Home > Vanida Toonpirom (Page 22)

เอกชนเร่งพัฒนาพร้อมเดินเครื่องผลิตเต็มสูบ หลังรัฐปลดล็อกกัญชา-กัญชง

ไม่เพียง “กระท่อม” ที่เข้ามาสร้างความเคลื่อนไหวให้กับเศรษฐกิจในช่วงปีที่ผ่านมาเท่านั้น แต่ธุรกิจกัญชง-กัญชาเองก็กำลังคึกคัก หลังภาครัฐปลดล็อกออกจากการเป็นยาเสพติด หลายองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนประกาศเดินหน้าพัฒนาและเดินเครื่องผลิตเต็มสูบ พร้อมสู้ศึกในธุรกิจใหม่นี้ จนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ที่น่าจับตามอง ปัจจุบันประเทศไทยมีการแก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 โดยให้บางส่วนของพืชกัญชงและกัญชาไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 5 ซึ่งรัฐเองก็ได้มีการสนับสนุนให้มีการปลูกกัญชงและกัญชาเพิ่มขึ้นในฐานะพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ของประเทศ ประกอบกับมูลค่าตลาดกัญชาโลกมีแนวโน้มพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากรายงานของ “MarketsandMarkets” ที่ออกมาระบุว่าในปี 2563 ที่ผ่านมา ตลาดกัญชาทั่วโลกมีมูลค่าสูงถึง 20,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า มูลค่าตลาดของกัญชาจะพุ่งสูงไปถึง 90,400 ดอลลาร์สหรัฐ จากตัวเลขดังกล่าวทำให้กัญชากัญชงขึ้นแท่นเป็นพืชแห่งความหวังของไทย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวในระหว่างการเป็นประธานในงาน “Kick Off กัญชาริมฝั่งโขง เส้นทางการท่องเที่ยวสมุนไพรกัญชา” ที่จัดขึ้นที่จังหวัดนครพนม ว่า “ที่ผ่านมาหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุขได้ผลักดันพืชสมุนไพรกัญชา กัญชง มาได้ระดับหนึ่ง โดยได้ปลดล็อกออกจากยาเสพติดควบคุมประเภทที่ 5 โดยต้น กิ่ง ก้าน ใบ และรากของกัญชาไม่ถือเป็นยาเสพติดอีกต่อไป และในประมวลกฎหมายยาเสพติดมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9

Read More

จับกระแสรถยนต์ไฟฟ้ามาแรงต่อเนื่อง คาดปี 65 ความต้องการของตลาดพุ่ง

กระแสรถยนต์ไฟฟ้ากำลังเข้มข้น ค่ายรถยนต์ต่างทยอยส่งรถยนต์ไฟฟ้าหลากรุ่นหลายระดับราคาออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2021 ที่รถยนต์ไฟฟ้าจากหลายค่ายต่างออกมาอวดโฉมกันอย่างคับคั่ง และถือเป็นความเคลื่อนไหวในแวดวงยานยนต์ที่น่าจับตา ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมานี้ กระแสรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) กำลังเป็นที่สนใจจากทั่วโลกมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีการประเมินกันว่าช่วงระยะเวลาระหว่างปี 2563-2572 จะเป็นทศวรรษแห่งการปฏิวัติรถยนต์ไฟฟ้า เทคโนโลยีจะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และยังคาดการณ์ต่อไปว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะเข้ามาทดแทนรถที่ใช้น้ำมันหรือขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine: ICE) ในระยะเวลาไม่เกิน 20 ปีอีกด้วย ซึ่งประเด็นหลักที่ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นที่สนใจของทั่วโลกจนกลายเป็นเมกะเทรนด์อยู่ในขณะนี้คงหนีไม่พ้นประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ดังที่มองกันว่ารถที่ใช้น้ำมันหรือรถ ICE เป็นตัวการหนึ่งที่ก่อให้เกิดมลพิษในอากาศและฝุ่น PM 2.5 ปัญหาที่หลายประเทศกำลังประสบอยู่ หลายฝ่ายจึงคาดหวังว่าการเข้ามาของรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนแทนการใช้น้ำมันหรือพลังงานอื่น ๆ นั้น จะเป็นการช่วยลดการปล่อยคาร์บอนและช่วยลดมลพิษทางอากาศได้ สำหรับประเทศไทยรถยนต์ไฟฟ้ามีแนวโน้มเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากค่ายรถยนต์ต่างทยอยส่งรถยนต์ไฟฟ้าออกสู่ตลาดกันอย่างต่อเนื่อง ที่เห็นได้ชัดคงหนีไม่พ้นงานใหญ่ประจำปีของวงการยานยนต์อย่างมอเตอร์เอ็กซ์โปครั้งล่าสุดที่จัดขึ้นเมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ที่รถยนต์ไฟฟ้าจากหลายค่ายหลายระดับราคาต่างพาเหรดออกมาอวดโฉมแย่งชิงลูกค้ากันอย่างคึกคัก ไม่ว่าจะเป็น Ora Good Cat รถยนต์ไฟฟ้าจากค่าย GWM ที่สร้างกระแสด้วยรูปทรงและสีที่ถูกออกแบบมาได้อย่างน่ารักกลายเป็นที่จับตามองมาตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรก โดยเปิดตัวไปทั้งสิ้น 3 รุ่น ได้แก่ ORA Good

