Home > 2021 (Page 12)

หัวเว่ย เผยสิบเทรนด์อุตสาหกรรมเครือข่ายไร้สาย ชี้แนวโน้มอุตสาหกรรมใน “เส้นทางของมือถือแห่งปี 2030”

นายเดวิด หวัง กรรมการบริหารและประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์และโซลูชันทางด้าน ไอซีทีของหัวเว่ย ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ “เส้นทางของมือถือแห่งปี 2030: 10 เทรนด์ของอุตสาหกรรมเครือข่ายไร้สาย” (Roads to Mobile 2030: 10 Wireless Industry Trends) ภายในงานประชุม Global Mobile Broadband Forum (MBBF) ครั้งที่ 12 โดยชี้ว่า “หัวเว่ยได้ระบุเทรนด์สิบข้อสำหรับอุตสาหกรรมเครือข่ายไร้สาย ซึ่งจะช่วยกำหนดทิศทางของเครือข่ายสัญญาณไร้สายแห่งอนาคต และเตรียมความพร้อมให้กับอุตสาหกรรมสู่ Intelligent World 2030 หรือโลกแห่งความอัจฉริยะปี พ.ศ. 2573” นายเดวิด หวัง อธิบายว่า ภายในปี พ.ศ. 2573 โลกแห่งความจริงและโลกเสมือนจะผสานกันอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดประสบการณ์ที่เสมือนจริงยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา ในขณะที่เศรษฐกิจดิจิทัลจะกลายเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของระบบเศรษฐกิจ และภาคอุตสาหกรรมจะเปลี่ยนมาให้ความสำคัญต่อประสิทธิภาพในการตัดสินใจแทนที่ประสิทธิภาพของตัวอุปกรณ์ แต่ความก้าวหน้าเหล่านี้จำเป็นจะต้องอาศัยความปลอดภัยภายในเครือข่ายอย่างยิ่งยวด รวมถึงยังต้องพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ซึ่งจะช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนอีกด้วย นายเดวิด หวัง ได้กล่าวสรุปถึงเทรนด์ทั้ง 10

Read More

“สาธร อุพันวัน” 16 ปี บนเส้นทางการศึกษา กับแนวคิด “EdTech & Lifelong Learning”

“เราเริ่มทำออนดีมานด์ในปี 2548 ด้วยความตั้งใจหลักคือต้องการพัฒนาการศึกษา สร้างโอกาสให้กับเด็กไทย และช่วยพัฒนาสังคมโดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือ ซึ่งตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้ออนดีมานด์ไม่ใช่แค่โรงเรียนกวดวิชา แต่มันคือช่องทางที่ทำให้เราในฐานะเอกชนสามารถเข้ามาช่วยพัฒนาการศึกษาได้” บทสนทนาเริ่มต้นระหว่าง “ผู้จัดการ 360” กับ “สาธร อุพันวัน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เลิร์น คอร์ปอเรชั่น จำกัด และผู้ก่อตั้งออนดีมานด์ สถาบันกวดวิชาอันดับหนึ่งของประเทศ กับบทบาทของภาคเอกชนในการพัฒนาการศึกษาของไทยที่ดำเนินมากว่า 16 ปี จากบัณฑิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาธรเริ่มต้นการทำงานในภาคการเกษตรของเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ราวๆ 6-7 ปี ก่อนที่จะเบนเข็มสู่เส้นทางธุรกิจด้านการศึกษา จากคำชวนของ โหน่ง-สุธี อัสววิมล ผู้ที่มีบทบาทสำคัญและเป็นอีกหนึ่งผู้ร่วมก่อตั้งออนดีมานด์ สาธรเล่าว่า “เรามีโอกาสเข้าไปทำโปรเจกต์โรงเรียนในโรงงาน ไปช่วยสอนหนังสือพี่ๆ ป้าๆ ที่เป็นพนักงานในโรงงานดอกไม้ประดิษฐ์ที่โหน่งเขาทำอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ ปรากฏว่าผ่านไป 6 เดือน ป้าๆ สามารถอ่านออกเขียนได้ เหมือนเขาได้ชีวิตใหม่ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เรามาทำงานด้านการศึกษาในรูปแบบการส่งเสริมการศึกษาในภาคเอกชน เพราะเราเชื่อว่าการศึกษามันช่วยพัฒนาสังคมได้” นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ทั้งสองคนร่วมกันก่อตั้งสถาบันกวดวิชาออนดีมานด์ขึ้นในปี 2548 เพื่อเป็นช่องทางในการพัฒนาด้านการศึกษาของเด็กไทย โดยเป็นโรงเรียนกวดวิชาที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนแบบหนึ่งต่อหนึ่งเป็นรายแรกๆ ในเมืองไทย ซึ่งแตกต่างจากโรงเรียนกวดวิชาส่วนใหญ่ในยุคนั้น “ในสมัยนั้นอุปกรณ์ต่างๆ แพงมาก

