Home > Vanida Toonpirom (Page 24)

Staycation หย่อนใจ ใกล้บ้าน

การท่องเที่ยวถือเป็นกิจกรรมในการพักผ่อนหย่อนใจที่เป็นที่โปรดปรานของใครหลายๆ คน แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน ทำให้การเดินทางมีข้อจำกัด อีกทั้งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ยังส่งผลให้เราต้องหันมารัดเข็มขัดและคุมเข้มกับการจับจ่ายใช้จ่ายกันมากขึ้น รูปแบบการท่องเที่ยวจึงต้องปรับเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน เที่ยวใกล้บ้าน เดินทางง่าย สบายกระเป๋า ตามสไตล์ “Staycation” จึงกลายมาเป็นตัวเลือกที่กำลังมาแรงในหมู่คนชอบเที่ยวอยู่ในขณะนี้ Stay + Vacation = Staycation “Staycation” มาจากคำว่า “Stay” บวกกับ “Vacation” คำ 2 คำที่มีความหมายที่ดูขัดกัน แต่เมื่อนำมาผสมเข้าด้วยกันกลับกลายเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวและพักผ่อนที่มีเสน่ห์ในตัวเอง Staycation เป็นการท่องเที่ยวพักผ่อนในละแวกท้องถิ่นที่เราอยู่ เดิมทีหมายถึงการพักร้อนอยู่กับบ้าน โดยอาจจะปรับเปลี่ยนบรรยากาศของบ้าน ทำกิจกรรมใหม่ๆ แต่ในระยะหลังยังหมายรวมถึงการท่องเที่ยวในเมืองและในท้องถิ่นที่ตนเองอาศัยอยู่ด้วยเช่นกัน เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เราได้หันมาทำความรู้จักกับพื้นที่ที่เราอาศัยอยู่ด้วยมุมมองใหม่ เหมือนเราเป็นนักท่องเที่ยวในบ้านของตัวเอง ไลฟ์สไตล์แบบ Staycation เริ่มเป็นที่แพร่หลายในหมู่อเมริกันชนในช่วงเกิดวิกฤตสินเชื่อซับไพรม์หรือที่รู้จักกันในชื่อ Hamburger Crisis ซึ่งเกิดในช่วงปี 2007-2010 วิกฤตครั้งนั้นทำให้คนอเมริกันต้องระมัดระวังเรื่องการใช้เงิน เลยหันมาเที่ยวในเมืองที่อาศัยอยู่แทนเพราะค่าใช้จ่ายไม่สูง เช่นเดียวกับทางฟากเกาะอังกฤษ ซึ่งความนิยมในการพักผ่อนแบบนี้เกิดขึ้นในราวๆ ปี 2009 เป็นช่วงที่เงินปอนด์อ่อนค่าลง ทำให้ชาวอังกฤษเลือกที่จะ Staycation แทนการเดินทางไป Vacation ในที่ไกลๆ เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย

Read More

สถาบันการเงินปรับตัว เสริมสภาพคล่อง ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน

สภาพเศรษฐกิจปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงชะงักงัน อันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงไม่คลี่คลาย และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อัตราการว่างงานพุ่งสูงขึ้น ภาคธุรกิจได้รับผลกระทบหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการรายเล็กและเอสเอ็มอี หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งสถาบันการเงินและภาครัฐต่างเร่งเสริมสภาพคล่องเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงที่มีอยู่รอบด้าน สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ แถลงสภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ของปี 2563 พบจีดีพี -12.2% ต่อปี ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 1 ที่ผ่านมา และคาดว่าทั้งปีจะปรับตัวลดลง -7.8% ถึง -7.3% ซึ่งลดลงจากเดิมที่คาดไว้ว่าจะหดตัวอยู่ที่ -5.5% ต่อปี สถานการณ์การจ้างงานไตรมาส 2 ผู้มีงานทำมีจำนวน 37.1 ล้านคน โดยตัวเลขการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 7.5 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.95% เพิ่มขึ้น 1 เท่าจากอัตราว่างงานปกติ ถือเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 11 ปี นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 2552 โดยสาเหตุหลักมาจากการเลิกจ้างและธุรกิจปิดกิจการ ฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจไตรมาส 2

