Home > 2017 (Page 7)

ECRL: เมื่อมาเลเซียจะเป็นทางลัดให้จีน

ข่าวความเคลื่อนไหวและเป็นไปของมาเลเซียที่ปรากฏในสื่อของสังคมไทยในช่วงที่ผ่านมา ดูจะถูกกดทับและให้น้ำหนักไปในเรื่องของการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ที่มาเลเซียเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันอย่างเป็นด้านหลัก พร้อมกับข้อครหาว่าด้วยความไม่โปร่งใสในการแข่งขันและการวิพากษ์วิจารณ์ว่าด้วยการบริหารจัดการที่ต่ำกว่ามาตรฐานที่ควรจะเป็น ประเด็นเกี่ยวเนื่องกับซีเกมส์ดึงดูดความสนใจของผู้คน จนทำให้ข่าวการวางศิลาฤกษ์ที่เป็นเสมือนหนึ่งการเริ่มต้นโครงการ East Coast Rail Link: ECRL ของมาเลเซียอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา ไม่ได้รับการนำเสนอเข้าสู่การรับรู้ของสาธารณะอย่างเป็นรูปธรรมมากพอ ทั้งที่ในความเป็นจริง โครงการ ECRL ที่ว่านี้เป็นภาพสะท้อนความพยายามครั้งใหม่ของมาเลเซีย ที่มีผลกระทบต่อทั้งประเทศไทยและอาเซียน ยิ่งกว่าจำนวนเหรียญรางวัลที่แต่ละประเทศจะได้รับในการแข่งขันซีเกมส์อย่างเทียบไม่ได้ โครงการลงทุนมูลค่า 5.5 หมื่นล้านริงกิตมาเลเซีย หรือประมาณ 4.3 แสนล้านบาท ที่จะเชื่อมเส้นทางรถไฟจาก Port Klang ทางด้านฝั่งทะเลตะวันตกของมาเลเซียในบริเวณช่องแคบมะละกา มาสู่พื้นที่เปิดทางชายฝั่งตะวันออกทั้ง Pahang, Terengganu และ Kelantan โดยมีประเด็นหลักสำคัญอยู่ที่การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ที่ Kuantan เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของโครงการนี้ ถือเป็นการผนวกมาเลเซียเข้าเป็นส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์ OBOR: One Belt One Road และ String of Pearls ของจีนไปโดยปริยาย โดยเฉพาะจากข้อเท็จจริงที่ว่าเงินลงทุนในโครงการ ECRL

Read More

พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ ฤๅเป็นเพียงฝันค้างที่แสนหวาน

ข่าวการลงมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ... โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นการปรับแก้กฎหมายคุ้มครองแรงงานเพื่อทดแทน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่ใช้มานานกว่า 20 ปีแล้ว ยังมีการกำหนดเพิ่มเติมนิยาม “ค่าตอบแทน” และสาระสำคัญที่ดูเหมือนการเพิ่มสิทธิให้แก่ลูกจ้างอีกด้วย ความพยายามที่จะปรับแก้กฎหมายคุ้มครองแรงงานให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์และบริบททางเศรษฐกิจสังคมที่เปลี่ยนไป นับเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม เพราะตลอดเวลานับตั้งแต่มีการบังคับใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน เมื่อปี 2541 ยังพบว่ามีช่องโหว่ทำให้ลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยเฉพาะการถูกเลิกจ้าง จนนำไปสู่ปัญหาการร้องเรียน และกลายเป็นกรณีพิพาทระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของลูกจ้างมาโดยตลอด หากแต่สภาพข้อเท็จจริงและการปฏิบัติตามข้อบังคับของการใช้กฎหมายฉบับใหม่ที่ว่านี้ อาจจะดูเป็นเพียง “ฝันค้างที่แสนหวาน” และหลักประกันที่อาจไม่มีการรับรองให้เกิดผลได้จริงสำหรับลูกจ้าง เมื่อต้องเผชิญสภาพเลวร้ายจากการล่มสลายของนายจ้างที่ทำให้ต้องบอกเลิกการจ้างงานอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง สาระสำคัญที่เพิ่มเติมและมีประเด็นให้พิจารณาในกฎหมายดังกล่าว นอกจากจะอยู่ที่ประเด็นสิทธิพื้นฐานว่าด้วย กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลากิจธุระอันจำเป็นปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน และกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นหนึ่งไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน หรือการกำหนดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อตรวจครรภ์ในระหว่างตั้งครรภ์ได้ โดยเมื่อรวมกับการลาเพื่อคลอดบุตรแล้วครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน และกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงในวันลาเพื่อตรวจครรภ์และเพื่อคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน และกำหนดให้งานที่มีคุณค่าเท่ากันลูกจ้างชายหรือหญิงได้รับค่าจ้างเท่าเทียมกัน แต่ประเด็นที่เป็นจุดใหญ่ใจความของร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่นี้อยู่ที่การกำหนดให้เพิ่มเติมนิยาม “ค่าตอบแทน” ในมาตรา 5

