Home > 2021 > มกราคม (Page 4)

ไอคอนสยาม เปิดประสบการณ์ช้อปปิ้งไร้ขีดจำกัด “ICONSIAM The Ultimate Shopping Experience” ช้อปสะดวกสบายได้ทุกที่

ไอคอนสยาม เปิดประสบการณ์ช้อปปิ้งไร้ขีดจำกัด “ICONSIAM The Ultimate Shopping Experience” ช้อปสะดวกสบายได้ทุกที่ อัพเดทเทรนด์ได้ทุกเวลา ด้วย 4 ช่องทางบริการใหม่ ไอคอนสยาม แลนด์มาร์คระดับโลกริมแม่น้ำเจ้าพระยา ขานรับนโยบายรัฐเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในทุกสถานการณ์ ให้ work from home ได้อย่างเพลิดเพลิน และเปิดประสบการณ์การช้อปปิ้งไร้ขีดจำกัดด้วยบริการช้อปปิ้งรูปแบบพิเศษ “ICONSIAM The Ultimate Shopping Experience” (ไอคอนสยาม ดิ อัลทิเมท ช้อปปิ้ง เอ็กซพีเรียนซ์) ส่งตรงสินค้าครอบคลุมทุกกลุ่มประเภท ทั้ง Health & Beauty , Gadget & IT, Home & Lifestyle, Women’s & Men’s fashion, Sports & Travel

Read More

ปตท. ดัน OR ลุยตลาดหุ้นวัวดุ ระดม 7 หมื่นล้าน รุกนอนออยล์

ปตท. เดินหน้าดันแผนเสนอขายหุ้นไอพีโอ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคมนี้ และคาดจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 ท่ามกลางปัจจัยลบพิษโควิด-19 ระลอกใหม่ที่ยังมีผู้ติดเชื้อใหม่โผล่ขึ้นทุกวัน ว่ากันว่า ตามแผน OR จะเสนอขายหุ้น IPO ไม่เกิน 3,000 ล้านหุ้น โดยมีกูรูประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) อยู่ที่ประมาณ 2.3 แสนล้านบาท คำนวณราคาหุ้นจะอยู่ที่ประมาณ 20 บาทต่อหุ้น และน่าจะสามารถเข้าคำนวณในดัชนี SET50 ได้หลังเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องยอมรับว่า บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ในฐานะบริษัทแม่และ OR พยายามดึงเวลา เพื่อประเมินสถานการณ์ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอันตรายตลอดปี 2563 หลังจากยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน

Read More

นิยามใหม่ของอนาคตห้างสรรพสินค้าไทย

แม้ว่าห้างสรรพสินค้าจะเป็นสถานที่ที่คนไทยคุ้นเคยกันมานานหลายสิบปี แต่ ซีบีอาร์อี บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ ได้เห็นถึงความนิยมที่ลดลงและมีการเติบโตเพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะในปี 2563 ที่โควิด-19 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจค้าปลีก ซีบีอาร์อีเชื่อว่า นอกจากจะต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับอี-คอมเมิร์ซและสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ห้างสรรพสินค้าในปี 2564 จะต้องปรับรูปแบบการทำธุรกิจในแง่ของการสร้างเสริมประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ รวมไปถึงการจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และบริการเสริม เพื่อรักษาความนิยมจากนักช้อปชาวไทย นางสาวจริยา ถ้ำตรงกิจกุล หัวหน้าแผนกพื้นที่ค้าปลีก ซีบีอาร์อี ประเทศไทย อธิบายว่า “ในขณะที่ห้างสรรพสินค้ามอบความสะดวกสบายให้แก่นักช้อปด้วยการประหยัดเวลา เพราะมีการนำเสนอและจัดกลุ่มสินค้าที่มีความหลากหลายไว้ตามแผนกต่าง ๆ ทำให้ลูกค้าสามารถค้นหา เปรียบเทียบ และเลือกซื้อสินค้าที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย แต่อย่างไรก็ตาม ห้างสรรพสินค้ารูปแบบเดิมไม่อาจตอบสนองกับความต้องการ ไลฟ์สไตล์ และพฤติกรรมของผู้ซื้ออีกต่อไป โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่” จากข้อมูลของแผนกวิจัย ซีบีอาร์อี ณ ไตรมาส 4 ปี 2563 พบว่าพื้นที่ค้าปลีกทั้งหมดในกรุงเทพมหานครมีทั้งสิ้น 7.8 ล้านตารางเมตร เพิ่มขึ้น 1.16% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งจากตัวเลขดังกล่าวนี้ มีเพียงราว 3% เท่านั้นที่เป็นพื้นที่ห้างสรรพสินค้า

