Home > 2014 (Page 29)

“สยามฟิวเจอร์” รีโนเวตใหญ่ งัดมาสเตอร์แพลนสกัดคู่แข่ง

 “นพพร วิฑูรชาติ” สวมบทเสือซุ่มอยู่นาน 2 ปี ปล่อยให้คู่แข่ง ทั้งยักษ์ใหญ่ค้าปลีก บริษัทอสังหาริมทรัพย์และเจ้าของที่ดินมือใหม่ เปิดเกมขยายแนวรบธุรกิจคอมมูนิตี้มอลล์อย่างดุเดือด ล่าสุด เจ้าพ่อไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์ประกาศลั่นกลองรบรีโนเวตสาขาในเครือข่ายครั้งใหญ่ ปรับมาสเตอร์แพลนการดำเนินธุรกิจ เน้นการวางกลยุทธ์การตลาดที่เข้มข้นขึ้น เสริมแม็กเน็ตตัวเด็ดๆ และขยายสาขาใหม่ในทำเลที่มีศักยภาพ โดยประเดิมปรับโฉมศูนย์การค้าเอสพลานาด รัชดาภิเษก ภายใต้แนวคิด The Best Art & Entertainment Complex 2014  แน่นอนว่า เหตุผลข้อสำคัญของการเลือก “เอสพลานาด” เป็นจุดยุทธศาสตร์แรกในสงครามคอมมูนิตี้มอลล์ ไม่ใช่เพียงแค่การเปิดให้บริการครบ 7 ปี  แต่ทำเลรัชดาภิเษกกลายเป็น “ไข่แดง” และเขตธุรกิจทำเลทองแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ กลายเป็นศูนย์รวมย่านธุรกิจ ตลาดหลักทรัพย์ บริษัทยักษ์ใหญ่ โครงการคอนโดมิเนียม คอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ โรงแรมระดับ 5 ดาว สถานบันเทิง มีเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดิน และที่สำคัญการเปิดศูนย์การค้าเซ็นทรัลพระราม 9 ที่ถือเป็นคู่แข่งหลักช่วงชิงลูกค้าตั้งแต่ต้นทางหัวมุมถนนรัชดาภิเษก ขณะที่ “เอสพลานาด” เจอผลพวงปัญหาธุรกิจฟิตเนส “แคลิฟอร์เนีย ว้าว”