Read More

125 ปี เชลล์ จังหวะก้าวสู่ความเป็นหนึ่ง

ย้อนหลังไปเมื่อปี พ.ศ. 2435 ที่เชลล์เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในไทย ในครั้งนั้นเรือ เอส เอส มิวเร็กซ์ ซึ่งเป็นเรือบรรทุกน้ำมันเข้าจอดเทียบท่าที่กรุงเทพ เมื่อวันที่ 23 กันยายน ปีนั้น นับเป็นการนำเข้าน้ำมันก๊าดครั้งแรกของไทย แน่นอนว่านับตั้งแต่ปีนั้น ตลาดน้ำมันก๊าดขยายตัวใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ คนไทยจำนวนหนึ่งอาจจะเคยคุ้นชินกับ “ตรามงกุฎ” น้ำมันก๊าดของเชลล์ ซึ่งในขณะนั้นบริษัท เมสเซอร์ส มาร์ควอล์ด แอนด์ โค เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของเชลล์ในประเทศไทย จากนั้น บริษัท เอเชียติก ปิโตรเลียม (สยาม) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของกลุ่มบริษัทรอยัลดัทช์/เชลล์ ได้แต่งตั้ง บริษัท บอร์เนียว จำกัด ให้เป็นผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของเชลล์ในประเทศไทย ธุรกิจการนำเข้าน้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ดำเนินไปได้ด้วยดี กระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้น เป็นเหตุให้บริษัท เอเชียติก ปิโตรเลียม ต้องปิดกิจการชั่วคราว และภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง เชลล์ได้รับการติดต่อจากรัฐบาลไทยให้กลับเข้ามาดำเนินกิจการในไทยอีกครั้ง

Read More

จับสัญญาณบวกเศรษฐกิจไทย ครึ่งปีหลัง 2560 กำลังจะฟื้นตัว

ความพยายามของกลไกภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะโหมประโคมสัญญาณบวกทางเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา ดูจะได้รับการขานรับในระดับที่น่าสนใจไม่น้อยเลย โดยเฉพาะการคาดหมายที่เกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่าในช่วงที่ผ่านมาภาพรวมเศรษฐกิจยังไม่ค่อยดีนัก แต่มี 3 ปัจจัยหลักที่อาจช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงเวลานับจากนี้ให้กระเตื้องขึ้นมาบ้าง โดยหลายฝ่ายเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว 3 ปัจจัยหรือสัญญาณเชิงบวกที่ได้รับการกล่าวถึงในด้านหนึ่งอยู่ที่การคาดการณ์ว่าจะมีการจับจ่ายใช้สอยจากงบประมาณภาครัฐมากขึ้น โดยเฉพาะงบประมาณการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีความพยายามที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่เป็นระยะ ซึ่งอาจได้ผลระยะสั้นและเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า รวมถึงปัจจัยว่าด้วยการส่งออกที่มีตัวเลขในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาบ่งชี้แนวโน้มเชิงบวกในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม และมีการนำเข้าวัตถุดิบมาผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาพรวมของการค้าชายแดนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยเมียนมา กัมพูชา สปป.ลาว มีการนำเข้าสินค้าจากไทยมากขึ้น ก่อนหน้านี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ปรับประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2560 อยู่ที่ 3.4% จากการส่งออกและการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่หนุนเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีแรกให้โตกว่าที่คาด ในขณะที่เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังยังมีความท้าทาย จากแนวโน้มราคาน้ำมันที่โน้มอ่อนลง ส่งผลต่อการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกที่คาดว่าจะช้าลงกว่าในช่วงครึ่งปีแรก รายได้เกษตรกรที่เริ่มชะลอลงจากผลผลิตที่ออกมาสู่ตลาดมาก โดยการใช้จ่ายภาครัฐและการท่องเที่ยวยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2560 พร้อมกับระบุว่าการประกาศใช้ พ.ร.ก. การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ในช่วงที่ผ่านมา น่าจะส่งผลกระทบในปี 2560 ในขอบเขตจำกัด หรือคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 12,400 ล้านบาท จากการที่ยืดระยะเวลาการบังคับใช้กฎหมายให้ทอดยาวออกไปอีก 6 เดือน ซึ่งน่าจะเพียงพอให้แรงงานต่างด้าวหมุนเวียนกันไปจัดการเรื่องเอกสารใบอนุญาตทำงานได้ โดยไม่ทำให้ธุรกิจต้องหยุดชะงักยาวนาน โดยเบื้องต้นประเมินผลกระทบที่จะส่งผ่านไปที่ตัวเลข GDP ราว 0.03% แต่ข้อเท็จจริงสำหรับผู้ประกอบการอีกด้านหนึ่ง