Read More

สร้างเกราะป้องกันให้ปอด เพราะโควิดยังไม่จบ และ PM 2.5 ก็มาเหมือนนัดกันไว้

ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว อีกทั้งโควิด-19 ที่อยู่กับเรามาเกือบ 2 ปี ก็ปรับเปลี่ยนตัวเองอยู่ตลอดเวลาจนคาดเดาไม่ถูกว่าจะจบลงเมื่อไหร่ นอกจากนั้น PM 2.5 ฝุ่นจิ๋วตัวร้ายที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายก็มาเป็นประจำทุกปีประหนึ่งนัดกันไว้ ทำให้เราต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอเพื่อเป็นเกราะป้องกันให้กับตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ปอด” อวัยวะสำคัญของระบบทางเดินหายใจ ดังที่ทราบกันดีกว่า “ปอด” เป็นอวัยวะหนึ่งในระบบทางเดินหายใจที่สำคัญมาก ทำหน้าที่กรองอากาศและแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนที่หายใจเข้าแล้วปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ซึ่งต้องทำอยู่ตลอดเวลาไม่สามารถหยุดได้ตราบเท่าที่ยังต้องหายใจ นอกจากนั้น ยังมีหน้าที่อื่นๆ ทั้งควบคุมและขับสารต่างๆ อย่างแอลกอฮอล์ออกจากระบบเลือด ควบคุมสมดุลความเป็นกรด-ด่างในเลือด กรองลิ่มเลือดเล็กๆ ที่ตกตะกอนออกจากเส้นเลือดดำ ปกป้องและรับแรงกระแทกที่จะทำอันตรายต่อหัวใจ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของปอด ทำให้หลายคนหันมาใส่ใจดูแลและสร้างความแข็งแรงของปอดมากขึ้นเพื่อให้รอดจากเชื้อไวรัสโควิด ซึ่งท้ายที่สุดแล้วโควิด-19 อาจจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นไปในที่สุด ประกอบกับสภาพอากาศเมืองไทยที่เปลี่ยนแปลงและฝุ่น PM 2.5 ที่ต้องพบเจอเป็นประจำล้วนแต่ส่งผลโดยตรงต่อปอดทั้งสิ้น “ผู้จัดการ 360 องศา” จึงได้รวบรวมวิธีการสร้างความแข็งแรงให้กับปอดมาฝาก เพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างความแข็งแรงให้กับปอดของเราในระยะยาว วิธีดูแลปอดให้แข็งแรงสุขภาพดี 1. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และเข้าใกล้ควันบุหรี่ แน่นอนว่าการสูบบุหรี่และควันบุหรี่คือตัวการทำร้ายปอดตัวฉกาจ และยังสร้างความระคายเคืองต่ออวัยวะอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นช่องปาก ลำคอ หลอดลม และอวัยวะภายใน ดังนั้นถ้าอยากให้ปอดมีสุขภาพดีควรงดสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ เพื่อถนอมปอดไม่ให้ทำงานหนักเกินความจำเป็น 2. บริหารปอดด้วยการหายใจลึกๆ หายใจให้อิ่ม

