Home > Suwatcharee Pormbunmee (Page 4)

4 ทศวรรษ ชุมชนเภสัชกรรม บนความมุ่งมั่นของ สุรชัย เรืองสุขศิลป์

ยาเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มีความสำคัญต่อชีวิต และทุกชีวิตยากที่จะหลีกเลี่ยงการใช้ยา นั่นทำให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ขาด “ยา” ไม่ได้ นี่อาจเป็นเหตุผลสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมยา โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยาที่มีมูลค่าสูงหลายแสนล้านบาท ด้วยขนาดของตลาดยาในไทยทำให้ผู้เล่นส่วนใหญ่เป็นบริษัทต่างชาติ มีบริษัทผู้ผลิตยาไทยเพียงไม่กี่ราย และหนึ่งในนั้นคือ บริษัท ชุมชนเภสัชกรรม จำกัด ที่อยู่ในธุรกิจยามานานกว่า 4 ทศวรรษ “กว่า 4 ทศวรรษ ที่บริษัท ชุมชนเภสัชกรรม จำกัด ดำเนินกิจการภายใต้ปณิธานและความตั้งใจอันแรงกล้าที่จะผลิตยาที่ดี มีคุณภาพ เพื่อให้คนไทยมีโอกาสได้ใช้ยาคุณภาพในราคาที่เหมาะสมยุติธรรม ลดการสูญเสียดุลการค้าจากการนำเข้ายาจากต่างประเทศ ในขณะเดียวกันก็เป็นการพัฒนาทักษะความสามารถของเภสัชกรไทยให้มีศักยภาพมากขึ้นทั้งคุณภาพ และการบริการที่เหนือกว่า ด้วยราคายุติธรรม” ภก. สุรชัย เรืองสุขศิลป์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชุมชนเภสัชกรรม จำกัด (มหาชน) กล่าว นอกจากปณิธานที่เป็นสิ่งขับเคลื่อนสำคัญของชุมชนเภสัชกรรมแล้ว การวางเป้าหมายด้านรายได้เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ ภก. สุรชัย ตั้งเป้าไว้สูงถึง 1,000 ล้านบาท “เราตั้งเป้ารายได้ไว้ที่ 1,000 ล้านบาท ภายในปี 2668 โดยมีอัตราการเติบโตปีละ 15 เปอร์เซ็นต์

Read More

อุตสาหกรรม PPE เติบโตสูง โอกาสของไทยเป็นผู้นำในภูมิภาค

ภาคอุตสาหกรรมในไทยในช่วงเวลาต่อจากนี้มีแนวโน้มขยายตัวขึ้น อาจเกิดจากปัจจัยบวกของนโยบายรัฐบาลที่จะสนับสนุนการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมภายในประเทศ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และการส่งเสริมการลงทุนของธุรกิจอย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิด BCG และอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตคือ อุตสาหกรรม PPE หรือ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ที่นายกสมาคมวิศวกรรมความปลอดภัย ดร. วิฑูรย์ สิมะโชคดี บอกว่า “ตลาด PPE ไทยกำลังมีอนาคต” “อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล หรือ PPE (Personal Protective Equipment) เป็นอุปกรณ์สำหรับสวมใส่เพื่อป้องกันการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจากสถานที่ทำงาน ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายและสุขอนามัย (Safety & Health) ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 8 ชนิด คือ อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ อุปกรณ์ป้องกันหู แว่นนิรภัย ถุงมือนิรภัย รองเท้านิรภัย เข็มขัดนิรภัย หน้ากากกรองฝุ่นละออง เสื้อสะท้อนแสง ปัจจุบันเป็นตลาดที่น่าจับตามาก โดยในปี 2566 ที่ผ่านมามีมูลค่าสูงถึง 83.91 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และปีนี้มูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 87.69 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ยังมีการคาดการณ์ว่าตลาดจะขยายตัวเพิ่มสูงถึง