Read More

คิดต่างอย่าง “OnDemand” กับคอนเซ็ปต์ที่เป็นมากกว่าโรงเรียนกวดวิชา

ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง มีผู้ประกอบการจำนวนมากทั้งรายใหญ่รายย่อยกระจายอยู่ทั่วประเทศ แต่จากวิกฤตโควิด-19 และการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ทำให้ธุรกิจกวดวิชาต่างได้รับผลกระทบและต้องเร่งปรับตัวให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ในขณะที่โรงเรียนกวดวิชาหลายแห่งกำลังปรับตัว บางแห่งสามารถไปต่อได้ แต่บางแห่งจำเป็นต้องปิดตัวลงหรือยุบรวมสาขาเพื่อลดค่าใช้จ่าย แต่ “ออนดีมานด์” (OnDemand) สถาบันกวดวิชาเบอร์ต้นๆ ของเมืองไทย กลับยืนหยัดและยังคงศักยภาพในการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางโจทย์ยากที่ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชากำลังเผชิญ “ตั้งแต่วันแรกที่เราตัดสินใจทำออนดีมานด์ เราไม่ได้วาดภาพของการเป็นโรงเรียนกวดวิชา แต่ออนดีมานด์คือช่องทางที่ทำให้เราในฐานะเอกชนสามารถเข้าสู่เส้นทางในการพัฒนาการศึกษาของเด็กไทยได้ เพราะฉะนั้นการออกแบบการเรียนการสอน การจัดรูปแบบองค์กร จึงแตกต่างจากโรงเรียนกวดวิชาทั่วไป” สาธร อุพันวัน ผู้ก่อตั้งออนดีมานด์ เปิดเผยกับ “ผู้จัดการ 360” ถึงความเป็นมาของสถาบันกวดวิชาที่คิดต่างตั้งแต่เริ่มต้น ย้อนกลับไปในปี 2548 ในยุคสมัยที่รูปแบบการเรียนการสอนของโรงเรียนกวดวิชาส่วนใหญ่เป็นการเรียนในห้องเรียนหรือผ่านทีวี แต่ออนดีมานด์เป็นสถาบันกวดวิชาที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนแบบหนึ่งต่อหนึ่งรายแรกในเมืองไทย ซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับแวดวงกวดวิชาในยุคสมัยนั้น สาธรอธิบายแนวคิดของออนดีมานด์เพิ่มเติมว่า เพราะจุดตั้งต้นในการสร้างออนดีมานด์คือต้องการพัฒนาการศึกษาให้กับเด็กไทย ดังนั้นจึงพยายามหาวิธีการเรียนการสอนที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับผู้เรียนมากที่สุด จึงกลายเป็นที่มาของการใช้คอมพิวเตอร์ในการสอน เพราะเชื่อว่าเทคโนโลยีคือเครื่องมือที่สามารถช่วยพัฒนาระบบการศึกษาได้ การเรียนการสอนของออนดีมานด์นอกจากเรียนจากครูผู้สอนโดยตรงในห้องแล้ว ผู้เรียนยังสามารถเรียนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ที่สามารถกำหนดเวลาเรียน จะหยุดจะเริ่มตรงไหน ปรับความเร็ว/ช้า เหมือนปรับสปีดเวลาดูยูทูบได้ตามความต้องการของผู้เรียน ตรงตามคอนเซ็ปต์ของคำว่า “OnDemand” อีกทั้งยังมีทีมวิชาการที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวิชาคอยให้คำแนะนำและหาคำตอบให้กับผู้เรียนผ่านระบบหลังบ้านอย่าง “clear” เพียงผู้เรียนแคปเจอร์หน้าจอในบทเรียนที่ไม่เข้าใจส่งเข้าระบบ ทีมวิชาการจะเป็นผู้หาคำตอบและอธิบายเพิ่มเติมให้กับผู้เรียนตลอด 24 ชั่วโมง และคอยช่วยครูผู้สอนอีกทางหนึ่ง นอกจากภาควิชาการแล้ว สิ่งที่ทำให้ออนดีมานด์ต่างจากสถาบันกวดวิชาอื่นๆ คือ เพิ่มการแนะแนวให้กับเด็กๆ

