Home > 2017 (Page 8)

จุฬาฯ เดินหน้าโรดแมป Smart Intellectual City

การปรับมาสเตอร์แพลนแผนใช้ที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยตั้งเป้าหมายเปิดพื้นที่เมืองใหม่รอบมหาวิทยาลัย ภายใต้แนวคิด “LIVE LIFE-LEARNING” สร้างการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น ถูกต้องกับไลฟ์สไตล์ และเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ หรือ “Smart Intellectual City” กำลังเป็นโมเดลที่เพิ่มมูลค่าที่ดินพุ่งพรวด โดยเฉพาะ 2 โครงการที่เตรียมเปิดตัวล่าสุด “สามย่านมิตรทาวน์” และ “สเตเดี้ยม วัน” สร้างความตื่นเต้นทั้งในแง่การพลิกโฉมพื้นที่และเพิ่มจิ๊กซอว์เติมเต็มความน่าสนใจ แน่นอนว่า อาณาจักรที่ดินของจุฬาฯ ในเขตปทุมวันถือเป็นขุมทรัพย์มูลค่ามหาศาล จำนวนทั้งสิ้น 1,153 ไร่ ถูกจำแนกการใช้ประโยชน์หลัก 3 ส่วน ได้แก่ พื้นที่เขตการศึกษา 595 ไร่ พื้นที่เขตพาณิชย์ 374 ไร่ และพื้นที่ส่วนราชการ (ยืมและเช่าใช้) 184 ไร่ โดยข้อมูลสำรวจของบริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ระบุว่า ราคาที่ดินบริเวณถนนพระราม 1 ในปัจจุบันพุ่งกระฉูดสูงกว่า 2 ล้านบาทต่อตารางวา

Read More

พงศ์วรรธน์ ติยะพรไชย ดัน “สเตเดี้ยม วัน” สู้ยักษ์

“สเตเดี้ยม วัน เป็นโครงการแนวคิดใหม่ สปอร์ตรีเทล ต่างจากคอมมูนิตี้มอลล์ส่วนใหญ่ที่เน้นเรื่องอาหาร ผมและทีมผู้บริหารมีไลฟ์สไตล์คล้ายกัน เราต้องการพื้นที่ออกกำลังกายมาผนวกกับโครงการ เพื่อสร้าง destination ใหม่และต้องการให้คนกรุงเทพฯ มีชีวิตดีขึ้น มีสถานที่ออกกำลังกายใจกลางเมือง” พงศ์วรรธน์ ติยะพรไชย กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอะ สปอร์ต โซไซตี้ จำกัด ผู้บริหารโครงการสเตเดี้ยม วัน กล่าวกับ “ผู้จัดการ360” ถึงคอนเซ็ปต์ใหม่ของโครงการสเตเดี้ยม วัน ที่ถือเป็นสปอร์ตคอมมูนิตี้มอลล์แห่งแรกในประเทศไทย และเป็นแห่งแรกในอาเซียนด้วย โครงการนี้เริ่มต้นจากทีมผู้บริหารคนรุ่นใหม่ 4 คน คือ พงศ์วรรธน์, สิทธิชัย ศรีสงวนสกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอส.จี.ดี อินเตอร์เทรดดิ้ง จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายระบบกล้องวงจรปิดแบบครบวงจรแบรนด์ฟูจิโกะ (FUJIKO), ถนอมเกียรติ สัมมาวุฒิชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอฟเวอร์เอ็นจ์ จำกัด ผู้แทนจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าครบวงจร และณัฐภัค รีกิจติศิริกุล ทั้ง 4

