Home > 2017 (Page 11)

“เซ็นทรัลออนไลน์” แตกเพื่อโต ปรับทัพชิงเม็ดเงินแสนล้าน

กลุ่มเซ็นทรัลต้องปรับทัพธุรกิจออนไลน์อีกครั้ง หลังจากยักษ์ใหญ่ต่างชาติแห่เข้ามาบุกตลาดอีคอมเมิร์ซที่มีมูลค่าเม็ดเงินมากกว่า 2.5 ล้านล้านบาท ไม่ว่าจะเป็น “อีเลฟเว่นสตรีท” จากเกาหลี อาลีบาบา ยักษ์ออนไลน์แดนมังกร หรือ “ลาซาด้า” ซึ่งประกาศตัวเป็นห้างสรรพสินค้าออนไลน์ที่มีเครือข่ายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะเดียวกัน ข้อมูลจากบริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด ผู้ให้บริการเว็บไซต์ค้นหาสินค้าและเปรียบเทียบราคา Priceza.com รายงานยอดผู้เข้าใช้งาน Shopping Search Engine ในไทย พบว่าช่วงไตรมาสแรกของปี 2560 มีผู้สนใจเข้ามาค้นหาสินค้าและเปรียบเทียบราคาผ่าน Priceza.com เพิ่มขึ้นถึง 145% เทียบกับปี 2559 หรือมีผู้เข้ามาใช้งานค้นหาสินค้าเพื่อเปรียบเทียบราคาถึงเดือนละกว่า 9 ล้านราย ที่สำคัญ ยอดการค้นหากว่า 9 ล้านครั้งต่อเดือนพบว่า ร้านค้าออนไลน์ที่มีการค้นหามากที่สุด 5 อันดับแรก คือ Lazada.co.th, 11STREET.co.th, thainitashop.com, Cmart.co.th และ Central.co.th ซึ่งหากกลุ่มอาลีบาบาของแจ๊คหม่าเปิดศึกงัดกลยุทธ์บุกตลาดไทยอย่างเต็มที่ ด้านหนึ่งเม็ดเงินในสมรภูมิออนไลน์จะเติบโตมากขึ้น แต่อีกด้านหนึ่งหมายถึงการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นด้วย แน่นอนว่า ทศ

Read More

เซ็นทรัล ปลุก “แอสทรัล” เดินหน้ารุกตลาดลักชัวรี่

“กลุ่มเซ็นทรัลเป็นผู้นำด้านการค้าปลีกในประเทศไทยตั้งแต่ยุคเปิดห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลสาขาแรก คือเซ็นทรัล วังบูรพา เมื่อ 70 ปีก่อน ภายใต้วิสัยทัศน์ตั้งแต่ยุคเตียงและสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ ที่ต้องการสร้างศูนย์กลางของเมือง ชื่อ Central มีความหมายกว้างมาก เป็นทั้ง Center of the City และ Center of Life จากวันนั้นถึงวันนี้ Vision ความเป็น Central เป็น Vision เดียวกัน ไม่ล้าสมัยและอยู่ต่อไป โดยคนรุ่นที่ 3 กำลังสานต่อจากห้างเซ็นทรัลไม่กี่คูหา วันนี้ขยายสาขาทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ...” ยุวดี จิราธิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจห้างสรรพสินค้า บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ตอกย้ำรากฐานแนวคิดและ Vision การดำเนินธุรกิจภายใต้กลยุทธ์ Centrality (เซ็นทรัลลิตี้) เพื่อเป็นศูนย์กลางของเมือง และการใช้ชีวิตในเมืองตั้งแต่ยุคก่อตั้งจนถึงล่าสุด แน่นอนว่า สำหรับคนรุ่นที่ 3 อย่างยุวดี และโดยเฉพาะทศ

