Home > Suwatcharee Pormbunmee (Page 2)

โอฬาร จันทร์ภู่ มองธุรกิจรับสร้างบ้านปี 67 ท้าทายบนความผันผวน

ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ กำลังซื้อที่ลดลง ส่งผลเป็นระลอกคลื่นไปยังธุรกิจในหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่แม้จะมีการเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง แต่เน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายที่ยังมีกำลังซื้อ และไม่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ ตลาดรับสร้างบ้านเป็นอีกหนึ่งตลาดที่พบกับภาวะชะลอตัว ทั้งในด้านปริมาณและมูลค่าตลาดที่ปรับตัวลดลงไปในทิศทางเดียวกัน ในปี 2565 ขนาดของตลาดรับสร้างบ้านมีมูลค่า 2.5 หมื่นล้านบาท และปี 2566 มีการปรับตัวลดลงเหลือ 1.8 หมื่นล้านบาท หรือลดลงเฉลี่ย 18% พื้นที่ที่มีการชะลอตัวมากที่สุดได้แก่ กรุงเทพฯ ภาคเหนือ และภาคอีสาน โอฬาร จันทร์ภู่ นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน (Home Builder Association: HBA) เปิดเผยภาพรวมตลาดรับสร้างบ้านในครึ่งปีแรกปี 2567 ชะลอตัวลง มียอดเซ็นสัญญาสั่งสร้างบ้าน มูลค่ารวมลดลงอยู่ที่ 4,505 ล้านบาท หรือประมาณ 15% ในทุกระดับราคา เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก 2566 ที่มียอดเซ็นสัญญาสั่งสร้างบ้าน มูลค่ารวม 5,300 ล้านบาท สะท้อนถึงสถานการณ์เศรษฐกิจที่ถดถอย และเป็นความท้าทายในการทำธุรกิจท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจ ที่มีหนี้ครัวเรือนสัดส่วนสูงถึง 91% ของจีดีพี

Read More

มองเศรษฐกิจอินโดฯ ผ่านงาน FI Asia 2024 โอกาสของผู้ประกอบการไทยในตลาดฮาลาล

หากมองภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารและส่วนประกอบของประเทศในเอเชีย อินโดนีเซียถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีตลาดใหญ่ เนื่องจากมีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก ประมาณ277 ล้านคน เมื่อดูตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมหรือ GDP ปี 2023 สูงกว่าไทยหลายเท่าตัว อยู่ที่ 5.1% และการบริโภคภาคครัวเรือนมีการขยายตัวสูงถึง 4.8% ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการขยายตัวในการบริโภคภาคครัวเรือนมาจากนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคมากขึ้น ประกอบกับนโยบายช่วยเหลือจากภาครัฐ ขณะที่ปัจจุบันอินโดนีเซียกำลังพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงการรถไฟฟ้า เพื่อเตรียมรับเมืองหลวงใหม่ “นูซันตารา” ซึ่งน่าจะเป็นอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้เกิดอัตราเร่งเกี่ยวกับเศรษฐกิจในหลายๆ ด้าน ทั้งการลงทุนภายในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น ภาคการผลิตโตและดันให้ GDP เพิ่มขึ้นได้ 1% เทียบกับเศรษฐกิจไทยที่ตัวเลข GDP ในไตรมาส 2/2567 อยู่ที่ 2.3% เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจหลายตัวยังเดินเครื่องแบบไม่เต็มกำลัง ภาคการส่งออกอยู่ในภาวะนิ่ง และไม่น่าจะขยายตัวมากไปกว่าปัจจุบัน อุตสาหกรรมท่องเที่ยวดูจะหวังพึ่งพาได้มากที่สุดในเวลานี้ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในประเทศอินโดนีเซียมีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยมีมูลค่าสูงถึง 280,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567 มีอัตราการเติบโตสูงถึง 6.12% ต่อปี ขณะที่ตลาดเบเกอรี่และซีเรียลได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้บริโภคในประเทศ ส่งผลให้เฉพาะตลาดนี้มูลค่า 51,990