Read More

นิทรรศการ Paris romantique 1815-1848

Column: From Paris Petit Palais เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับงานเอ็กซ์โปนานาชาติปี 1900 ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ Musée des beaux-arts de la Ville de Paris ขึ้นกับเมืองปารีส ในฤดูร้อนปี 2019 จัดนิทรรศการ Paris romantique 1815-1848 ปารีสโรแมนติก ระหว่างปี 1815-1848 อันช่วงที่นโปเลอง (Napoléon) หมดอำนาจจนถึงช่วงปฏิวัติปี 1848 Paris romantique 1815-1848 สะท้อนกรุงปารีสระหว่างปี 815-1848 ทั้งด้านสังคม ศิลปะ และความคิดอ่าน นิทรรศการนี้นำผลงานกว่า 600 ชิ้นมาแสดง มีทั้งภาพเขียน ประติมากรรม เครื่องเรือน objets d’art สะท้อนความเคลื่อนไหวด้านศิลปะ วัฒนธรรม และการเมืองในยุคนั้น เริ่มจากพระราชวังตุยเลอรีส์ (Tuileries) ซึ่งเป็นพระราชวังที่กษัตริย์หลุยส์ 18

Read More

นวัตกรรม 5G, AI, IoT ยกระดับอุตสาหกรรมคมนาคม ทางด่วนอัจฉริยะ “เวียงจันทน์-วังเวียง”

เมื่อนวัตกรรม 5G, AI, IoT ยกระดับอุตสาหกรรมคมนาคม เกิดเป็นทางด่วนอัจฉริยะ “เวียงจันทน์-วังเวียง” ผสานเทคโนโลยีแห่งอนาคตเพื่อการเดินทางที่สะดวก ปลอดภัย เมื่อกล่าวถึงการนำเทคโนโลยีแห่งอนาคตอย่าง 5G, AI, ICT, และ IoT มาประยุกต์ใช้กับบริการหรือสาธารณูปโภคต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เรามักจะนึกถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มความสะดวกสบายในอุตสาหกรรมที่มีการใช้เทคโนโลยีเครือข่ายเป็นหัวใจสำคัญอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นในอุตสาหกรรมไอทีซึ่งนำนวัตกรรมใหม่ดังกล่าวมาช่วยให้การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว การนำ 5G มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเพื่อให้บริการเครือข่ายการเชื่อมต่อความเร็วสูงสุดแก่ทั้งผู้บริโภคและองค์กร หรือแม้แต่ด้านสาธารณสุขที่นำ ICT มาประยุกต์ใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เทคโนโลยีดังกล่าวนอกจากจะส่งผลให้บริการมีความรวดเร็วมากกว่าเดิมหลายเท่าตัว ยังช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่กระบวนการดำเนินงานในอุตสาหกรรมนั้น ๆ ได้เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การนำนวัตกรรมล้ำสมัยดังกล่าวมาปรับใช้ด้านคมนาคมและการสัญจรนั้น ยังเป็นเรื่องที่ไม่ได้รับการพูดถึงอย่างแพร่หลายมากนัก ทั้งที่การคมนาคมถือเป็นหัวใจสำคัญของเมืองใหญ่ทุกแห่งบนโลก เมื่อไม่นานมานี้ หัวเว่ยได้ร่วมนำนวัตกรรมดังกล่าวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งกับการเปิดให้บริการทางด่วนอัจฉริยะจากเวียงจันทน์ถึงวังเวียง ซึ่งร่วมก่อสร้างและพัฒนาโดยบริษัท Yunnan Construction and Investment Holding Group ด้วยความร่วมมือจากรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทางด่วนเวียงจันทน์-วังเวียงนี้ถือเป็น “ทางด่วนอัจฉริยะแห่งแรก” ของประเทศลาว ทั้งนี้ หัวเว่ยและพันธมิตร Yunnan Huayuan Electronics

Read More

โควิด-19 รอบใหม่ ส่งผลผู้บริโภคตื่นตัวหันมาใส่ใจสุขภาพ ‘ไลอ้อน’ ขนไลน์สินค้าเสริมอาหาร-ดูแลสุขอนามัยบุกตลาด