Read More

ไทยประกันชีวิตยื่นไฟล์ลิ่งเตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

ไทยประกันชีวิตยื่นไฟล์ลิ่งเพื่อเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เตรียมพร้อมก้าวสู่การเป็นบริษัทประกันชีวิตชั้นนำที่มีคุณภาพ เสริมศักยภาพในการเปลี่ยนผ่านองค์กรรองรับวิสัยทัศน์การเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งความยั่งยืน โดยมีบริษัทหลักทรัพย์โนมูระ พัฒนสิน และบริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคินภัทร เป็นที่ปรึกษาทางการเงินสำหรับการทำ IPO นายไชย ไชยวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ดำเนินการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน (Filing) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ประมาณ 20% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จำหน่าย และอาจมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกินเป็นจำนวนไม่เกิน 15% ของจำนวนหุ้นสามัญที่เสนอขายในครั้งนี้ โดยคาดว่าจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ประมาณปี 2565 ซึ่งจะเป็นปีที่บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจครบ 80 ปี และมีบริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงินสำหรับการทำ IPO ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ศึกษาและเตรียมพร้อมสำหรับการทำ

Read More

aT-Center ชวนจับคู่ธุรกิจออนไลน์กับบริษัทชั้นนำด้านอาหารเกาหลี ในมหกรรม K-Food Fair 2021 Bangkok

aT-Center กรุงเทพฯ ขอเชิญผู้นำเข้าและผู้ประกอบการที่สนใจ เข้าร่วมกิจกรรมจับคู่ธุรกิจออนไลน์กับบริษัทชั้นนำด้านอาหารเกาหลี ในมหกรรม K-Food Fair 2021 Bangkok องค์กรการค้าการเกษตรกรรมและการประมงของประเทศเกาหลี (Korea Agro-Fisheries & Food Trade Corporation) หรือ aT-Center สาขากรุงเทพฯ จัดงาน “K-Food Fair 2021 Bangkok” เชิญผู้ประกอบการ นักลงทุน นักธุรกิจ และเจ้าของร้านอาหารทั้งชาวไทย ชาวอินเดีย และ ชาวพม่า ที่กำลังมองหาโอกาสเติบโตทางธุรกิจกับบริษัทผู้ผลิตชั้นนำด้านอาหารเกาหลี เข้าร่วมงานแสดงสินค้าอาหารเกาหลีที่ใหญ่ที่สุด “K-Food Fair 2021 Bangkok” ในระหว่างวันที่ 26 - 27 ตุลาคม 2564 พบกับกิจกรรมจับคู่ทางธุรกิจแบบออนไลน์ (Online Business Matching) ที่คุณสามารถปิดการเจรจาทางธุรกิจได้แบบตัวต่อตัวสุดเอ็กซ์คลูซีฟ “K-Food Fair 2021 Bangkok”

Read More

TVD สยายปีกรุกธุรกิจขนส่งพัสดุ Xpresso ชูบริการรวดเร็ว ทันใจ เริ่มต้น 25 บาท

TVD สยายปีกรุกธุรกิจขนส่งพัสดุ Xpresso บนแอปพลิเคชันและจุดบริการ 58 สาขา ชูบริการรวดเร็ว ทันใจ ฟีเจอร์ใหม่ ผู้ส่งแจ้งรับของล่วงหน้า เริ่มต้น 25 บาท ‘เอบีพีโอ’ หรือ ABPO เครือ บมจ.ทีวี ไดเร็ค แตกธุรกิจขนส่งพัสดุน้องใหม่แบรนด์ ‘Xpresso’ โมบายแอปพลิเคชันและจุดบริการ 58 สาขาทั่วประเทศ ด้วยบริการรับพัสดุถึงหน้าบ้านและส่งถึงปลายทาง (Door to Door) ชูฟีเจอร์ที่ผู้ส่งสินค้าสามารถแจ้งล่วงหน้าให้เข้ารับสินค้า ราคาเริ่มต้นที่ 25บาท เฟสแรกเปิดให้บริการพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล จ่อร่วมทุนสตาร์ทอัพสัญชาติไทย ผู้ให้บริการจองขนส่งพัสดุครบวงจรผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เสริมศักยภาพธุรกิจให้บริการระบบจัดการคลังสินค้าออนไลน์ (Fulfillment) แบบครบวงจร ตั้งเป้าก้าวขึ้นเป็น Top 10 นายธีระพงษ์ ลิมป์ประเสริฐ หัวหน้าสายงาน Fulfillment และบริหารค้าปลีก บริษัท เอบีพีโอ จำกัด ในเครือบมจ.ทีวี ไดเร็ค (TVD) ผู้ดำเนินธุรกิจให้บริการจัดส่งสินค้าครบวงจร