Read More

กลุ่มสันขวานเปิด SK Check เช็กพระออนไลน์ ไม่ถูกหลอก

วงการพระเครื่องมักจะเป็นธุรกิจที่มีทิศทางการเติบโตสวนกระแส ไม่ว่าจะมีปัจจัยแวดล้อมที่สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เช่น โรคระบาดโควิด หรือความไม่แน่นอนทางการเมือง นักวิเคราะห์มองกันว่า ธุรกิจพระเครื่องมีเงินหมุนเวียนในตลาดสูงถึงพันล้านบาท ไทยเป็นตลาดพระเครื่องที่ใหญ่ที่สุดในโลก South China Morning Post เคยรายงานว่า ตลาดพระเครื่องในไทยมีเงินหมุนเวียนกว่า 45,000 ล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง นอกจากคนไทยแล้วพระเครื่องยังเป็นที่ต้องการของกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน พระเครื่องจึงถูกมองว่าเป็นซอฟต์พาวเวอร์ของเศรษฐกิจไทยอีกหนึ่งแขนง แม้ว่าปีนี้ตลาดพระเครื่องอาจจะเงียบเหงาลงบ้างเพราะค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น ผู้คนชะลอการจับจ่าย ส่งผลให้ตลาดพระขาดความคึกคักไปเท่าที่ควร แต่เซียนพระยังมองว่าแม้จะกระทบบ้างจากความต้องการที่หายไปตามภาวะเศรษฐกิจ แต่เมื่อสถานการณ์ดีขึ้นตลาดพระเครื่องจะฟื้นตัวได้ง่ายและเร็วกว่าธุรกิจอื่น SK Check แอปพลิเคชันที่ผูกกับ Line สำหรับตรวจเช็กว่าพระแท้หรือปลอม ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อไม่นานนี้ เกิดจากแนวคิดของกลุ่มสันขวาน ซึ่งเป็นกลุ่มเซียนพระในภาคตะวันตกของไทย ที่มี อาทิตย์ นวลมีศรี อยู่เบื้องหลังการบริหารงาน “เรามองว่าในระยะหลังวงการพระเครื่องถูกใช้เป็นเครื่องมือหาเงิน จนล้ำเส้นการอนุรักษ์ที่น่าจะเป็นมรดกของชาติ พระเครื่องมีมนต์เสน่ห์ในด้านพุทธคุณ มูลค่าของพระเครื่องเกิดจากพุทธคุณของนักสะสม ผู้ที่ครอบครอง เมื่อพระเครื่องหรือวัตถุมงคลมีจำนวนจำกัด ขณะที่ความต้องการมีมากกว่าทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์กับอุปทาน ราคาตลาดจึงสูงขึ้น” อาทิตย์ นวลมีศรี อธิบาย ปัญหาเศรษฐกิจอาจทำให้บางคนต้องมองหาตัวช่วยในเวลาฉุกเฉิน การแลกเปลี่ยนของสะสมอย่างพระเครื่องเป็นเงินจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ “แน่นอนว่า คนที่สามารถดูพระเป็นจะไม่ถูกฉวยโอกาส แต่คำถามคือ คนที่ดูพระไม่เป็นอาจทำให้ตกเป็นเหยื่อถูกหลอกง่าย ถูกกดราคา มีพระอยู่ที่บ้านแต่ไม่รู้ว่าสามารถเปลี่ยนเป็นเงินช่วยเหลือพวกเขาได้ในยามวิกฤตจริงๆ