Read More

ระเฑียร ศรีมงคล เร่ง Re-engineering องค์กร นำ KTC ฝ่าวิกฤต

“วิกฤตครั้งนี้หนักกว่าวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 อาจจะหนักที่สุดในรุ่นอายุของเรา และที่สำคัญมันทำให้ธุรกิจบัตรเครดิตเปลี่ยนไปอย่างถาวร” ระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทบัตรกรุงไทย (เคทีซี) กล่าวกับผู้จัดการ 360 องศา ถึงการระบาดของโควิด-19 ที่กระทบต่อธุรกิจบัตรเครดิตอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจในวงกว้างและซึมลึกจนหลายฝ่ายมองว่าแรงสั่นสะเทือนครั้งนี้อาจจะกลายเป็นสึนามิทางเศรษฐกิจลูกใหญ่ที่สร้างความเสียหายไปทั่วโลก หลายธุรกิจที่ไม่สามารถทนต่อบาดแผลทางเศรษฐกิจครั้งนี้ได้ ต้องประกาศล้มละลายหรือปิดตัวลง แต่ในขณะเดียวกันธุรกิจที่ยังอยู่จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อนำพาองค์กรให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้ เช่นเดียวกับบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ “เคทีซี” ผู้เล่นรายใหญ่ในธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อ ซึ่งที่ผ่านมาสามารถสร้างผลกำไรนิวไฮมาได้ต่อเนื่องถึง 7 ปีซ้อน แต่วิกฤตโควิดครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อองค์กรไม่น้อยเช่นกัน ทำให้ต้องเร่ง Re-engineering องค์กร หากลยุทธ์ที่จะนำพาเคทีซีฝ่าวิกฤต โดยบาดเจ็บให้น้อยที่สุด รวมถึงต้องเตรียมรับมือกับโลกหลังวิกฤตโควิด-19 ที่จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป จากการแพร่ระบาดของไวรัสและการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่และภาคการใช้จ่ายของประชาชน ทำให้ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเคทีซีและการเติบโตของพอร์ตลูกหนี้ลดลง ยอดการใช้บัตรในเดือนเมษายน 2563 ลดลงถึง 40% โดยกระทบทุกเซกเมนต์ของธุรกิจ ทั้งการท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร และโรงพยาบาลที่ได้รับผลกระทบเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ในขณะเดียวกันธุรกิจด้าน

Read More

เรียนออนไลน์ สะท้อนความเหลื่อมล้ำ หรือโอกาสของการศึกษาไทย?

