Home > 2017 (Page 10)

ส่งออกตัวแปรสำคัญ ฉุดเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังฟื้น?

สัญญาณการขยายตัวการส่งออกในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2559 ที่กลับมาเป็นบวก โดยเพิ่มขึ้นทั้งด้านของราคาและปริมาณ นับเป็นอานิสงส์ที่ส่งต่อมายังไตรมาสแรกของปี 2560 ที่ทำให้ผู้ประกอบการหายใจได้สะดวกขึ้น โดยเฉพาะตัวเลขการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2560 ที่สำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระบุว่า การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) มีการขยายตัวร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่มีการส่งออกขยายตัวดี เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบแผงวงจรไฟฟ้า เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์ยาง ด้านตลาดส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) มีการขยายตัวในระดับดีในหลายตลาด อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน สหภาพยุโรป และประเทศในกลุ่ม CLMV ขณะที่การส่งออกไปอาเซียนกลับหดหัวลง ดังนั้น ภาพรวมการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) ในไตรมาส 1 ปี 2560 จึงมีการขยายตัวร้อยละ 6.2 ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ จีน สหภาพยุโรป และ CLMV ที่ขยายตัว การส่งออกที่ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2559 สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยที่ปรับตัวดีขึ้น การเติบโตของตัวเลขส่งออกน่าจะเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ GDP ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศช่วงไตรมาสแรก ปี

Read More

รัฐมุ่งหน้าเร่ขายฝัน หวังฉุดเศรษฐกิจไทยฟื้น

ข่าวการเดินทางเพื่อเชิญชวนนักลงทุนญี่ปุ่นให้เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนของไทยในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ของสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ในด้านหนึ่ง ถือเป็นความพยายามที่ไม่สิ้นสุดของรัฐบาลไทยที่จะผลักดันโครงการลงทุนและกระตุ้นภาพรวมทางเศรษฐกิจของไทยให้ดำเนินไปตามถ้อยแถลงว่าด้วยเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวแล้ว แม้ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ตรงหน้าจะไม่สอดรับกับคำเอ่ยอ้างและวาทกรรมว่าด้วยความมั่นใจของนักลงทุนต่างชาติ และในบางกรณีอาจดำเนินสวนทางไปในทิศทางตรงข้ามก็ตาม ความพยายามที่จะสถาปนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาผ่านปาฐกถาในงานสัมมนา “Thailand towards Asian Hub” ถือเป็นข้อเน้นย้ำถึงมายาคติที่บีบอัดเป็นมิติมุมมองของทั้งผู้นำระดับสูงในรัฐบาลและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่จ่อมจมอยู่กับวาทกรรมและความเชื่อว่าด้วยความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ของไทยแบบดั้งเดิม โดยละเลยบริบทของการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ ขณะที่การเน้นย้ำประเด็นว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 และการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในแผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี ดูจะเป็นการเน้นย้ำที่ไม่ต่างจากแผ่นเสียงที่ตกร่อง เพราะนอกจากจะยังไม่มีความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมใหม่ๆ ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบของพัฒนาการเชิงนโยบายในสองเรื่องนี้อย่างจริงจังเลย ประเด็นว่าด้วย EEC หรือการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ที่ดำเนินไปภายใต้ความคาดหวังว่าจะช่วยเปลี่ยนผ่านภาคการผลิตของไทย และเป็นโครงการที่จะต้องมีการพัฒนาในโครงสร้างพื้นฐานมูลค่ารวมกว่า 4.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ กลายเป็นเงื่อนไขสำคัญถึงความเป็นไปได้ของโครงการนี้ว่าจะแสวงหาเม็ดเงินและนักลงทุนจากที่ใดเข้ามาเติมเต็มความฝันครั้งใหม่ของรัฐบาลไทยนี้ “หากขาดนักลงทุนจากญี่ปุ่น EEC คงพัฒนาไม่สำเร็จ จึงได้เชิญประธาน JETRO มาเป็นที่ปรึกษาเพื่อติดต่อกับนักลงทุนญี่ปุ่น ซึ่งหวังว่าไทย-ญี่ปุ่นจะร่วมมือทางการค้าและลงทุนได้เพิ่มขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะการนำแนวคิดร่วมจัดทำยุทธศาสตร์ของกลุ่มประเทศ CLMVT เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ขยายไปยังกลุ่มต่างๆ ด้วย” สมคิดระบุในตอนหนึ่งของปาฐกถา การอ้างถึงความพยายามเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาเข้ากับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านทั้งกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์และเวียดนาม หากเป็นในอดีตก็คงดำเนินไปในลักษณะที่ไทยเป็นศูนย์กลางที่จะหนุนนำพัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคมไปสู่มิตรประเทศเหล่านี้ หากแต่ในปัจจุบันความพยายามผนวกรวมยุทธศาสตร์ CLMVT กลับกลายเป็นเพียงการขอมีส่วนร่วมให้เกิดความน่าสนใจในมิติของการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวจากต่างประเทศเท่านั้น ก่อนหน้านี้ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้พยายามที่จะนำเสนอ หรือหากกล่าวอย่างชัดเจน

