Home > 2021 (Page 58)

แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 13 พุ่งเป้าเศรษฐกิจมูลค่าสูง สังคมเสมอภาค

ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่ชะลอตัวลง นับตั้งแต่ชาวโลกได้ทำความรู้จักเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มากว่า 1 ปี แต่ละประเทศมีภารกิจสำคัญที่ต้องดำเนินการแก้ไขให้สถานการณ์อยู่ภายใต้การควบคุม พร้อมกับที่ต้องหาแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากการระบาดของเชื้อไวรัส เช่นเดียวกับประเทศไทยที่นอกจากความพยายามควบคุมการแพร่ระบาดให้อยู่ในวงจำกัดแล้ว ขณะเดียวกันคือการออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนในประเทศให้ผ่านพ้นช่วงเวลาอันยากลำบากด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานราก นับเป็นเป้าหมายสำคัญเพราะนั่นเป็นหนทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับมหภาคอย่างยั่งยืน แม้ว่าภาครัฐจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมาหลายโครงการ แต่ต้องยอมรับว่าปัญหาเศรษฐกิจที่ไทยกำลังประสบอยู่นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะดำเนินการแก้ไขภายในระยะเวลาอันสั้น ตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจคือ วัคซีนถูกกระจายและฉีดให้ประชาชนอย่างทั่วถึง การเกิดการระบาดระลอกใหม่และแนวทางการรับมือของภาครัฐ รวมไปถึงการประคับประคองเศรษฐกิจในปัจจุบัน ด้านสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 เพื่อใช้เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2565) ที่จะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน 2565 โดยแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 เป็นเสมือนก้าวที่ 2 ของการวางรากฐานการพัฒนาประเทศในระยะยาวตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สาระของกรอบแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 มีเป้าหมายเพื่อพลิกโฉมประเทศไทยสู่เศรษฐกิจสร้างคุณค่าสังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน โดยสิ่งที่ต้องทำคือ การเปลี่ยนผ่านประเทศหรือ การ Transform ประเทศใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ การเปลี่ยนผ่านจากเศรษฐกิจฐานทรัพยากรไปสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมและองค์ความรู้ หรือการมุ่งสู่เศรษฐกิจมูลค่าสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีเป้าหมายให้เศรษฐกิจไทยมีความสามารถในการแข่งขันสูง บนพื้นฐานของการสร้างมูลค่าเพิ่ม จากการพัฒนาต่อยอดและใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

Read More

เทรนด์ดิจิทัลปี 2564 อะโดบีเผย “ข้อมูลเชิงลึก” และ “ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล” สำคัญที่สุด

รายงานเทรนด์ดิจิทัลปี 2564 อะโดบีเผย “ข้อมูลเชิงลึก” และ “ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล” คือสิ่งที่องค์กรธุรกิจให้ความสำคัญมากที่สุดในปี 2564 รายงานเทรนด์ดิจิทัล (Digital Trends Report) ประจำปี 2564 ของอะโดบี ระบุว่า ในปี 2564 องค์กรธุรกิจจำนวนมากในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APAC) จะให้ความสำคัญกับเรื่องของความสามารถและรวดเร็วในการกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึก และมีแผนในการลงทุนส่วนนี้อย่างจริงจัง รายงานดังกล่าวจัดทำร่วมกับ Econsultancy โดยอ้างอิงผลการสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรฝ่ายการตลาด โฆษณา อี-คอมเมิร์ซ และไอที 13,000 คนที่ทำงานให้กับบริษัทเจ้าของแบรนด์และเอเจนซี่ต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (ANZ) อินเดีย และเอเชีย รายงานดังกล่าวของอะโดบี ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นปีที่ 11 มีความแตกต่างจากฉบับก่อนหน้า โดยเจาะลึกประเด็นใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการแพร่ระบาด เช่น ผลกระทบจากการทำงานจากที่บ้านของบุคลากร ประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว รวมถึงการพยายามทำความเข้าใจผู้อื่น และการนึกถึงความรู้สึกของผู้อื่น (Empathy) ซึ่งทั้งหมดเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนประสบการณ์ ดิจิทัลดิสรัปชั่น (Digital Disruption) ในปี 2563