Read More

ส่องเทรนด์ E-book โตพันล้าน แต่ไม่ทดแทนตลาดหนังสือเล่ม

ตลาดหนังสือเล่มในไทย ปีที่ผ่านมามีมูลค่าสูงประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท และถูกคาดการณ์ว่าปี 2567 มูลค่าตลาดจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.7 หมื่นล้านบาท ยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นในปีถัดไป ข้อมูลล่าสุดมูลค่าตลาด E-Book ปี 2564 อยู่ที่ 3,753 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 8% ต่อปี สะท้อนให้เห็นถึงความนิยม E-Book หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในไทย ที่เพิ่มขึ้นจากนักอ่าน มีข้อมูลว่าพฤติกรรมการอ่านของชาวไทยจากนักอ่านหนังสือเล่มย้ายไปสู่แพลตฟอร์ม E-Book มากถึง 42% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของนักอ่านโลก กวิตา พุกสาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สตอรี่ล็อก จำกัด ให้ข้อมูลว่า “ตลาด E-Book ทั่วโลกเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2561-2565 มีมูลค่าตลาดเพิ่มจาก 7.63 แสนล้านบาท เป็น 1.07 ล้านล้านบาทในปี 2565 มีอัตราเติบโตเฉลี่ย 14% ต่อปี

Read More

ภาวะมีบุตรยาก หนุนการแพทย์-ท่องเที่ยวโต รพ. นครธน เร่งคว้าโอกาส

ปัญหาการเกิดต่ำที่เกิดขึ้นในประเทศทั่วโลก จนส่งผลให้รัฐบาลของหลายประเทศมีการปรับเปลี่ยนนโยบาย สนับสนุนให้ครอบครัวมีสมาชิกเพิ่มขึ้น พร้อมข้อเสนอสวัสดิการสำหรับเด็กเกิดใหม่ เช่น รัฐบาลสิงคโปร์ออกมาตรการส่งเสริมการมีบุตร ซึ่งรวมถึงการเพิ่มเงินอุดหนุนบุตรสำหรับเด็กที่เกิดตั้งแต่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 โดยบุตรคนที่ 1-2 จะได้รับเงินเพิ่มจาก 8,000 เป็น 11,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อคน และบุตรคนที่ 3 เป็นต้นไปจะได้รับ 13,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อคน ขณะที่บิดาสามารถลางานเพื่อดูแลบุตรได้เพิ่ม จาก 2 สัปดาห์เป็น 4 สัปดาห์ รัฐบาลจีนที่ประกาศนโยบายลูก 3 คน เมื่อปี 2021 โดยเสนอลดหย่อนภาษีและระบบการดูแลสุขภาพของมารดา เพื่อส่งเสริมให้ครอบครัวมีขนาดใหญ่ขึ้น ถึงกระนั้นเมื่อปี 2022 ประชากรจีนลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 60 ปี อยู่ที่ 1.4118 พันล้านราย ลดลงประมาณ 8.5 แสนราย รัฐบาลญี่ปุ่นได้ผ่านร่างกฎหมายให้เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรและขยายวันลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร และยังให้เงินอุดหนุนการแช่แข็งเซลล์ไข่ ปัจจัยหลายด้านส่งผลต่อแนวคิดของคนรุ่นใหม่แต่งงานช้าลง ตัดสินใจที่จะไม่มีทายาท หรือในบางครอบครัวที่ต้องการมีบุตรแต่ต้องพบกับภาวะความกดดันก่อให้เกิดความเครียด ความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจ ส่งผลต่อปัญหาด้านสุขภาพ ตัวเลขของสถานการณ์คุณแม่คลอดบุตรในปี

Read More

ไฮเออร์ วัดกำลังตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า ดันไทยเป็นฐานการผลิต