Read More

50 ปี ASEAN กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการท่องเที่ยว

ปี 2560 ดูจะเป็นปีที่มีความสำคัญไม่น้อยสำหรับสมาคมประชาชาติอาเซียน (ASEAN) เพราะนอกจากจะเป็นปีแห่งการครบรอบการสถาปนา ASEAN ครบ 50 ปีแล้ว การดำรงอยู่ของอาเซียนในบริบทของเศรษฐกิจการเมืองสังคมโลกในปัจจุบัน ยังอยู่ในภาวะที่ท้าทายจังหวะก้าวในอนาคตไม่น้อยเลย ภายใต้แนวความคิดการรวมกลุ่มประเทศในภูมิภาค หรือ Regional Integration ที่กำลังถูกท้าทายจากกรณีการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร ในนาม BREXIT ที่ส่งแรงกระเทือนไปสู่การรวมกลุ่มความร่วมมือในภูมิภาคอื่นๆ ASEAN ที่พยายามชู “ความหลากหลายที่หลอมรวม” ก็อยู่ในสภาพที่ถูกตั้งคำถามให้ได้พิจารณาเช่นกัน แม้ ASEAN จะเกิดมีขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศอันเนื่องมาจากความแตกต่างในยุคสมัยแห่งสงครามเย็น หากแต่ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ASEAN ได้ปรับและขยับขึ้นมาเป็นแกนกลางของภูมิภาคในการดึงชาติมหาอำนาจ ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน หรือผู้แทนระดับสูงของ EU เข้ามาร่วมเป็นคู่สนทนา และทวีบทบาทสำคัญในการพัฒนาให้เป็นประชาคมที่พร้อมจะตอบรับกับบริบททางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อย่างมีนัยสำคัญ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากประการหนึ่งของ ASEAN ก็คือภายใต้ฐานทางเศรษฐกิจและสังคม ของประชาคมอาเซียน ที่มีประชากร 640 ล้านคนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ที่กำลังขยับไปสู่ระบบอุตสาหกรรม ทำให้ทุนขยายและกระจายไปอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ หากแต่ในยุคสมัยแห่งโลกดิจิทัลหรือที่ยุคแห่งการผลิตแบบ

Read More

EEC: ระเบียงเศรษฐกิจไทย บนความเป็นไปของยุทธศาสตร์จีน

ความพยายามของรัฐบาลไทยที่จะขับเคลื่อนพลังทางเศรษฐกิจผ่านโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor: EEC ซึ่งเป็นการต่อยอดการพัฒนาบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ดูจะมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นไปอีกขั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีความพยายามที่จะดึงนักธุรกิจฮ่องกงให้เข้ามามีส่วนในโครงการนี้ ผ่านความร่วมมือด้านยุทธศาสตร์ระหว่างไทย-ฮ่องกง-เซี่ยงไฮ้ เพื่อเชื่อมเศรษฐกิจไทยกับเศรษฐกิจจีนผ่านนโยบายยุทธศาสตร์ One Belt One Road ที่อาจนำไปสู่การจัดตั้งเขตการค้าเสรีทันสมัย หรือ Modern FTA ระหว่างฮ่องกงกับอาเซียน โดยมีไทยเป็นศูนย์กลาง ในการกระจายสินค้าของภูมิภาค ภายใต้แนวความคิดที่จะยกระดับภาคการผลิตและภาคบริการของไทยให้เข้าสู่ยุค 4.0 ดูเหมือนว่านโยบายที่ว่านี้จะสอดรับกับสถานะของฮ่องกงที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีขั้นสูง และถือเป็นเมืองที่มีพลังในการขับเคลื่อนด้านการค้าการลงทุนของจีนเข้ามาเป็นองค์ประกอบ โดยในปีที่ผ่านมาฮ่องกงมีมูลค่าขอรับส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) สูงถึง 1.4 หมื่นล้านบาท และเป็นการลงทุนเฉพาะในพื้นที่ EEC สูงถึง 1.1 หมื่นล้านบาท ขณะที่ในภาพรวมทั้งประเทศพบว่า ปีที่ผ่านมานักธุรกิจฮ่องกงเข้าลงทุนในไทยรวมกว่า 2 หมื่นล้านบาท คิดเป็นอันดับที่ 5 ของมูลค่าการลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศ และในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ฮ่องกงก็มีมูลค่าการลงทุนในไทยสูงเป็นอันดับ 2 รองจากญี่ปุ่นเท่านั้น วินเซนต์ โล ประธานองค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง หรือ Hong Kong