Read More

ทิพยประกันภัยเดินหน้าทรานส์ฟอร์มองค์กร สู่การเป็นเบอร์หนึ่งแห่ง Digital Insurer

หลังจากสร้างความฮือฮาด้วยการเปิดตัว “น้องวันนี้” Virtual Influencer คนแรกของวงการประกันภัยไทย เพื่อจับเทรนด์มาแรงอย่าง Metaverse พร้อมชูเทคโนโลยี InsurTech ซื้อประกันผ่านแอปพลิเคชันไปแล้ว ล่าสุดทิพยประกันภัยประกาศเดินหน้าทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่การเป็น Digital Insurer หวังขึ้นเป็นเบอร์ 1 ของประเทศ ท่ามกลางความท้าทายรอบด้าน ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง ประกอบกับการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่อย่างโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ได้ส่งแรงสั่นสะเทือนต่อการดำเนินชีวิตและต่อทุกแวดวงให้ต้องเร่งปรับตัว ซึ่งรวมถึงธุรกิจประกันที่กำลังเผชิญกับความท้าทายและต้องเร่งเปลี่ยนแปลงตัวเองครั้งใหญ่ เพื่อนำพาองค์กรให้ฝ่าวิกฤตโควิดและยุคแห่งดิจิทัล ดิสรัปชัน (Digital Disruption) ไปให้ได้ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ถือเป็นบริษัทประกันรายใหญ่ที่มีภาครัฐอย่างบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), ธนาคารออมสิน, ธนาคารกรุงไทย และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เป็นผู้ถือหุ้นหลัก และเป็นผู้เล่นในตลาดประกันรายแรกๆ ที่ชิงจังหวะประกาศตัวเป็นผู้นำด้าน Digital Insurance เดินหน้านำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการดำเนินธุรกิจและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในยุคปัจจุบัน ต้นปี 2562 ทิพยประกันภัยเปิดตัว “TIP Insure” แอปพลิเคชันที่ครอบคลุมบริการด้านประกันภัยทุกด้าน โดยลูกค้าสามารถซื้อประกันออนไลน์กับทิพยประกันภัยได้ด้วยตนเอง รวมถึงสามารถตรวจสอบข้อมูลกรมธรรม์ ต่ออายุ

Read More

รัฐ-สถาบันการเงิน เร่งออกมาตรการ สกัดหนี้ครัวเรือนพร้อมเสริมสภาพคล่อง

รัฐและสถาบันการเงินเร่งออกมาตรการเสริมสภาพคล่องทางเศรษฐกิจและสกัดหนี้ครัวเรือนที่กำลังอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะมีแนวโน้มดีขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อต่อวันเริ่มลดลง แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นยังคงยืดเยื้อและต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยว่า ไตรมาส 3/2564 ตลาดแรงงานไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ส่งผลให้อัตราการว่างงานสูงสุดตั้งแต่มีโควิด โดยมีผู้ว่างงาน 8.7 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานที่ 2.25% ในขณะที่หนี้ครัวเรือนยังขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รายงานจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนล่าสุดไตรมาส 2/2564 เติบโตต่อเนื่อง ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไทยไตรมาส 2/2564 ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 14.27 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 89.3% ต่อ GDP ชะลอลงจากระดับ 90.6% ต่อ GDP สูงสุดในรอบ 18 ปี ที่ทำไว้ในไตรมาส 1/2564 สาเหตุหลักมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่สามารถขยายตัวได้ในระดับปกติ ซึ่งนั่นย่อมส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนและสภาพคล่องทางเศรษฐกิจโดยตรง ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2564 ที่ถือเป็นการระบาดของโควิด-19 ระลอกล่าสุด สถาบันการเงินทั้งธนาคารพาณิชย์ นอนแบงก์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมถึงภาครัฐ ต่างเร่งออกมาตรการเพื่อให้การช่วยเหลือลูกค้าและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยสินเชื่อเพิ่มติม พักชำระหนี้