Read More

สัญญาณเตือนธุรกิจอสังหาฯ ระวัง!! ฟองสบู่แตก

การผุดขึ้นของที่อยู่อาศัยโครงการใหม่ๆ ในยุคปัจจุบันที่นับวันจะทวีจำนวนมากขึ้น ราวกับดอกเห็ดที่มักจะออกดอกในช่วงฤดูฝน การปักหมุดของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์กับโครงการใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่อาศัยแนวตั้งอย่างคอนโดมิเนียม ที่เรามักจะได้เห็นจนชินตาเสมือนทิวทัศน์ที่ประกอบส่วนไปตลอดตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าทุกสาย ชนิดที่เรียกได้ว่า มีโครงการคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นขนาบสองข้างของถนน เกิดคำถามที่ตามมาเพื่อให้บรรดานักวิเคราะห์ตลาดอสังหาฯ ได้ขบคิดกันต่อว่า ดีมานด์กับซัปพลายของที่อยู่อาศัยเหล่านี้มีความสมดุลกันจริงหรือไม่ ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจไทยบนรากฐานความเป็นจริงที่ว่า ยังอยู่ในช่วงของความไม่คงเส้นคงวานัก แต่หลายฝ่ายกำลังโหมกระพือบทวิเคราะห์และการคาดการณ์ในอนาคตว่า สถานการณ์เศรษฐกิจกำลังดีขึ้นนั้นก็เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดี โดยหวังจะสร้างแรงกระตุ้นในกลุ่มนักลงทุนที่กำลังอยู่ในช่วงของการพิจารณาตัดสินใจที่จะตบเท้าเข้ามาลงทุนธุรกิจในประเทศไทย กระนั้นตัวเลขที่น่าจะสร้างเสริมให้บรรยากาศทางเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในห้วงเวลาแห่งความอึมครึมนี้ กลับเป็นตัวเลขของการส่งออกที่ดูท่าว่าตัวเลขนี้จะทำให้ผู้ประกอบการพอจะยิ้มออกได้บ้าง เมื่อสำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยตัวเลขสถานการณ์การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2560 ล่าสุดว่า มีการขยายตัวร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรกมีแนวโน้มที่ดีขึ้น หากมองสถานการณ์ตลาดโดยรวมถือได้ว่าเติบโตร้อยละ 10-15 ทั้งนี้หลายหน่วยงานที่รับหน้าที่เป็นผู้วิเคราะห์ตลาด แสดงการคาดการณ์ไม่แตกต่างกันมากนักว่า ในครึ่งปีหลังภาพรวมของธุรกิจอสังหาฯ น่าจะยังมีช่องทางการเติบโตได้อยู่ ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่าทุกสถานการณ์ไม่ว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้ ทั้งปัจจัยด้านลบ ปัจจัยด้านบวก ที่จะเป็นตัวบอกหรือกำหนดทิศทางความเป็นไปได้ กระนั้นทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคต้องดำเนินธุรกิจและตัดสินใจซื้อหรือลงทุนในอสังหาฯ ด้วยความไม่ประมาท โดยปัจจัยที่น่าจะหนุนนำส่งเสริมให้แวดวงของอสังหาฯ ไทย มีทิศทางที่น่าจะมองหาความสดใสเจอนั้น น่าจะมาจากโครงการลงทุนด้านคมนาคมของรัฐบาลในปี 2560 ที่มีมากถึง 43 โครงการ ด้วยเงินลงทุนกว่า 1.77 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นโครงการในแผนการลงทุนเดิมปี 2560 จำนวน 36 โครงการ