Read More

“สเตเดี้ยม วัน” ผุดสปอร์ตฮับ ฟื้นตำนานตลาดหลังสนามศุภฯ

การเปิดตัว “สเตเดี้ยม วัน (Stadium One)” บนเนื้อที่กว่า 10 ไร่ บริเวณหลังสนามกีฬาแห่งชาติ โดยตั้งเป้าพัฒนาโครงการเป็นคอมมูนิตี้มอลล์แนวใหม่ “สเตเดี้ยม ออฟ ไลฟ์” (Stadium of Life) ศูนย์รวมค้าปลีกกีฬาและไลฟ์สไตล์ของคนรักการออกกำลังกายครบวงจร ด้านหนึ่งถือเป็นความท้าทายของกลุ่มนักธุรกิจคนรุ่นใหม่ในการบุกเบิกตลาดอสังหาริมทรัพย์ฉีกแนว แต่อีกด้านหนึ่ง สเตเดี้ยม วัน กำลังจะพลิกฟื้นตำนานตลาดสนามศุภชลาศัยให้กลับมาคึกคักอีกครั้งภายใต้รูปแบบธุรกิจที่มีสีสันมากขึ้น ตามแผนเบื้องต้น สเตเดี้ยม วัน ซึ่งกำหนดจะเปิดให้บริการภายในเดือนธันวาคม 2560 จะประกอบด้วย 3 โซนหลัก คือ โซนร้านค้าปลีก (Sport Retail) มีร้านค้าปลีก จำนวน 129 ร้าน พื้นที่ค้าปลีก 5,000 ตารางเมตร โซนอาคารกีฬาในร่ม (Active Lifestyle) พื้นที่ 5,600 ตร.ม. และลานอีเวนต์ (Event in Action)

Read More

YAKEI แคมเปญชวนหลงใหล ญี่ปุ่นพร้อมรับนักท่องเที่ยวตลอดปี

ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตของผู้คน รวมไปถึงความสวยงามของธรรมชาติที่ถักทอและหล่อหลอมจนทำให้ประเทศญี่ปุ่นกลายเป็นอีกหนึ่งจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวหลายๆ คน ที่อย่างน้อยสักครั้งในชีวิตต้องเดินทางไปสัมผัสและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ชีวิต ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเมื่อในแต่ละปีประเทศญี่ปุ่นจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากสถิติของ Japan National Tourism Organization (JNTO) เปิดเผยว่า ปี 2558 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นจำนวน 19.73 ล้านคน เพิ่มจำนวนขึ้นจากปี 2557 ร้อยละ 47.1 เปอร์เซ็นต์ โดยรัฐบาลญี่ปุ่นตั้งเป้าหมายเรื่องจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเอาไว้ที่ 20 ล้านคน ภายในปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่ญี่ปุ่นจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก หากพิจารณาจากสถิติที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าญี่ปุ่นบรรลุเป้าหมายเรื่องการท่องเที่ยวเร็วกว่ากำหนด และประเด็นที่น่าสนใจคือ นับเป็นครั้งแรกในรอบ 45 ปี ที่จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างชาติเข้ามาญี่ปุ่นมีจำนวนมากกว่านักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่เดินทางออกนอกประเทศ และเมื่อตัวเลขสถิตินักท่องเที่ยวออกมาเช่นนี้ ทำให้นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น นายชินโซ อาเบะ ตัดสินใจเพิ่มจำนวนเป้าหมายนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็น 30 ล้านคน เพียงแต่ไม่ได้ระบุปีเอาไว้ กระนั้นปัจจัยที่ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในญี่ปุ่นเพิ่มจำนวนขึ้นมานั้น น่าจะมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน โดยเฉพาะในปี 2558 ที่มีจำนวนมากถึง 4,993,800 คน นั่นทำให้จีนกลายเป็นนักท่องเที่ยวอันดับ

Read More

ธุรกิจลอจิสติกส์ตื่นตัว อานิสงส์ E-Commerce ไทยโต

ในยุคโลกดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกๆ ช่วงเวลาของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิตประจำวัน ธุรกรรม รวมไปถึงธุรกิจ การค้า การลงทุน ล้วนแล้วแต่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเทคโนโลยีทั้งสิ้น พัฒนาของเทคโนโลยีถูกเปลี่ยนให้เป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญทางธุรกิจ เมื่อมนุษย์ต้องการความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น นั่นทำให้ธุรกิจ E-Commerce เติบโตแบบก้าวกระโดด ชนิดที่เรียกได้ว่า ไม่ว่าใครที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ก็สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ได้ประเมินมูลค่าตลาด E-Commerce ในประเทศไทย และพบว่าในปี 2559 ตลาด E-Commerce มีมูลค่าตลาดประมาณ 2.52 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.2 ล้านล้านบาท หรืออาจกล่าวได้ว่ามีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย 48 เปอร์เซ็นต์ต่อปี นับตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นธุรกิจ E-Commerce หน้าใหม่ตบเท้าเดินเข้าสู่สังเวียนแห่งการต่อสู้ครั้งนี้ แม้จะเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงและรุนแรงก็ตาม หากแต่เมื่อพิจารณาอัตราการเติบโตจากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทยที่เพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญคือธุรกิจนี้ไม่จำเป็นต้องมีต้นทุนในเรื่องพื้นที่หน้าร้านสำหรับจัดวางสินค้าเพื่อรอให้ลูกค้าเดินทางมาเลือกซื้อ หากแต่เป็นการเลือกใช้แพลตฟอร์มที่จะตอบสนองหรือนำเสนอบริการให้เข้าถึงผู้บริโภค หรือกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด ล่าสุดธุรกิจ E-Commerce สัญชาติสิงคโปร์ ShopBack เป็นอีกเจ้าที่เข้ามาทำการตลาดในประเทศไทย แม้ว่าจะเพิ่งเปิดบริการในประเทศสิงคโปร์ไปเมื่อเดือนกันยายน 2557 และเปิดให้บริการในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย

