Home > 2020 > ตุลาคม

ถอดบทเรียนจีนฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด สู่โอกาสของไทยหลุดพ้นจีดีพีติดลบ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า วิกฤตโควิด-19 สร้างความเสียหายเชิงโครงสร้างแก่ทุกประเทศที่มีการแพร่ระบาด ทั้งด้านสาธารณสุข และเศรษฐกิจทั้งระบบ เป็นเรื่องยากที่จะฟื้นตัวจากสถานการณ์อันยากลำบากในห้วงยามนี้ ที่เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะถดถอยเป็นทุนเดิม ประเทศจีนแม้จะเป็นประเทศต้นทางการแพร่ระบาดของเชื้อร้ายนี้ และต้องเผชิญกับวิบากกรรมก่อนประเทศอื่น หลายประเทศแสดงความกังวลว่าจีนจะรับมือกับสถานการณ์นี้ได้อย่างไร การประกาศล็อกดาวน์ของจีนในเวลานั้นส่งผลกระทบในหลายด้าน ทั้งผลกระทบต่อประชากรในประเทศตัวเอง รวมไปถึงผลกระทบต่อประเทศคู่ค้า แต่ความเอาจริงเอาจังและศักยภาพที่มีทำให้จีนผ่านพ้นช่วงเวลาอันเลวร้ายมาได้ในที่สุด และด้วยระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน เศรษฐกิจจีนที่เคยฟุบตัวลงในช่วงเวลาหนึ่งกลับฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว กระทั่งมีการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีอีกครั้ง โดยเศรษฐกิจจีนในไตรมาส 3/2563 มีการขยายตัวร้อยละ 4.9 ต่อเนื่องจากไตรมาส 2/2563 ที่ขยายตัวได้ร้อยละ 3.2 เป็นผลสืบเนื่องจากการทยอยฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะกิจกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศที่กลับมาคึกคักอีกครั้ง ภายหลังจากที่ทางการจีนได้ออกมาตรการผ่อนคลายการท่องเที่ยวภายในประเทศ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 2563 นอกจากนี้ กิจกรรมการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์คำสั่งซื้อที่สูงขึ้น ในช่วงที่ยังมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ซึ่งส่งผลต่อความต้องการสินค้าผลิตภัณฑ์ยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์จากจีน ที่ยังมีอยู่ต่อเนื่อง อาทิ อุปกรณ์วัดไข้ ผลิตภัณฑ์หน้ากากอนามัย อีกทั้งมาตรการทำงานที่บ้าน (Work From Home) ของหลายประเทศช่วยหนุนความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากจีน โมเมนตัมข้างต้นจะยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า เศรษฐกิจจีนในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 2563 จะยังขยายตัวต่อเนื่องได้สูงกว่าร้อยละ 5.0 (บนสมมุติฐานที่ไม่มีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างระลอกสอง) หากแต่ยังคงเป็นอัตราการขยายตัวต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อันเนื่องมาจากภาคการส่งออกของจีนที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มสินค้าที่ตอบโจทย์การรับมือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงเผชิญกับความท้าทายจากความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นของเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกัน

Read More

สตาร์บัคส์ เปิดตัวฟีเจอร์ Mobile Order & Pay ซื้อผ่านแอปฯ ก่อนถึงร้าน แบบไม่ต้องรอคิว

สตาร์บัคส์ เปิดตัวฟีเจอร์ Mobile Order & Pay บนแอปฯ Starbucks® Thailand ยกระดับประสบการณ์ด้านดิจิทัล ให้ลูกค้าซื้อเครื่องดื่มและขนมผ่านแอปฯ ก่อนถึงร้าน แบบไม่ต้องรอคิว สตาร์บัคส์ ประเทศไทย เปิดตัว Mobile Order & Pay ฟีเจอร์ใหม่เพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าสามารถสั่งเครื่องดื่มและอาหารจากร้านสตาร์บัคส์บนแอปพลิเคชั่น Starbucks® Thailand โดยชำระเงินล่วงหน้าออนไลน์ จากนั้นมารับรายการที่สั่งได้ที่ตรงเคาน์เตอร์ ที่ร้านสตาร์บัคส์ ฟีเจอร์ใหม่นี้ตอบรับความมุ่งมั่นของสตาร์บัคส์ในการนำเสนอนวัตกรรมทางดิจิทัลใหม่ๆเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่มองหาความสะดวกสบาย และยกระดับ ประสบการณ์สตาร์บัคส์ ที่ดีเยี่ยมให้กับลูกค้าอีกขั้น ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถเริ่มใช้ฟีเจอร์ Mobile Order & Pay ได้ง่ายๆ เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น Starbucks® Thailand บนโทรศัพท์มือถือ และสมัครสมาชิก Starbucks® Rewards นอกเหนือจากความสะดวกสบายและทางเลือกการชำระเงินแบบ Contactless แล้ว ฟีเจอร์ใหม่นี้ยังนำเสนอสิทธิประโยชน์ให้กับลูกค้าอีกมากมาย: - สั่งล่วงหน้าแบบไม่ต้องเข้าคิว – มารับเครื่องดื่มและขนมที่สั่งไว้