Read More

ปิดฉากยกแรก มหากาพย์ “ศรีสวัสดิ์”

ในที่สุด ศาลฎีกามีคำพิพากษายกฟ้องกรณีบริษัทเงินติดล้อ จำกัด หรือชื่อเดิม “บริษัทซีเอฟจี จำกัด” เป็นโจทก์ยื่นฟ้องกล่าวหา บริษัทศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ เลียนแบบเครื่องหมายการค้าบริการคำว่า “ศรีสวัสดิ์” แต่ใช่ว่า มหากาพย์การช่วงชิงแบรนด์ที่กินเวลายาวนานหลายปีจะจบลงง่ายๆ เนื่องจากฝ่ายบริษัท ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ จำกัด เตรียมหาแนวทางฟ้องกลับบริษัท เงินติดล้อ จำกัด เปิดสงครามรอบใหม่อีกครั้งหนึ่ง ดวงใจ แก้วบุตตา ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ จำกัด กล่าวว่า ที่ผ่านมามีความพยายามนำเสนอข่าวมาตลอดว่า บริษัทศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ฯ มีพฤติกรรมลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าบริการ รวมทั้งมีข่าวออกมาเป็นระยะๆ จะรื้อถอน ปลดป้าย ของบริษัท ทำให้ลูกค้าและคนทั่วไปสับสน และบริษัทเสื่อมเสียชื่อเสียง “จากคำตัดสินของศาลพิสูจน์แล้ว เราไม่ผิด ไม่ได้มีพฤติกรรมที่สร้างความสับสนให้ผู้บริโภค เราสามารถใช้คำว่า ศรีสวัสดิ์ ได้ ซึ่งการถูกฟ้องและให้ข่าวฝ่ายเดียวของบริษัทเงินติดล้อ จำกัด สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง ทั้งบริษัทและรายบุคคลที่ถูกกล่าวหา รวมทั้งผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งหมดเตรียมจะฟ้องกลับด้วย” ทั้งนี้ บริษัทศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ฯ

Read More

เร่งเครื่อง Debt Clinic ภารกิจล้างหนี้แสนล้าน

รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา งัดปฏิบัติการล้างหนี้นอกระบบและลดหนี้ครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเปิดโครงการสินเชื่อรายย่อยเพื่อผู้ประกอบอาชีพ (นาโนไฟแนนซ์) โครงการสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (พิโกไฟแนนซ์) จนล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตัดสินใจกดปุ่มเริ่มงาน “คลินิกแก้หนี้ (Debt Clinic)” เมื่อวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยตั้งเป้าแก้ปัญหาหนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด และหนี้ส่วนบุคคลของลูกหนี้ที่มีหนี้หลายทางและค้างชำระเกิน 3 เดือน หวังล้างหนี้ครั้งใหญ่ของลูกหนี้จำนวน 5 แสนราย มูลค่ามากกว่า 1 แสนล้านบาท ตามแผนของ ธปท. “คลินิกแก้หนี้” มีบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (SAM) หรือ บสส.ทำหน้าที่บริหารจัดการทั้งหมด หรือ “One Stop Service” เชื่อมโยงระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้แบบครบวงจร ตั้งแต่ตรวจคุณสมบัติลูกหนี้ที่ยื่นเข้าโครงการ เจรจาหารือ พิจารณาปรับปรุงโครงสร้างหนี้-รับชำระหนี้ การติดตามรายงานผลต่อเจ้าหนี้ รวมถึงเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาความรู้ ปรับพฤติกรรมการใช้จ่าย เพื่อสร้างวินัยทางการเงิน นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ

Read More

“SAWAD” พลิกสินเชื่อห้องแถว ลุย “สถาบันการเงินทางเลือก”

การปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ของ “กลุ่มศรีสวัสดิ์” ในรูปแบบโฮลดิ้งคอมปะนีและจัดตั้งกลุ่มธุรกิจการเงินภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยกระดับจากสินเชื่อห้องแถวหรือ “ร้านสะดวกซื้อทางการเงิน” เป็น “สถาบันการเงินทางเลือก” แบบครบวงจร สะท้อนการแข่งขันที่ร้อนแรงในธุรกิจสินเชื่อรายย่อยและมูลค่าเม็ดเงินจำนวนมหาศาล ธิดา แก้วบุตตา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปรียบเทียบว่า ถ้าดูตัวเลขจำนวนรถยนต์ทุกประเภทที่จดทะเบียนในประเทศไทยทั้งหมดกว่า 36 ล้านคัน แต่มีรถยนต์ที่ทำสัญญาเงินกู้กับเราแค่ 4 แสนกว่าคัน นั่นหมายถึงโอกาสการขยายตลาดอีกหลายเท่าตัว ทั้งนี้ ระยะเวลากว่า 38 ปี นับตั้งแต่ ฉัตรชัย แก้วบุตตา ตัดสินใจเปิดธุรกิจปล่อยเงินกู้ด้วยวิธีจำนำทะเบียนรถเป็นหลักประกัน เริ่มจาก “บริษัท ศรีสวัสดิ์ เพชรบูรณ์” ให้บริการสินเชื่อในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยใช้วิธีเดินสายไปยังพื้นที่ชุมชนต่างๆ ตั้งสำนักงานห้องแถวเจาะถึงกลุ่มลูกค้า อาศัยจุดขายเรื่องการจัดระบบการให้สินเชื่อ มีหลักฐานสัญญาชัดเจน และกลยุทธ์สำคัญ คือ เจรจาผ่อนผันการชำระได้ เพียงไม่กี่ปี ศรีสวัสดิ์เติบโตอย่างรวดเร็วและปูพรมสาขาทั่วประเทศ จนกระทั่งเข้าสู่ยุคธุรกิจสินเชื่อรายย่อยที่ผู้เล่นรายใหญ่และกลุ่มแบงก์พาณิชย์แห่เข้ามาช่วงชิงตลาด “สินเชื่อรถแลกเงิน” บวกกับเจอวิกฤตการณ์ทางการเงินหลายครั้ง ทำให้ฉัตรชัยต้องปรับโครงสร้างธุรกิจหลายรอบ พร้อมๆ

Read More

บี.กริม เดินเครื่องดับบลิวเอชเอ 1 รองรับอุตสาหกรรมขยายตัว

“จากการคาดการณ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยน่าจะมีการขยายตัวจากปี 2559 ประมาณ 3-4 เปอร์เซ็นต์” ปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าว และนี่เองที่น่าจะเป็นอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญในการเปิดเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม บี.กริม เพาเวอร์ ดับบลิวเอชเอ 1 ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราช จังหวัดชลบุรี เมื่อช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา การเลือกพื้นที่ก่อตั้งโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมของ บี.กริม ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช ดูจะประจวบเหมาะกับแผนนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลพยายามอย่างเต็มที่ที่จะผลักดันเมืองชายแดนให้มีความกระเตื้องด้านเศรษฐกิจมากกว่าที่เป็นอยู่ จนท้ายที่สุด ภายใต้การนำทัพของหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจอย่าง ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development: EEC) ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ด้วยเป้าหมายที่ประชาชนทั้งประเทศได้ยินแต่ยังไม่เข้าใจเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ถึงความหมายที่แท้จริงเกี่ยวกับการนำประเทศไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0 ที่หวังว่านโยบายดังกล่าวจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนชาวต่างชาติ อีกทั้งยังเป็นการนำไปสู่แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ที่สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เพื่อรองรับการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมหลัก เป้าหมายที่รัฐบาลเรียกขานว่า First S-curve