‘ไลอ้อน ประเทศไทย’ เผยโควิด-19 หนุนผู้บริโภคตื่นตัวดูแลสุขภาพ ดันยอดขายสินค้ากลุ่มป้องกันไวรัสเพิ่ม ขนทัพผลิตภัณฑ์กลุ่มดูแลสุขอนามัย จัดโปรโมชันรับกระแส พร้อมเปิดตัว ‘แอสคอร์-เท็น’ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดูแลสุขภาพองค์รวม รุกเจาะช่องทางออนไลน์ตอบโจทย์ความต้องการช่วง เวิร์คฟอร์มโฮม นายบุญฤทธิ์ มหามนตรี ประธานกรรมการ บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า นับแต่เกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา และเกิดการระบาดระลอกใหม่ในขณะนี้ ได้ส่งผลต่อแนวโน้มยอดขายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน/ฆ่าเชื้อไวรัส (Anti virus) ให้เพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และที่มีคุณสมบัติในการช่วยลดการสะสมเชื้อโรค เช่น โฟมล้างมือ, เจลล้างมือ, สเปรย์ฆ่าเชื้อ คิเรอิ คิเรอิ (KIREI KIREI), ครีมอาบน้ำโชกุบุสซึ โมโนกาตาริ, ลุค(LOOK) สเปรย์ฆ่าเชื้อโรคสำหรับพื้นผิวอเนกประสงค์, ผลิตภัณฑ์ซักผ้าเปา (PAO) , น้ำยาล้างจาน ไลปอนเอฟ และรวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เปิดตัวเมื่อไม่นานมานี้อย่าง แอสคอร์-เท็น

Read More

ร้านค้า-อาหารระส่ำหนัก หลัง COVID-19 ระบาดใหม่

การระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมาและมีแนวโน้มที่จะทวีความหนักหน่วงเพิ่มขึ้น หลังจากที่พบว่ากลไกรัฐมีความบกพร่องในการป้องปรามและป้องกันการแพร่ระบาดครั้งใหม่ ซึ่งนอกจากจะมีต้นทางมาจากการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายของทั้งแรงงานไทยที่เดินทางกลับเข้าประเทศหลังไปทำงานอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน และแรงงานต่างชาติที่กลับเข้ามาหนุนนำกลไกเศรษฐกิจแล้ว ล่าสุดยังพบว่าการแพร่ระบาดในลักษณะของการติดเชื้ออย่างเป็นกลุ่มก้อนระลอกใหม่เกิดขึ้นจากการลักลอบเล่นการพนันในบ่อนการพนันผิดกฎหมายในหลายพื้นที่อีกด้วย ข้อน่าสังเกตว่าด้วยความฉ้อฉลของเจ้าหน้าที่ที่มีสังกัดอยู่ในกลไกรัฐ กลายเป็นคำถามที่รอคอยคำตอบต่อสาธารณชน และก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยถึงความโปร่งใสและความจริงจังในการนำพาประเทศออกจากวิกฤตโรคระบาดที่กำลังกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวางในห้วงเวลาปัจจุบัน เทศกาลแห่งความสุขในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมากลายเป็นช่วงเวลาแห่งความประหวั่นวิตกของคนไทย ที่ติดตามมาด้วยการชะลอการท่องเที่ยวเดินทางและชะลอกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคมหลากหลาย ที่ส่งผลลบต่อภาวะฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เคยคาดว่าจะกระเตื้องขึ้นจากการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่ให้หดตัวลดลงอย่างไม่อาจเลี่ยง ควบคู่กับการติดตามมาตรการของของรัฐว่าจะดำเนินไปในทิศทางแบบใด นอกจากนี้ การระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ยังได้รับการประเมินว่าจะทำให้ภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ได้รับความสูญเสีย คิดเป็นมูลค่าประมาณ 45,000 ล้านบาท และความสูญเสียเกี่ยวเนื่องกับสินค้าประมงและอาหารทะเล อาจมีมูลค่ารวมกัน 13,000 ล้านบาท จากการชะลอการบริโภคสินค้าประมงและอาหารทะเลในระยะสั้น โดย สมุทรสาคร ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบหลักในธุรกิจการประมงและการแปรรูปสัตว์น้ำ โดยปริมาณสัตว์น้ำสดที่ใช้ในธุรกิจการประมงและการแปรรูปสัตว์น้ำเค็ม มีสัดส่วนเกือบร้อยละ 40 ของทั้งประเทศ ไม่รวมวัตถุดิบนำเข้า การปิดเมืองตั้งแต่ 19 ธันวาคม 2563 ถึง 3 มกราคม 2564 จึงส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการค้าและการผลิตหมวดนี้ไม่น้อย ความพยายามของกลไกรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : ศบค. ที่จะเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่กระจายของโรคด้วยการจำแนกพื้นที่การแพร่ระบาดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุมและพื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด ตามระดับความรุนแรงของการแพร่ระบาดและจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อในแต่ละพื้นที่มาเป็นเกณฑ์ในการจัดการ ควบคู่กับการหลีกเลี่ยงที่จะใช้คำว่ามาตรการ lockdown ที่เชื่อมโยงกับมาตรการเยียวยา