Read More

“เกษตรแปลงใหญ่” ความท้าทายของการจัดการ

พระราชพิธีพืชมงคล-จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2560 ผ่านพ้นไปแล้ว เป็นประหนึ่งสัญญาณบอกกล่าวว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการเพาะปลูกครั้งใหม่ได้เริ่มขึ้นแล้ว และยังมีนัยความหมายที่ช่วยหล่อเลี้ยงขวัญและกำลังใจให้กับเหล่าเกษตรกรไทย ที่ดำรงอยู่ในบริบทของสังคมกสิกรรมมาอย่างเนิ่นนาน การเสี่ยงทายที่ติดตามมาด้วยคำทำนายพยากรณ์ของคณะพราหมณ์และโหรหลวง ไม่ว่าจะมีเนื้อหาและคาดหมายไปในทิศทางที่เด่นด้อยอย่างไร ในด้านหนึ่งก็เป็นไปด้วยความมุ่งหมายที่จะเตือนสติของผู้ประกอบการกสิกรรมและเกษตรกรทั้งหลาย ให้ตระหนักในข้อจำกัดทางธรรมชาติที่ปรับเปลี่ยนไปในแต่ละปี และแสวงหาหนทางที่จะข้ามพ้นปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้นไปให้ได้ กระนั้นก็ดี ความพิเศษของพิธีพืชมงคล-จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในปีนี้ อยู่ที่ความพยายามของภาครัฐที่ได้ประกาศและนำเสนอนโยบาย ควบคู่กับแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระหว่างปี 2560-2564 ที่มีเป้าหมายอยู่ที่การเร่งให้เกษตรกรทำเกษตรแปลงใหญ่ให้ได้ถึง 1.5 ล้านไร่ในอนาคต ยุทธศาสตร์ที่ว่านี้ ในด้านหนึ่งเป็นการต่อยอดความสำเร็จของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในช่วงปี 2559 ที่สามารถทำเกษตรแปลงใหญ่ได้ 153,800 ไร่ ในสินค้าเกษตรจำนวน 12 ประเภท มีการตั้งกลุ่มสหกรณ์ 122 กลุ่ม ตั้งวิสาหกิจชุมชน 393 กลุ่ม และพัฒนาเกษตรกรสู่การเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ หรือเกษตรกรสมัยใหม่ได้ 67,200 ราย โดยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่ทำเกษตรแปลงใหญ่ 4,217 ล้านบาท หลักคิดของการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแปลงใหญ่ ในด้านหนึ่งอยู่ที่การมุ่งปรับเปลี่ยนระบบการส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ขนาดใหญ่ เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรรายย่อย มาสู่การรวมกลุ่มที่สามารถใช้เครื่องมือ เครื่องจักรกลมาช่วยในการผลิต เข้าถึงเทคโนโลยีได้มากขึ้น

Read More

นิสัยรักการอ่าน: รากฐานการดำรงอยู่ของหนังสือเล่ม

ภาพบรรยากาศแห่งความสำเร็จเกินความคาดหมายของงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 45 เมื่อช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ดูเหมือนจะได้รับการขับเน้นต่อเนื่องด้วยการเปิดตัว “หอสมุดเมือง กรุงเทพมหานคร” ในช่วงปลายเดือนเมษายน และทำให้ผู้ประกอบการและผู้คนที่แวดล้อมในอุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะสำนักพิมพ์เริ่มเห็นประกายแห่งความหวังครั้งใหม่ที่พร้อมจะรอโอกาสให้กลับมาเจิดจรัสอีกครั้ง ก่อนหน้านี้ อุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ได้รับการปรามาสว่าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่กำลังอัสดง ด้วยเหตุของการมาถึงของเทคโนโลยี และประพฤติกรรมในการรับข่าวสารข้อมูลที่เปลี่ยนไป ที่อาจทำให้สื่อสิ่งพิมพ์และหนังสือเล่มกระดาษ อาจต้องล้มหายไปจากสารบบ และถูกแทนที่ด้วยสื่อดิจิทัลที่ดูจะเอื้อให้กับการเสพรับแบบฉาบฉวยไม่เกิน 8 บรรทัด ที่เป็นประหนึ่งภาพสะท้อนวิถีแห่งการอ่านของสังคมไทยได้เป็นอย่างดี ภายใต้แนวความคิด “อ่าน อ่าน และอ่าน” ที่สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) พยายามกระตุ้นเร้าผู้บริโภคให้เห็นความสำคัญของการอ่าน ที่เป็นธีมหลักของงาน “สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 45 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 15” (45th National Book Fair and 15th Bangkok International Book Fair 2017) ดูเหมือนจะเป็นการสื่อสารที่ตรงประเด็นสำหรับสภาพทั่วไปของการอ่านในสังคมไทยได้เป็นอย่างดี นอกจากกิจกรรมประจำปีครั้งสำคัญในปีนี้ จะมีสำนักพิมพ์ไทยเข้าร่วมงานกว่า 430 แห่ง และได้รับเกียรติจาก “ประเทศฟินแลนด์” เข้าร่วมงานในฐานะ ประเทศรับเชิญเกียรติยศ