Read More

Future Energy บนทางเลือกพลังงานไทย

บทบาทของกระทรวงพลังงานในบริบทของสังคมไทยในช่วงที่ผ่านมา ดูจะมีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจติดตามไม่น้อย เพราะนอกจากจะมีประเด็นร้อนว่าด้วย ความพยายามจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ (NOC) ไว้ในส่วนหนึ่งในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก่อนที่การประชุมสนช. เมื่อช่วงปลายมีนาคมจะมีมติให้กระทรวงพลังงานจัดตั้งคณะกรรมการศึกษาการจัดตั้ง NOC ภายใน 60 วันและต้องรู้ผลภายใน 1 ปี การมองหารูปแบบของ NOC ที่เหมาะสมและเป็นไปได้อย่างสอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย ทำให้คณะของเจ้ากระทรวงพลังงานไทยต้องเดินทางไปศึกษาดูงานด้านพลังงานไกลถึงนอร์เวย์และเดนมาร์กเมื่อช่วงกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ภารกิจหลักของการดูงานที่นอร์เวย์และเดนมาร์กดังกล่าว แม้ด้านหนึ่งจะเน้นหนักไปที่การหาต้นแบบหรือโมเดลของ NOC ในการบริหารจัดการทรัพยากร และสัมปทานปิโตรเลียม แต่อีกมิติหนึ่งก็คือการแสวงหาหนทางและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพื่อเติมเต็มและพัฒนาไปสู่ทางเลือกของพลังงานทดแทนอื่นๆ ทั้งพลังงานลม ขยะ พลังงานความร้อน ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ นับตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน-10 กันยายน กระทรวงพลังงานกำลังจะไปแสดงศักยภาพการพัฒนาพลังงานชีวภาพของประเทศไทย ในงาน Astana Expo 2017 ณ กรุงอัสตานา สาธารณรัฐคาซัคสถาน ที่จัดขึ้นภายใต้หัวข้อหลัก “พลังงานแห่งอนาคต” (Future Energy) และหัวข้อย่อยว่าด้วย “Solutions for Tackling Humankind’s Greatest