Read More

สนามกอล์ฟ…ชุมชน

 ขออนุญาตย้อนหลังกลับมาพูดเรื่อง “กอล์ฟ” อีกสักครั้ง เพราะเวลาที่พูดถึงกีฬา “กอล์ฟ” ในสังคมไทย อาจทำให้หลายคนนึกถึงหรือติดภาพลักษณ์ว่ากีฬาชนิดนี้เป็นกีฬาของผู้มีอันจะกิน มีปัจจัยของความมีราคาแพง และการพยายามยกสถานะทางสังคมประกอบอยู่ในการเล่นกีฬาชนิดนี้อยู่ไม่น้อย นอกจากนี้ การสร้างสนามกอล์ฟส่วนใหญ่ในเมืองไทย ยังมีประเด็นเกี่ยวเนื่องถึงเรื่องความเป็นธรรม ในการกระจายทรัพยากร และข้อถกเถียงเกี่ยวกับทำลายสิ่งแวดล้อมอยู่ด้วยเช่นกัน  แม้ว่าในปัจจุบัน จำนวนคนไทยที่หันมาเล่นกีฬากอล์ฟจะขยายตัว และกระจายไปยังคนกลุ่มต่างๆ เพิ่มขึ้นบ้าง แต่ภาพลักษณ์ของ “กอล์ฟ” กับการเป็นกีฬาที่จับต้องได้ หรือการเป็นวิถีของประชาชนทั่วไปในสังคมไทย นับว่ายังอยู่ค่อนข้างห่างไกลจากจุดดังกล่าว แต่สำหรับในญี่ปุ่นแล้ว กีฬากอล์ฟ ไม่ได้ให้ภาพที่พิเศษหรือสถานะทางสังคมที่แตกต่างจากกีฬาชนิดอื่นๆ ในญี่ปุ่นเลยนะคะ              ขณะที่การสร้างสนามกอล์ฟในหลายกรณี กลับยิ่งต้องเน้นความสำคัญของการออกแบบให้มีส่วนช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และใช้ประโยชน์ในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุดอีกด้วย วิธีการจัดการแบบญี่ปุ่นนี่เอง ที่ถือเป็นกุญแจสำคัญ และน่าจะเป็นกรณีศึกษาที่นำมากล่าวถึงไว้ในที่แห่งนี้ พื้นที่รอบอ่าวโตเกียว เป็นตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจในกรณีที่ว่านี้ เพราะนอกจากพื้นที่โดยรอบซึ่งเป็นเกาะที่สร้างขึ้นโดยฝีมือมนุษย์จากการถมขยะเพื่อขยายพื้นที่ให้กับเขตอุตสาหกรรมแล้ว พื้นที่ส่วนหนึ่งยังถูกกันไว้เป็นสวนสาธารณะ และสนามกอล์ฟอีกด้วย โดยเฉพาะพื้นที่ที่ต้องรับลมและคลื่นจากทะเล จากพื้นที่เสี่ยงภัยจึงแปลงสภาพมาเป็นแหล่งสันทนาการไปโดยปริยาย ซึ่งรวมถึงสนามกอล์ฟ ที่มีสถานะเป็นสนามกอล์ฟชุมชนไปด้วย ที่ผู้เขียนใช้คำว่าสนามกอล์ฟชุมชน ก็เพราะว่าสนามกอล์ฟในพื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่ บริหารจัดการโดยองค์กรบริหารระดับท้องถิ่น ซึ่งอาจบริหารเองในรูปแบบสวัสดิการชุมชน หรือให้สัมปทานผู้ประกอบการในท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ แต่เน้นว่าผลประโยชน์จะต้องกลับมาสู่ชุมชนเป็นหลัก สนามกอล์ฟชุมชนที่ว่านี้ ส่วนใหญ่อยู่ตามแนวเส้นทางของคลองหรือทางน้ำสายย่อยๆ ซึ่งมีทำนบกั้นอย่างดี แต่ในบางช่วงของปีอาจมีน้ำหลากท่วมท้นพื้นที่ขึ้นมา

Read More

กันยงปรับกลยุทธ์ เพิ่มฐานผลิตในไทย มุ่งสู่ตลาด AEC

 ชายหนุ่มเชื้อสายจีน ชื่อ นายเฮี๊ยบ กิมเหลียง จากเกาะฟอร์โมซา (ไต้หวัน) เดินทางหนีความแร้นแค้นเข้ามาต่อสู้ในเมืองไทย ยุคเสื่อผืนหมอนใบ เริ่มนับหนึ่งจากการเป็นลูกจ้างในร้านซ่อมจักรยานเล็กๆ ใช้ทักษะในอาชีพ บวกกับความขยัน มัธยัสถ์ อดออม สะสมเงินทุนมาเปิดร้านขายยางรถยนต์ ยี่ห้อโยโกฮาม่า ซึ่งนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น รู้จักกับนักธุรกิจชาวญี่ปุ่นจำนวนมาก และชักนำเข้าสู่วงการธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า  เมื่อปี พ.ศ. 2507 สิทธิผล โพธิวรคุณ (เฮี๊ยบ กิมเหลียง) และเพื่อนๆ ได้ร่วมกับบริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค คอร์เปอร์เรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งบริษัท กันยงอีเลคทริก แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ขึ้น (ชื่อในขณะนั้น) ผลิตพัดลมไฟฟ้ายี่ห้อ “มิตซูบิชิ อีเล็คทริค” โดยมีโรงงานตั้งอยู่ที่ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ บนพื้นที่เพียง 6 ไร่ ด้วยจำนวนพนักงานเพียง 50 คน ซึ่งถือได้ว่าเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าแห่งแรกในต่างประเทศ ที่บริษัท

