Home > 2019 (Page 41)

เซเว่น 4.0 เร่งปักหมุดแลนด์มาร์ก

เป้าหมายของยักษ์ใหญ่ “7-11” ไม่ใช่แค่การปูพรมสาขายึดพื้นที่ทุกจุดทั่วประเทศ ล่าสุดเดินหน้าสงครามรอบใหม่ผุดสาขาเต็มรูปแบบ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “เซเว่น 4.0” แห่งที่ 2 เจาะตลาดท่องเที่ยวเมืองพัทยา โดยประกาศเป็นแลนด์มาร์กจุดนัดพบของกลุ่มเป้าหมายชนิดที่คู่แข่งอย่าง “แฟมิลี่มาร์ท-ลอว์สัน” ต้องเร่งปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่ ขณะเดียวกัน หากวัดจำนวนสาขาของผู้เล่น 5 อันดับแรก อันดับ 1 7-11 ล่าสุดมีสาขามากกว่า 10,300 แห่ง และตั้งเป้าหมายภายในปี 2563 จะเพิ่มสาขาให้ได้ถึง 13,000 สาขา รองลงมาเป็นโลตัส เอ็กซ์เพรส ประมาณ 1,500 สาขา แฟมิลี่มาร์ท กว่า 1,100 สาขา มินิบิ๊กซี 800 สาขา และลอว์สัน 120 สาขา แน่นอนว่า บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ผู้บริหารร้านสะดวกซื้อ “7-11” ในประเทศไทย

Read More

‘ดุสิตธานี’ ดันโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ แห่งใหม่ขึ้น ‘แฟลกชิพ โฮเต็ล’ ปั้นโรงแรมต้นแบบที่ดีที่สุด

‘ดุสิตธานี’ ดันโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ แห่งใหม่ขึ้น ‘แฟลกชิพ โฮเต็ล’ ปั้นโรงแรมต้นแบบที่ดีที่สุด ทันสมัยและตอบโจทย์ลูกค้าภายใต้การบริหารของกลุ่มดุสิตธานี หลังจากโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ได้ยุติการให้บริการเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2562 เพื่อปรับปรุงและก่อสร้างใหม่ โดยโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ แห่งใหม่ จะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบผสมผสานหรือมิกซ์ยูส ซึ่งกลุ่มดุสิตธานีได้ผนึกความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวกับบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN แต่ในส่วนของโรงแรมแห่งใหม่นั้น จะยังคงใช้ชื่อแบรนด์ ‘ดุสิตธานี’ และบริหารจัดการโดยกลุ่มดุสิตธานี นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) หรือ DTC กล่าวว่า ในนามของกลุ่มดุสิตธานี ขอขอบคุณผู้มีอุปการคุณที่ผูกพันกับดุสิตธานีมานานถึง 49 ปี ความผูกพันดังกล่าวเป็นหนึ่งในพันธสัญญาที่ผู้บริหารกลุ่มดุสิตธานีมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะทำให้โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ กลับมาสร้างความยิ่งใหญ่อีกครั้งใน 4 ปีข้างหน้าภายใต้ชื่อ ‘ดุสิตธานี’ เพื่อตอกย้ำความเป็นไทยตามเจตนารมณ์เดิมของท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย ผู้ก่อตั้งโรงแรม “เรามุ่งมั่นที่จะทำให้โรงแรมดุสิตธานี