Read More

อสังหาฯ EEC โตไม่หยุด แกรนด์แอสเสท ผุดเมกะโปรเจกต์

ทำเลในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ที่ครอบคลุม 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง ถือเป็นทำเลอสังหาฯ ที่ฆ่าไม่ตาย เพราะผู้ประกอบการอสังหาฯ โดยเฉพาะรายใหญ่มักจะเลือกไปปักหมุดและสร้างอาณาจักรเมื่อมองเห็นทิศทางการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งแตกต่างจากทำเลอสังหาฯ ที่ขายไม่ดี และมีโอกาสที่จะไปต่อได้ยาก เช่น สายไหม, ติวานนท์-นวลฉวี, บางนา-ตราด กม.10-30, แบริ่ง วัดด่าน, รัตนาธิเบศร์-ท่าอิฐ และพหลโยธิน-วังน้อย เป็นต้น โดยเหตุผลส่วนใหญ่ของทำเลที่ขายไม่ดี มีทั้งเป็นโครงการที่เก่าแล้ว ไม่ใช่พื้นที่ในยุคสมัย และโอกาสกู้เงินจากสถาบันการเงินมีจำกัด ปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อพื้นที่ EEC คือการเป็นหมุดหมายสำคัญของภาครัฐในการพัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ สำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แน่นอนว่าสิ่งที่ตามมา คือโอกาสในธุรกิจท่องเที่ยว การขยายตัวทางเศรษฐกิจในพื้นที่ ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ระบุว่า หากผู้ประกอบการอสังหาฯ ศึกษาเรื่องราวโครงการในพื้นที่ EEC เป็นอย่างดี จะมองเห็นโอกาสในการลงทุนอสังหาฯ ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การลงทุนซื้อคอนโดเพื่อปล่อยเช่า การลงทุนซื้อบ้านหรือสร้างบ้านเพื่อขายทำกำไร การลงทุน ออฟฟิศ สำนักงานสำหรับขายหรือให้เช่า

Read More

NIA เผยงานวิจัยเพื่อสุขภาพและสุขภาวะ โอกาสสตาร์ทอัปสร้างนวัตกรรมรับมือ

เศรษฐกิจและสุขภาพมีความสัมพันธ์อย่างไม่อาจเลี่ยง จากข้อมูลในอดีตชี้ให้เห็นว่า วิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมามักจะสร้างผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และระบบบริการสุขภาพของประเทศ และอย่างที่ทราบกันดีว่า ประเทศไทยก้าวสู่สังคมสูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ข้อมูลจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พบว่า ไทยมีประชากรผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็น 1 ใน 5 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ หรือประมาณ 13 ล้านคนของประชากรไทยทั้งประเทศ 66,057,967 คน อีกข้อมูลที่น่าสนใจคือ เศรษฐกิจด้านสุขภาวะ GenZ ตอบสนองต่อสินค้าและบริการดิจิทัลด้านสุขภาพสูงกว่าคนกลุ่มอื่นถึง 2 เท่า และยินดีแลกเปลี่ยน เปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพเชิงลึกของตนเองกับส่วนลดบริการด้านสุขภาพมากขึ้น “ปัจจุบันประเทศไทยให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพจิตและความเจ็บป่วยทางจิตเวช ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากปัจจัยหลากหลายประการ โดยข้อมูลจากคลังข้อมูลทางการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานถึงความเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการด้านจิตเวช ซึ่งพบว่าสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2558 จากจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการด้านจิตเวช 1.3 ล้านคนในปี 2565 เพิ่มขึ้นถึง 2.4 ล้านคน ปัญหาที่พบส่วนใหญ่พบได้ในทุกช่วงวัย เช่น เด็กและเยาวชนมีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า ความเครียดและความวิตกกังวล อีกทั้งยังป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการทำร้ายตัวเอง”