Read More

ลิเบอราชี

 ช่อง 4 บางขุนพรหมเป็นโทรทัศน์ช่องแรกที่รู้จัก ต่อมาย้ายมาอยู่บางลำพู เปลี่ยนชื่อเป็นช่อง 9 แล้วจึงมาถึงยุค อสมท. เป็นยุคที่ได้ชมรายการดีๆ จากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายการบันเทิงและเพลง จึงได้ชมรายการโชว์ของแพ็ตตี เพจ (Patti Page) ดอริส เดย์ (Doris Day) เอ็ดมุนโด รอส (Edmundo Ros) เจมส์ ลาสต์ (James Last) แอนดี้ วิลเลียมส์ (Andy Williams) ทอม โจนส์ (Tom Jones) เองเกลเบิร์ต ฮัมเพอร์ดิงค์ (Engelbert Humperdinck) ฯลฯ และรายการหนึ่งที่ชอบมากคือโชว์ของลิเบอราชี (Liberace) ชื่อลิเบอราชีให้ความรู้สึกว่าน่าจะมีเชื้อสายอิตาเลียน แล้วก็เป็นจริงตามนั้น ด้วยว่าพ่อของเขาเป็นชาวอิตาเลียนที่อพยพมายังสหรัฐอเมริกา ส่วนแม่เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายโปแลนด์ แม่ชื่นชอบดารารูปหล่ออย่างรูดอลฟ์ วาเลนติโน (Rudolph Valentino) จึงตั้งชื่อกลางให้ลูกชายว่า

Read More

BGH ปรับกลยุทธ์สู้ศึกรอบด้าน ดัน “เทเลแคร์คลินิก” ฮุบรากหญ้า

เครือกรุงเทพดุสิตเวชการ หรือกลุ่ม BGH ต้องปรับกระบวนทัพครั้งใหญ่ เพื่อสู้ศึกรอบด้าน ทั้ง “ศึกใน “จากการชุมนุมทางการเมืองของมวลมหาประชาชนภายใต้การนำของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรือ กปปส. ที่ยืดเยื้อยาวนานหลายเดือน ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อภาวะเศรษฐกิจ จำนวนลูกค้าทั้งคนไทย ต่างชาติ และ “ศึกนอก” ที่มีเครือข่ายโรงพยาบาลต่างชาติประกาศปักธงรุกขยายตลาดเข้าสู่อาเซียน รวมถึงแถบเอเชียแปซิฟิก  แม้ด้านหนึ่ง กลุ่ม BGH ต้องถอยหลายก้าว เลื่อนเป้าหมายการขยายเครือข่ายโรงพยาบาลครบ 50 แห่งทั่วประเทศไทยและอาเซียนภายในปี 2558 ออกไปอีกอย่างน้อย 2-3 ปี เพื่อรอดูสถานการณ์ต่างๆ รวมทั้งประกาศนโยบายการดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบมากขึ้นและเน้นการบริหารต้นทุน เพื่อรักษาอัตราผลกำไรให้สวยงาม  แต่อีกด้านหนึ่ง มรสุมและปัจจัยเสี่ยงที่รุมเร้ากลับสอดรับกับแนวทางใหม่ของกลุ่ม BGH  การพุ่งเป้าเจาะตลาดรากหญ้า โดยใช้โมเดลธุรกิจใหม่ สร้างและขยาย “คลินิกชุมชน” เป็นกลไกเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลแม่ทั้ง 5 แบรนด์  คือ กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ กลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช โรงพยาบาลบีเอ็นเอช กลุ่มโรงพยาบาลพญาไท และกลุ่มโรงพยาบาลเปาโล โรงพยาบาลในเครือข่ายที่กลุ่ม BGH ซื้อกิจการและลงทุนสร้างให้เป็นโรงพยาบาลระดับกลางเจาะชุมชนใหม่ หรือหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด

Read More

“แมงป่อง” ดิ้นเพื่ออยู่รอด รีเฟรชบุก “ไลฟ์สไตล์ช็อป”

