดูจะเห็นได้ชัดจากตัวเลขการส่งออกข้าวในช่วงครึ่งปี 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งพบว่ามีปริมาณลดลงถึงร้อยละ 12 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แม้ว่าระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายนที่ผ่านมา ประเทศไทยส่งออกข้าวไปแล้ว 4.2 ล้านตัน แต่คำสั่งซื้อในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา มีแนวโน้มลดต่ำลงเหลือเพียงไม่ถึง 6 แสนตันต่อเดือน และทำให้ประมาณการว่าด้วยการส่งออกข้าวของไทยที่ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 9.5 ล้านตันหรือเฉลี่ยที่ระดับ 8 แสนตันต่อเดือนดูจะเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือประมาณการส่งออกข้าวที่ 9.5 ล้านตันในปี 2562 นี้ เป็นประมาณการที่ปรับลดลงจากยอดการส่งออกเมื่อปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ 11 ล้านตัน ขณะที่ภายใต้สถานการณ์ที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ ทำให้ผู้ประกอบการส่งออกข้าวประเมินว่าอาจมีการปรับลดเป้าหมายการส่งออกข้าวในปีนี้ให้อยู่ในระดับ 9 ล้านตัน เพื่อให้สอดรับกับข้อเท็จจริงที่ดำเนินอยู่ ตัวเลขการส่งออกข้าวที่ลดต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญ อยู่ที่การส่งออกไปยังประเทศจีน ซึ่งแม้ว่าในช่วงครึ่งปีแรกของ 2562 ไทยจะส่งออกข้าวไปยังจีนรวมเป็นมูลค่า 3.7 พันล้านบาท

Read More

สกสว.หนุนพัฒนาระบบบริหารจัดการท่องเที่ยวไทยในเวทีโลก

สกสว.สนับสนุนเวทีแลกเปลี่ยนความเห็นทิศทางการพัฒนาระบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวไทยในอนาคตให้ตรงจุดสู่ความยั่งยืน นักวิจัยชี้ควรจัดเก็บภาษีและกระจายคืนสู่ท้องถิ่น รวมถึงมีหน่วยงาน ‘คลังสมอง’ ระดับนโยบาย ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการการท่องเที่ยวไทยในอนาคต โดยมีผู้บริหารกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หน่วยงานจากภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้าร่วม ผู้อำนวยการ สกสว. ระบุว่าไทยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นอันดับ 4 ของโลก แต่ดัชนีความสามารถในการแข่งขันด้านการเดินทางและท่องเที่ยวอยู่ในอันดับ 34 ของโลก เป็นที่น่าสังเกตว่าไทยมีการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง แต่กลับไม่ได้เป็นผู้นำในมิติของการบริหารจัดการและขีดความสามารถทางการแข่งขันทางการท่องเที่ยว นโยบายทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่ผ่านมายังไม่ตรงจุดกับการพัฒนาให้เกิดการเดินทางและการท่องเที่ยวของกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพทั่วโลก สกสว. หรือ สกว.เดิม ได้สนับสนุนด้านการท่องเที่ยวมาอย่างต่อเนื่อง จึงหวังว่าเวทีในครั้งนี้จะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดย สกสว.จะยังคงสนับสนุนงานวิจัยที่สามารถสร้างผลกระทบให้กับประเทศ และประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายด้านการท่องเที่ยวต่อไป ด้าน รศ. ดร.เทิดชาย ช่วยบำรุง หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง “นโยบายในการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวไทยในเวทีโลก” จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากฝ่ายการวิจัยมุ่งเป้า สกสว. และผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ เป็นหัวหน้าโครงการ นำเสนอผลการศึกษาการวิเคราะห์นโยบายการบริหารจัดการการท่องเที่ยวไทย สเปน และมาเลเซีย ว่าจุดอ่อนสำคัญที่สะท้อนถึงความไม่พร้อมของไทยในการบริหารจัดการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน คือ ขาดนวัตกรรมและเทคโนโลยี