Read More

นักวิจัยตั้งข้อสังเกตแผ่นดินไหว-สึนามิในนิวซีแลนด์

ผศ.ดร.ภาสกร ปนานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิจัยในชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของ สกสว. และ วช. เปิดเผยว่า จากการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ขนาด 7.3-8.1 หลายครั้งอย่างต่อเนื่องทางตอนเหนือของประเทศนิวซีแลนด์ตั้งแต่คืนวันที่ 4 ถึงเช้าตรู่ของวันที่ 5 มีนาคม 2564 ทำให้เกิดคลื่นสึนามิด้วยแต่มีขนาดไม่สูงมากจึงส่งผลกระทบต่อประชาชนค่อนข้างน้อย ต่างจากแผ่นดินไหวสุมาตราในปี 2547 ที่ทำให้เกิดคลื่นสึนามิพัดไปสร้างความเสียหายทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย และเนื่องจากแผ่นดินไหวกลุ่มนี้เกิดอยู่กลางมหาสมุทรห่างจากแผ่นดินพอสมควร จึงไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชุมชนที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินหรือหมู่เกาะรอบ ๆ โดยศูนย์กลางแผ่นดินไหวบริเวณแนวมุดตัวนี้มีแผ่นดินไหวขนาดปานกลางหรือขนาดใหญ่เกิดขึ้นมาโดยตลอด แผ่นดินไหวกลุ่มนี้เกิดอยู่ตรงแนวชนกันและมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกที่มีชื่อว่าแนวมุดตัวทองกา-เคอร์มาเด็ค แนวมุดตัวนี้มีความยาวกว่า 2,500 กิโลเมตร วางตัวมาจากด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเหนือของนิวซีแลนด์พาดยาวขึ้นมาทางทิศเหนือจนเกือบถึงประทศซามัว เป็นบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่มากที่สุดแห่งนึ่งของโลก กลไกการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ทั้ง 3 ตัวในครั้งนี้มีความสลับซับซ้อนพอสมควร โดยแผ่นดินไหวตัวใหญ่ตัวแรก มีขนาด 7.3 เกิดขึ้นใกล้กับเกาะเหนือของนิวซีแลนด์ อีก 4 ชั่วโมงถัดมาเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.4 ทางเหนือห่างออกไปประมาณ 1,000 กิโลเมตร จึงไม่น่ากระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหวครั้งที่สองได้ หลังจากนั้นอีกประมาณเกือบ 2

Read More

เซ็นทรัลเวิลด์ ท็อปฟอร์ม FOOD DESTINATION ระดับโลก ขนทัพร้านใหม่ต่อคิวเปิดต่อเนื่องตลอดทั้งปี

เซ็นทรัลเวิลด์ ท็อปฟอร์ม FOOD DESTINATION ระดับโลก ขนทัพร้านใหม่ต่อคิวเปิดต่อเนื่องตลอดทั้งปี ย้ำตัวจริงเดสติเนชั่นที่รวมร้านอาหารมากที่สุดในโลก ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ยืนหนึ่งเรื่องอาหาร ตอกย้ำการเป็นผู้นำศูนย์การค้าที่รวมร้านอาหารทุกรูปแบบ และคาเฟ่ชื่อดังจากทั่วทุกมุมโลกไว้มากที่สุด เผยลิสต์ร้านอาหาร-คาเฟ่เปิดใหม่รับต้นปี 2564 มากกว่า 15 ร้านดัง รวมร้านที่เพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อเร็วๆ นี้ และอีกหลายร้านที่เตรียมจ่อคิวเซอร์ไพรส์คนไทยตามไทม์ไลน์ยาวถึงกลางปี โดยทั้งหมดจะถูกเพิ่มเข้าไปอยู่ใน “ฟู้ดไบเบิ้ล” ของเซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งรวมแล้วจะมีร้านอาหารจากทั่วโลกมากถึง 225 ร้านจากกว่า 10 สัญชาติ (อัพเดท ณ วันที่ 3 มี.ค. 64) รวมความอร่อยจากทั่วทุกมุมโลกมาไว้ในที่เดียวเป็น Food therapy ให้ทุกคนได้กินให้หายคิดถึง ไม่ต้องบินก็อร่อยฟินได้กับอาหารจากหลากหลายสัญชาติ อาทิ เกาหลี ญี่ปุ่น จีน อิตาลี ที่เดียวที่เซ็นทรัลเวิลด์ ในช่วงที่ไม่สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้ตอนนี้ อิศเรศ จิราธิวัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายขาย บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา กล่าวว่า

Read More

ยูนิโคล่ดึง ‘ญาญ่า’ ร่วมนำเสนอคอลเลคชันประจำฤดูใบไม้ผลิ/ฤดูร้อน 2021 ชูคอนเซ็ปต์ ‘Find Your Healthy’