Read More

แอน จักรพงษ์ แต่งตั้ง 4 ขุนพล บริหาร JKN Group พร้อมทะยานสู่คอนเทนต์ คอมเมิร์ซ คอมพานี เต็มตัว

บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) ในนามของคุณแอน จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ ประกาศแต่งตั้ง 4 ผู้บริหารใหม่ในฐานะขุนพลสำคัญที่จะขับเคลื่อน JKN Group ซึ่งการประกาศแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงในครั้งนี้ถือเป็นการดำเนินการเพื่อส่งเสริมศักยภาพการเติบโตของธุรกิจและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานให้สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจส่งเสริมให้ JKN Group ทะยานขึ้นเป็นคอนเทนต์ คอมเมิร์ซ คอมพานี อันดับ 1 ของประเทศไทย คุณแอน จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) เผยว่า เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับผู้บริหารที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในแต่ละธุรกิจนั้นๆ ซึ่งศักยภาพดังกล่าวจะเข้ามาช่วย ขับเคลื่อนให้ธุรกิจมีความเติบโตก้าวหน้าและมีความสามารถสูงในการแข่งขันเชิงกลยุทธ์ไม่เพียงแต่ในประเทศไทยแต่รวมถึงระดับสากล ทุกท่านเป็นกำลัง สำคัญที่จะทำให้ JKN Group บรรลุเป้าหมาย ก้าวสู่คอนเทนต์ คอมเมิร์ซ คอมพานีอันดับ 1 ของประเทศไทยและอยู่ในใจประชาชนเสมอในทุกมิติแห่ง ไลฟ์สไตล์ คุณฌอน ลิม ซ็อก

Read More

เปิดใจผ่านประสบการณ์ “ความสุข…อยู่ที่ไหน” กับชีวิตใหม่ของผู้ป่วยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง จากคราบน้ำตาสู่รอยยิ้มและความหวังใหม่

หลายคนคงไม่คาดคิดว่าโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) จะมาลดทอนความสุขในชีวิตได้อย่างไร เพราะคนทั่วไปมักมองว่าโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังเป็นแค่ความผิดปกติของผิวหนังภายนอก แต่หากคุณไม่เคยใกล้ชิดกับผู้ป่วย ก็จะไม่ทราบเลยว่าครอบครัวผู้ป่วยและตัวผู้ป่วยเองต้องเผชิญและฝ่าฟันกับอะไรบ้าง หนึ่งในผู้ป่วยเหล่านั้นคือเด็กชายในวัย 16 ปี ที่จำเป็นต้องลาออกจากโรงเรียนตอนอายุ 14 ปี และที่ผ่านมาต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจจากโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังชนิดรุนแรง ซึ่งได้ถ่ายทอดอยู่ในคลิปวิดีโอชุด “ความสุข…อยู่ที่ไหน” ผ่านลิงก์นี้ https://youtu.be/geKp1OEFmXY น้องวิน ในวัย 16 ปี ผู้ป่วยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เล่าว่า “อาการที่ผมเป็นมันแสบ มันร้อน มันคัน มันทรมานโดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน ช่วงที่เป็นหนัก ๆ แค่เดินยังไม่ไหวครับ ข้อเท้าก็ปวด มีแผลเปิด แผลพุพอง มีน้ำเหลือง ผมไม่สามารถโดนแดดได้ หรือทนอากาศหนาวได้ บางคืนก็แทบไม่ได้นอน ผมรู้สึกแย่มากเหมือนผมเป็นภาระของพ่อแม่ต้องคอยมาดูแลตลอด ผมเป็นหนักจนคุณแม่ต้องลาออกจากงานเพื่อมาดูแลผม ชีวิตผมเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ เพื่อนก็ไม่มี ความสุขก็ไม่มี จากเดิมที่เคยใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ แต่ตอนนี้ชีวิตวัยรุ่นของผมมันพังเพราะผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง” นพ. กันย์ พงษ์สามารถ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ โรคภูมิแพ้อิมมูโนวิทยา สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)

Read More

เคทีซีกำไร 9 เดือน 4,631 ล้านบาท เข้มคัดกรองสมาชิกใหม่ มุ่งบริหารพอร์ตลูกหนี้คุณภาพ พร้อมรุกหลังคลายล็อคดาวน์