Read More

จาก พ.ร.บ. ควบคุมสื่อ สู่การปรับตัวครั้งใหญ่

ภูมิทัศน์ในแวดวงสื่อสารมวลชนกำลังได้รับแรงสั่นสะเทือนครั้งใหม่ เมื่อกลไกรัฐพยายามอย่างแข็งขันที่จะผ่าน พ.ร.บ. การคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ....ที่มีนัยของการ ควบคุม มากกว่าการคุ้มครองและส่งเสริม ตามชื่อเรียกของ พ.ร.บ. จนเป็นเหตุให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ถูกเรียกขานในนาม พ.ร.บ. ควบคุมสื่อ พร้อมกับได้รับการวิพากษ์ว่าเป็นร่างกฎหมายที่ตั้งอยู่บนฐานความคิดของ พ.ร.บ. การพิมพ์ พ.ศ.2484 และประกาศของคณะปฏิวัติของกลุ่มเผด็จการทหารที่สืบทอดเป็นมรดกทางความคิดต่อเนื่องออกมาอีกหลายฉบับในเวลาต่อๆ มา ประหนึ่งเป็นความพยายามของผู้มีและยึดกุมอำนาจรัฐที่เติบโตผ่านยุคสมัยอนาล็อก ที่กำลังต้องดำเนินชีวิตอยู่กับโลกดิจิทัลสมัยใหม่ เพื่อรักษาสถานภาพดั้งเดิมไว้ให้นานที่สุดเท่าที่โอกาสแห่งอำนาจจะอำนวยให้ได้ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากก็คือ กลไกทางกฎหมายที่คอยกำกับและควบคุมสื่อในเงื้อมมือของรัฐไทยในปัจจุบัน ดูจะมีจำนวนมากเพียงพออยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 รวมถึงมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 และฉบับที่ 103/2557 ที่ให้อำนาจเบ็ดเสร็จแก่ กสทช. ในการพิจารณาออกมาตรการทางปกครองและลงโทษสถานีวิทยุและโทรทัศน์เป็นจำนวนมาก แต่นั่นอาจไม่ใช่เงื่อนไขหลักที่ทำให้สื่อต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่ในห้วงเวลาปัจจุบัน เท่ากับการที่ต้องเผชิญหน้ากับการแข่งขันและความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านช่องทางในการสื่อสาร รวมถึงข้อจำกัดด้านรายได้จากเม็ดเงินโฆษณาที่หดหาย ทั้งในบริบทของสื่อสิ่งพิมพ์ที่นำไปสู่ปรากฏการณ์การปิดตัวลงของนิตยสารหลายฉบับในช่วงก่อนหน้านี้ ขณะที่สื่อสิ่งพิมพ์รายวันกำลังดิ้นรนไปสู่การจัดวางคอนเทนต์ในแพลตฟอร์มใหม่ ส่วนสมรภูมิทีวีก็มีการปรับเปลี่ยนขนานใหญ่หลังจากการมาถึงของทีวีดิจิทัล และการแทรกตัวเข้ามาของอุปกรณ์ดิจิทัลสมัยใหม่ ที่เปิดโอกาสให้สามารถชมคลิปย้อนหลังได้อย่างหลากหลาย จนสื่อโทรทัศน์กำลังจะกลายเป็นเพียงของประดับบ้านที่ไม่มีใครสนใจ การปรับตัวของสื่อโทรทัศน์ในห้วงเวลาปัจจุบัน ทำให้หลายช่องต้องพยายามจัดเตรียมคอนเทนต์ ให้มีความหลากหลายและขยับปรับเวลาของแต่ละช่วงให้สั้นลง พร้อมที่จะขยายต่อในช่องทางสื่ออื่นๆ ในลักษณะของคลิปรายการย้อนหลัง ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสื่อสารกับผู้ชมและแหล่งรายได้ใหม่บนแพลตฟอร์มที่เปลี่ยนไป ความเป็นไปในมิติที่ว่านี้ ช่อง