ยูนิโคล่ดึง 'ญาญ่า' ร่วมนำเสนอคอลเลคชันประจำฤดูใบไม้ผลิ/ฤดูร้อน 2021 ชูคอนเซ็ปต์ ‘Find Your Healthy’ ครั้งแรกกับการเผยรายละเอียดไอเทมผ่านคลิปวิดีโอออนไลน์ ยูนิโคล่ แบรนด์เครื่องแต่งกายระดับโลกจากญี่ปุ่น จับมือญาญ่า อุรัสยา สเปอร์บันด์ แบรนด์พรีเซนเตอร์ของยูนิโคล่ ประเทศไทย ร่วมเปิดตัววิดีโอคอนเทนต์ใหม่ล่าสุดภายใต้คอนเซ็ปต์ “Find Your Healthy” ครั้งแรกในไทยกับการเผยรายละเอียดผลิตภัณฑ์ภายใต้คอลเลคชันประจำฤดูใบไม้ผลิ/ฤดูร้อน 2021 ในรูปแบบวิดีโอออนไลน์ พร้อมนำเสนอไอเทมเสื้อผ้าชิ้นไฮไลท์ที่สร้างสรรค์มาภายใต้หลักปรัชญาไลฟ์แวร์ของยูนิโคล่ที่มุ่งเน้นการส่งมอบเสื้อผ้าคุณภาพที่ดีที่สุดและตอบโจทย์ทุกแนวทางการใช้ชีวิต วิดีโอคอนเทนต์ที่ญาญ่ามาร่วมถ่ายทอดได้หยิบยกธีมหลักของนิตยสารไลฟ์แวร์ ฉบับที่ 4 ที่เพิ่งเปิดตัวไปก่อนหน้านี้ ซึ่งได้นำเสนอเรื่องราวเปี่ยมด้วยแรงบันดาลใจของผู้คนจากทั่วโลกที่ต่าง “ค้นหาวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพที่ดีในแบบของคุณ” หรือ “Find Your Healthy” เพื่อเสริมสร้างสุขภาพกายและใจที่ดี ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญเพื่อชีวิตที่มีความสุขอย่างยั่งยืน นางเขมจิรา เทศประทีป ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์ บริษัท ยูนิโคล่ (ประเทศไทย) กล่าวว่า “แม้ว่าช่วงที่ผ่านมา ผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกต่างต้องพบกับสถานการณ์ที่มีความท้าทายแตกต่างกันไป ยูนิโคล่จะยังคงมุ่งมั่นอยู่เคียงข้างลูกค้าของเราเพื่อช่วยผลักดันคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ เพราะยูนิโคล่เข้าใจดีว่าเสื้อผ้าไม่ได้เพียงแค่ช่วยแสดงออกถึงตัวตนและรสนิยมของแต่ละคน แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมกิจกรรมตลอดทั้งวันให้สะดวกสบายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะทำงานหรือพักผ่อน คลิปวิดีโอนี้จะพาคุณไปพบกับเทรนด์การแต่งกายที่สำคัญสำหรับปีนี้ พร้อมเชิญชวนให้ทุกคนหันมาดูแลสุขภาพกายและใจที่ดีในแบบของคุณเองตลอดปี” เทรนด์สำคัญในปีนี้ที่จะช่วยเสริมการมีสุขภาพกายและใจสดใสแข็งแรงตามแบบฉบับ Find

