ย้อนหลังไปเกือบ 10 ปีก่อน ธุรกิจนำเข้าสินค้ามือสองจากญี่ปุ่นเริ่มทำตลาดในไทย ด้วยความนิยมสินค้า Made in Japan ของคนไทยที่มีอยู่เป็นทุนเดิม ทำให้ผู้ประกอบการนำเข้าสินค้ามือสองญี่ปุ่นค่อยๆ เพิ่มจำนวนขึ้น และนั่นอาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่เกิดกระแสดราม่าว่า ไทยเป็นจุดหมายปลายทางของขยะกองมหึมาจากต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสินค้ามือสองเหล่านี้ว่า แท้จริงแล้วเจ้าของคนเก่าเป็นบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้วหรือไม่
หลายคนอาจสงสัยว่าสินค้ามือสองญี่ปุ่นที่ไทยนั้นมีที่มาจากไหน เป็นของที่เจ้าของเดิมบริจาคมา หรืออย่างไร แท้จริงแล้วสินค้ามือสองญี่ปุ่นที่เดินทางมาถึงไทยส่วนใหญ่จะถูกรวบรวมโดยบริษัทที่มีหน้าที่ “เคลียร์ของ” ที่เจ้าของบ้าน เจ้าของสถานที่ อาจจ้างมาทำความสะอาด และช่วยกำจัดข้าวของเครื่องใช้เหล่านี้ออกไป
อย่างที่ทราบกันดีว่า ประเทศญี่ปุ่นจะมีข้อกำหนดเข้มงวดเรื่องการทิ้งขยะ โดยจะกำหนดวันทิ้งขยะไว้อย่างชัดเจน วันไหนทิ้งขยะรีไซเคิล วันไหนทิ้งขยะทั่วไป หรือวันไหนทิ้งขยะอันตราย หรือขยะชิ้นใหญ่ ซึ่งขยะบางประเภทจำเป็นจะต้องมีการชำระเงินเพื่อกำจัดหรือทำลาย ทั้งนี้หากมีของใช้ที่ต้องการเคลียร์ในปริมาณมาก และใช้เวลานาน คนญี่ปุ่นจะเลือกใช้บริการจากบริษัทเคลียร์ของเพื่อความสะดวก แม้จะมีค่าใช้จ่ายอยู่บ้าง
จากนั้นของใช้พวกนี้จะถูกขายในราคาส่งให้แก่พ่อค้าแม่ค้าชาวญี่ปุ่น ซึ่งจะถูกนำไปขายต่ออีกทอดยังตลาดนัดมือสองในประเทศญี่ปุ่นเอง ดังเช่นที่เคยเห็นภาพจากสื่อออนไลน์ และส่วนที่เหลือจะถูกรวบรวมและส่งต่อมายังประเทศปลายทาง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มักจะซื้อสินค้ามือสองญี่ปุ่นเหล่านี้มาขายทำกำไรต่ออีกทอดหนึ่ง สินค้ามือสองจากญี่ปุ่นที่เราเห็นส่วนใหญ่จะเป็นเสื้อผ้า ของเล่น ตุ๊กตา ของสะสม เครื่องใช้ไฟฟ้า จักรยาน หรือแม้แต่เฟอร์นิเจอร์
ธนาคารกรุงเทพเคยอธิบายสถานการณ์ตลาดสินค้ามือสองทั่วโลกและในไทยไว้อย่างน่าสนใจเมื่อช่วงปี 2020 ว่า
second hand Japanสินค้ามือสองญี่ปุ่น Read More