Read More

หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร หมุดหมายแห่งปัญญา-ความรู้

ก้าวย่างของกาลเวลาที่ดำเนินไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและไม่เคยอิดออดรอสิ่งใด การมาถึงของเทคโนโลยีอันทันสมัยส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คนที่ดูจะเร่งเร้าให้เท่าทันตามจังหวะของการพัฒนา กระนั้นดูเหมือนว่าการพัฒนาที่เกิดขึ้น อาจเรียกได้ว่าเป็นการเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ในหลากหลายมิติ และแม้ว่าในบางแง่มุมของการพัฒนาจะทำให้วัฏจักรบางอย่างไม่สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างที่ควรเป็น และในทางกลับกัน เสมือนว่าสิ่งนั้นเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เป็นการนับถอยหลังเข้าสู่ช่วงเวลาสุดท้ายของเส้นทางที่เดิน การพัฒนาที่ว่าส่งผลต่อวัฒนธรรมบางอย่างที่เรามักคุ้นชินในสังคม ให้ค่อยๆ ถูกกลืนหายพร้อมกับการมาถึงของความก้าวล้ำทางเทคโนโลยี จากสังคมการอ่านเพื่อประเทืองปัญญา เข้าสู่สังคมก้มหน้าเพื่อค้นหาความบันเทิงที่มีมากล้นเพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละคน แม้ว่าการปฏิเสธเทคโนโลยีจะเป็นเรื่องที่ดูจะทำได้ยากยิ่งในสังคมยุคดิจิทัล เมื่อสาระความรู้ หรือข่าวสารบางอย่างสามารถสืบเสาะค้นหาได้จากอินเทอร์เน็ต อีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญของเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมต่อโลกใบใหญ่ให้ดูเล็กลงไปถนัดตา และแน่นอนว่าอะไรก็ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส ขณะที่สภาพทางสังคม วิถีชีวิตของผู้คนที่กำลังหมุนเปลี่ยนไปอย่างชนิดนาทีต่อนาที หลายหน่วยงาน หลายองค์กรที่เกี่ยวข้อง ตระหนักถึงปัญหาที่กำลังก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากมองเห็นผลเสียที่ตามมา ทั้งในด้านการถูกลดทอนศักยภาพในตัวของเยาวชนไทยที่ดูจะเป็นความหวังใหม่ของสังคม ทำให้เกิดความพยายามที่จะรังสรรค์สังคมแห่งการอ่าน “หนังสือ” ให้กลับมาเป็นวัฒนธรรมของสังคมไทยอีกครั้ง “ราชดำเนิน” ถนนที่อุดมไปด้วยเรื่องราวประวัติศาสตร์ชาติ ที่น่าเรียนรู้ จดจำ อาคารที่ตั้งอยู่ตลอดแนวถนนราชดำเนินกลางหลายอาคารถูกปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัย โดยเฉพาะอาคารที่บัดนี้กลายเป็น “หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร” ซึ่งอาคารหลังนี้มีความเป็นมาแรกเริ่มภายใต้พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ให้ตัดถนนราชดำเนินจากพระบรมมหาราชวังไปยังพระราชวังดุสิต โดยจัดวางรูปแบบตามลักษณะของ Champs Elysees ในประเทศฝรั่งเศส การก่อสร้างบนถนนราชดำเนินเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2442 ส่วนอาคารตลอดแนวถนนราชดำเนินกลางได้เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ.2480 การก่อสร้างอาคารดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ต่อเนื่องมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พ.ศ. 2482- 2491 อาคารบริเวณถนนราชดำเนินประกอบด้วย อาคารพาณิชย์ โรงแรม และโรงมหรสพ รูปแบบเป็นศิลปะสไตล์อาร์ตเดคอร์