Read More

ลาซาด้า เปิดแคมเปญใหม่ ‘บอกลาอาการคิดหนัก บอกลาซาด้า’ ตรึงสินค้าราคาประหยัดกว่าล้านรายการ

ลาซาด้า เปิดแคมเปญใหม่ ‘บอกลาอาการคิดหนัก บอกลาซาด้า’ ตรึงสินค้าราคาประหยัดกว่าล้านรายการ พร้อมส่งโปรโมชั่นสุดคุ้มให้ผู้บริโภคช้อปสบายรับปีใหม่ ปลอดภัย COVID-19 ลาซาด้า ประเทศไทย ส่งแคมเปญ “บอกลาอาการคิดหนัก บอกลาซาด้า” คลายกังวลนักช้อปด้วยโปรโมชั่นสุดพิเศษ ทั้งแจกฟรีคูปองลดราคาที่ไม่จำกัดจำนวนผู้ใช้ บริการจัดส่งฟรี และส่งคืนสินค้าฟรี พร้อมยกขบวนสินค้ามากมายในราคาประหยัดที่คัดสรรมาแล้วในโซน LazChoice เพื่อมอบประสบการณ์การช้อปปิ้งที่สะดวกสบายปลอดภัยจากโควิด-19 พร้อมคลายความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายให้กับผู้บริโภคในสถานการณ์ปัจจุบัน เริ่มแล้วตั้งแต่วันนี้ถึง 21 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ลาซาด้า รวมถึงสินค้าบน LazMall และ LazGlobal ทั้งหมดมากกว่าล้านรายการ ตลอดปี 2563 ที่ผ่านมา การระบาดของโรคโควิด-19 เข้ามาเปลี่ยนไลฟ์สไตล์นักช้อปชาวไทยอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องการจับจ่ายใช้สอย จากผลสำรวจที่ทำขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม 2563 โดยบริษัทอิปซอสส์ (Ipsos) บริษัทสำรวจและวิจัยตลาดจากประเทศฝรั่งเศสพบว่า คนไทย 84% ระบุว่ามีรายได้ในครัวเรือนน้อยลงหลังการระบาดของโรคโควิด-19 ในขณะที่ผลสำรวจผู้บริโภคของวีซ่า (VISA) พบว่า คนไทยถึง 78% ระบุว่าปัจจุบันพวกเขาให้ความสำคัญกับราคาสินค้ามากขึ้น และผู้บริโภค