Read More

นงชนก สถานานนท์ ฉายภาพความสำเร็จ เดอะ คอฟฟี่คลับ ชูกลยุทธ์ Neighborhood Café

ในแต่ละปีคนไทยมีการบริโภคกาแฟมากถึงปีละ 7 หมื่นตัน จากข้อมูลของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พฤติกรรมนี้เป็นตัวเร่งให้ตลาดกาแฟในไทยสูงถึง 60,000 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็นมูลค่าของธุรกิจร้านกาแฟนอกบ้านประมาณ 27,000 ล้านบาท และกาแฟในบ้านประมาณ 33,000 ล้านบาท ความหอมของกาแฟที่ปลุกให้เราตื่นตัวทุกครั้ง ส่งผลให้ธุรกิจร้านกาแฟมีการแข่งขันที่ดุเดือดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการที่เป็นเชนจากต่างประเทศ เดอะ คอฟฟี่ คลับ คือหนึ่งในนั้น ที่ไมเนอร์ กรุ๊ป เข้ามาท้าทายสมรภูมินี้จากการที่เป็นผู้บริหาร เดอะ คอฟฟี่ คลับ ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2553 เดอะ คอฟฟี่ คลับ (The Coffee Club) ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2532 ที่ Eagle Street Pier ในเมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย ปัจจุบันมีสาขามากกว่า 400 สาขาใน 10 ประเทศทั่วโลก ขณะที่ในไทยมี 41 สาขา

Read More

โอกาสของอุตสาหกรรมยา ในมุมมองผู้ประกอบการไทย

มูลค่าของอุตสาหกรรมยาในไทยที่สูงถึง 2 แสนล้านบาท ทว่ายาที่อยู่ในตลาดกลับเป็นยาที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ 60% อีก 40% เป็นยาจากผู้ประกอบการไทย หรือประมาณ 50,000 ล้านบาทของมูลค่าตลาด ด้วยสัดส่วนนี้ทำให้เห็นว่าตลาดยาในไทยมีผู้เล่นจากต่างชาติถือครองสัดส่วนมากกว่า แม้ว่าผู้ประกอบการยาไทยจะมีศักยภาพไม่แตกต่างกันก็ตาม จากตัวเลขดังกล่าวทำให้มีความพยายามจากหลายฝ่ายที่จะเพิ่มสัดส่วนยาจากผู้ประกอบการไทยในตลาดมากขึ้น แม้ว่าจะมีปัจจัยที่ไม่เอื้ออำนวยในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านวัตถุดิบและสารตั้งต้นในการผลิตยาที่ไทยจำเป็นต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่มีวัตถุดิบที่ผู้ประกอบการยาไทยสามารถผลิตเองได้มีเพียง 20 รายการ ด้วยปัจจัยข้างต้นทำให้ราคายาในไทยมีราคาแพง เมื่อเทียบกับค่าแรง ค่าครองชีพและภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน “ผู้จัดการ 360 องศา” มีโอกาสได้พูดคุยกับผู้ผลิตยาไทยอย่าง ภก. ประพล ฐานะโชติพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีแมน ฟาร์มาซูติคอล จำกัด (มหาชน) หรือ ที แมน ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์ยากว่า 50 ปี “สถานการณ์ตลาดยาไทย ที่ผู้ประกอบการไทยไม่ได้ถือครองสัดส่วนตลาดยาเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เราไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราไม่สามารถผลิตวัตถุดิบและสารตั้งต้นในประเทศไทยได้ หากจะเทียบกับจีนและอินเดีย ซึ่งมีความพร้อม รวมถึงศักยภาพมากกว่า ซึ่งส่วนใหญ่เรานำเข้าวัตถุดิบจากสองประเทศนี้ ยาแผนปัจจุบันถ้าเราจะรุกตลาดต่างประเทศ ยังคงเป็นเรื่องยาก