Read More

Food Delivery ขยายตัว แข่งขันสูง กำเนิดผู้เล่นหน้าใหม่

“อาหารไม่ว่าอย่างไรก็ยังขาย” คำกล่าวนี้ไม่เกินไปเลยสักนิด เมื่ออาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงmชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจะส่งผลให้การดำเนินชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปเพียงใดก็ตาม จึงไม่น่าแปลกใจที่ธุรกิจอาหาร และธุรกิจที่เกี่ยวข้องจะมีโอกาสขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าธุรกิจหรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ในยามที่โลกเผชิญกับเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นระยะเวลากว่าหนึ่งปี มูลค่าธุรกิจร้านอาหารของไทยในแต่ละปีสูงถึงหลักแสนล้านบาท นับเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีการแข่งขันกันสูงมาก และจะมีนักลงทุนหน้าใหม่กระโจนเข้าใส่ตลาดนี้อย่างต่อเนื่อง เมื่อส่วนแบ่งการตลาดสูงจนน่าเสี่ยง ธุรกิจร้านอาหารเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภาคบริการและเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยมูลค่าหมุนเวียนที่ไม่ต่ำกว่า 4 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.7 ของภาคบริการทั้งหมดของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ แน่นอนว่า ไวรัสโคโรนา 2019 สร้างผลกระทบอย่างมหาศาล ผู้ประกอบการร้านอาหารบางรายที่มีอัตราการขยายสาขาอย่างรวดเร็ว ทยอยปิดตัวลงในอัตราที่ไม่ต่างกันตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส เนื่องจากต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนในจำนวนที่สูงมาก ในขณะที่รายรับกลับเดินสวนทาง โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยเคยคาดการณ์ไว้ว่า ธุรกิจร้านอาหารในปี 2563 จะมีมูลค่าเพียง 3.85-3.89 แสนล้านบาท หรือหดตัวประมาณ 9.7-10.6 เปอร์เซ็นต์ จากปีที่ผ่านมาและถือเป็นการพลิกกลับมาหดตัวครั้งแรกในรอบ 8 ปี ผู้ประกอบการร้านอาหารจำนวนมากปรับตัวไปตามสถานการณ์ พร้อมทั้งคว้าโอกาสในการขยายฐานลูกค้าด้วยการเปิดบริการสั่งอาหารทางออนไลน์ ซึ่งการเปิดหน้าสู้ในศึกครั้งนี้ของธุรกิจร้านอาหาร ส่งผลให้ธุรกิจ Food Delivery เติบโตอย่างต่อเนื่อง มีการประเมินจากยูโรมอนิเตอร์ว่า มูลค่าตลาดรวมของ Food Delivery ในประเทศไทยพบว่า ในปี 2563 มูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ 68,000 ล้านบาท นอกจากนี้

Read More

บ้านปู เพาเวอร์เผยผลประกอบการปี 2563 ย้ำความสำเร็จด้วยกำลังผลิตเพิ่ม 427 เมกะวัตต์

บ้านปู เพาเวอร์เผยผลประกอบการปี 2563 ย้ำความสำเร็จด้วยกำลังผลิตเพิ่ม 427 เมกะวัตต์ มุ่งขยายพอร์ตอย่างสมดุลเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าคุณภาพเพื่อโลกที่ยั่งยืน ด้วยสมดุลของพอร์ตธุรกิจจากทั้งพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป (Thermal Power Business) และพลังงานหมุนเวียน (Renewable Power Business) ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก รายงานผลการดำเนินงานในปี 2563 ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากการดำเนินงานอย่างมีเสถียรภาพของโรงไฟฟ้าเอชพีซีและโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined Heat and Power: CHP) ในจีน และผลจากการดำเนินมาตรการลดต้นทุนในทุกส่วนของการดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 บริษัทฯ พร้อมขยายกำลังผลิตจาก 2,856 เมกะวัตต์เทียบเท่าในปัจจุปัน สู่เป้าหมาย 5,300 เมกะวัตต์เทียบเท่าภายในปี 2568 ด้วย 3 ยุทธศาสตร์หลักและแผนธุรกิจ 5 ปี ในปี 2563 บ้านปู เพาเวอร์ประสบความสำเร็จในการขยายกำลังผลิตเพิ่มอีก

Read More

LPN เปิดตัวแคมเปญ #เช่าเท่าไหร่ ผ่อนเท่านั้น หนุนคนไทยมีบ้านเป็นของตัวเอง

บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) ส่งเสริมคนไทยมีบ้านเป็นของตัวเอง เปลี่ยนจากค่าเช่าบ้านเป็นค่าผ่อนบ้านแทน สร้างโอกาสให้คนไทยมีบ้านได้ง่ายขึ้นในราคาที่จับต้องได้ (Affordable Price) ด้วยแคมเปญใหม่ “#เช่าเท่าไหร่ ผ่อนเท่านั้น” โดย LPN จะช่วยลูกค้าผ่อนค่างวดกับสถาบันการเงินเป็นเวลา 30 เดือน เริ่มตั้งแต่ 3,200-13,000 บาท ขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งของคอนโดมิเนียมทั้ง 11 โครงการ ที่เข้าร่วมแคมเปญ ทั้งนี้ ลูกค้าจะได้รับส่วนลดพิเศษตั้งแต่ 20-40% ฟรีค่าใช้จ่ายวันโอนฯ ฟรีค่าใช้จ่ายส่วนกลาง 30 เดือน ฟรีเฟอร์นิเจอร์และเครื่องปรับอากาศ ระยะเวลาแคมเปญตั้งแต่วันนี้ -31 มีนาคม 2564 อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 13 มีนาคมนี้ ทาง LPN จะมีการจัดกิจกรรมเปิดตัวแคมเปญอย่างเป็นทางการพร้อมกันทั้ง 11 โครงการ โดยมีสถาบันการเงินที่เป็นพันธมิตรเข้ามาร่วมให้บริการที่โครงการพร้อมด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ และสามารถทราบผลเบื้องต้นในการยื่นขอกู้ได้เลย โดยภายในงานลูกค้ายังมีสิทธิ์ลุ้นรับรางวัลเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มเติมอีกด้วย สำหรับโครงการ 11 แห่ง ได้แก่ 1.

