Home > 2020 > พฤศจิกายน (Page 5)

ฝ่าวิกฤต..พลิกโอกาส..กับหลักสูตร The MASTER ที่สุดของหัวใจนักธุรกิจ เปิดรับสมัครรุ่น 6 แล้ว สมัครด่วน! รับจำนวนจำกัด

สถาบันยุทธศาสตร์ธุรกิจเชิงบวก หรือ iSAB โดย บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด (มหาชน) มหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดรับสมัครหลักสูตร “THE MASTER” รุ่นที่ 6 เพื่อให้ผู้บริหารองค์กรภาครัฐและเอกชน เจ้าของธุรกิจ หรือทายาทผู้ประกอบการ เข้ามาอบรม พบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และมุมมองโลกธุรกิจ เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุด นายบุญชัย โชควัฒนา ประธานหลักสูตรประกาศนียบัตรนักบริหารยุทธศาสตร์ธุรกิจเชิงบวก (THE MASTER) กล่าวว่า “THE MASTER เป็นหลักสูตรแรกของไทยที่ช่วยพัฒนาศักยภาพและเติมพลังความคิดสร้างสรรค์ของผู้ใฝ่รู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงบวกควบคู่คุณธรรม สร้างผู้นำทางธุรกิจระดับประเทศ โดยหลักสูตรนี้ถือเป็นที่สุดของหัวใจนักธุรกิจ ที่ต้องการความสำเร็จอย่างยั่งยืน ซึ่งมี 3 หัวใจสำคัญเพื่อเดินหน้าสร้างและพัฒนา คือ Appreciative, Leadership และ Virtue ที่มุ่งสร้างนักธุรกิจให้มีหลักคิดเชิงบวก

Read More

ยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเคหะ ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

จากสินค้าชุมชนรูปแบบเดิมที่อาจเห็นอย่างมากมายในตลาด สู่การยกระดับมาตรฐาน ปรับเปลี่ยนรูปแบบและพัฒนาไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีดีไซน์ที่ทันสมัย สวยงาม ถูกใจแต่ยังคงไว้ซึ่งความปราณีตอันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนไม่ทิ้งรากฐานเดิม ปรับรูปแบบใหม่ให้ตรงใจผู้ซื้อ โดยผ่านการสนับสนุนจากภัทรพัฒน์ มูลนิธิชัยพัฒนา ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ชุมชนสามารถยืนได้ด้วยตนเอง การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ได้สร้างผลกระทบต่อสุขภาพและระบบเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง หลายธุรกิจได้รับผลกระทบจนต้องปิดตัวลง ผู้คนจำนวนไม่น้อยขาดรายได้ในการยังชีพ ซึ่งชาวชุมชนเคหะเองก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง การเคหะแห่งชาติจึงได้หาแนวทางในการพัฒนาเคหะชุมชนโดยยึดแนวคิด “ชุมชนต้องสามารถยืนได้ด้วยตนเอง” ทั้งนี้การส่งเสริมอบรมฝึกอาชีพให้กับผู้อยู่อาศัยในชุมชนถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่การเคหะแห่งชาติได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ชาวชุมชนมีรายได้ที่มั่นคง สามารถยังชีพและเลี้ยงครอบครัวได้ ซึ่งหลายชุมชนของการเคหะแห่งชาติมีการรวมกลุ่มกันสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีคุณภาพ ฝีมือปราณีต แต่รูปแบบของผลิตภัณฑ์อาจยังไม่เป็นที่ถูกตาต้องใจของผูบริโภคในวงกว้างอีกทั้งช่องทางในการจำหน่ายยังมีอยู่อย่างจำกัด “ณัฐพงศ์ พันธเกียรติไพศาล” ประธานกรรมการการเคหะแห่งชาติ และ “ทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ์” ผู้ว่าการ การเคหะแห่งชาติและฝ่ายบริหาร จึงร่วมกันผลักดันแนวคิดยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนของการเคหะสู่กลุ่มตลาดพรีเมี่ยม สร้างมูลค่าและคุณค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก เพื่อสร้างรายได้หมุนเวียนในชุมชนอย่างยั่งยืน การได้เข้าพบคุณภากมล รัตตเสรี กรรมการและรองเหรัญญิก มูลนิธิชัยพัฒนา ได้นำไปสู่โครงการความร่วมมือระหว่างการเคหะแห่งชาติและภัทรพัฒน์ มูลนิธิชัยพัฒนาในการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน ทั้งในมิติเกษตรชุมชนยั่งยืน และมิติของการยกระดับสินค้าชุมชน เพื่อฟื้นฟูและเยียวยาชาวชุมชนจากวิกฤตโควิด-19 และพัฒนาให้ชาวชุมชนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาปฏิบัติ เป็นหนึ่งในทางออกเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยแนวคิดนี้ คุณณัฐพงศ์ ได้กล่าวว่า “การเคหะมีชุมชนที่ดูแลอยู่จำนวนมาก