ท่ามกลางความวิตกกังวลของผู้ประกอบการไทย ไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าระหว่างประเทศ ที่นักลงทุนจีนแห่แหนเข้ามาลงทุนในไทย โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม แพลตฟอร์มออนไลน์ ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า อสังหาฯ ทั้งในเรื่องประเด็นการขาดดุลการค้าระหว่างไทยและจีน หรือการตัดโอกาสสินค้าของผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ SMEs รายกลาง-รายย่อย ขณะที่นักลงทุนจีนอีกจำนวนไม่น้อยที่นำเม็ดเงินเข้ามาใช้จ่ายลงทุนในโครงการใหญ่ ซึ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะในแง่มุมของการจ้างงาน การก่อสร้าง หลายธุรกิจมาพร้อมความรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งนี่จะเป็นอีกหนึ่ง know-how ที่ไทยจะได้อานิสงส์ ปี 2023 ประเทศไทยมีนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาปักหมุดสร้างฐานการผลิตในหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งมูลค่าการลงทุนจากนักลงทุนจีนสูงถึง 382,061 ล้านบาท อยู่ในอันดับ 3 รองจากญี่ปุ่นและสิงคโปร์ ทว่า จีนกลับเป็นประเทศที่ขอรับการส่งเสริมจาก BOI มากสุดเป็นอันดับ 1 ที่ 430 โครงการ เงินลงทุน 159,387 ล้านบาท ไฮเออร์ เป็นอีกหนึ่งนักลงทุนจากจีนที่เข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทยเมื่อ 22 ปีที่แล้ว ด้วยการเทกโอเวอร์บริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายใต้แบรนด์ซันโย ในช่วงแรกนั้นดำเนินการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเพียงไม่กี่ประเภท เช่น ตู้แช่ ตู้เย็น ก่อนจะเพิ่มไลน์การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นตามมา ล่าสุดควักกระเป๋าลงทุนตั้งโรงงานผลิตเครื่องปรับอากาศแห่งแรกในประเทศไทยมูลค่ากว่า

Read More

ประวรา เอครพานิช กับแนวคิด Fabric Zero Waste

ฟาสต์แฟชั่น ถือครองสัดส่วนในอุตสาหกรรมสิ่งทออยู่ไม่น้อย นั่นเพราะเป็นสินค้าที่ขายได้ในเวลารวดเร็ว ต้นทุนการผลิตต่ำ เสื้อผ้าเหล่านี้มีราคาที่ไม่แพงมาก ได้รับความนิยมในช่วงเวลาหนึ่ง และจะถูกผลัดเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมของผู้บริโภค แต่การมาไว ไปไว กลับสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างมหาศาลในทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ฝ้าย คือวัสดุหลักที่ถูกใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ การผลิตฝ้ายต้องใช้พื้นที่และน้ำในปริมาณมาก การปลูกฝ้ายนั้นต้องใช้น้ำมากถึง 93 พันล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี หรือ 10,000-20,000 ลิตรต่อการผลิตเสื้อผ้า 1 กิโลกรัม ขณะที่การปลูกฝ้ายยังทำให้ดินรวมถึงแหล่งน้ำในบริเวณใกล้เคียงปนเปื้อนปุ๋ยและยาฆ่าแมลง กระทบต่อระบบนิเวศโดยตรง อุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงถึง 1.2 พันล้านตันต่อปี ซึ่งมากกว่าหากเปรียบเทียบกับตัวเลขคาร์บอนฟุตพรินต์ของการท่องเที่ยวกันระหว่างประเทศและการขนส่งรวมกัน และไม่ใช่เพียงขั้นตอนการผลิตที่สร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การซัก วิธีการทิ้งเสื้อผ้า เรียกได้ว่าทั้งกระบวนการของอุตสาหกรรมสิ่งทอปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 3.3 พันล้านตันในทุกๆ ปี หรือประมาณ  8% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก ผู้ประกอบการธุรกิจสินค้าแฟชั่นจำนวนไม่น้อยที่ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้และมีแนวคิดที่จะปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินธุรกิจเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ประวรา เอครพานิช ผู้บริหาร บูติดนิวซิตี้ คือหนึ่งในนั้น ที่พยายามสร้างการเปลี่ยนแปลง นำทรัพยากรส่วนเกินมาเข้าสู่กระบวนการ Upcycle และ Recycle โดยมีเป้าหมายสร้างความยั่งยืน “เราเป็นบริษัทที่ทำเสื้อผ้าสำเร็จรูปบริษัทแรกในไทย ดำเนินธุรกิจมา 50 ปี