Read More

พินิจ “หอชมเมือง” ผ่านความเป็นไปของ Tokyo Skytree

ประเด็นว่าด้วยการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ของกรุงเทพมหานคร ดูจะเป็นเรื่องราวที่มีผู้คนให้ความสนใจไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นกรณีของการตัดสินใจทุบอาคารโรงแรมดุสิตธานี เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่พาณิชยกรรมแบบผสม (mix use) พร้อมกับแนวความคิดที่จะสร้างแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ จากผู้ประกอบการพัฒนาที่ดินหลากหลาย แต่กรณีว่าด้วยการเกิดขึ้นของ “หอชมเมือง” โดยมูลนิธิหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร ดูจะเป็นการจุดกระแสสำนึกตระหนักและการวิพากษ์ว่าด้วยความแตกต่างระหว่างคำว่า “อัตลักษณ์” หรือ “อัปลักษณ์” ของเมืองมหานครอย่างกรุงเทพฯ ในยุคสมัยถัดไปได้อย่างกว้างขวาง ความเป็นไปของกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะในมิติของวาทกรรมว่าด้วยความเสื่อมถอยหรือการพัฒนาไม่ได้ตั้งอยู่ในบริบทที่แตกต่างจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับเมืองมหานครแห่งอื่นๆ และเป็นส่วนหนึ่งในอนิจลักษณ์ ที่พบเห็นได้ทั่วไป หากแต่สิ่งที่จะนำมาซึ่งความแตกต่างกลับอยู่ที่วิสัยทัศน์แห่งการพัฒนาและความสามารถในการบริหารจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องว่าด้วยสาธารณะและบทบาททางสังคมในการปรับภูมิทัศน์ของเมืองร่วมกัน เพราะการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในเขตมหานครที่มีผู้คนและสิ่งปลูกสร้างอย่างคับคั่งหนาแน่น ย่อมมิได้เกิดขึ้นเพียงเพราะความต้องการของบรรษัทที่มุ่งอาศัยสรรพกำลังของทุนในการดำเนินการเท่านั้น หากแต่เกิดขึ้นจากผลของความต้องการที่จะพัฒนาร่วมกันของประชาคมโดยองค์รวม ควบคู่กับวิสัยทัศน์ ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้คนด้วย โดยในญี่ปุ่น ซึ่งนับเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว และมีความพยายามที่จะใช้ประโยชน์ในทรัพยากรที่ดินที่มีอยู่อย่างจำกัด การพัฒนาส่วนใหญ่จะดำเนินไปภายใต้คณะทำงานระดับเมืองเพื่อการพัฒนาชุมชน เพื่อรวบรวมความต้องการของประชาคม หรือการปรับสถานะมาเป็นคณะกรรมาธิการเพื่อการพัฒนาชุมชน ซึ่งคณะทำงานและกรรมาธิการเหล่านี้มิได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อถกแถลงถึงรูปแบบการพัฒนาอย่างรอบด้านและผลกระทบซึ่งรวมถึงภูมิสถาปัตย์ของสิ่งปลูกสร้างที่จะเกิดมีขึ้นเท่านั้น หากต้องสืบค้นและพิสูจน์สิทธิของผู้ครอบครองและผู้รับผลกระทบแต่ละรายเพื่อยกร่างเป็นข้อตกลงระหว่างกันด้วย แต่นั่นอาจเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องคาดหวังจะได้เห็นในสังคมไทย ซึ่งดูจะมีความสมบูรณ์แบบในระดับหนึ่งแล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสมัยที่มีวาทกรรมหลักอยู่กับไทยแลนด์ 4.0 และการบริหารจัดการอย่างชาญฉลาดภายใต้มาตรา 44 เช่นในปัจจุบัน กล่าวเฉพาะกรณีว่าด้วย “หอชมเมือง” หรือ หอคอยสูงของกรุงโตเกียวเพื่อทดแทนโตเกียว ทาวเวอร์ จากผลของการประกาศนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อปรับเปลี่ยนการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์จากระบบ analog ไปสู่การส่งสัญญาณแบบ digital ตั้งแต่เมื่อกว่า 15 ปีที่แล้ว ก็มีรายละเอียดที่น่าติดตามไม่น้อย