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อชีวิตผู้คนเป็นวงกว้าง อีกทั้งยังฉายภาพความเหลื่อมล้ำในมิติต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ในสังคมให้เห็นอย่างเด่นชัด ทั้งในแง่ของคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ รวมไปถึงการศึกษาอันเป็นฐานรากที่สำคัญของสังคม แต่อีกนัยหนึ่งก็เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบริบทของการศึกษาของไทยด้วยเช่นกัน การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้รัฐบาลในหลายประเทศประกาศปิดสถานศึกษาเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ มีผู้เรียนได้รับผลกระทบกว่า 1.5 พันล้านคน หรือมากกว่าร้อยละ 90 ของผู้เรียนทั้งหมด สำหรับประเทศไทยคณะรัฐมนตรีมีมติเลื่อนการเปิดเทอมออกไปเป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 พร้อมปรับการเรียนการสอนจากออฟไลน์มาเป็นออนไลน์ในช่วงที่นักเรียนยังไม่สามารถไปเรียนที่โรงเรียนได้ตามปกติ เพื่อให้การเรียนรู้ไม่เกิดการชะงักงัน แต่ภาพการเรียนออนไลน์ที่เกิดขึ้น กลับเป็นไปบนความไม่พร้อมของทั้งบุคลากรทางการศึกษา ผู้เรียน เทคโนโลยี ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็น อีกทั้งยังสะท้อนภาพความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรให้เห็นเด่นชัด มีนักเรียนจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงการเรียนการสอนรูปแบบใหม่นี้ได้ ข้อมูลที่น่าสนใจจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ระบุว่า ประเทศไทยมีข้อจำกัดในการเรียนทางไกลค่อนข้างสูง สัดส่วนของครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์และการเข้าถึงอุปกรณ์ดิจิทัลอยู่ในระดับต่ำ ยิ่งไปกว่านั้นนักเรียนกว่า 8 หมื่นคน ยังอยู่ในพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เมื่อผนวกกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัส การจัดหาอุปกรณ์สื่อสารเพื่อให้ลูกหลานเข้าถึงการเรียนออนไลน์ได้จึงดูจะเป็นไปได้ยากยิ่ง มีข้อเรียกร้องให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือในการจัดหาอุปกรณ์สื่อสารที่จำเป็นและอินเทอร์เน็ตที่เพียงพอสำหรับนักเรียน รวมไปถึงการเร่งปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แม้ว่าโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อการศึกษาชนิดที่ต้องเร่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแล้ว แต่อีกนัยหนึ่งยังถือเป็นการเปิดโอกาสในการปรับตัวและพัฒนาระบบการศึกษาของไทยในอนาคตอีกด้วย การเรียนออนไลน์ซึ่งเป็นมาตรการที่ถูกนำมาใช้แก้ปัญหาในครั้งนี้ ได้กลายมาเป็นรูปแบบทางการศึกษาที่หลายฝ่ายเล็งเห็นความสำคัญและพยายามพัฒนานวัตกรรมขึ้นมารองรับ โดยที่จริงแล้วการเรียนออนไลน์นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เสียทีเดียว ที่ผ่านมาประเทศที่มีการศึกษาชั้นนำอย่างสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ยุโรป ต่างมีการพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรทางการศึกษา

Read More

OUR Khung BangKachao ใช้ธรรมชาติรักษาธรรมชาติ

พื้นที่สีเขียวเป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดความอยู่ดีมีสุขและคุณภาพชีวิตของคนเมือง การมีพื้นที่สีเขียวที่มีคุณภาพในปริมาณที่เหมาะสมกับจำนวนประชากร สามารถเข้าถึงได้ง่าย จึงเป็นตัวชี้วัดการบริหารจัดการเมืองที่มีประสิทธิภาพ แต่การพัฒนาของเมืองที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและแผ่กว้างอยู่ในปัจจุบัน ทำให้ที่ดินส่วนใหญ่ถูกพัฒนาไปในเชิงพาณิชย์ พื้นที่สีเขียวเดิมถูกแทนที่ด้วยตึกสูง ห้างสรรพสินค้า ลานจอดรถ และนับวันจะลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วจนน่าใจหาย ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศของเมือง หลายฝ่ายเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงมีความพยายามในการรักษาและเพิ่มจำนวนพื้นที่สีเขียวเพื่อทดแทนกับที่เสียไป “OUR Khung BangKachao” คืออีกหนึ่งโครงการที่มีเป้าหมายในการพัฒนาและรักษาพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า พื้นที่ที่ทำหน้าที่เสมือนปอดให้กับคนเมือง “คุ้งบางกะเจ้า” เป็นพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่กว่า 12,000 ไร่ที่โอบล้อมด้วยแม่น้ำเจ้าพระยา ครอบคลุมพื้นที่ 6 ตำบลของอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีคุณค่าทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม โดดเด่นทางระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะมีความสมบูรณ์ของพื้นดินอันเกิดจากการสะสมของตะกอนปากแม่น้ำ มีพันธุ์ไม้กว่า 80 ชนิดในพื้นที่ อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติและชุมชน จนได้รับการยกย่องให้เป็น The Best Urban Oasis Of Asia จากนิตยสาร Time เมื่อปี 2549 และที่สำคัญยังถือเป็นปอดตามธรรมชาติให้กับคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลอีกด้วย แต่จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและการพัฒนาเมืองที่มีอย่างต่อเนื่อง ย่อมส่งผลกระทบต่อคุ้งบางกระเจ้าอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง ทำให้พื้นที่สีเขียวที่มีอยู่ลดลง เกิดปัญหาดินและน้ำเค็มขึ้น