Read More

บี.กริม รุกคืบจาก CLMV สู่ AEC ยุทธศาสตร์แห่งการพัฒนา

หลังการสร้างความเชื่อมั่นด้วยชื่อชั้นของบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ ที่ดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 100 ปี ประกอบกับการเลือกหมากในการเดินเกมธุรกิจในแต่ละครั้งได้ถูกจังหวะ แม้ว่าเคยล้มลุกคลุกคลานและเจ็บตัวมาไม่น้อยในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 กลับไม่ทำให้ความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจลดทอนลงไปแม้แต่น้อย แม้ในช่วงยามนี้ที่ภาวะเศรษฐกิจของไทยยังมองหาเสถียรภาพมั่นคงได้ยากเต็มที กระนั้น บี.กริม ยังคงมุ่งมั่นที่จะขยายธุรกิจโรงไฟฟ้าต่อไป ด้วยยุทธศาสตร์การเลือกทำเลที่ตั้งของโครงการที่นับว่าเป็นการสร้างข้อได้เปรียบให้กับตัวเองไม่น้อย ท่ามกลางสภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมธุรกิจการไฟฟ้าที่มีทั้งคู่แข่งขันที่เป็นเจ้าตลาดยึดครองพื้นที่ส่วนแบ่งอยู่เดิม และนักลงทุนหน้าใหม่ที่เริ่มเสนอตัวเข้ามาในสนามประลองแห่งนี้ด้วย บี.กริม เพาเวอร์ เลือกปักหมุดโรงไฟฟ้า 13 ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมของไทยและเวียดนาม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ สวนอุตสาหกรรมบางกะดี นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมเหมราช และนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ เบียนหัว ความมั่นใจในศักยภาพและผลงานของ บี.กริม ดูจะเข้าตาบรรดานักลงทุนจากต่างแดน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านไม่น้อย ที่อาจเป็นก้าวย่างสำคัญที่ถือได้ว่าเป็นการปลดล็อกและเปิดโอกาสให้บี.กริม ที่เรียกตัวเองว่าเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก ได้เข้าไปเป็นผู้ถือสัมปทานและพัฒนาโรงไฟฟ้าในกลุ่มประเทศ CLMV โดยเฉพาะใน สปป.ลาว ที่ความเอื้ออำนวยของทรัพยากรและเป้าประสงค์ของรัฐบาลลาวที่ต้องการจะเป็น Battery of Asean ทำให้บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ ได้เข้าไปรับผิดชอบโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำใน สปป.ลาวได้หลายโครงการด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเพราะปณิธานของผู้บริหารอย่าง ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานกลุ่มบริษัท บี.กริม

Read More

“เอ็มบาสซี” 24 ชั่วโมง ดัน Open House ดึงเจนใหม่

“เซ็นทรัลเอ็มบาสซี” ฝ่าฟันมรสุมกว่า 3 ปี จากวิสัยทัศน์ของกลุ่มเซ็นทรัลที่ต้องการปักธงประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยวแบบ “ลักชัวรี่ ไลฟ์สไตล์” เน้นรูปแบบโครงการสไตล์สถาปัตยกรรมเชิงสัญลักษณ์ (Iconic Building) เทียบชั้นมหานครทั่วโลกที่มีงานสถาปัตยกรรมเลื่องชื่อ เหมือนพิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮมน์ บิลเบา แห่งสเปน เบิร์จ อัล อาหรับ ดูไบ มารีนา เบย์ แซนด์ สิงคโปร์ และสปรูซ สตรีท แห่งนิวยอร์ก โดยหวังจะปลุกปั้น “เซ็นทรัลเอ็มบาสซี่” เป็นสัญลักษณ์แห่งเมืองที่หากไม่มาชมก็เหมือนมาไม่ถึง เพราะโจทย์การตลาดระดับซูเปอร์ไฮเอนด์ทำให้การเข้าถึงกลุ่มลูกค้ายากขึ้นบวกกับสถานการณ์ต่างๆ ของประเทศ ซึ่งบรม พิจารณ์จิตร ในฐานะกรรมการผู้จัดการ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเอ็มบาสซี ยอมรับว่าเขาต้องสร้างกลยุทธ์ เขย่าสัดส่วนต่างๆ และเติมเต็มทุกองค์ประกอบ เพื่อขยายฐานลูกค้าระดับพรีเมียมและคนรุ่นใหม่ที่มีกำลังซื้อ กระทั่งงานแถลงข่าว Central Embassy Completion เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา บรมประกาศชัดเจนว่า วันนี้เซ็นทรัลเอ็มบาสซีครบสมบูรณ์แล้ว และนั่นอาจหมายถึงเกมการต่อยอดสู่บิ๊กโปรเจ็กต์ของกลุ่มเซ็นทรัลบนที่ดินสถานทูตอังกฤษอีกกว่า 10,000 ตารางวา ซึ่งกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่กำลังเปิดศึกประมูลแย่งชิงกันอยู่ “ปลายปีที่ผ่านมาจนถึงล่าสุด เซ็นทรัลเอ็มบาสซีเปิดตัวพื้นที่ใหม่ 3 โซน

Read More