Read More

พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าว 2560 ความล้มเหลวในการบริหารนโยบาย?

การประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 (พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าว) เมื่อช่วงปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นอกจากจะกลายเป็นประเด็นร้อน ที่ส่งผลสะเทือนต่อแวดวงธุรกิจ อุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องหลากหลายแล้ว กรณีดังกล่าวยังเป็นประหนึ่งภาพสะท้อนและตอกย้ำความล้มเหลวในการบริหารจัดการนโยบายสาธารณะที่รัฐบาลภายใต้การดูแลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผลิตซ้ำและละเลยที่จะเรียนรู้อีกด้วย สถานการณ์ของแรงงานต่างด้าวภายหลังการประกาศบังคับใช้ พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าว พ.ศ.2560 เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2560 ติดตามมาด้วยความตื่นตระหนกและหวาดวิตกทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและแรงงานต่างด้าว เนื่องเพราะในกฎหมายฉบับดังกล่าวระบุบทลงโทษในกรณีที่นายจ้างรับคนต่างด้าวทํางานที่ห้ามคนต่างด้าวทํา หรือรับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทํางาน มีโทษปรับตั้งแต่ 400,000-800,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน นายจ้างให้คนต่างด้าวทำงานไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตมีโทษปรับไม่เกิน 400,000 บาทต่อคนต่างด้าว 1 คน ภาพของคลื่นแรงงานต่างด้าวที่ไหลบ่าเดินทางกลับประเทศบ้านเกิดตามแนวและจุดผ่านแดนไทยกับเพื่อนบ้านปรากฏให้เห็นทันทีเมื่อข่าวการบังคับใช้กฎหมายนี้เผยแพร่ออกไป และทำให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมต้องขาดแคลนแรงงานฉับพลัน สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นในการประกอบกิจการไปโดยปริยาย ความสูญเสียทางเศรษฐกิจและผลกระทบจากการบังคับใช้ พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าวได้รับการประเมินว่าในกรณีที่กระทบน้อยที่สุดจะมีมูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 1.24 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.08 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และอาจขยายความเสียหายไปสู่ระดับปานกลางที่ร้อยละ 0.2 ของ GDP คิดเป็นมูลค่า 2.84 หมื่นล้านบาท หรือในกรณีกระทบรุนแรงจะส่งผลเสียหายเป็นมูลค่า 4.65 หมื่นล้านบาท หรือในระดับร้อยละ

Read More

เมียนมาเร่งพัฒนาฝีมือแรงงาน รองรับงานการบริการ-ท่องเที่ยวบูม

สถานการณ์การท่องเที่ยวเมียนมาตั้งแต่ปี 2012-2015 ที่จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้น น่าจะเป็นอานิสงส์จากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในและการเปิดประเทศ ที่เคยซ่อนเร้นความงดงามของวิถีชีวิต วัฒนธรรม และความสมบูรณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติเอาไว้จากสายตาคนภายนอก จากสถิตินักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศเมียนมาในปี 2012 จำนวน 1,058,995 คน และเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในปี 2013 ที่จำนวน 2,044,307 คน ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2014 และ 2015 ที่จำนวน 3,081,412 คน และ 4,681,020 คนตามลำดับ ทั้งนี้ภาคการท่องเที่ยวเมียนมาดูจะมีภาษีดีสุด เมื่อจำนวนอาคันตุกะที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี และยังสร้างรายได้ให้ประเทศ โดยปี 2011 เมียนมามีรายได้จากการท่องเที่ยวจำนวน 319 ล้านดอลลาร์ ปี 2012 มีรายได้ 534 ล้านดอลลาร์ ปี 2013 มีรายได้ 926 ล้านดอลลาร์ ปี 2014 มีรายได้ 1,789 ล้านดอลลาร์ และปี 2015