 หลังจากเงียบหายไปจากตลาดธุรกิจโฮมเอนเตอร์เทนเมนต์นานหลายปี เจอฤทธิ์แผ่นผีอาละวาดหนักจนต้องปิดสาขาทั่วประเทศ จากยุคเฟื่องฟูที่เคยปูพรมเกือบ 400 แห่ง เหลือเพียง 36 แห่ง ล่าสุด เจ้าแม่แมงป่อง กิตติ์ยาใจ ตรีเอกวิจิตร หวนคืนวงการในฐานะ “ยานแม่” ส่ง “ยานลูก” สองพี่น้อง ณลันรัตน์ นันท์นนส์ และปิยวรรพ์ทา ตรีเอนกวนิศ แตกไลน์ธุรกิจไลฟ์สไตล์ช็อป “กิซแมน (Gizman)” ซึ่งไม่ใช่แค่แผนกดปุ่มรีเฟรชธุรกิจ “แมงป่อง” ให้กลับมาชีวิตชีวาและเพิ่มพิษในตัว แต่ยังเป็นการดิ้นเพื่ออยู่รอด โดยหวังจะกลับมาผงาดในฐานะผู้นำธุรกิจรีเทลกลุ่ม Lifestyle Gedget ภายใน 5 ปี  ตามโรดแมพใหม่ของยานแม่ Gizman จะเป็นตัวสร้างรายได้หลัก ค่อยๆ แซงหน้าร้านแมงป่อง และผลักดันรายได้รวมจากปัจจุบันเฉลี่ย 700 ล้านต่อปี พุ่งพรวดเป็น 3,000 ล้านบาทต่อปี  กิตติ์ยาใจ ตรีเอกวิจิตร ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท แมงป่อง 1989 จำกัด

Read More

RAMEN

 เรื่องแปลกแต่จริงเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นแทบทุกครั้ง เวลาที่มีโอกาสได้ให้การต้อนรับอาคันตุกะจากเมืองไทยที่ไปเยี่ยมเยือนครอบครัวเรา ก็คือนอกจาก Sushi จะเป็นอาหารที่ทุกคนนึกถึงและขอโอกาสไปลิ้มลองลำดับต้นๆ ในฐานะเป็นสินค้าพื้นเมืองของญี่ปุ่นแล้ว อาหารยอดนิยมอีกชนิดหนึ่งก็เห็นจะเป็น Ramen ที่ทุกคณะต้องขอให้พาไปลิ้มชิมรส ที่บอกว่าแปลกก็เพราะโดยส่วนตัวมีความสงสัยอยู่เสมอว่าทำไมพี่น้องผองเพื่อนจึงโปรดปราน Ramen ในญี่ปุ่นกันนัก และคิดนึกเอาเองว่าพวกเขาน่าจะเบื่อระอากับบะหมี่และก๋วยเตี๋ยวที่มีอยู่อย่างดาษดื่นตามทุกหัวถนนในเมืองไทยกันแล้ว อีกทั้ง Ramen ก็ไม่น่าจะเป็นตัวแทนของอาหารในเชิงวัฒนธรรมของญี่ปุ่นที่ชัดเจน ซึ่งพวกเขากำลังเสาะแสวงหามากนักและออกจะเป็นภาพสะท้อนอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนกันเสียมากกว่า การเคลื่อนตัวของ Ramen จากจีนเข้าสู่ญี่ปุ่นยังเป็นที่ถกเถียงไม่น้อยว่าเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด ขณะที่ชื่อเรียก Ramen ก็ดำเนินไปท่ามกลางสมมุติฐานมากมายว่าแผลงหรือเพี้ยนเสียงมาจากคำเรียกขานชนิดใดแบบไหนกันแน่ ซึ่งสมมุติฐานทั้งหมดก็พยายามอธิบายว่าทำไม Ramen จึงถูกเรียกว่า Ramen ทั้งในฐานะที่เป็นคำบอกคุณลักษณะของเส้น วิธีการปรุง หรือแม้กระทั่งอากัปกิริยาในการปรุงเลยทีเดียว แต่ชื่อเรียกที่ดูจะจริงจังกว่าของ Ramen เกิดขึ้นในช่วงต้นของ Meiji นี่เอง โดยชื่อเรียก Ramen ในสมัยนั้นบ่งบอกที่มาของ Ramen ไว้อย่างชัดเจนว่า Shina soba หรือ Chuka soba ซึ่งหมายถึงก๋วยเตี๋ยวจีน อย่างตรงไปตรงมา ความนิยมของ Ramen ในช่วงเวลาดังกล่าวดำเนินไปอย่างจำกัด ก็เพราะ Ramen เป็นอาหารที่พบได้เฉพาะในภัตตาคารและร้านอาหารจีนเท่านั้น เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในอาหารขึ้นเหลากันเลยก็ว่าได้ แต่เมื่อมาถึงสมัย Showa สถานะของการเป็นอาหารขึ้นห้างของ