Read More

“แมลงกินได้” แหล่งโปรตีนชั้นยอด เทรนด์อาหารแห่งอนาคต

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานความปลอดภัยอาหารสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority: EFSA) ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ได้ออกแถลงการณ์ขึ้นทะเบียนให้ “ตั๊กแตน” เป็นอาหารชนิดใหม่ที่ปลอดภัยต่อการบริโภคของมนุษย์ นั่นทำให้ตั๊กแตนกลายเป็นอาหารของชาวโลกอย่างเป็นทางการ ต่อจากหนอนนกแบบแห้งที่ได้รับการขึ้นทะเบียนไปก่อนหน้านี้แล้วเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยมีจิ้งหรีดทองแดงลายหรือจิ้งหรีดขาวรอต่อคิวขึ้นทะเบียนเป็นรายต่อไป ในรายงานของอีซีระบุไว้ด้วยว่าการจำหน่ายตั๊กแตนในตลาดของสหภาพยุโรปนั้นจะเป็นในรูปแบบของอาหารแห้ง อาหารแช่แข็ง ขนมขบเคี้ยว หรือเครื่องปรุงรสแบบผง โดยผลิตภัณฑ์ทุกประเภทต้องนำขาและปีกของตั๊กแตนออกให้หมดเสียก่อน การบริโภคแมลงไม่ใช่เรื่องใหม่ของไทย เราคุ้นชินกับการบริโภคแมลงนานาชนิดมาเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นจิ้งหรีด หนอนรถด่วน แมงดา หรือดักแด้ไหม ทั้งในฐานะอาหารพื้นถิ่นตามแต่ละภาค หรือในยุคที่ตั๊กแตนปาทังก้าทอดร้อนๆ เหยาะซอส โรยพริกไทยเป็นของกินเล่นแสนเพลิน จนกระทั่งปัจจุบันที่แมลงทอดหรือแมลงอบกรอบถูกบรรจุถุงวางขายอยู่ตามร้านสะดวกซื้อและห้างสรรพสินค้าต่างๆ มากมาย แต่สำหรับโลกตะวันตกการบริโภคแมลงเริ่มเป็นที่นิยมช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มจะได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นในฐานะเป็นแหล่งโปรตีนของอาหารแห่งอนาคต องค์การสหประชาชาติ หรือ UN ระบุว่า ภายในปี 2050 ประชากรโลกจะมีจำนวนมากถึง 9.7 พันล้านคน และอาหารที่จะเลี้ยงประชากรโลกทั้งหมด ณ เวลานั้นจะต้องเพิ่มขึ้นทวีคูณ ซึ่งนั่นหมายถึงต้องมีการเพิ่มพื้นที่การเพาะปลูก ทำฟาร์มปศุสัตว์ หรือเพิ่มพื้นที่การทำประมง เพื่อเป็นแหล่งผลิตอาหาร ในขณะที่จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มมากขึ้นทำให้พื้นที่กลับถูกนำมาใช้เป็นที่อยู่อาศัยมากขึ้นตามไปด้วย ทำให้เกิดความกังวลว่าในอนาคตโลกจะไม่สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอกับความต้องการของมนุษย์ การแสวงหาแหล่งอาหารทดแทนเพื่อเตรียมรับมือกับภาวะขาดแคลนอาหารที่อาจจะเกิดขึ้นจึงกลายเป็นประเด็นสำคัญที่กำลังถูกพูดถึงในวงกว้าง ซึ่งนั่นทำให้ “แมลงกินได้”