Read More

Ho Chi Minh City ไข่มุกแห่งตะวันออกไกล

อาคารสีเหลืองครีมสไตล์โคโลเนียลฝรั่งเศสที่เป็นที่ทำการของเมือง ตั้งตระหง่านและทอดยาวไปตามถนน ด้านหน้าเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์ “โฮจิมินห์” อดีตประธานาธิบดีและวีรบุรุษผู้มีบทบาทสำคัญในการกอบกู้อิสรภาพให้กับเวียดนาม รอบด้านรายล้อมด้วยโรงแรมหรูหรา ศูนย์การค้าระดับไฮเอนด์ ร้านค้าแบรนด์เนมหลากหลายยี่ห้อ คละเคล้าไปด้วยเสียงแตรรถจากกองทัพรถจักรยานยนต์ และผู้คนที่เดินขวักไขว่ไปมา ที่นี่คือจัตุรัสของนครโฮจิมินห์ ศูนย์กลางความเจริญของประเทศเวียดนาม และเมืองที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น “ไข่มุกแห่งตะวันออกไกล” นครโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh City) หรือชื่อเดิมคือ “ไซง่อน” (Saigon) ได้ชื่อว่าเป็นเมืองใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศบริเวณแม่น้ำไซง่อน ห่างจากกรุงฮานอยซึ่งเป็นเมืองหลวงประมาณ 1,760 กิโลเมตร โฮจิมินห์เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์การต่อสู้อันยาวนาน อดีตเคยเป็นที่ตั้งกองบัญชาการของฝรั่งเศส ในยุคที่ฝรั่งเศสเข้ายึดอินโดจีนเป็นอาณานิคม และตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสนานนับร้อยปี ในปี 1954 ประเทศเวียดนามถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ ไซง่อนในสมัยนั้นได้กลายมาเป็นเมืองหลวงของเวียดนามใต้ โดยมีกรุงฮานอยเป็นเมืองหลวงของเวียดนามเหนือ หลังจากผ่านการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยประเทศจากการยึดครองของชาติตะวันตกมาอย่างยากลำบาก เวียดนามสามารถรวมประเทศได้อีกครั้งในปี 1976 ไซง่อนอดีตเมืองหลวงของเวียดนามใต้ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นนครโฮจิมินห์ เพื่อเป็นเกียรติแก่ “โฮจิมินห์” ผู้นำการปฏิวัติที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการประกาศอิสรภาพของเวียดนาม และมีกรุงฮานอยเป็นเมืองหลวงของประเทศดังเดิม ภาพความบอบช้ำที่สื่อสะท้อนออกมาจากพิพิธภัณฑ์สงคราม (War Remnants Museum) ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง บอกเล่าช่วงเวลาอันหนักหน่วงของการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของชาติในอดีตได้อย่างชัดเจน ปัจจุบันนครโฮจิมินห์ได้ปรับเปลี่ยนโฉมหน้าของตัวเองใหม่ พัฒนาเมืองจนกลายมาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การค้าการลงทุนที่สำคัญที่สุดของเวียดนาม

Read More

แช่แข็งกระบวนการชราภาพ

Column: Well – Being ฟังดูเหมือนมาจากภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ยังไงยังงั้น แต่ปัจจุบันการชะลอวัยก็เป็นจริงแล้ว เพราะความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และการวิจัย ผลการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้พบว่า ชาวอเมริกันมีอายุยืนยาวขึ้นและอ่อนวัยขึ้น ดังที่ ดร.เลียวนาร์ด เดวิส แห่งโรงเรียนผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยยูเอสซี อธิบายว่า “เราวัดอายุทางชีวภาพของคนผ่านเครื่องบ่งชี้การมีสุขภาพดีที่แตกต่างกัน และพบว่า อัตราเร่งของการชราภาพได้ชะลอตัวลงในรอบ 20 ปีที่ผ่านมานี้” นั่นคือ การที่คนไม่เพียงอายุยืนขึ้น แต่ยังมีความสุขกับพลังจิตและพลังกายที่สำคัญยาวนานขึ้นด้วย นิตยสาร Shape รายงานความคืบหน้าด้านศาสตร์ชะลอวัยนี้ว่า จริงอยู่ที่พันธุกรรมมีบทบาทสำคัญต่อการกำหนดว่า เราจะแก่ชราลงเร็วแค่ไหน แต่การวิจัยใหม่ๆ ชี้ว่า การเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมก็มีส่วนสำคัญพอกัน “เราสามารถควบคุมกระบวนการชราภาพผ่านอาหาร การออกกำลังกาย และวิถีชีวิต” ดร.เจย์ โอลชานสกี้ ศาสตราจารย์ประจำโรงเรียนการสาธารณสุขแห่งมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ให้ความเห็น ต่อไปนี้คือคำแนะนำ 5 หัวข้อที่คุณสามารถทำได้ เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดของการชะลอวัยที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และอยู่บนรากฐานของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สร้างสมดุลการบริโภคไขมัน วารสาร Brain, Behavior and Immunity รายงานว่า เป็นที่รู้กันว่ากรดไขมันโอเมก้า–3 มีผลต่อเครื่องบ่งชี้ของวัยทางชีวภาพ 2 อย่างด้วยกัน นั่นคือ