Read More

มหิดล ร่วมกับ ทีโอที รีไซเคิลตู้เก่าเป็น “ตู้ชาร์จโทรมือถืออัตโนมัติ…พลังแสงอาทิตย์”

วิศวะมหิดล ร่วมกับ ทีโอที รีไซเคิลตู้เก่าเป็น “ตู้ชาร์จโทรมือถืออัตโนมัติ...พลังแสงอาทิตย์” มอบแก่ 4 รพ. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยงานวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม (ESR) ร่วมกับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในโครงการ “EGMU Mobile Battery Charger” นำตู้โทรศัพท์สาธารณะที่หมดความจำเป็นในการใช้งานแล้วมารีไซเคิลพัฒนาเป็นนวัตกรรม “ตู้ชาร์จโทรมือถืออัตโนมัติ...พลังแสงอาทิตย์” (Solar Mobile Battery Charger) ส่งมอบให้แก่ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก และโรงพยาบาลต่าง ๆ รวม 4 แห่ง เพื่อบริการสังคมและประชาชน  พร้อมเปิดให้องค์กรหน่วยงานใดสนใจจะมีตู้แบบนี้แจ้งความจำนงได้ รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โครงการเพื่อสังคม “EGMU Mobile Battery Charger” ตอบรับยุคเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) จากความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Read More

การทดสอบความบริสุทธิ์ของผู้หญิง

Column: Women in Wonderland องค์การสหประชาชาติกล่าวถึงการตรวจเยื่อพรหมจารีเพื่อดูความบริสุทธิ์นั้น ทำการตรวจได้ 2 วิธีด้วยกัน คือ (1) ตรวจช่องคลอดโดยสูตินรีเวช โดยดูการฉีกขาดของเยื่อพรหมจารี และ (2) การตรวจโดยใช้ “สองนิ้ว” สอดเข้าไปในช่องคลอด เพื่อดูว่าเยื่อพรหมจารีขาดไปหรือยัง และผนังช่องคลอดยังคงมีความคับแคบหรือหลวมเพียงใด หากหลวมก็อาจสันนิษฐานว่าเคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน ซึ่งทั้งสองวิธีนี้ไม่สามารถยืนยันด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ได้ เพราะการฉีกขาดของเยื่อพรหมจารีมีโอกาสเกิดขึ้นได้จากการทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ได้มีเพียงแค่การมีเพศสัมพันธ์ องค์การสหประชาชาติเปิดเผยว่าความเชื่อเรื่องนี้ยังมีการทดสอบอยู่ประมาณ 20 ประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่จะอยู่ในแอฟริกาเหนือและแอฟริกาใต้ อย่างแอฟริกาใต้ ซิมบับเว และลิเบีย เป็นต้น ในเอเชียและตะวันออกกลางอย่างอินเดีย อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ ศรีลังกา อิหร่าน อิรัก และอินโดนีเซีย เป็นต้น และเวลานี้ก็มีในประเทศในยุโรปและอเมริกาเหนือ อย่างฝรั่งเศส บราซิล สหราชอาณาจักร สเปน สวีเดน แคนาดา และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น เพราะมีผู้อพยพย้ายถิ่นเข้าไปอยู่จำนวนมาก แต่ก็ยังยึดกับประเพณีและความเชื่อเดิม ในการตรวจนั้นผู้หญิงจะถูกบังคับจากพ่อแม่ หรือคนที่จะเป็นสามี หรืออาจจะเป็นนายจ้าง