Read More

เศรษฐกิจไทยยังเปราะบาง เร่งรัฐวางมาตรการฉุกเฉิน

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยในยุคหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ดำเนินต่อเนื่องมายาวนานกว่า 1 ปียังเป็นไปท่ามกลางความเปราะบางและไร้สัญญาณบวกที่จะพลิกฟื้นกลับมาโดยง่าย ขณะเดียวกันรายได้ครัวเรือนที่ปรับลดลง โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อยที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดรอบก่อนและได้รับผลกระทบเพิ่มเติม ทำให้ต้องติดตามคุณภาพหนี้ในภาคครัวเรือนที่อาจด้อยลงในระยะต่อไป ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ภาคธุรกิจมีรายได้ลดลงและมีฐานะการเงินเปราะบางมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวและบริการที่ยังไม่ฟื้นตัวจากการระบาดของโรค ขณะที่ธุรกิจ SMEs ประสบปัญหาความเสี่ยงด้านเครดิตที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้กลุ่มธุรกิจดังกล่าวน้อยลง และอาจทำให้ธุรกิจมีปัญหาขาดสภาพคล่องมากขึ้น บางธุรกิจมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้และต้องยุติกิจการไปโดยปริยาย รายงานตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4 ปี 2563 ของไทยยังติดลบเพิ่มอีกร้อยละ 4.2 จากไตรมาส 3 ที่ติดลบในระดับร้อยละ 6.4 ส่งผลให้จีดีพีปี 2563 ติดลบร้อยละ 6.1 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ย่ำแย่ที่สุดในรอบ 22 ปีนับตั้งแต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ซึ่งผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้กระทบต่อภาคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในประเทศ ส่วนจีดีพีปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวได้ที่ระดับร้อยละ 2.5-3.5 หรือเฉลี่ยที่ร้อยละ 3 ลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ประเมินไว้ในระดับ 3.5-4.5 ประเด็นดังกล่าวสะท้อนความชัดเจนว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่กลับเข้าสู่ศักยภาพเต็มที่ และยังมีปัญหาความเสี่ยงอยู่มาก รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในไตรมาส 1 ปีนี้ด้วย ซึ่งปัจจัยที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวในระดับร้อยละ

Read More

ใครบ้าง ติดโควิด-19 เสี่ยงถึงตาย

ขณะที่คนไทยและคนทั่วโลกยังต้องเผชิญกับวิกฤตโรคโควิด-19 ท่ามกลางความคาดหวังเรื่องวัคซีนที่จะช่วยให้สถานการณ์การระบาดจบลงโดยเร็ว แต่รู้หรือไม่ ยังมีภัยด้านสุขภาพที่รุนแรงและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในลำดับต้นๆ ของคนไทย นั่นคือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs (Non-Communicable Diseases) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ เช่น การรับประทานอาหารรสจัด ไขมันสูง การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ พักผ่อนน้อย มีความเครียดสูง ฯลฯ จากข้อมูลของหนังสือ “ThaiHealth WATCH 2021 จับตาทิศทางสุขภาพคนไทย ปี 2564” โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้รายงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค NCDs ซึ่งเป็นภัยเงียบที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตเพิ่มขึ้นในแต่ละปี โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคอ้วน พบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคอุบัติใหม่ และเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ป่วยทั่วไป ซึ่งรวมถึงโรคโควิด-19 ที่พบว่ามีความเสี่ยงอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า ที่น่ากังวลคือ ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงจาก 6 โรคกลุ่ม NCDs ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคอุดกั้นเรื้อรัง และโรคไตวายเรื้อรัง หากติดเชื้อโควิด-19 จะมีความเสี่ยงเกิดอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

Read More