Read More

จากจอมยุทธ์หมากล้อม สู่ “ครูใหญ่” สาธิต PIM

ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ใช้เวลากว่า 13 ปี เป็นหัวหอกลุยธุรกิจด้านการศึกษาในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดโรงเรียนปัญญาภิวัฒน์เทคโนธุรกิจ จากเป้าหมายเริ่มต้น เร่งผลิต “คน” ป้อนธุรกิจร้านสะดวกซื้อ “เซเว่นอีเลฟเว่น” เพื่อรุกขยายอาณาจักรค้าปลีก ผุดวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ยกระดับการเรียนการสอนขั้นอุดมศึกษา จนล่าสุดลงทุนสร้าง โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ หรือ “สาธิต PIM” ซึ่งจะประเดิมเทอมแรกในปีการศึกษา 2560 แน่นอนว่า เป้าหมายของก่อศักดิ์ในฐานะผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนสาธิต PIM เปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะเรื่องการสร้าง “คน” ให้เป็นนักจัดการมืออาชีพ มีความคิดเชิงกลุยทธ์ และไม่ใช่เพียงแค่ความเก่งกาจในวิชาหลักอย่างคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีน นั่นทำให้จอมยุทธ์หมากล้อมคนนี้สวมบทคุณครูหยิบเอา “โกะ” เข้ามาเป็นวิชาเสริมในหลักสูตรของ “สาธิต PIM” หลังจากได้ผลพิสูจน์อย่างชัดเจนว่า หมากล้อมหรือ “โกะ” คืออาวุธชิ้นสำคัญ ที่ช่วยให้เขาและ “เซเว่นอีเลฟเว่น” สามารถขยายอาณาจักรธุรกิจร้านสะดวกซื้อได้อย่างยิ่งใหญ่ ก่อศักดิ์เคยกล่าวว่า เขามองประเทศไทยทั้งประเทศเป็นเสมือนกระดานหมากล้อมกระดานหนึ่ง เร่งเปิดร้านค้าในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เพราะสุดยอดกลยุทธ์ของโกะไม่ใช่การจับกิน หรือทำลายฝ่ายตรงข้าม แต่เป็นการสร้างดินแดนให้มากกว่าคู่ต่อสู้

Read More

ซีพี รุกแนวรบใหม่ ธุรกิจการศึกษาครบวงจร

เครือซีพีของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ กำลังสร้างอาณาจักรธุรกิจการศึกษาบนที่ดินผืนใหญ่ เนื้อที่มากกว่า 50 ไร่ ย่านแจ้งวัฒนะ ซึ่งมีทั้ง “สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM)” เจาะตลาดระดับอุดมศึกษาในฐานะ Corporate University แห่งแรก อาคาร CP ALL ACADEMY และล่าสุด ประกาศเปิดโรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ หรือ “สาธิต PIM” โดยคาดหวังจะให้เป็นโรงเรียนสาธิตต้นแบบในยุคศตวรรษที่ 21 รศ.ดร.พิชิต ฤทธิ์จรูญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) หัวหน้าทีมและผู้บริหารโครงการก่อตั้งโรงเรียนสาธิต PIM กล่าวว่า โครงการโรงเรียนสาธิต PIM ใช้เวลาศึกษาและเตรียมความพร้อมล่วงหน้าถึง 3 ปี โดยเดินทางไปดูงานการศึกษาในหลายประเทศ จนกระทั่งตัดสินใจเลือกรูปแบบและระบบการศึกษาของประเทศฟินแลนด์ ซึ่งมีมาตรฐานการศึกษาระดับโลกและเน้นการพัฒนาผู้เรียนตามความถนัด เพราะเชื่อมั่นว่า ถ้าเด็กได้เรียนในสิ่งที่ถนัด เขาจะมีความสุขและสามารถพัฒนาได้อย่างชัดเจน ขณะเดียวกัน รศ.ดร.พิชิตฟอร์มทีมอาจารย์จากวงการศึกษา ดึงอดีตผู้อำนวยการโรงเรียนชื่อดัง และโรงเรียนสาธิตของรัฐเข้ามาเป็นที่ปรึกษาด้านต่างๆ เพื่อเสริมจุดแข็งตามแนวคิด “สาธิต” อย่างแท้จริง ไม่ใช่การเรียนเพื่อแข่งขันเหมือนในยุคปัจจุบัน

Read More