Read More

ประเทศไทยไม่ได้มีดีแค่ “รอยยิ้ม” และ “วัฒนธรรม” NIA เปิดมุมมองใหม่ประเทศไทยด้วยภาพลักษณ์ใหม่ด้าน “นวัตกรรม”

ประเทศไทยไม่ได้มีดีแค่ “รอยยิ้ม” และ “วัฒนธรรม” NIA เปิดมุมมองใหม่ประเทศไทยด้วยภาพลักษณ์ใหม่ด้าน “นวัตกรรม” ชวนคนไทยรับรู้และร่วมภาคภูมิใจ ผ่านแคมเปญ Innovation Thailand เมื่อถามถึงจุดเด่นของประเทศไทย หลายคนอาจนึกถึงรอยยิ้มและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยมาอย่างยาวนาน แต่ความจริงแล้วยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่ประเทศไทยทำได้ดีไม่แพ้รอยยิ้มและวัฒนธรรม นั่นก็คือ “นวัตกรรม” เราได้เห็นไอเดียและความพลิกแพลง เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมของคนไทยมากมาย โดยเฉพาะในสถานการณ์วิกฤต เช่น น้ำท่วม หรือในเหตุการณ์ล่าสุดคือการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งทำให้มีนวัตกรรมเกิดขึ้นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มรวบรวมข้อมูลผู้ติดเชื้อแบบเรียลไทม์ รถเข็นเคลื่อนย้ายแรงดันลบ เครื่องช่วยหายใจ ชุดตรวจคัดกรองเชื้อเบื้องต้นจากน้ำลายที่รู้ผลใน 1 ชั่วโมง รวมถึงระบบสุขภาพทางไกล หรือ Telehealth ที่ทำให้คนไทยปรึกษาแพทย์ได้โดยไม่ต้องไปโรงพยาบาล ความจริงแล้วนวัตกรรมของไทยไม่ได้เกิดขึ้นในสถานการณ์วิกฤติเท่านั้น แต่คนไทยสร้างสรรค์นวัตกรรมมาโดยตลอด มีการต่อยอดจนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ และเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตมากมาย นี่จึงเป็นที่มาที่ทำให้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ริเริ่มแคมเปญ Innovation Thailand ขึ้นมา เพื่อเปิดมุมมองใหม่ของประเทศไทยด้วยภาพลักษณ์ใหม่ด้านนวัตกรรม และชักชวนคนไทยให้มารับรู้และภาคภูมิใจในนวัตกรรมของไทย ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า “คนไทยนำความรู้ที่สั่งสมมาผสมผสานการมองโลกในแง่ดี

Read More

ศึกบิ๊กเซล “ลาซาด้า-ช้อปปี้” ใครจะปังปุริเย่ กว่ากัน

2 ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซในไทย ลาซาด้า (Lazada) และช้อปปี้ (Shopee) เริ่มลั่นกลองรบประชันโปรโมชั่นปลุกกระแสการจับจ่ายครั้งใหญ่รับเทศกาลชอปปิ้งระดับโลก 11.11 หลังจากตลอด 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2563 ทั้งสองฝ่ายต่างงัดกลยุทธ์สร้างเครือข่ายร้านค้าแบรนด์ใหญ่ แบรนด์ดัง แบรนด์กลาง และเอสเอ็มอี ทุ่มโปรโมชั่นทุกรูปแบบขยายฐานลูกค้าให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะการโหมโรงเล่นกิมมิกบิ๊กเซลทุกเดือน ต้องยอมรับว่า ไอเดียกระตุ้นวันช้อปปิ้งของปรมาจารย์ “แจ็ค หม่า” ผู้ก่อตั้งอาณาจักร “อาลีบาบา (Alibaba)” จุดกระแสจนกลายเป็นต้นแบบกลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซทุกรายต้องเดินตามและต่อยอดจาก “วันคนโสด 11.11” วันที่ 11 เดือน 11 เปิดแคมเปญทุกเดือน จะเป็นวันที่ 8 เดือน 8 วันที่ 9 เดือน 9 หรือวันที่ 10 เดือน 10 ซึ่งบรรดานักช้อปต่างรอคอยแคมเปญนี้ พร้อมกับเปรียบเทียบว่า ค่ายไหนจะปังปุริเย่กว่ากัน หากย้อนที่มาคร่าวๆ “วันคนโสด” เป็นธรรมเนียมของประเทศจีน ตรงกับวันที่