Read More

แมคโดนัลด์ส่งแคมเปญรักษ์โลก ลุยสร้างร้านกรีนดีไซน์สาขาแรกในไทย

แมคไทยส่งแคมเปญรักษ์โลก ชูนโยบายเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมลุยสร้างร้านกรีนดีไซน์สาขาแรกในไทย บริษัท แมคไทย จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจอาหารบริการด่วนภายใต้แบรนด์แมคโดนัลด์ในประเทศไทย เดินหน้า ชูนโยบายเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืนที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม เปิดตัวแคมเปญ ‘รักษ์โลก งดหลอด’ รณรงค์งดใช้หลอดพลาสติกกับเครื่องดื่มต่างๆ ของแมคโดนัลด์ และทดลองใช้ถังขยะรีไซเคิลมาใช้แยกขยะพลาสติกออกจากขยะทั่วไปใน 4 สาขา นำบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติผ่านการรับรองจาก Forest Stewardship Council™ (FSC) ซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดด้านการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนมาใช้แทนบรรจุภัณฑ์พลาสติก พร้อมเดินหน้าสร้างร้านแมคโดนัลด์กรีนดีไซน์รักษ์โลกสาขาแรกในประเทศไทย “แมคไทยต้องการเติบโตแบบยั่งยืนโดยการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อแสดงจุดยืนที่ชัดเจนผ่านนโยบายเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้กรอบแนวคิด The Journey for GOOD ในมิติที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม หรือ Good Planet ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยรักษาและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย” นายธันยเชษฐ์ เอกเวชวิท กรรมการผู้จัดการ บริษัท แมคไทย จำกัด กล่าว แคมเปญ ‘รักษ์โลก งดหลอด’ เป็นการรณรงค์เชิญชวนให้ลูกค้างดการใช้หลอดพลาสติกกับเครื่องดื่ม ผ่านสื่อต่างๆ ภายในร้านแมคโดนัลด์ เพื่อช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้

Read More

ขันลงหินบ้านบุ หัตถกรรมที่กำลังเลือนหาย

เสียงตีโลหะดังแว่วออกมาเป็นจังหวะจากอาคารไม้หลังหนึ่งที่ฝังตัวอยู่ใน “ชุมชนบ้านบุ” ชุมชนเล็กๆ ริมคลองบางกอกน้อย ยิ่งเดินเข้าไปใกล้ เสียงที่เข้ามากระทบโสตประสาทยิ่งแจ่มชัดและหนักหน่วงมากขึ้น พร้อมกับไอร้อนระอุที่ลอยมากระทบกับผิวกาย ภาพของคุณลุงคุณป้าที่อายุเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 60 ปี กำลังขะมักเขม้นกับชิ้นงานที่อยู่ตรงหน้า เพื่อรังสรรค์ “ขันลงหิน” งานหัตถกรรมที่งดงาม มีคุณค่า แต่นับวันจะหาผู้สานต่อได้ยากยิ่ง คือต้นกำเนิดของเสียงและความร้อนที่กระจายอยู่ทั่วบริเวณ การทำขันลงหินหรือขันบุคืออาชีพเก่าแก่ที่ทำกันในครัวเรือนมาตั้งแต่สมัยอยุธยา คำว่า “บุ” คือการตีให้เข้ารูป ใช้กับงานโลหะ ซึ่งขันลงหินนี้นิยมนำมาใส่ข้าวสวยสำหรับใส่บาตรเพราะจะทำให้ข้าวมีกลิ่นหอม หรือใส่น้ำดื่มเพราะจะทำให้น้ำเย็นชื่นใจ จนเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก จึงมีการอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้ พร้อมพกพาองค์ความรู้ในวิชาช่างบุลงหินติดตัวมาด้วย จนกลายมาเป็น “ชุมชนบ้านบุ” อย่างในปัจจุบัน อีกหนึ่งชุมชนที่มีงานหัตถกรรมอันเป็นมรดกสืบทอดกันมาในชุมชนมายาวนานมากกว่า 200 ปี ขันลงหินของชาวบ้านบุใช้กรรมวิธีผลิตแบบโราณ โดยใช้ทองสัมฤทธิ์ อันเป็นโลหะที่เกิดจากการหลอมทองแดง ดีบุก และเศษสัมฤทธิ์เข้าด้วยกันในเตาถ่านไม้ซากซึ่งให้ความร้อนสูง ก่อนที่จะเทโลหะผสมที่ได้ลงบน “ดินงัน” นำก้อนทองที่ได้มาเผาแล้วตีซ้ำจนได้รูปร่างเป็นภาชนะตามความต้องการ หรือที่เรียกว่าการบุนั่นเอง แต่งรูปทรงอีกครั้งบนไม้กลาง ย้ำเนื้อโลหะให้แน่นด้วยการ “ลาย” บนกะล่อน กลึงผิวด้านนอกซึ่งมีเขม่าจับจากการเผาบนแกน “ภมร” ตะไบขอบภาชนะ และต่อด้วยการขัดโดยการใช้หินในการขัดจนขึ้นเงา อันเป็นที่มาของคำว่า “ลงหิน” นั่นเอง ขั้นตอนการทำขันลงหินของชาวบ้านบุนั้น