Read More

Jobsdb by SEEK กับเทคโนโลยี AI โซ่ข้อกลางเชื่อมตลาดงาน-แรงงาน

สถานการณ์ภาพรวมของตลาดแรงงานไทยในปี 2566 ที่ผ่านมา สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย ประเมินว่า อัตราการจ้างงานใหม่ขยายตัวแบบเปราะบางตามทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย ซึ่งตลาดแรงงานของไทยเผชิญปัญหาใหญ่ๆ อยู่ 2 ด้าน คือ 1. การขาดแคลนแรงงานไร้ทักษะที่ต้องพึ่งพิงแรงงานต่างด้าวสูงและมีทักษะ 2. การตกงานของแรงงานจบใหม่ที่วุฒิการศึกษาไม่ตรงต่อความต้องการของนายจ้าง ขณะที่การจ้างงานและแนวโน้มสังคมโลกปี 2567 จากรายงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) หรือ World Employment and Social Outlook Trends: 2024-WESO Trends) ระบุว่า อัตราการว่างงานและจำนวนผู้ว่างงานที่สนใจหางานลดลงต่ำกว่าช่วงก่อนสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19  โดยอัตราการว่างงานทั่วโลกในปี 2566 อยู่ที่ร้อยละ 5.1 ดีขึ้นเล็กน้อยจากปี 2565 ที่อยู่ที่ร้อยละ 5.3 จำนวนผู้ว่างงานที่สนใจหางานทั่วโลกและอัตราการมีส่วนร่วมของแรงงานก็ดีขึ้นในปี 2566 ข้อมูลจาก Jobsdb by SEEK หนึ่งในแพลตฟอร์มหางานอันดับหนึ่งในไทยเป็นไปในทิศททางเดียวกัน อัตราการจ้างงานในครึ่งแรกของปี 2024 มีโอกาสเติบโตมากขึ้นถึงร้อยละ 54 คาดการณ์จากค่าเฉลี่ยจำนวนของประกาศงานบนเว็บไซต์ Jobsdb

Read More

พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ เปิดตัว Canvas Ventures ดันสตาร์ทอัปไทยสู่เวทีโลก

สาเหตุที่สตาร์ทอัปไทยหลายรายไปไม่ถึงเป้าหมาย และเจอทางตันในการดำเนินธุรกิจ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะข้อจำกัดด้านความสามารถในการเข้าถึงสินเชื่อ ที่มักจะกลายเป็นปัญหาหลักของผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ อีกส่วนหนึ่งคือการขาดนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ หรือแม้แต่คำแนะนำที่เหมาะสม ท้ายที่สุดสตาร์ทอัปเหล่านี้ต้องถอยกลับไปยังจุดเริ่มต้นอีกครั้ง หรือที่แย่ที่สุดคือไม่สามารถดำเนินกิจการต่อได้ จากแนวคิดที่ต้องการจะกลบจุดบอดของผู้ประกอบการสตาร์ทอัป และการเป็นตัวเชื่อมระหว่างนักลงทุนกับสตาร์ทอัปรุ่นใหม่ๆ  ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้ที่เคยนั่งอยู่ในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA จึงตัดสินใจเปิดตัวบริษัทร่วมลงทุนในนาม Canvas Ventures เพื่อช่วยขับเคลื่อนสตาร์ทอัปไทยให้ไปสู่เวทีโลก “เราเป็นสะพานเชื่อมการลงทุนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส” คำอธิบายของ ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ถึงบริษัทร่วมลงทุน แคสวาส เวนเจอร์ส ก่อนจะขยายความอย่างละเอียดว่า “แคนวาส เวนเจอร์ส คือบริษัทร่วมลงทุนสัญชาติไทยและฝรั่งเศสแบบ Multifamily Office หรือบริษัทที่บริหารเงินลงทุนจากธุรกิจครอบครัว มีการรวบรวมเงินทุนจากหลายบริษัท หรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษมาลงทุนในระยะยาว คล้ายการลงทุนด้วยเงินกองกลางของครอบครัว หรือ ‘กงสี’ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใหม่มากสำหรับไทย ที่ผ่านมาบริษัทในอังกฤษและจีนมักจะนำเงินไปลงทุนในสิงคโปร์ มีการตั้งบริษัทในลักษณะนี้มากกว่าหนึ่งพันแห่ง ซึ่งแคนวาส เวนเจอร์สจะเข้ามาเติมเต็มให้กับสตาร์ทอัป โดยเราจะให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการใน 2 ระยะ คือ ระยะเริ่มต้น และระยะที่กำลังเติบโต และสิ่งสำคัญที่สตาร์ทอัปทั้งสองกลุ่มนี้ต้องมี