Read More

เจาะแผน “ซอสต๊อด” ต้านกระแสโมเดิร์นเทรด

การประกาศลุยธุรกิจตัวล่าสุดของ “ปิติ ภิรมย์ภักดี” ที่ย้ำว่า เทหมดหน้าตัก ทั้งเงินลงทุนส่วนตัว ใช้ชื่อและหน้าเป็นแบรนด์สินค้า ภายใต้ชื่อบริษัท ฟาเธอร์ ออฟ ออล ซอส โดยประเดิมสินค้าตัวแรก ซอสพริกพริก Made By TODD หรือ “ซอสต๊อด” ด้านหนึ่งเป็นความพยายามฉีกแนวตลาดซอสในเมืองไทย ซึ่งมีให้เลือกอยู่ไม่กี่ชนิดและแยกประเภทชัดเจน ใช้จิ้ม หมัก ปรุงรส หรือทานคู่กับอาหารไม่กี่เมนู เพราะ “ซอสต๊อด” เป็นซอสอเนกประสงค์ที่อร่อยได้ครบ ทั้งจิ้ม หมัก ผัด ทอด ปิ้ง ย่าง หรือผสมกับซอสอื่น ชนิดที่คนไม่เคยชอบกินซอสอย่าง “สันติ ภิรมย์ภักดี” ยังต้องเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาจิ้มซอสต๊อดอย่างเอร็ดอร่อย แต่อีกด้านหนึ่งเป็นความพยายามของปิติที่ต้องการสร้างโมเดลธุรกิจ “ซอสต๊อด” โดยวางระบบซัปพลายเชน หรือการจัดการห่วงโซอุปทานของบริษัททั้งหมด ตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อ (Procurement) การผลิต (Manufacturing) การจัดเก็บ (Storage) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)

Read More

สงครามเครื่องดื่มเดือด “กระทิงแดง” พุ่งชนแสนล้าน

สมรภูมิเครื่องดื่มเดือดพล่านขึ้นทันที เมื่อกลุ่ม ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม ภายใต้โครงสร้างองค์กรใหม่ “กลุ่มธุรกิจ TCP” ประกาศแผนลงทุนครั้งใหญ่ในรอบ 60 ปี เตรียมทุ่มเม็ดเงิน 10,000 ล้านบาท เพื่อพุ่งชนเป้าหมายที่ขยายใหญ่ขึ้น ไม่ใช่แค่เครื่องดื่มชูกำลัง “กระทิงแดง” แต่ต้องการเติบโตในทุกกลุ่มเครื่องดื่ม ทุกแบรนด์ เพื่อผลักดันรายได้เติบโตขึ้น 3 เท่า ยอดขายทะลุ 1 แสนล้านบาท ใน 5 ปี จากองค์กรธุรกิจที่เข้าถึงยาก ไม่เน้นออกสื่อ ตั้งแต่ยุคนายเฉลียว อยู่วิทยา มาถึงทายาทรุ่นที่ 2 ไม่ว่าจะเป็น เฉลิม อยู่วิทยา หรือ สราวุฒิ อยู่วิทยา ที่เหมือนจะเดินตามรอยพ่อ เน้นทำงานบุกตลาดอยู่เบื้องหลัง แม้สามารถขยายอาณาจักรเติบโตอย่างต่อเนื่องและส่งออกสินค้าไปจำหน่ายในกว่า 170 ประเทศทั่วโลกแล้ว แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ทั้งระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก การยกเครื่องในกลุ่มกระทิงแดงจึงเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

Read More

สราวุฒิ อยู่วิทยา รุกภารกิจใหม่ “เฮาส์ออฟแบรนด์”