Read More

เจมาร์ท มั่นใจธุรกิจ ขยายสู่หัวเมืองรับ AEC

 “ถือว่าเป็นครั้งแรกในการจัดงานลักษณะนี้ เพราะเคยสัญญาว่าถ้ารายได้ของกลุ่มแตะ 10,000 ล้านบาท จะจัดงานแบบนี้ขึ้นมา” คำกล่าวเปิดงาน เสมือนประกาศความสำเร็จของอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจมาร์ท จำกัด (มหาชน) ในงานแถลงนโยบายและทิศทางธุรกิจของบริษัทเจมาร์ท เมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ธุรกิจที่เติบโตมาจากตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า และก้าวเข้ามาสู่ธุรกิจมือถืออย่างอย่างเต็มตัว ตั้งแต่ปี 2538 ล่วงเลยมาขึ้นปีที่ 25ในปีนี้ ธุรกิจร้านค้าโทรศัพท์มือถือแบบเชนสโตร์ของเจมาร์ทที่เริ่มจากขยายร้านค้าทีละ 2-3 แห่ง จนกระทั่งถึงปัจจุบัน  เจมาร์ทได้ก้าวขึ้นมาครองความเป็นเบอร์หนึ่งของธุรกิจร้านค้าโทรศัพท์มือถือ ด้วยจำนวนสาขา 255 แห่ง และคาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะเพิ่มให้ได้ 300 สาขาทั่วประเทศ  “25 ปี ในความรู้สึกของคนไทยจะดีหรือไม่ดี แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จวบจน 25 ปีนี้ บริษัทเราพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว เพราะธุรกิจของเรามีองค์ประกอบ 2 อย่างที่เป็นจุดเด่น คือ 1. Capacity (ความจุ) และ 2. Speed (ความเร็ว) ซึ่งถ้าคุณมี 2 อย่างนี้ คุณจะไปได้ไกลกว่าคู่แข่ง”

Read More

“Content Provider” แบบกันตนา “Play Safe” ในสมรภูมิดิจิตอลทีวี (เฟสแรก)