Read More

บ้านปูฯ มองตลาดพลังงานเวียดนามสดใส ตั้งเป้าส่งถ่านหินกว่า 2 ล้านตัน

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจด้านพลังงานแบบครบวงจรแห่งเอเชีย-แปซิฟิก ตั้งเป้าทำสัญญาซื้อขายถ่านหินกับลูกค้าในเวียดนามต่อเนื่องเป็นปีที่สอง มากกว่า 2 ล้านตัน สอดคล้องกับความต้องการนำเข้าถ่านหินที่สูงขึ้นของเวียดนาม พร้อมเดินหน้ามองหาโอกาสลงทุนเพิ่มเติมในกลุ่มธุรกิจหลักภายใต้กลยุทธ์ Greener & Smarter อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างฐานการเติบโตอย่างยั่งยืนให้ธุรกิจของกลุ่มบ้านปูฯ ในอนาคต นางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เวียดนาม เป็นประเทศที่ 10 ที่บ้านปูฯ มองเห็นโอกาสเติบโตทางธุรกิจ เนื่องจากประเทศเวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่มีความเติบโตด้านความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง โดยแผนพีดีพีของเวียดนามคาดการณ์ว่าในปี 2573 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในประเทศเวียดนามจะสูงขึ้น 2 เท่าตัว เป็น 130 กิกะวัตต์ สอดรับกับแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยถ่านหินยังคงเป็นเชื้อเพลิงหลักที่ใช้ผลิตไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ปริมาณถ่านหินภายในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงมีความจำเป็นในการนำเข้าถ่านหินจากต่างประเทศ ในปีที่ผ่านมา บ้านปูฯ ได้ส่งถ่านหินไปยังเวียดนามคิดเป็นจำนวน 1.3 ล้านตัน ซึ่งเรามีความพร้อมและศักยภาพที่จะจัดหาและขนส่งถ่านหินที่มีคุณภาพดีและหลากหลายตามที่ลูกค้าต้องการทั้งจากแหล่งผลิตของเราเองที่อยู่ในประเทศอินโดนีเซียและออสเตรเลีย และจากเครือข่ายคู่ค้า

Read More

ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ สัญญาณเตือนภัยต้นปีหมู??

ความกังวลใจว่าด้วยการสะสมสินค้าล้นเกินในตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงที่ผ่านมา ที่อาจนำไปสู่ภาวะฟองสบู่แตกในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปีที่กำลังจะมาถึง ดูจะเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายให้ความสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะจากข้อเท็จจริงว่าด้วยปัจจัยกดดันจากนโยบายภาครัฐที่กำลังจะมีผลบังคับในไม่ช้า ปัจจัยเสี่ยงหรือ negative impact ที่กำลังส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปี 2562 และต่อจากนี้ นอกจากจะอยู่ที่แนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาระการผ่อนชำระของผู้บริโภคแล้ว ยังประกอบส่วนด้วยมาตรการ LTV-loan to value ของธนาคารแห่งประเทศไทย ในการลดเพดานปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย มีผลให้การซื้อบ้าน-คอนโดมิเนียมหลังที่ 2 เป็นต้นไป ต้องจ่ายเพิ่มเงินดาวน์ ประเด็นดังกล่าวนับเป็นการชะลออำนาจการซื้อของผู้บริโภคไปโดยปริยาย เพราะจากเดิมการซื้อบ้านอาจดาวน์ประมาณ 5% กลับต้องเพิ่มเป็น 10-20-30% การซื้อคอนโดมิเนียม เดิม 10% เพิ่มเป็น 20-30% หรือหากกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการซื้อบ้านหลังที่ 2 เงินดาวน์สูงสุด 20% ถ้าซื้อหลังที่ 3 ขึ้นไป บังคับเงินดาวน์ถึง 30% ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในการระบายสินค้าด้วย แม้ว่ามาตรการ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย ในด้านหนึ่งจะเป็นความพยายามในการลดภาวะร้อนแรงในตลาดคอนโดมิเนียมที่มีทั้งการซื้อเพื่ออยู่อาศัย การลงทุนและการเก็งกำไรจำนวนมาก ที่ทำให้ตลาดคอนโดมิเนียมมีความร้อนแรงเกินจริง ซึ่งในระยะยาวจะส่งผลให้ตลาดคอนโดมิเนียมปรับตัวตามสภาพ และได้รับการประเมินว่าเป็นมาตรการที่พยายามทำให้ภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์มีความแข็งแรงมากขึ้น หากแต่ในอีกด้านหนึ่งมาตรการที่มุ่งหมายสกัดการเก็งกำไรในตลาดคอนโดมิเนียมดังกล่าว กลับส่งผลกระทบต่อตลาดบ้านแนวราบทั้งบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์ไปด้วย ซึ่งทำให้ผู้บริโภคต้องแบกรับภาระเงินดาวน์สูงขึ้นอย่างมาก และทำให้เกิดการชะลอตัวในตลาดบ้านเดี่ยวไปโดยปริยาย ขณะเดียวกันปัจจัยด้านการเมืองดูจะเป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุม

Read More

Wellness Tourism ยุทธศาสตร์ใหม่การท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวยังคงมีบทบาทสำคัญและเป็นหนึ่งฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ หน่วยงานที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและเอกชนต่างพัฒนาโปรดักส์ใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อสร้างจุดขาย เสริมความแข็งแกร่ง และตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยว ในช่วงที่ผ่านมากระแสการดูแลรักษาสุขภาพของผู้คนในสังคมยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่อง จนพัฒนากลายมาเป็นพฤติกรรมและเกิดกลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อสินค้าและบริการต่างๆ ที่ต้องปรับตัวตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และนั่นย่อมรวมถึงธุรกิจการท่องเที่ยวด้วยเช่นกันที่ต่างต้องปรับตัวและสร้างจุดขายใหม่ๆ เพื่อรองรับกับกระแสดังกล่าว จนนำไปสู่การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่อย่าง “Wellness Tourism” เทรนด์การท่องเที่ยวที่กำลังมาแรง และมีอัตราการเติบโตที่น่าจับตามอง Wellness Tourism หรือการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ เป็นการเดินทางท่องเที่ยวรูปแบบหนึ่งที่มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เพื่อสร้างความสมดุลทั้งร่างกายและจิตใจ มีการผนวกกิจกรรมด้านสุขภาพเข้ามารวมอยู่ในการท่องเที่ยวนั้นด้วย เช่น โยคะ สปา อาหารเพื่อสุขภาพ และบริการทางการแพทย์ เป็นต้น กระแสการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเติบโตอย่างรวดเร็ว แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจโลกจะถดถอย แต่ธุรกิจนี้กลับเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2560 ตลาด wellness tourism ทั่วโลก มีมูลค่าประมาณ 124 ล้านล้านบาท ใหญ่กว่า GDP ประเทศไทย 9,000 เท่า มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 10.6% ซึ่งโตกว่าภาพรวมการท่องเที่ยวโลกถึง 2 เท่า และยังมีแนวโน้มที่จะโตอย่างต่อเนื่อง สำหรับประเทศไทยนับเป็นอีกหนึ่งตลาดที่โดดเด่นด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพราะมีความได้เปรียบด้วยต้นทุนที่ดีทั้งในแง่ของการบริการด้านสุขภาพ

Read More

เปรมินทร์ เลอนรเสฏฐ์ พลิกเกม “เซ็นเตอร์พอยท์” ถึง “เอเชียทีค”

“ทีซีซี กรุ๊ป ตั้งเป้าผลักดันเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ เป็นเวิลด์เดสทิเนชั่น อย่างน้อยภายในปี 2020 ต้องเห็นภาพชัดเจนในระดับเอเชียและในระดับโลกต้องไม่เกินปี 2025 เพราะเป็นโมเดลใหญ่ ต้องทำให้เพอร์เฟกต์มากที่สุด” เปรมินทร์ เลอนรเสฏฐ์ ผู้จัดการทั่วไป โครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ กลุ่มบริษัท แอสเสท เวิรด์ รีเทล จำกัด ภายใต้การบริหารงานของบริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป (ทีซีซี กรุ๊ป) กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ถึงเป้าหมายสำคัญหลังโยกย้ายจากเซ็นเตอร์พอยท์ ออฟ สยามสแควร์ ให้เข้ามาบริหารโครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ท่ามกลางสงครามค้าปลีกริมฝั่งน้ำเจ้าพระยาที่กำลังคึกคักและร้อนแรงสุดขีด แน่นอนว่า ระยะเวลาไม่ถึง 4 เดือนในตำแหน่งหน้าที่ใหม่ เปรมินทร์เห็นทันทีถึงโจทย์การตลาดของเอเชียทีคที่ต่างจากเซ็นเตอร์พอยท์ฯ อย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าและแนวรบธุรกิจค้าปลีกริมน้ำ แต่เป้าหมายเหมือนกัน คือ ทำอย่างไรที่จะขยายตลาดและตอบโจทย์ลูกค้าให้ได้มากที่สุด จริงๆ แล้ว จุดเริ่มต้นของผู้บริหารสาวไม่ได้เติบโตจากสายมาร์เก็ตติ้งหรือธุรกิจค้าปลีก

Read More