Read More

95 ปี Jubilee Diamond  แบรนด์เพชรเบอร์หนึ่งของไทยในมือ อัญรัตน์ พรประกฤต

แม้ว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยและโลกจะอยู่ในภาวะชะลอตัว แต่ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับยังคงเป็นธุรกิจที่มีอนาคต นั่นเพราะกลุ่มลูกค้าหลักมีศักยภาพในการจับจ่าย แม้จะเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า อัญมณีและเครื่องประดับเป็นสินค้าที่ผู้คนชื่นชอบ และประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศชั้นแนวหน้าของโลก ได้รับการยอมรับในระดับสากลในอุตสาหกรรมนี้ นอกจากนี้ ยังมีประเทศอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงในด้านนี้ เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี อิตาลี ฝรั่งเศส และเบลเยียม สำหรับแบรนด์เครื่องประดับเพชรที่เฉิดฉายและส่องประกายมาอย่างยาวนานกว่า 95 ปี อย่าง Jubilee Diamond ที่ปัจจุบันบริหารงานโดยทายาทรุ่นที่ 4 อัญรัตน์ พรประกฤต อาจกล่าวได้ว่า เธอคือนักปฏิวัติวงการเครื่องประดับเพชรอย่างที่หลายคนให้คำนิยาม นับตั้งแต่วันที่แบรนด์เครื่องประดับเพชรอย่าง Jubilee Diamond ถือกำเนิดขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2536 ด้วยการจัดตั้งบริษัท ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ด้วยเงินทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 10 ล้านบาท แต่เส้นทางการเดินทางของยูบิลลี่นั้นเริ่มต้นมาตั้งแต่ต้นตระกูลพรประกฤต ที่เริ่มธุรกิจโรงรับจำนำในย่านสะพานเหล็ก ก่อนจะผันตัวและขยับขยายสู่ร้านจำหน่ายเครื่องประดับและอัญมณีในรุ่นถัดมา ก่อนจะบริหารงานโดย วิโรจน์ พรประกฤต ผู้เป็นบิดา ความแตกต่างของแบรนด์ยูบิลลี่ ไดมอนด์ ในเวลานั้น คือ

Read More

การเติบโตของ 137 ดีกรี แบบออแกนิกสู่เบอร์หนึ่งนมทางเลือก

การบุกเบิก และเป็นของใหม่ในตลาดไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะในตลาดนมพร้อมดื่มที่มีมูลค่าสูงหลายหมื่นล้านบาท และคู่แข่งมากหน้าหลายตาให้ฝ่าฟัน แต่ อริสา อร่ามวัฒนานนท์ กลับสร้างความแตกต่างและเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในตลาดนม สร้างทางเลือกใหม่ด้วยการเสิร์ฟนมทางเลือกผลิตภัณฑ์จากอัลมอนด์ การแพ้นมวัวของอริสา เป็นที่มาของการเริ่มต้นธุรกิจเมื่อ 9 ปีก่อน นมอัลมอนด์จึงเป็นทางออกที่ดีของการเติมเต็มด้านสุขภาพ การเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศและเห็นผลิตภัณฑ์นมทางเลือกอย่างอัลมอนด์ ทว่ารสชาติยังไม่ถูกปากนัก อริสาจึงมองเห็นโอกาสในการพัฒนาและต่อยอดธุรกิจ แรกเริ่ม อริสาทดลองทำนมอัลมอนด์เพื่อดื่มเองภายในครอบครัว ก่อนจะเริ่มแจกจ่าย และตัดสินใจนำผลิตภัณฑ์ออกวางจำหน่ายในท้องตลาด และนำมาสู่แบรนด์ 137 ดีกรี® ภายใต้บริษัท ซิมเพิ้ล ฟู้ดส์ จำกัด “137 มาจากเลขที่บ้านค่ะ เราอยากจะสื่อถึงจุดเริ่มต้นของเราว่าเป็นโฮมเมดมาก่อน จึงใช้บ้านเลขที่มาตั้งเป็นชื่อแบรนด์ส่วน ‘ดีกรี’ คือเพิ่มความเป็นยูนิค” อริสา อร่ามวัฒนานนท์ กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้ง บริษัท ซิมเพิ้ล ฟู้ดส์ จำกัด อธิบายที่มา 137 ดีกรี® เป็นเจ้าแรกในตลาดนมทางเลือก และยืนระยะการเป็นเบอร์หนึ่งในตลาดได้ตลอดระยะเวลาที่เริ่มต้นสร้างแบรนด์มา 9 ปี ที่น่าสนใจ คือ การเติบโตแบบออแกนิก เน้นการสื่อสารแบบปากต่อปาก จนวันนี้ที่ซิมเพิ้ล ฟู้ดส์

Read More