Read More

บทเรียนการท่องเที่ยว กรณีศึกษาศรีลังกาสู่ไทย

เหตุระเบิดถล่มเมืองหลายจุดที่ศรีลังกาในช่วงเทศกาลอีสเตอร์เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา นอกจากจะสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิตของผู้คนจำนวนมากแล้ว ในอีกด้านหนึ่ง แรงระเบิดยังได้ทำลายและสร้างความเสียหายต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจของศรีลังกาที่พึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างหนักอีกด้วย ผลกระทบจากแรงระเบิดและเหตุวุ่นวายที่เกิดขึ้น ได้ฉุดให้การท่องเที่ยวของศรีลังกาตกอยู่ในภาวะชะงักงัน และถูกผลักให้หวนสู่ภาวะซบเซาไม่ต่างจากเมื่อครั้งที่ประเทศเกาะเล็กๆ ในมหาสมุทรอินเดียแห่งนี้ต้องเผชิญกับสงครามกลางเมืองที่ยาวนานกว่า 3 ทศวรรษอีกครั้ง ทั้งที่ก่อนหน้านี้ นิตยสารท่องเที่ยว Lonely Planet ได้ยกให้ศรีลังกาเป็นจุดหมายในการเดินทางท่องเที่ยวที่น่าสนใจและน่าท่องเที่ยวที่สุดในปี 2019 ด้วยเหตุปัจจัย 3 ประการ ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายทางวัฒนธรรมและศาสนาที่ผสมผสานกันในลักษณะของสังคมพหุวัฒนธรรม (multi-cultural society) ประกอบกับทรัพยากรธรรมชาติที่งดงามและเข้าถึงได้ไม่ยาก และนิสัยใจคอของประชาชนในพื้นถิ่นที่พร้อมให้การต้อนรับอาคันตุกะจากต่างแดน ข้อสังเกตของ Lonely Planet ดังกล่าวเกิดขึ้นจากฐานของข้อเท็จจริงที่ว่าภายหลังการสิ้นสุดสงครามกลางเมืองระหว่างรัฐบาลกับกองกำลังติดอาวุธชาวทมิฬที่ยืดเยื้อยาวนานมากว่า 3 ทศวรรษ ศรีลังกาได้เร่งฟื้นฟูระบบการคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะรถไฟอย่างขนานใหญ่ ซึ่งทำให้กิจกรรมทางการท่องเที่ยวเพิ่มปริมาณขึ้นด้วยอัตราเร่งควบคู่กับการเกิดขึ้นของโรงแรมที่พักที่เพิ่มจำนวนขึ้นตามไปด้วย การฟื้นคืนขึ้นมาของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวศรีลังกาในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สามารถประเมินได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้าสู่ศรีลังกาจากจำนวน 4.5 แสนคนในปี 2009 มาสู่ที่ระดับ 2.33 ล้านคนในปี 2018 และมีแนวโน้มเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ควบคู่กับยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของรัฐบาลศรีลังกาที่มุ่งหมายให้การท่องเที่ยวเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้ได้ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของศรีลังกามีมูลค่ารวม 4.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.4 แสนล้านบาท และมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ

Read More

Wellness Tourism ยุทธศาสตร์ใหม่การท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวยังคงมีบทบาทสำคัญและเป็นหนึ่งฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ หน่วยงานที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและเอกชนต่างพัฒนาโปรดักส์ใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อสร้างจุดขาย เสริมความแข็งแกร่ง และตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยว ในช่วงที่ผ่านมากระแสการดูแลรักษาสุขภาพของผู้คนในสังคมยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่อง จนพัฒนากลายมาเป็นพฤติกรรมและเกิดกลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อสินค้าและบริการต่างๆ ที่ต้องปรับตัวตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และนั่นย่อมรวมถึงธุรกิจการท่องเที่ยวด้วยเช่นกันที่ต่างต้องปรับตัวและสร้างจุดขายใหม่ๆ เพื่อรองรับกับกระแสดังกล่าว จนนำไปสู่การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่อย่าง “Wellness Tourism” เทรนด์การท่องเที่ยวที่กำลังมาแรง และมีอัตราการเติบโตที่น่าจับตามอง Wellness Tourism หรือการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ เป็นการเดินทางท่องเที่ยวรูปแบบหนึ่งที่มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เพื่อสร้างความสมดุลทั้งร่างกายและจิตใจ มีการผนวกกิจกรรมด้านสุขภาพเข้ามารวมอยู่ในการท่องเที่ยวนั้นด้วย เช่น โยคะ สปา อาหารเพื่อสุขภาพ และบริการทางการแพทย์ เป็นต้น กระแสการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเติบโตอย่างรวดเร็ว แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจโลกจะถดถอย แต่ธุรกิจนี้กลับเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2560 ตลาด wellness tourism ทั่วโลก มีมูลค่าประมาณ 124 ล้านล้านบาท ใหญ่กว่า GDP ประเทศไทย 9,000 เท่า มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 10.6% ซึ่งโตกว่าภาพรวมการท่องเที่ยวโลกถึง 2 เท่า และยังมีแนวโน้มที่จะโตอย่างต่อเนื่อง สำหรับประเทศไทยนับเป็นอีกหนึ่งตลาดที่โดดเด่นด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพราะมีความได้เปรียบด้วยต้นทุนที่ดีทั้งในแง่ของการบริการด้านสุขภาพ

Read More

งดค่าวีซ่า-กระตุ้นเมืองรอง ทางรอดธุรกิจท่องเที่ยวไทย?