Read More

จับตามะเร็งลำไส้ใหญ่คุกคามหนุ่มสาวมากขึ้น

Column: Well – Being การเสียชีวิตของแชดวิค โบสแมน “แบล็คแพนเธอร์” ดาราจอเงินขวัญใจคอหนังทั่วโลกขณะอายุเพียง 43 ปี ด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ทำให้คนทั่วโลกโดยเฉพาะแฟนคลับผู้ชื่นชอบฝีมือการแสดงของเขาทั้งช็อกทั้งเสียใจและเสียดายไปตามๆ กัน โบสแมนพบว่าตัวเองเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะ 3 เมื่อปี 2016 และพัฒนาจนเป็นระยะสุดท้ายหรือระยะ 4 กระทั่งเสียชีวิตเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาของปี 2020 นี้ กรณีของโบสแมนทำให้สมาคมมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (เอซีเอส) เปิดเผยว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเป็นโรคมะเร็งที่วินิจฉัยพบมากที่สุดเป็นอันดับสามของสหรัฐฯ เอซีเอสประเมินว่าปีนี้จะมีผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่รายใหม่กว่า 104,610 รายและอีกกว่า 43,000 รายในกรณีของมะเร็งลำไส้ตรง (rectal cancer) นิตยสาร Prevention กล่าวว่า การเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ของโบสแมนขณะอายุยังน้อยไม่ถือเป็นเรื่องน่าแปลก เพราะขณะที่อัตราการถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักในสหรัฐฯ มีตัวเลขลดลงในหมู่ประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่น่าจับตามองคือ อัตราการป่วยในคนหนุ่มสาวกลับเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เอซีเอสประเมินว่า มีผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักราวร้อยละ 12 (ประมาณ 18,000 ราย) มีอายุต่ำกว่า 50 ปี ทำไมมะเร็งลำไส้ใหญ่จึงคุกคามหนุ่มสาวมากขึ้น? เอซีเอสเปิดเผยว่า ผลการวิจัยระบุว่า

Read More

“แอน จักรพงษ์” สนับสนุนผู้ประกอบรายย่อย ลงทุนกว่า 65 ล้านบาท ในรายการ Shark Tank Thailand

ทุกปีเว็บไซต์ด้านธุรกิจรวมถึงเซเลบริตี้ที่มีชื่อเสียง จะมีการจัดอันดับนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จทั่วโลกในบ้านเราต้องขอแสดงความยินดีกับ “คุณแอน - จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือ JKN ผู้นำการจัดจำหน่ายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ระดับโลก ที่ก้าวสู่ผู้หญิงข้ามเพศที่รวยที่สุดในเอเชีย และเป็นอันดับสามของโลก โดยมีทรัพย์สินและเงินสดมากกว่าหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐ ข้อมูลจาก www.worldtop2.com มากกว่าความสำเร็จ คุณแอนยังถือว่าเป็นนักธุรกิจ นักลงทุน ที่เปิดโอกาสให้กับผู้ประกอบการรายย่อยตลอดมา จากที่เราได้ติดตามเธอในบทบาท ชาร์กแอน ข้ามเพศคนแรกของโลก ทางหน้าจอทีวีรายการธุรกิจพิชิตล้าน Shark Tank Thailand ซีซั่น 2 ซึ่งออกอากาศให้ได้ชมกันทาง ช่อง 7HD หรือ กดเลข 35 ให้ชมในตอนพิเศษ EP.สุดท้าย เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา “ชาร์กแอน” ปิดฉากซีซั่นได้อย่างสวยงามลงทุนใน 3 บริษัท ทั้งกับธุรกิจเครื่องคั่วกาแฟศิวะทายิน, ธุรกิจเบอร์เกอร์ OTTOMAN และธุรกิจ

Read More

Netflix ประกาศสร้าง Bangkok Breaking ซีรีส์แนวระทึกจาก “ปราบดา หยุ่น” และ “ก้องเกียรติ โขมศิริ”