Read More

จาก Go Global สู่ Go Fully Digital เปิดทางฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิดด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตอย่างยากที่จะปฏิเสธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตและเป็นตัวเร่งบทบาทของดิจิทัลให้ทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นไปอีก ทั้งการทำงาน การเรียน การสื่อสาร การซื้ออาหารและสินค้า การชำระเงิน ตลอดจนมาตรการเยียวยาต่างๆ จากภาครัฐ ที่ล้วนผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลแทบทั้งสิ้น ไม่เพียงมีบทบาทในชีวิตประจำวัน แต่เทคโนโลยีดิจิทัลยังมีความสำคัญต่อระบบอุตสาหกรรมและเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคง ซึ่งหลายๆ ฝ่ายมองว่านี่คือการเปลี่ยนผ่านสู่โลกยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง และเมื่อประเทศกำลังเข้าสู่การฟื้นฟูหลังเผชิญกับวิกฤตโควิดที่หนักหน่วงครั้งนี้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลจึงน่าจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่เข้ามาช่วยพลิกฟื้นประเทศให้กลับมาดีขึ้นได้อีกครั้ง ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงแนวทางในการฟื้นฟูประเทศหลังโควิดไว้ว่า “ภายหลังจากสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย โลกจะปรับตัวเข้าสู่ New Normal และจะมีความท้าทายใหม่ๆ เกิดขึ้นกับภาคธุรกิจและภาคการผลิตของไทย โดยระบบการผลิตแบบเดิมที่เน้นการผลิตปริมาณมากๆ จะลดบทบาทลง ในขณะที่การผลิตแบบ Small Lot ที่มีประสิทธิภาพและมีความยืดหยุ่นจะมีบทบาทเพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆ ทั้ง 5G และ AI จะถูกเร่งให้มีการนำมาใช้เร็วขึ้น และจะเป็นตัวช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาคอุตสาหกรรมและการผลิต เพื่อช่วยให้ประเทศไทยพร้อมรับกับอุตสาหกรรม 4.0” ทั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรมมีแผนที่จะยกระดับศักยภาพของภาคอุตสาหกรรม ทั้งการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นควบคู่กับการปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศในระยะยาว โดยได้กำหนดแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมซึ่งมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวขับเคลื่อนในชื่อ “แผน 6S”

Read More

เพิ่มพื้นที่สีเขียว ยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมือง

ต้นไม้หนึ่งต้นปล่อยก๊าซออกซิเจนได้ถึง 200,000-250,000 ลิตร/ปี ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ย 9-15 กิโลกรัม/ปี สามารถดูดซับความร้อนจากบรรยากาศและลดอุณหภูมิรอบบ้านลงได้ 3-5°C อีกทั้งยังช่วยดักจับฝุ่นและมลพิษในอากาศได้ถึง 1.4 กิโลกรัม/ปี และยังช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศและกรองสารพิษในอากาศได้อีกด้วย จะเห็นว่าต้นไม้เพียงหนึ่งต้นก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ได้นานัปการ พื้นที่สีเขียวคือสิ่งจำเป็นต่อชีวิตผู้คนในสังคม สวนหย่อมและสวนสาธารณะที่กระจายอยู่ในเมืองใหญ่ ต่างทำหน้าที่เสมือนปอดที่ช่วยฟอกอากาศให้กับผู้อาศัย อีกทั้งยังเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจให้ได้ออกไปสูดอากาศนอกตัวอาคาร และเป็นสถานที่สำหรับออกกำลังกาย ที่ช่วยพัฒนาทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจให้กับผู้อยู่อาศัยในเมือง แต่เป็นที่น่าเสียดายที่การพัฒนาทางเศรษฐกิจและเติบโตของเมืองที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและไม่หยุดยั้ง ทำให้ต้นไม้และพื้นที่สีเขียวที่เคยมีถูกแทนที่ด้วยตึกรามบ้านช่อง อาคารสำนักงาน และถนนหนทาง องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้กำหนดสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวที่เหมาะสมสำหรับเมืองใหญ่ไว้ที่ 9 ตารางเมตร/คน ในขณะที่กรุงเทพมหานครที่ถือเป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ที่ยังคงพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง สิ่งก่อสร้างต่างๆ ตลอดจนยวดยานพาหนะและประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้นสวนทางกับพื้นที่สีเขียวที่ลดน้อยถอยลง ทำให้สัดส่วนพื้นที่สีเขียวของคนกรุงเทพฯ ยังคงน้อยกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ข้อมูลจากสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ระบุว่า ณ เดือนพฤศจิกายน 2564 กรุงเทพฯ มีจำนวนสวนสาธารณะทั้งสิ้น 8,819 แห่ง รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 40,816,665 ตารางเมตร โดยแบ่งออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ สวนเฉพาะทาง, สวนชุมชน,