Read More

โละของไม่ใช้ เปลี่ยนบ้านรกเป็นบ้านน่าอยู่

คำว่า “เสียดาย” หรือ “เก็บไว้ก่อนเผื่อต้องได้ใช้” มักเป็นคำพูดที่เราได้ยินอยู่เสมอ ทั้งจากผู้อาศัยร่วมบ้าน โดยเฉพาะบรรดาแม่บ้านทั้งหลาย หรือแม้แต่ตัวเราเอง ที่มักจะสวมวิญญาณนักสะสมอยู่ไม่น้อย นานวันเข้าการเก็บสรรพสิ่งต่างๆ ด้วยความเสียดายและยังไม่อยากทิ้ง ทำให้เราสูญเสียพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านไป และสิ่งของที่เราสะสมเหล่านั้นบ้านเรารกในที่สุด การเริ่มต้นศักราชใหม่ นอกจากการทำจิตใจให้แจ่มใสสดชื่น การทำบุญเพื่อเป็นมงคลแก่ตัวเองแล้ว การจัดบ้านใหม่ก็ช่วยให้สุขภาพกายและใจดีขึ้นด้วย เริ่มต้นด้วยการเคลียร์ข้าวของที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน แต่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อย เช่น กล่องพลาสติก แก้วน้ำพลาสติก ฯลฯ ปัจจุบันผู้ประกอบการไทยเริ่มหันมาใช้กล่องพลาสติกบรรจุอาหารทั้งคาวและหวานมากขึ้น เพื่อทดแทนการใช้ถุงพลาสติกที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ยากกว่า ทว่า กล่องพลาสติกเหล่านี้ หลังจากที่เราได้รับมา อาจคิดว่าเมื่อใช้เสร็จแล้วสามารถล้างและนำกลับมาใช้ซ้ำได้ เช่น ใส่ของกระจุกกระจิกเพื่อความเป็นระเบียบ แต่พอมีปริมาณมากขึ้น เรากลายเป็นนักสะสมแบบไม่รู้ตัว การกำจัดทิ้ง เราเลือกกล่องพลาสติกที่ยังอยู่ในสภาพดี แข็งแรงเพียงไม่กี่ใบ หรือเฉพาะที่ต้องใช้จริงๆ ก็เพียงพอแล้ว ส่วนที่เหลือใส่ถุงแยกทิ้ง เพื่อสะดวกแก่เจ้าหน้าที่คัดแยกขยะ ตะกร้า กระเช้า แทบทุกบ้านที่จะได้รับตะกร้าผัก กระเช้าผลไม้ ที่มักจะมอบให้กันในช่วงเทศกาลหรือวันสำคัญเพื่อแสดงความยินดี แสดงน้ำใจต่อกัน และตะกร้า กระเช้าดีไซน์เก๋ เราอาจจะอยากเก็บไว้ใส่สิ่งของเพื่อจัดระเบียบ นำกลับมาใช้ใหม่ จากที่เคยซื้อตะกร้า กระเช้าที่จัดชุดสำเร็จรูปเพื่อมอบให้กันในช่วงเทศกาล ก็เพียงแค่ซื้อของมาจัดเองตามที่ชอบ หรือเหมาะกับผู้รับ และจัดลงกระเช้าใบเดิม เพียงเท่านี้ของเก่าก็เกิดประโยชน์แล้ว เสื้อผ้าเก่า รองเท้าคู่เดิม เชื่อว่าหลายคนมักประสบปัญหานี้แน่นอน เพราะเรามักจะหาซื้อเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายใหม่ๆ

Read More

อนาคตของเยาวชน บนสถานการณ์ COVID-19

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่ดำเนินต่อเนื่องยาวนานกว่า 1 ขวบปี และกระจายขยายตัวเป็นโลกระบาดขนาดใหญ่ซึ่งปกคลุมอาณาบริเวณและพื้นที่ทุกภูมิภาคของโลก นอกจากจะส่งผลต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคม การจ้างงาน ผลิตภาพทางธุรกิจอุตสาหกรรมแล้ว การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังส่งผลกระทบต่อมิติทางการศึกษาและพัฒนาการของเยาวชนอย่างไม่อาจเลี่ยง ความเป็นไปของ COVID-19 ได้ส่งผลให้โรงเรียนใน 192 ประเทศทั่วโลก ต้องปิดการเรียนการสอนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โดยอาศัยเทคโนโลยีเรียนออนไลน์อยู่ที่บ้านแทน ซึ่งการระงับการเรียนการสอนตามปกติได้ส่งผลกระทบต่อนักเรียนนักศึกษาจำนวนรวมมากกว่า 1.6 พันล้านคนทั่วโลก และมีนักเรียนอีกไม่ต่ำกว่า 870 ล้านคนใน 51 ประเทศ ที่ยังไม่สามารถกลับไปเรียนในโรงเรียนได้ตามปกติอีกด้วย กรณีดังกล่าวทำให้กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ : UNICEF ระบุว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้เกิดวิกฤตทางด้านการศึกษาอย่างกว้างขวาง โดยนักเรียนไม่น้อยกว่า 24 ล้าคน มีความเสี่ยงที่จะต้องหลุดออกจากระบบและวงจรการศึกษาอย่างถาวร เพราะเมื่อนักเรียนไม่สามารถเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนได้นานมากเท่าไร โอกาสที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษาก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นรัฐบาลจึงควรให้ความสำคัญกับการเปิดโรงเรียนเมื่อมาตรการต่างๆ มีการผ่อนปรนลง เพราะการไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาได้ ส่งผลกระทบในระยะยาวต่อเยาวชน และเพิ่มความเสี่ยงที่เยาวชนจะเผชิญกับสถานการณ์ความรุนแรงทั้งด้านร่างกาย และอารมณ์ ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพจิต รวมถึงยังมีความเสี่ยงที่เยาวชนจะต้องเจอกับปัญหาด้านการใช้แรงงานเด็ก การล่วงละเมิดทางเพศ และไม่สามารถหลุดพ้นจากความยากจนได้ ประเด็นที่น่าสนใจที่ UNICEF ได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของโรงเรียนไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในฐานะที่โรงเรียนเป็นสถานที่ที่อำนวยการศึกษาเรียนรู้ให้กับเยาวชนเท่านั้น

Read More