Read More

พาณิชย์ ผนึกกำลัง CPF เปิด “พาณิชย์ลดราคา! ช่วยประชาชน” ล็อต 7

ก.พาณิชย์ ผนึกกำลัง CPF เปิด "พาณิชย์ลดราคา! ช่วยประชาชน" ล็อต 7 เสิร์ฟอาหารคุณภาพ ลดสูงสุด 50% พร้อมบริการส่งฟรีไม่มีขั้นต่ำ รับวิถี New Normal คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดโครงการ "พาณิชย์ ลดราคา! ช่วยประชาชน" ล็อต 7 เพื่อลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid – 19) รวมทั้งกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยมี คุณชัยยุทธ ทิพย์สุวรรณพร และ คุณวิวัฒน์ ภูมิพิทักษ์กุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส CPF ร่วมต้อนรับที่บูธ CP FreshMart และ CP-Meiji ณ ห้องบุรฉัตรไชยากร ชั้น 4 สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ คุณชัยยุทธ ทิพย์สุวรรณพร กล่าวว่า

Read More

โครงการหวงแหนกระบี่ ชวนคนไทยร่วมสำนึกรักหวงแหนกระบี่ สมบัติล้ำค่าที่ธรรมชาติได้มอบไว้

เจ้ารู้ไหม ... แผ่นดินนี้มันเป็นของทุกชีวิต รู้สึกไหม ... ว่าดิน อากาศ น้ำ ลำคลอง ท้องทะเล คือสิ่งที่บริสุทธิ์ รักได้ไหม ... รักชีวิตของตัวเจ้าเองได้ไหม ประโยคคำถามชวนคิดในภาษาอูรักลาโว้ย (Urak Lawoi) ภาษาท้องถิ่นคนทะเลนี้อยู่ในภาพยนตร์กระบี่คือชีวิต ของโครงการหวงแหนกระบี่ที่ต้องการรณรงค์ให้นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ คนในพื้นที่ทั้งภาครัฐและเอกชน รู้สึกรักและหวงแหนจังหวัดกระบี่ จากผู้กำกับฝีมือระดับโลกอย่างธนญชัย ศรศรีวิชัย (ต่อ ฟีโนมีน่า) ที่ลงพื้นที่ไปพูดคุยกับคนท้องถิ่นในจังหวัดกระบี่ สัมผัสวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ความศรัทธาและธรรมชาติที่สวยงามและนำมาถ่ายทอดให้ผู้ชมได้ตระหนักถึงความล้ำค่าพร้อมปลูกจิตสำนึกร่วมปกป้องหวงแหนทุนทางธรรมชาติของจังหวัดกระบี่ให้คงอยู่กับมนุษย์สืบไป ภาพยนตร์กระบี่คือชีวิต https://www.youtube.com/watch?v=DVxOF3ugSag  ความยาว 2.35 นาที ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านคุณลุงมะดิเอ็น ช้างน้ำ คนท้องถิ่นของจังหวัดกระบี่ด้วยภาษาอูรักลาโว้ย (Urak Lawoi) ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นชาวเลฝั่งอันดามันทางใต้ของไทย ที่ตั้งคำถามกับคนดูว่า “รักได้ไหม รักชีวิตของตัวเจ้าเองได้ไหม” พร้อมเล่าว่าจังหวัดกระบี่คือแผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์ที่มีความสวยงามและความอุดมสมบูรณ์ที่ธรรมชาติมอบไว้ให้มนุษย์ แต่ความสมบูรณ์เหล่านั้นหายไปเมื่อธรรมชาติถูกรบกวนอย่างขาดจิตสำนึกที่เกิดมาจากการกระทำของมนุษย์ผู้ที่ฉลาดเหนือกว่าสิ่งใดในโลกโดยตอนจบของคลิปนี้ยังสร้างการตระหนักกับคนดูต่ออีกว่ากระบี่คือแผ่นดินที่บริสุทธิ์เป็นแผ่นดินของทุกชีวิตที่มีความเชื่อ ความศรัทธา ความงามของธรรมชาติอยากให้ทุกคนรักและหวงแหนแผ่นดินนี้เหมือนที่มนุษย์รักและหวงแหนตัวเอง หากเราทำลายผืนดินกระบี่ ก็เหมือนกับเราทำร้ายตัวเองเพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนผืนดินนี้ก็คือชีวิตของเราเอง ภาพยนตร์ชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการหวงแหนกระบี่ที่เปิดตัวมาตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยเกิดจากการผสานความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้เสียทั้งภาครัฐและเอกชนครั้งยิ่งใหญ่ โดยหวังสร้างแรงกระตุ้นร่วมรณรงค์ให้ประชาชนในท้องที่ ผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยว

Read More

ทาคาชิมายะ บูมบิ๊กไฮไลท์ ครบ 2 ปี ฝ่ามรสุมค้าปลีกไทย

สยาม ทาคาชิมายะ กลายเป็นห้างสายพันธุ์ญี่ปุ่นที่ถูกจับจ้องความเคลื่อนไหวก้าวต่อไป หลังเปิดดำเนินการเมื่อปี 2561 พร้อมๆ กับอภิมหาโครงการไอคอนสยาม และจะดีเดย์ครบรอบ 2 ปี ในวันที่ 10 พฤศจิกายนนี้ ขณะเดียวกัน ชื่อชั้น “ทาคาชิมายะ” ถือเป็นกลุ่มห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น ดำเนินธุรกิจยาวนานมากกว่า 190 ปี ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1829 ที่เมืองเกียวโต โดยนายอีดะ ชินกิชิ ระยะแรกเน้นจำหน่ายสินค้าปลีกประเภทเสื้อผ้า ผ้าฝ้าย จนขยายอาณาจักรธุรกิจและผุดสาขาทั่วประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 20 แห่ง ส่วนสาขาในต่างประเทศเริ่มบุกประเทศสิงคโปร์ โดยเป็นผู้เช่าหลักในศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดใจกลางถนนสายหลักออร์ชาร์ด และขยายต่อเนื่อง ได้แก่ สาขาเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน สาขาโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม จนล่าสุด คือ สยามทาคาชิมายะ ไอคอนสยาม ประเทศไทย เป็นการร่วมทุนกันระหว่างบริษัทลูก ทาคาชิมายะ สิงคโปร์ สัดส่วน 51% กับกลุ่มไอคอนสยาม 49% หากย้อนไปวันแรกของการเผยโฉมในประเทศไทยนั้น

Read More

เคทีซีจัดทริปพิเศษ “ยลศิลป์สถาน งานช่างฝรั่งผสมไทยในแดนสยาม”

“เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินชมรม “KTC PR Press Club” จัดทริปพิเศษพาสมาชิกสื่อมวลชน “ยลศิลป์สถาน งานช่างฝรั่งผสมไทยในแดนสยาม” ภายใต้ คอนเซปท์ปี 2563 “เมื่อประจิมบรรจบบูรพา ผสมศาสตร์ ผสานศิลป์ in Bangkok” รับรู้เรื่องราวของประวัติศาสตร์ไทยที่มีการผสมผสานศิลปวัฒนธรรมจากซีกโลกตะวันออกและตะวันตก จนเป็นเอกลักษณ์ของวิถีชีวิตที่โดดเด่นบนพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นแหล่งรวมมรดกทางภูมิปัญญาอันทรงคุณค่า น่าศึกษาเรียนรู้ ที่วัดราชผาติการาม บ้านพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ บ้านอาจารย์ฝรั่ง และปิดท้ายที่พิพิธภัณฑ์การศึกษา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพื่อเรียนรู้พัฒนาการการศึกษาไทย โดยมีอาจารย์นัท จุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรม ร่วมเป็นวิทยากร เมื่อเร็วๆ นี้ วัดราชผาติการาม วัดราชผาติการาม วัดราชผาติการาม บ้านพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ บ้านอาจารย์ฝรั่ง บ้านพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ

Read More

อิปซอสส์ (Ipsos) เผยผลสำรวจผลกระทบในช่วงโควิด

คนไทย 1 ใน 3 ต้องการเงินช่วยเหลือจากรัฐฯ ถึงแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดจะยืดเยื้อมากว่า 10 เดือนแล้ว ประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังคงมีความกังวลต่อการติดเชื้อไม่เสื่อมคลาย จากผลสำรวจพบว่าประเทศที่ประชาชนมีความกังวลต่อการติดเชื้อน้อยที่สุดคือสิงคโปร์ ตามมาด้วย ประเทศไทย ซึ่งในไทยนั่นมีประชาชนเพียง 30 % ที่ยังมีความกังวลต่อการติดเชื้อในระดับสูง ในขณะที่ 61 % ของประชากรมาเลเซีย และ 73% ของฟิลิปปินส์ หรือเกินครึ่งของประชากรทั้ง 2 ประเทศนั่นยังมีความกังวลและระแวดระวังต่อการติดเชื้อที่ยังอยู่ในระดับสูง การปรับตัวและมุมมองต่อสถานการณ์โควิด-19 ณ ปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือราว 81% เชื่อว่าต้องรอจนถึงปี 2021 ก่อนที่วัคซีนจะสามารถผลิตและถูกแจกจ่ายถึงคนในวงกว้าง ระยะเวลาอันยาวนานนี้ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ต้องปรับตัว โดยมีประชากรถึง 37% ในภูมิภาคที่ได้ปรับตัวและมีความคุ้นชินต่อการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 แล้ว อย่างไรก็ตามประชากรกึ่งหนึ่งหรือราว 16% เริ่มเห็นสัญญาณว่ามาตรการล็อกดาวน์และรักษาความปลอดภัยต่างๆ จะค่อยๆ ถูกทยอยผ่อนคลายหรือยกเลิกในเร็ววัน หากดูภาพรวมของทั้งภูมิภาคแล้ว 1 ใน 2 ของประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รู้สึกค่อนข้างปลอดภัยที่จะไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหารนอกบ้าน ไปเยี่ยมบ้านเพื่อน หรือใช้บริการขนส่งสาธารณะ ซึ่งระดับความเชื่อมั่นนี้แตกต่างไปในแต่ละประเทศ ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ เช่น

Read More

“Coaching DNA of Leaders” การสร้างภาวะผู้นำในยุค New Normal ด้วยการโค้ช

มร.ฌอง ฟรองซัวส์ คูแซง โค้ชชื่อดังระดับโลกชี้ การเรียนรู้วิธีการอยู่รอดด้วยตนเอง คือก้าวสำคัญและก้าวแรกๆ ที่จะทำให้เราสามารถดึงศักยภาพของมนุษย์ออกมาได้ แม้ในเงื่อนไขที่มีจำกัดเพียงใดก็ตาม ส่วนสี่ผู้บริหารจากบริษัทชั้นนำและสถานศึกษาชื่อดังของเมืองไทย เผยการ Coaching มีส่วนผลักดันศักยภาพของเยาวชนและพนักงานขององค์กรทุกระดับชั้นให้ก้าวสู่ S-Curve ได้ ที่ผ่านมาการโค้ช ยังช่วยให้หลายบริษัทฝ่ากระแสวิฤกตช่วงเศรษฐกิจตกต่ำที่สุดของการระบาด COVID-19 วิทวัส เกษมวุฒิ ประธาน สมาคมสหพันธ์การโค้ชนานาชาติ สาขากรุงเทพฯ (ICF-Bangkok Chapter) และคณะกรรมการ สมาคมสหพันธ์การโค้ชนานาชาติ สาขากรุงเทพฯ จัดงาน “Coaching DNA of Leaders” หรือ การสร้างภาวะผู้นำในยุคปกติใหม่ด้วยการโค้ช ขึ้น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม 2563 ณ โรงแรม เอส 31 ถนนสุขุมวิท กรุงเทพฯ เพื่อเสนอวาระให้ผู้นำระดับประเทศ ผู้บริหารองค์กรภาครัฐ และเอกชน ผู้นำในหน่วยงาน ผู้ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคลากร ตลอดจนอาจารย์ผู้ปกครอง

Read More

‘ญาญ่า’ ร่วมแคมเปญใหม่ระดับโกลบอลของยูนิโคล่ ‘What Will You Wear for Tomorrow?’ ตั้งคำถามถึงอนาคตว่าเสื้อผ้าของวันพรุ่งนี้จะเป็นเช่นไร