การแถลงข่าวของ “สราวุฒิ อยู่วิทยา” เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ถือเป็นการออกสื่อครั้งใหญ่ที่สุดของกลุ่มกระทิงแดงในรอบหลายปี โดยเฉพาะหลังสิ้น “เฉลียว อยู่วิทยา” เจ้าพ่อธุรกิจเครื่องดื่มชูกำลัง “กระทิงแดง” กว่า 5 ปี ที่สำคัญ เนื้อหาสาระไม่ใช่แค่ทิศทางโรดแมปธุรกิจในอีก 5 ปีข้างหน้า การยกเครื่องโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ และการลงทุนทุ่มเม็ดเงินสูงสุดในรอบ 60 ปี แต่ยังหมายถึงการเปิดตัว “หัวเรือใหญ่” ในสงครามธุรกิจเครื่องดื่มที่กำลังแข่งขันอย่างดุเดือดและมีคู่แข่งระดับยักษ์ทั้งสิ้น แน่นอนว่า ระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านขบวนการต่างๆ จากยุคเจเนอเรชั่น 1 สู่เจน 2 ที่มีพี่น้อง 2 แม่ รวมกัน 11 คน จากเดิม เฉลิม อยู่วิทยา ลูกชายคนโตของเฉลียวกับภรรยาคนแรก นางนกเล็ก สดศรี เป็นประธานบริษัท เรดบูล คอมปานี ลิมิเต็ดฯ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ดูแลตลาดในภาคพื้นยุโรป

Read More

จาก OBOR สู่ ALIPAY การรุกคืบที่เป็นรูปธรรมจากจีน

ข่าวว่าด้วยสังคมไร้เงินสดในจีน ที่จุดพลุกระตุ้นความสนใจจากความสำเร็จของ ALIPAY ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบชำระเงินออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือชั้นนำของโลก และเป็นบริษัทในเครืออาลีบาบา กรุ๊ป ยักษ์ใหญ่ด้านอี-คอมเมิร์ซจากประเทศจีน ในด้านหนึ่งดูจะได้รับการประเมินอย่างจำกัดในฐานะที่เป็นเครื่องมือทางการเงินชนิดใหม่ที่เอื้ออำนวยความสะดวกในเชิงพาณิชย์ให้ดำเนินไปอย่างคล่องตัว แต่หากพิจารณาภายใต้กรอบโครงความเป็นไปทางยุทธศาสตร์ระดับมหภาคของจีน ทั้งในมิติของการประกาศนโยบายเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 หรือ The Silk Road Economic Belt and the 21st-century Maritime Silk Road รวมถึงความพยายามของจีนที่จะผลักดันให้เงินสกุลหยวนเป็นที่ยอมรับและมีบทบาทมากขึ้นในเศรษฐกิจการเมืองระดับนานาชาติ ผ่านการจัดตั้งธนาคาร Asian Infrastructure Investment Bank (AIIB) จังหวะก้าวของ ALIPAY ในการรุกคืบสร้างสังคมไร้เงินสดก็เป็นประหนึ่งข้อต่อเชื่อมในเชิงรูปธรรมให้กับยุทธศาสตร์ขนาดใหญ่ของจีนอย่างไม่อาจมองข้ามได้ การเกิดขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็วของสังคมไร้เงินสด ภายใต้การนำของ ALIPAY ไม่ได้มีผลในการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางธุรกิจอี-คอมเมิร์ซอย่างจำกัดเท่านั้น หากแต่ในความเป็นจริงกลไกของสิ่งที่เกิดขึ้นนี้กำลังเป็นประหนึ่งการนำไปสู่การเกิดขึ้นของเงินสกุลใหม่ที่สามารถไหลบ่าและเคลื่อนย้ายสถานที่ไปได้อย่างเสรี ที่อยู่เหนือระเบียบข้อกำหนดไปไกล ยอดการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันทางการเงินที่มีมากถึงกว่า 600 ล้านครั้งในประเทศจีน ดำเนินไปอย่างมีอัตราเร่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะในช่วงระยะเวลาเพียง 2-3 ปีที่ผ่านมายอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันทางการเงินมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 3.4 เท่า จากระดับ 177 ล้านครั้งในปี 2014 มาสู่ระดับกว่า