Netflix ประกาศสร้าง Bangkok Breaking ออริจินัลซีรีส์ลำดับที่สองของไทย ซีรีส์แนวระทึกจากทีมงานคุณภาพ นำโดย “ปราบดา หยุ่น” และ “ก้องเกียรติ โขมศิริ” Netflix ประกาศสร้าง Bangkok Breaking ออริจินัลซีรีส์ลำดับที่สองของไทย ทั้งนี้ซีรีส์ Bangkok Breaking นับเป็นผลงานการผลิต ในรูปแบบออริจินัลคอนเทนต์ขนานแท้ของ Netflix ที่สร้างสรรค์เนื้อหาและเรื่องราวขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ โดย Netflix ได้ร่วมมือกับทีมโปรดักชั่นชั้นนำของประเทศไทย นำโดย ปราบดา หยุ่น ที่เคยฝากผลงานการเขียนบทจากภาพยนตร์จากเรื่องรัก น้อยนิด มหาศาล (Last Life in the Universe), คำพิพากษาของมหาสมุทร (Invisible Waves) และ มา ณ ที่นี้ (Someone From Nowhere) รับหน้าที่ Showrunner และผู้อำนวยการสร้าง

Read More

ปิดห้างหนีม็อบ ออนไลน์พรึ่บ ไลฟ์สดยอดพุ่ง

แม้ธุรกิจศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้ากำลังอ่วมพิษการเมือง ทั้งการชุมนุมแฟลชม็อบตามจุดต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ และการปิดให้บริการชั่วคราวของรถไฟฟ้า ส่งผลต่อบรรยากาศการจับจ่ายในช่วงเทศกาลส่งท้ายปลายปี แต่ดูเหมือนว่าช่องทางออนไลน์กลับคึกคักสุดขีด โดยเฉพาะบรรดาแม่ค้า Facebook Live ที่เล่นกลยุทธ์อัดสินค้าจำนวนมากขึ้น ไลฟ์นานขึ้นและถี่ยิบทั้งกลางวันและกลางคืน ถึงขั้นที่ว่า บางเพจที่มียอดผู้ชมจำนวนมากและกำลังไลฟ์สดในช่วงเวลาการนัดหมายชุมนุมตามจุดต่างๆ มีการแทรกข้อความโหนกระแสการเมือง “สนับสนุนการปฏิรูปประเทศไทย” ให้ผู้คนคลิกแชร์ ทั้งที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ เพื่อเพิ่มยอดแชร์ด้วย ขณะเดียวกัน หากประเมินเฉพาะช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 ตลาดการซื้อขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์มีอัตราเติบโตแบบพุ่งพรวด มีจำนวนผู้ค้าเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ทั้งกลุ่มแม่ค้าที่ต้องปิดหน้าร้านตามคำสั่งของทางการ กลุ่มคนตกงาน หรือแม้กระทั่งกลุ่มห้างสรรพสินค้าต่างหันมาเปิดเฟซบุ๊กไลฟ์ เพื่อสร้างยอดขายแบบเร่งด่วน ตัวอย่างกรณีห้างสรรพสินค้าโรบินสันประกาศให้พนักงานจัดรายการไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊กเพจของสาขาต่างๆ วันละ 3-6 รอบ รอบละประมาณ 1 ชั่วโมงทุกวัน มีการจัดรายการแนะนำ รีวิวสินค้า โปรโมชั่นต่างๆ เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าตัดสินใจสั่งซื้อพร้อมบริการส่งถึงบ้าน ดังนั้น เมื่อรวมกับสถานการณ์การเมืองที่ทำให้ห้างค้าปลีกปิดให้บริการเร็วขึ้นและการเดินทางที่ไม่สะดวกทำให้นักช้อปส่วนใหญ่ต้องอยู่กับบ้าน ยิ่งเปิดโอกาสกระตุ้นให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซขยายตัวสูงมาก โดยข้อมูลจากบริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด ผู้ให้บริการ “Priceza” เครื่องมือค้นหาสินค้าและบริการเปรียบเทียบราคา คาดการณ์ว่า ผู้บริโภคในประเทศไทยจะหันมาช้อปปิ้งสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้ตัวเลขตลาดอีคอมเมิร์ซไทยมีแนวโน้มพุ่งสูงถึง 220,000 ล้านบาท เติบโตกว่า 35% จากปี

Read More