ยูนิโคล่ แบรนด์เครื่องแต่งกายระดับโลกจากญี่ปุ่น ประกาศเปิดตัวแคมเปญระดับโกลบอล ‘What Will You Wear for Tomorrow?’ เพื่อจุดประกายผู้คนให้ร่วมค้นหาคอนเซ็ปต์ของเสื้อผ้าแห่งอนาคตที่อยู่เหนือกาลเวลา โดยมีคนดังจากหลายวงการและเชื้อชาติทั่วโลกเข้าร่วมในแคมเปญนี้ เพื่อร่วมขับเคลื่อนโลกให้เข้าสู่อนาคตที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึงนักแสดงหญิงแถวหน้าของไทยอย่าง ญาญ่า - อุรัสยา เสปอร์บันด์ ที่มีไลฟ์สไตล์โดดเด่นและสามารถสะท้อนชีวิตวิถีใหม่ผ่านเสื้อผ้าของยูนิโคล่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดจะทยอยนำเสนอผ่านมัลติมีเดียหลากหลายรูปแบบต่อไป ‘What Will You Wear for Tomorrow?’ เป็นแคมเปญระดับโกลบอลล่าสุดของยูนิโคล่ที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อกระตุ้นผู้คนให้ได้ลองทบทวนตัวเองและการตัดสินใจในชีวิต ซึ่งล้วนมีพลังในการเปลี่ยนแปลงโลก เพราะชีวิตและไลฟ์สไตล์ของผู้คนเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และต้องปรับเปลี่ยนเมื่อเจอความท้าทายต่างๆ ยูนิโคล่จึงมุ่งมั่นพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าเสื้อผ้าของเราเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน ไม่ใช่แค่สำหรับวันนี้ แต่สำหรับทุกวันในอนาคตด้วยเช่นกัน โดยยูนิโคล่ยังยึดมั่นในปรัชญาไลฟ์แวร์ (LifeWear) ในการสร้างสรรค์เสื้อผ้าที่เรียบง่าย มีคุณภาพสูงและประณีต ที่ช่วยให้ชีวิตของผู้คนดีขึ้นตั้งแต่ตอนที่ตัดสินใจหยิบขึ้นมาสวมใส่ ญาญ่า - อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรีเซนเตอร์ของ ยูนิโคล่ ประเทศไทย กล่าวว่า “ในเช้าแต่ละวัน เรามักจะถามตัวเองว่าวันนี้จะใส่ชุดอะไรดีนะ แต่จะเป็นอย่างไร ถ้าเราลองมองไปข้างหน้าและถามตัวเองว่า เสื้อผ้าที่เราจะสวมใส่ในวันพรุ่งนี้ที่จะช่วยทำให้อนาคตดียิ่งขึ้นควรเป็นเช่นไร คำถามนี้จะช่วยทำให้เราคิดไตร่ตรองได้ถี่ถ้วนขึ้นก่อนจะตัดสินใจทำอะไร ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะแค่การเลือกซื้อเสื้อผ้า

Read More

SEED แนะการปรับตัว 6 ประการ สำหรับ SMEs เพื่ออยู่รอดในวิกฤตโควิด-19

SEED แนะปัจจัยด้านความสามารถในการปรับตัว 6 ประการเพื่อให้อยู่รอดในช่วงการระบาดของโควิด-19 ให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมถึงกลุ่ม Micro (MSME) ในกลุ่มธุรกิจภาคสังคมและธุรกิจสีเขียวของไทย SEED ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระดับโลกเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของผู้ประกอบการได้สรุปปัจจัยด้านความสามารถในการปรับตัวที่สำคัญหกประการเพื่อให้กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมถึงกลุ่ม Micro (MSME) ของประเทศไทยอยู่รอดในช่วงการระบาดของโควิด-19 โดยมีความยืดหยุ่นและความยั่งยืนเป็นองค์ประกอบหลัก รายงานล่าสุดระบุว่าธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมถึงกลุ่ม Micro (MSME) ทั่วโลกราว 42% อาจประสบภาวะขาดทุนภายในหกเดือนข้างหน้า เนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเนื่องจากสถาณการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและสภาพทางสังคมของไทยกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง แผน 6 ข้อของ SEED จึงมีเป้าหมายเพื่อชี้นำผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับวิธีการสร้างความสามารถในการปรับตัวต่อความท้าทายในอนาคตและรับมือกับสิ่งที่ไม่เคยประสบมาก่อน แผนดังกล่าว ได้แก่ ความสามารถในการปรับตัวในเชิงธุรกิจ (Business Resilience) ความสามารถในการปรับตัวด้านการเงิน (Financial Resilience) ความสามารถในการปรับตัวขององค์กร (Organisational Resilience) ความสามารถในการปรับตัวต่อระบบนิเวศ (Ecosystem Resilience) ความสามารถในการปรับตัวตามภาวะตลาด (Market Resilience) และความสามารถในการปรับตัวเพื่อสร้างผลกระทบ (Impact Resilience) ผู้เริ่มต้น (Starters) ผู้พัฒนา (Movers) และผู้เป็นเลิศ (Champions)

Read More