ความพยายามของกลไกภาครัฐที่จะกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งผูกพันหนักหน่วงอยู่กับภาคอุตสาหกรรมการส่งออกและธุรกิจการท่องเที่ยวดูเหมือนจะเข้าสู่เส้นทางที่ตีบตันลงมากขึ้น ทั้งจากผลของสภาพเศรษฐกิจระดับโลก ที่กำลังเผชิญกับการคุกคามจากสงครามการค้ารอบใหม่ ที่นำไปสู่การกีดกันทางการค้า และภาวะชะลอตัวอย่างกว้างขวาง ขณะที่ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวต้องเผชิญกับความไม่มั่นใจของนักท่องเที่ยวจากจีน ซึ่งนับเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่ที่เคยเป็นปัจจัยหนุนนำให้การท่องเที่ยวไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงที่ผ่านมา ท่ามกลางเสียงคร่ำครวญของผู้ประกอบการ ซึ่งแม้ในห้วงปัจจุบันจะนับเป็นฤดูการท่องเที่ยวแล้ว แต่จำนวนนักท่องเที่ยวในภาพรวมก็ยังไม่ได้กระเตื้องขึ้นมากนัก ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่ตัวเลขนักท่องเที่ยวและยอดจองห้องพักในจังหวัดเชียงใหม่ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งพบว่าไม่มีการจองการท่องเที่ยวจากกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนมากเหมือนเช่นที่ผ่านมาในอดีต ทำให้บรรยากาศการท่องเที่ยวของเชียงใหม่ซึ่งเคยพลุกพล่านและหนาแน่นไปด้วยนักท่องเที่ยวชาวจีน ตกอยู่ในภาวะซบเซา และสร้างความหวั่นวิตกให้กับผู้คนที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของเชียงใหม่อย่างมาก สถานการณ์การท่องเที่ยวของเชียงใหม่ด้วยการประเมินจากยอดการจองทัวร์ การใช้บริการรถบัสโดยสาร ปริมาณการจองห้องพัก นับตั้งแต่เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาพบว่า นักท่องเที่ยวชาวจีนลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง หรือหายไปในสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ขณะที่ในเดือนพฤศจิกายนปริมาณการจองทัวร์ของนักท่องเที่ยวชาวจีนเพื่อเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ก็ดำเนินไปอย่างเบาบาง ก่อนหน้านี้เชียงใหม่นับเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมอีกแห่งของนักท่องเที่ยวจีน โดยในช่วงปีที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวจีนหลั่งไหลเข้าสู่เชียงใหม่มากถึง 2 ล้านคน ซึ่งสามารถสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี ทั้งในมิติของผู้ประกอบการร้านอาหาร โรงแรม กิจการขนส่ง และการให้บริการทัวร์ แต่ด้วยสถานการณ์ความไม่เชื่อมั่นในปัจจุบัน ดูเหมือนลมหายใจทางเศรษฐกิจของผู้ประกอบการเหล่านี้กำลังดำเนินไปโดยความรวยริน ภาวะลดน้อยถอยลงของนักท่องเที่ยวจีนเข้าสู่ประเทศไทย เป็นกรณีที่มีผลสืบเนื่องมาตั้งแต่เมื่อครั้งเกิดเหตุเรือนักท่องเที่ยวจีนล่มที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในความปลอดภัยอย่างหนักหน่วง ในขณะที่คำชี้แจงจากภาครัฐจนถึงขณะปัจจุบันก็ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนทั้งในมิติของสาเหตุและในกรณีของผู้ที่ต้องรับผิดชอบกับเหตุการณ์สลดในครั้งนั้น ส่วนเงินชดเชยที่รัฐจัดสรรให้กับเหยื่อผู้ประสบภัยก็เป็นเพียงมาตรการเยียวยาที่ไม่สามารถเรียกคืนความเชื่อมั่นในเรื่องสวัสดิภาพและมาตรฐานความปลอดภัยในธุรกิจการท่องเที่ยวของไทยให้เป็นที่น่าพึงพอใจสำหรับผู้ประกอบการ ตัวแทน และนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้เลย ยังไม่รวมภาพลักษณ์ด้านลบที่มีผลต่อการท่องเที่ยวไทยโดยตรง ทั้งกรณีการทำร้ายร่างกายนักท่องเที่ยวโดยเจ้าหน้าที่ของไทยที่ท่าอากาศยาน หรือการฉวยโอกาสเอาเปรียบนักท่องเที่ยวโดยผู้ประกอบการ และข่าวเชิงลบอื่นๆ ที่แพร่สะพัดออกไปยังสื่อนานาชาติอย่างกว้างขวาง ที่ทำให้ความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทยตกต่ำไปโดยปริยาย ภายใต้กลไกรัฐที่พยายามกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่เป็นระยะ ทำให้ในช่วงที่ผ่านมานโยบายว่าด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง ถูกนำเสนอออกมาอย่างต่อเนื่อง ในด้านหนึ่งด้วยหวังว่า ความเป็นไปของเมืองรองเหล่านี้จะช่วยหนุนเสริมให้ระบบเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นพัฒนาและฟื้นตัวขึ้น ขณะเดียวกันนโยบายส่งเสริมเมืองรองยังดำเนินไปท่ามกลางความเชื่อและคาดหวังว่าอาจเป็นส่วนเติมเต็มให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวภายในประเทศ และเป็นเหตุให้รัฐบาล คสช. เห็นชอบที่จะกำหนดให้บุคคลสามารถนำค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวเมืองรอง 55

Read More