Read More

บีแลนด์ เร่งจิ๊กซอว์ตัวใหม่ ดันโครงการยักษ์ “มิกซ์ยูส”

อนันต์ กาญจนพาสน์ หรือ “เสี่ยช้าง” ลูกชายคนโตของมงคล กาญจนพาสน์ กลับจากการทำธุรกิจในฮ่องกงมาลุยธุรกิจในประเทศไทย ในฐานะประธานกรรมการบริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ “บีแลนด์” เมื่อเกือบ 30 ปีก่อน โดยวางแผนตั้งแต่วันแรกจะก่อสร้างอภิมหาโครงการขนาดยักษ์ “เมืองทองธานี” บนถนนแจ้งวัฒนะ เนื้อที่กว่า 4,500 ไร่ วาดฝันให้เป็น “กรุงเทพฯ แห่งอนาคต” โครงการเมืองใหม่สมบูรณ์แบบรองรับประชาชนทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 1 แสนคน แต่ใครจะเชื่อว่า บางกอกแลนด์ที่มาพร้อมเม็ดเงินลงทุนหลายหมื่นล้านบาทและพกพาความมั่นอกมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจไทยยุคนั้น ประกาศผุดโครงการคอนโดมิเนียมแบบติดจรวดกว่า 30,000 ยูนิต กลับกลายเป็น “เมืองร้าง” ไปทันทีหลังเจอวิกฤตเศรษฐกิจที่เริ่มส่อเค้าตั้งแต่ปี 2536 จนบาดเจ็บสาหัสจากพิษ “ต้มยำกุ้ง” แต่ใครจะเชื่ออีกเช่นกันว่า อนันต์สามารถพลิกฟื้นธุรกิจ งัดทุกกลยุทธ์เปลี่ยนจาก “เมืองคอนโดมิเนียม” สู่ “ศูนย์กีฬายักษ์ใหญ่” เมื่อได้รับคัดเลือกให้เป็นสนามแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ก่อนผันจุดขายหลักขึ้นชั้นศูนย์แสดงสินค้าและจัดประชุมขนาดใหญ่ภายใต้ชื่อ “อิมแพ็ค เมืองทองธานี” ปี 2555 อนันต์ประกาศอิสรภาพล้างหนี้หลายหมื่นล้านทั้งหมดและเปิดฉากรุกขยาย

Read More

บีแลนด์พลิกโฉมรีเทล เซ็นทรัลเจอศึกหนัก

หลังจากชิมลางรุกตลาดรีเทล เปิดตัว “บีไฮฟ์ ไลฟ์สไตล์” ในเมืองทองธานี ล่าสุด บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) เดินหน้าแผนยกเครื่องโครงการค้าปลีกครั้งใหญ่ ผุดอีก 2 โปรเจกต์ “เดอะพอร์ทอล” และ “คอสโม บาซาร์” พลิกโฉมตลาดนัดและอัพเกรดร้านค้าทั้งหมดเข้าสู่อาคารหรูระดับไฮเอนด์ตามมาสเตอร์แพลนแผนสร้างเมืองที่ครบสมบูรณ์ที่สุด ด้านหนึ่งเปิดกลยุทธ์สร้างการจับจ่ายของประชากรกว่า 200,000 คน และกลุ่มไมซ์ (MICE) หรือกลุ่มประชุมสัมมนาที่เดินเข้าออกในเมืองทองธานีมากกว่า 10-15 ล้านคนต่อปี อีกด้านหนึ่งเร่งต่อยอดสู่โครงการมิกซ์ยูสริมทะเลสาบอีก 700 ไร่ ซึ่งถือเป็นที่ดิน “สันใน” ราคาแพงที่สุดในเมืองทองธานี ซึ่งเฉพาะแผนการลงทุนระยะสั้น 3 ปี ตั้งแต่ปี 2560-2562 บางกอกแลนด์มีโครงการก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง ทั้งอาคารสำนักงาน โรงแรม โรงภาพยนตร์ และสวนน้ำ กุลวดี จินตวร ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการ บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ “บีแลนด์” และผู้อำนวยการบริหาร

Read More