Read More

มาตรการบรรเทา PM2.5 เมื่อปัญหาฝุ่นไม่ใช่เรื่องเล็กๆ

ตั้งแต่ต้นปี 2563 เป็นต้นมา ไทยยังคงเผชิญกับสภาวการณ์ต่างๆ ที่ทำให้เราหายใจหายคอได้ไม่คล่องนัก ทั้งสภาวะความฝืดเคืองของเศรษฐกิจ การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่สร้างความหวาดวิตกไปทั่วโลก และปัญหาฝุ่น PM2.5 เกินค่ามาตรฐานที่เรื้อรังมานาน จนทำให้หน้ากากป้องกันฝุ่นแทบจะกลายเป็นอวัยวะที่ 33 ของร่างกายไปแล้ว ช่วง 2-3 ปีมานี้ เราต้องดำเนินชีวิตประจำวันภายใต้ฝุ่นละอองขนาดเล็กขนาด 2.5 ไมครอน หรือ ฝุ่น PM2.5 ที่คลุมเมืองอยู่เป็นระลอก และนับวันสถานการณ์ดูจะรุนแรงและขยายวงมากขึ้น จนทำให้ประเทศไทยมักถูกจัดอยู่ในลำดับต้นๆ ของเมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลก ปัญหาค่าฝุ่น PM2.5 ที่เกินมาตรฐานนับเป็นปัญหาสำคัญ เนื่องจากสร้างผลกระทบในวงกว้าง ทั้งผลต่อสุขภาพเพราะสารพิษในฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้โดยตรง เกิดการระคายเคือง ทำลายอวัยวะของระบบทางเดินหายใจ และยังส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว ไม่เพียงผลกระทบต่อสุขภาพเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจจากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐานที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ในมิติของค่าเสียโอกาสจากประเด็นด้านสุขภาพ การท่องเที่ยว และภาคธุรกิจอื่นๆ ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล คิดเป็นเม็ดเงินรวมประมาณ 3,200-6,000 ล้านบาท (ภายในกรอบเวลา 1 เดือน ระหว่างวันที่ 5 ม.ค. - 5

Read More

ชลบุรี คลีน เอ็นเนอร์ยี่ เดินหน้าโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม รองรับ EEC

ปัจจุบันโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี (Eastern Economic Corridor: EEC) ที่มีมูลค่าการลงทุนหลายแสนล้านบาท กลายเป็นโครงการแห่งชาติที่สำคัญและกำลังได้รับการขับเคลื่อนจากรัฐบาลอย่างเต็มสูบ อีอีซีเป็นโครงการภายใต้แผนยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 โดยระยะแรกเน้นการพัฒนาเชิงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกที่ครอบคลุมจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เพื่อส่งเสริมการลงทุน ยกระดับอุตสาหกรรม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำทางด้านเศรษฐกิจ คมนาคม และโลจิสติกส์ต่อไปในอนาคต ระยะเวลาที่ผ่านมาการขับเคลื่อนอีอีซีถือว่ามีความคืบหน้าออกมาให้เห็นเป็นระยะ มีการลงนามความร่วมมือทางธุรกิจและการลงทุนกับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะจีนและญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มเข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญเพื่อการเตรียมความพร้อม ทั้งโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง- สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) การพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 และการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ไม่เฉพาะการเร่งพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม และการลงทุนจากต่างชาติเท่านั้น แต่เรื่องของคน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะที่อยู่รายรอบต่างก็สำคัญ แน่นอนว่าการเกิดขึ้นของนิคมอุตสาหกรรมนำมาซึ่งขยะและของเสียต่างๆ มากมาย การบริหารจัดการขยะในพื้นที่อีอีซีจึงเป็นสิ่งที่ต้องตระหนักและบรรจุลงในแผนพัฒนาด้วยเช่นกัน สถานการณ์ปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่อีอีซีนั้น พบว่าปัจจุบันมีปริมาณขยะสะสมมากถึง 6 ล้านตัน โดยปี 2561 ที่ผ่านมา ปริมาณขยะอยู่ที่ 4.2 พันตันต่อวัน และคาดว่าในปี

Read More

โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ: From Waste to Energy ทางออกของปัญหาขยะล้นเมือง?

ปัญหาสิ่งแวดล้อม มลภาวะทางอากาศ น้ำเสีย และสัตว์น้อยใหญ่ที่ต้องจบชีวิตจากเศษซากพลาสติกอันเป็นผลผลิตจากมนุษย์ ที่ปรากฏเป็นข่าวให้เห็นอยู่บ่อยครั้งนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าล้วนแล้วแต่เป็นผลพวงจากปัญหาขยะล้นเมืองแทบทั้งสิ้น “ขยะ” ยังคงเป็นปัญหาสากลที่หลายประเทศกำลังเผชิญอยู่ รวมถึงประเทศไทยเอง ที่ดีกรีความเข้มข้นของปัญหาดูยังไม่ลดน้อยถอยลงไปเลย และยังคงสร้างผลกระทบในวงกว้างทั้งต่อสิ่งแวดล้อม มนุษย์ และสิ่งมีชีวิตร่วมโลก ปริมาณขยะนับวันจะเพิ่มสูงมากขึ้น อันเนื่องมาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ชุมชนเกิดการขยายตัว วิถีชีวิตที่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เกิดการบริโภคที่มากขึ้น รวมถึงการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งล้วนแต่เป็นตัวเร่งปริมาณขยะให้ทวีขึ้นเป็นเงาตามตัว จากสถิติของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า ปี 2561 ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยประมาณ 27.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ร้อยละ 1.64 แต่มีปริมาณขยะมากถึง 10 ล้านตันที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธี การสร้างความตระหนักรู้ในการลดปริมาณขยะ ตามหลัก 3R คือ Reduce Reuse Recycle คัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางเพื่อนำไปรีไซเคิล ลดการใช้ทรัพยากร ลดการใช้พลาสติก ตลอดจนการนำกลับมาใช้ซ้ำ ที่สังคมกำลังตื่นตัวและรณรงค์กันอยู่ในตอนนี้ นับเป็นความเคลื่อนไหวที่สำคัญและเป็นการแก้ปัญหาขยะที่ตรงจุดและยั่งยืน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมาตรการในการจัดการขยะที่เหมาะสม ทั้งขยะมูลฝอยทั่วไปจากครัวเรือนและขยะจากภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีวิธีการกำจัดที่แตกต่างกันก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ต้องให้น้ำหนักและความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เดิมทีมีการใช้วิธีการเผาและเทกองเพื่อฝังกลบ (Landfill) ในการจัดการขยะ แต่วิธีดังกล่าวกลับสร้างผลกระทบและปัญหาอื่นๆ ตามมา ทั้งควันและกลิ่นจากการเผาขยะ

Read More