เคทีซีรายงานผลการดำเนินงาน 9 เดือน ทำกำไรสุทธิโต 15.4% อยู่ที่ 4,631 ล้านบาท ส่วนไตรมาส 3 ขยายตัว 7.9% อยู่ที่ 1,317 ล้านบาท รับสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบกับรายได้ แต่สามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายรวมให้ลดลง และบริหารพอร์ตลูกหนี้ให้มีคุณภาพดีต่อเนื่อง เตรียมรุกกิจกรรมการตลาดทุกผลิตภัณฑ์การเงิน หลังรัฐผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ และขยายเวลาช่วยลูกหนี้รายย่อยตามมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “แม้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังคงได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 แต่คาดว่าสถานการณ์จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น หลังจากรัฐบาลผ่อนคลายมาตรการควบคุมเรื่องการเดินทางและการปฏิบัติตัวในบางพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง ตามประกาศที่จะเริ่มมีการเปิดประเทศในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรและการเติบโตของพอร์ตลูกหนี้ที่จะกลับมาเติบโตได้ ซึ่งเคทีซีเองได้พัฒนาและพร้อมจะนำเสนอบริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงินคุณภาพ เพื่อให้สมาชิกเคทีซีและกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ได้รับความคุ้มค่า สะดวกสบาย และได้รับประสบการณ์ที่ดีทุกการใช้จ่าย” “ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา เคทีซีมีสัดส่วนของลูกหนี้บัตรเครดิตเทียบกับอุตสาหกรรมอยู่ที่ 13.5% ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตลดลง -1.5%

Read More

น้ำท่วมปี’64 จมนาข้าวนับล้านไร่ เสี่ยงหนี้ครัวเรือนภูมิภาคสูงขึ้น

ความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกันยายนเป็นต้นมา ทั้งผลพวงจากร่องความกดอากาศต่ำที่เกิดจากพายุโกเซิน พายุเตี้ยนหมู่ ก่อให้เกิดอุทกภัยในหลายจังหวัดของประเทศไทย แม้บางพื้นที่สถานการณ์จะคลี่คลายและกลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้วก็ตาม แต่ยังมีอีกหลายจังหวัดที่ยังต้องรับมือกับมวลน้ำในครั้งนี้ แม้ว่าปริมาณน้ำจะยังไม่เท่ามหาอุทกภัยเมื่อปี 2554 ก็ตาม ความแปรปรวนของสภาพอากาศของโลกก่อให้เกิดพายุขึ้นอีกหลายลูก แม้ว่าความรุนแรงของพายุเหล่านั้นจะลดลงกลายเป็นหย่อมความกดอากาศกำลังแรงแล้วก็ตาม แต่อิทธิพลนั้นทำให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ หากจะมองในแง่มุมของภัยธรรมชาติที่ไม่มีใครสามารถกำหนดหรือหยุดยั้งได้ ทว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อเรือกสวนไร่นาที่เพียงรอเวลาเก็บเกี่ยวในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า คงเป็นเรื่องยากที่จะทำใจยอมรับความสูญเสียครั้งนี้ เพราะสำหรับบางครอบครัวนั่นอาจหมายถึงรายได้หลักที่เกษตรกรรอคอยมาทั้งปี สถานการณ์ความยากลำบากที่เกิดจากมหันตภัยโรคระบาดอย่างโควิด-19 สร้างบาดแผลให้แก่ทุกชนชั้น ทุกอาชีพ แต่เหล่าเกษตรกรและประชาชนที่อยู่ในพื้นที่รับน้ำตอนนี้คงคล้ายกับถูกโชคชะตากระหน่ำซ้ำเติมให้สถานการณ์เลวร้ายหนักกว่าอีกหลายเท่า ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ประเมินความเสียหายจากน้ำท่วมในครั้งนี้ว่า น่าจะอยู่ที่ประมาณ 10,000-15,000 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศหรือจีดีพีประมาณ 0.1-0.2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งความเสียหายแบ่งเป็นพืชเกษตร 6,349.51 ล้านบาท สิ่งสาธารณะ 4,972.20 ล้านบาท การค้า 1,316.10 ล้านบาท บ้านเรือน 1,320.30 ล้านบาท ปศุสัตว์ 753.90 ล้านบาท และอื่นๆ อีก 324 ล้านบาท ขณะที่นาข้าวจมน้ำไปกว่า 2 ล้านไร่ เกษตรกรได้รับผลกระทบประมาณ 3 ล้านคน ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปต่างรอคอยให้ภาครัฐออกมาตรการผ่อนปรน โดยหวังว่าจะได้กลับไปใช้ชีวิตตามปกติ เช่น

Read More