Read More

IKEA ประเทศไทย พร้อมเข้าสู่ทศวรรษที่ 2 เน้นกลยุทธ์ราคา เร่งเจาะกลุ่มลูกค้า B2B

หลังจากเข้ามาปักหมุดในประเทศไทยเป็นครั้งแรก เมื่อปี 2554 วันนี้ “IKEA” ค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านสัญชาติสวีเดน กำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 11 ด้วยกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจจากการสร้างการรับรู้สู่การขยายฐานลูกค้า ตั้งเป้าโตปีละ 5% พร้อมยังคงรักษาดีเอ็นเอของความเป็น IKEA IKEA (อิเกีย) เข้ามาทำการตลาดในเมืองไทย ตั้งแต่ปี 2554 โดยการเปิดอิเกีย สโตร์ สาขาแรกที่ศูนย์การค้าเมกาบางนา ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท อิคาโน่ รีเทล ซึ่งเป็นประเทศที่ 3 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อจากสิงคโปร์และมาเลเซีย การเปิดตัวครั้งนั้นกลายเป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์และสร้างสีสันในแวดวงค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์ได้ไม่น้อย ด้วยชื่อชั้นความเป็นเชนค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านระดับโลกที่มาพร้อมกับคอนเซ็ปต์แปลกใหม่อย่างสินค้า “DIY” (Do It Yourself) ที่มีราคาย่อมเยา ภายใต้แนวคิด “You do your part. We do our part. Together we save money. - คุณทำในส่วนของคุณ เราทำในส่วนของเรา เราจะประหยัดไปด้วยกัน” ที่สื่อนัยว่า

Read More

Good Society Summit “Hope in Crisis” ภารกิจสร้างสังคมให้น่าอยู่ผ่านมูลนิธิเพื่อคนไทย

ปัจจุบันสังคมไทยยังคงเผชิญหน้ากับปัญหาในหลากหลายมิติ ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ การศึกษา ความเหลื่อมล้ำ สิ่งแวดล้อม และการคอร์รัปชัน ซึ่งล้วนแต่เป็นประเด็นสำคัญที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่องทั้งสิ้น และแน่นอนว่าการแก้ปัญหาสังคมที่ซับซ้อนนั้นย่อมไม่ใช่เรื่องง่ายและต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ที่ผ่านมามีความพยายามในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งจากภาครัฐและเอกชนออกมาให้เราได้เห็นกันไม่น้อย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “มูลนิธิเพื่อคนไทย” ที่พยายามแก้ปัญหาสังคมโดยสร้างกลไกอันเกิดขึ้นจากความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ มูลนิธิเพื่อคนไทยเป็นอีกหนึ่งองค์กรสาธารณประโยชน์ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืน โดยเชื่อว่าการแก้ปัญหาสังคมขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนและหลากหลายนั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ดังนั้นจึงได้สร้างเครือข่ายจากองค์กรและหน่วยงานที่ทำงานในประเด็นต่างๆ ทางสังคมโดยตรง ผนวกกับความร่วมมือของประชาชนที่ถือว่าเป็นกำลังสำคัญ โดยมี “วิเชียร พงศธร” แชร์แมนกลุ่มบริษัทพรีเมียร์ และผู้อยู่เบื้องหลังการทำงานของมูลนิธิและกิจการเพื่อสังคมต่างๆ มากว่า 30 ปี เป็นหัวเรือใหญ่ จากจุดเริ่มต้นที่ต้องการผลักดันเรื่องการศึกษาและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม วิเชียรจึงได้จัดตั้งมูลนิธิยุวพัฒน์ขึ้นในปี พ.ศ. 2535 เพื่อสนับสนุนและสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา โดยใช้กลไกต่างๆ ทั้งการระดมทุนผ่านร้านขายของมือสองอย่าง “ร้านปันกัน”, โครงการร้อยพลังการศึกษา, โครงการฟู้ด ฟอร์ กู้ด (Food for Good) เพื่อขจัดปัญหาเด็กทุพโภชนาการ รวมไปถึงการให้ทุนการศึกษาในระดับต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาด้านการศึกษาของไทย ก่อนที่จะขยายกิจการเพื่อสังคมในประเด็นอื่นๆ ต่อไปให้ครอบคลุมทุกมิติ รวมถึงมูลนิธิเพื่อคนไทยซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างกลไกพัฒนาสังคมโดยประชาชนมีส่วนร่วม มูลนิธิเพื่อคนไทยมีการดำเนินงานผ่านโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่อาจเป็นที่คุ้นตาของหลายๆ คนมาบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็น “โครงการร้อยพลังเปลี่ยนประเทศ” ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมแหล่งทุนและความต้องการของสังคม

Read More