Read More

50 ปี ASEAN การเดินทางข้ามฝั่งฝัน

นับถอยหลังไปอีกไม่กี่ชั่วโมงในวันที่ 8 สิงหาคม 2560 ต้องถือเป็นหมุดหมายสำคัญสำหรับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) ที่จะครบรอบวาระการก่อตั้งเป็นปีที่ 50 ซึ่งหากพิจารณาองค์กรระดับภูมิภาคแห่งนี้ในฐานะที่เป็นบุคคลที่มีชีวิต ก็ต้องถือว่าองค์กรแห่งนี้กำลังก้าวสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบสูงมากขึ้นตามวัย ภายใต้คำขวัญ “One Vision One Identity One Community” ที่พยายามรักษาจุดร่วมสงวนจุดต่าง เพื่อสร้างประชาคมที่มีความร่วมมือทั้งในมิติการเมืองความมั่นคง (Political-Security Community) ความร่วมมือทางด้านสังคม-วัฒนธรรม (Socio-Cultural Community) และประชาคมเศรษฐกิจ (Economic Community) ความเป็นไปขององค์กรภูมิภาคแห่งนี้ก็ดูจะก้าวหน้าไปจากวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และปฏิญญากรุงเทพฯ ซึ่งถือเป็นปฐมบทของการเริ่มต้นอาเซียนไปมากพอสมควร หากแต่ด้วยสภาพข้อเท็จจริงของสังคม การเมือง เศรษฐกิจในระดับนานาชาติในปัจจุบัน การดำรงอยู่ขององค์กรระดับภูมิภาคแห่งนี้ดูจะเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ ที่พร้อมจะสั่นคลอน ประชาคมอาเซียน ที่มีประชากรรวมกว่า 630 ล้านคน และมี GDP รวมกันสูงกว่า 1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

Read More

ถึงยุคดิจิทัล เมื่อหอสมุดแห่งชาติขยับตัว

เทคโนโลยีก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของคนในยุคปัจจุบัน ชนิดที่เรียกได้ว่า ตั้งแต่เริ่มต้นวันจรดค่ำ เทคโนโลยีถูกใช้ในทุกช่วงเวลาของชีวิต สำหรับองค์กรไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ หรือเอกชน หลายหน่วยงานเริ่มปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ทั้งรูปแบบวิธีการทำงาน การบริการ และใช้เทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร แม้ว่าการเลือกใช้เทคโนโลยีของบางหน่วยงานภาคเอกชนจะไม่มีข้อจำกัด ทั้งยังสามารถเห็นถึงประสิทธิผลที่ดีขึ้นของการทำงานรูปแบบเดิมที่ผสมผสานกับเทคโนโลยีเข้าไปได้อย่างลงตัว หากแต่กับหน่วยงานภาครัฐที่แม้ว่าการทำงานจะต้องยึดโยงกับวาทกรรม “ไทยแลนด์ 4.0” แต่ยังไม่สามารถปรับใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยได้แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังเช่นที่กำลังเกิดขึ้นกับหอสมุดแห่งชาติ ที่กำลังมีความพยายามจะปรับตัวเพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่รูปแบบของ “ห้องสมุดดิจิทัลแห่งชาติ” ทั้งเพื่อขจัดปัญหาและอุปสรรคต่างๆ เช่นความไม่ประทับใจของผู้ใช้บริการ การค้นหาหนังสือที่ต้องเริ่มด้วยการค้นจากบัตรรายการ แต่กลับหาหนังสือไม่เจอ หนังสือที่ต้องการไม่ได้อยู่บนชั้น หรือคำถามที่ว่าทำไมจึงไม่สามารถค้นหาหนังสือในห้องสมุดจากบ้านได้ เพื่อไม่ให้เสียเวลา สิ่งเหล่านี้กลายเป็นโจทย์สำคัญที่นำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน “สิ่งที่สะท้อนถึงความเจริญรุ่งเรืองของคนในชาติประการหนึ่ง คือองค์ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากห้องสมุด ปัจจุบันหน่วยงานต่างๆ มีห้องสมุดเป็นของตัวเอง บ่งบอกว่าคนไทยรักการอ่านเป็นลำดับ นับเนื่องมาถึงยุคดิจิทัล ที่หอสมุดถึงเวลาต้องปรับตัว เมื่อระบบดิจิทัลมีบทบาทในชีวิตของคนเรามากมาย เราจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาระบบดิจิทัลในหอสมุด การประชุมในครั้งนี้ถือเป็นสิ่งที่ดีมากๆ ในสถานการณ์ปัจจุบัน การโดดเดี่ยวน่าจะเป็นการยากในการพัฒนา เราจำเป็นที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน หรือหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งน่าจะสร้างผลดีให้กับหอสมุด “นี่อาจจะเป็นก้าวสำคัญ แม้ว่าการประชุมครั้งนี้มีระยะเวลาเพียง 2 วัน และคงไม่สามารถปรับตัวได้รวดเร็วนัก แต่นับเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่จะเรียนรู้ประสบการณ์จากหน่วยงานอื่นๆ แม้ว่าเราจะต้องใช้เวลาในการวิ่งตามในการพัฒนาหอสมุดเพื่อให้เทียบเท่าประเทศอื่นๆ” อนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวในการประชุม เรื่องการประสานงานความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลในประเทศไทย ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่

Read More