 การประมูลทีวีดิจิตอลครั้งประวัติศาสตร์ของไทยก็ได้ปิดฉากลงเมื่อปลายที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าสงครามครั้งนี้จะไม่มีคราบความเสียใจของผู้ผิดหวัง ตรงกันข้าม ผ่านปี 2557 เพียงไม่ถึงเดือน กลับกลายเป็นว่ามีหลายความเห็นมองว่าผู้ชนะการประมูลบางรายอาจต้องเหนื่อยหนักเพียงเพื่อให้เป็น “ผู้อยู่รอด” ในสมรภูมิดิจิตอลทีวีเฟสแรก เพราะไหนจะต้องแบกต้นทุนค่าใบอนุญาตแสนแพง ไหนยังต้องมีค่าบริการโครงขาย (MUX) เพื่อส่งสัญญาณไปต่างจังหวัด และค่าเช่าสัญญาณดาวเทียมไทยคมเพื่อให้เป็นไปตามกฎ Must Carry ของ กสทช. ไหนจะต้องเจอคู่แข่งฟรีทีวีในระบบดิจิตอล 24 ช่อง บวกกับฟรีทีวีระบบอะนาล็อก 6 ช่อง และยังมีช่องดาวเทียมอีกนับไม่ถ้วน ขณะที่คาดการณ์กันว่าเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อทีวีอาจไม่โตขึ้น หลังจัดเรียงแนวรบทีวีดิจิตอลครบทั้ง 24 ช่อง สิ่งที่ “เจ้าของช่อง” ต้องรีบดำเนินการต่อไปคือ การเตรียม “คอนเทนต์” เพื่อสามารถออกอากาศให้ได้ภายในเมษายนที่จะถึงนี้ ซึ่งไม่ใช่ว่าจะหยิบรายการอะไรมายำใส่ในผังรายการได้เหมือนก่อน เพราะในสงครามดิจิตอลทีวี ผู้ชมมีทางเลือกเพิ่มขึ้นมากมาย นี่เป็นชนวนให้เกิด “ศึก” แย่งชิงตัวผู้ผลิตคอนเทนต์/รายการแถวหน้าขึ้นเล็กๆ   “การเปิดช่องทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจ  24 ช่อง หมายถึงต้องผลิตรายการ 2 แสนรายการต่อปี ฉะนั้นการแข่งขันมันจะรุนแรง แต่ไม่ใช่แบบฟรีทีวียุคก่อนที่ผู้ผลิตคอนเทนต์ต้องวิ่งเข้าหาสถานีเพื่อขาย “ของ” แต่ยุคทีวีดิจิตอล เจ้าของช่องต้องมาตามตัวผู้ผลิตคอนเทนต์ให้ไปทำ

Read More

มารดาที่อยู่ในระหว่างการตั้งท้องและการคลอดลูก มีอัตราการเสียชีวิตสูงสุดในอเมริกา

 เรื่องนี้กลายเป็นที่ค่อนข้างน่าตกใจเมื่อองค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่า ประเทศอเมริกาเป็นประเทศที่มีอัตราการตายของมารดาในระหว่างการตั้งครรถภ์และการคลอดลูกสูงที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่พัฒนาแล้ว องค์การอนามัยโลกยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา คือตั้งแต่ปี 2543 ถึงปี 2553 ประเทศอื่นๆ มีอัตราการตายของมารดาในระหว่างการตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน แต่ประเทศอเมริกากลับมีอัตราการตายของมารดาที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าคือ ในจำนวนเด็กที่เกิดมาหนึ่งแสนคน จะมีมารดาที่เสียชีวิตระหว่างการตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรถึง 21 คน  ถึงแม้ว่าประเทศอเมริกาจะมีอัตราการตายของมารดาในระหว่างที่ตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรสูงแล้ว ยังมีเรื่องที่น่าตกใจกว่าคือ ผู้หญิงผิวดำในอเมริกาหรือผู้หญิงที่มีสัญชาติแอฟริกันอเมริกันนั้นจะมีอัตราการตายของมารดามากกว่าผู้หญิงผิวขาวหรือผู้หญิงสัญชาติอเมริกันสามถึงสี่เท่า ซึ่งอัตราการตายที่มากขนาดนี้ไม่ได้มีการลดลงเลยตั้งแต่ปี 2483 ซึ่งอัตราการตายเหล่านี้ถือเป็นการตายที่สามารถหลีกเลี่ยงได้หากมารดาที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์หรือคลอดบุตรได้รับการรักษาที่ถูกวิธี สถานการณ์การตายของมารดาผิวดำนี้ยิ่งแย่ลงไปอีกตามรัฐและเมืองใหญ่ๆ ในประเทศอเมริกา เพราะตามรัฐและเมืองใหญ่ๆ นั้น อัตราการเสียชีวิตของมารดาที่เป็นคนผิวดำนั้นจะยิ่งสูงมากขึ้นไปอีก  ยกตัวอย่างเช่น อย่างที่รัฐเทกซัส อัตราการเสียชีวิตของมารดาระหว่างที่ตั้งครรภ์และคลอดบุตรเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่าในช่วงเวลา 15 ปีที่ผ่านมา เมื่อปี 2539 ในจำนวนเด็ก 100,000 คน จะมีมารดาเสียชีวิต 6 คน ในขณะที่ในปี 2553 ในจำนวนเด็กที่เท่ากันมีมารดาที่เสียชีวิตถึง

Read More