Read More

ททท. ปรับเกมสร้างโอกาส ชูโมเดลการท่องเที่ยวยั่งยืน

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแม้ว่าจะเป็นเครื่องจักรสำคัญที่สร้างรายได้ให้เศรษฐกิจไทย โดยรายได้จากการท่องเที่ยวก่อนเกิดโรคระบาดโควิดคิดเป็น 18 เปอร์เซ็นต์ของ GDP แม้ว่าปัจจุบันสถานการณ์การท่องเที่ยวจะยังไม่กลับมาแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไทย ยังไม่กลับมาเท่ากับช่วงเวลาก่อนเกิดโควิด แต่ทั้งผู้ประกอบการและภาครัฐต่างพอใจกับจำนวนตัวเลขนักท่องเที่ยวในปัจจุบัน และพยายามอย่างเต็มกำลังที่จะสร้างแรงดึงดูดเพื่อหวังเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวในอนาคต มีข้อมูลระบุว่า การท่องเที่ยวมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ชั้นบรรยากาศประมาณ 8-11% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ทั้งโลกในปี 2562 นี่อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ ททท. จริงจังและปรับแผนการท่องเที่ยวไปสู่การท่องเที่ยวยั่งยืน ขณะที่ในช่วงปี 2562-2566 ตลาดการท่องเที่ยวยั่งยืนของโลกมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% จากพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญและตระหนักถึงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นอกจากนี้ เป้าหมายดูจะไม่ใช่แค่จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นตามความคาดหมาย แต่ยังปรับกลยุทธ์ให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ ไม่ใช่เพียงแค่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ แต่ยังเป็นการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะธุรกิจในห่วงโซ่ที่มีแนวทางการดำเนินธุรกิจที่สร้างความยั่งยืนทั้งระบบ และไม่สร้างผลกระทบด้าน Climate Change ตัวเลขการท่องเที่ยวในปี 2566 ที่มีนักท่องเที่ยวมากกว่า 28 ล้านคน สร้างรายได้การท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1.2 ล้านล้านบาท ทำให้ปีนี้การท่องเที่ยวตั้งเป้ารายได้การท่องเที่ยวน่าจะอยู่ที่ 3.5 ล้านล้านบาท และการท่องเที่ยวยั่งยืนที่ไม่ใช่แค่เทรนด์ หรือจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่ม แต่อาจจะเป็นกุญแจความสำเร็จของการท่องเที่ยวของไทย “นี่จะเป็นภูมิคุ้มกันระยะยาวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ ททท. มุ่งเดินหน้าขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาแบรนด์ Amazing Thailand

Read More

อนาคตผู้ประกอบการไทย กับนโยบายการแข่งขันที่ยุติธรรม

ธุรกิจที่เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยหรือธุรกิจประเภท SMEs คิดเป็น 95 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจทั้งหมด และยังมีการจ้างงานกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจทั้งหมดเช่นกัน SMEs จึงมีส่วนสำคัญต่อการสร้างงาน สร้างรายได้ และเป็นแรงขับสำคัญในการพัฒนาธุรกิจขนาดใหญ่ แต่ธุรกิจขนาดย่อมยังไม่อาจเติบโตได้ซึ่งมีหลายปัจจัยที่สร้างผลกระทบ นั่นคือ การไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สำคัญ การถูกกีดกันทางการค้า ทำให้ไม่สามารถแข่งขันได้อย่างเต็มที่ อำนาจการแข่งขันตกไปอยู่ในมือของธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความมั่งคั่งด้านการเงิน จนเกิดอำนาจเหนือตลาด สิ่งสำคัญที่จะช่วยลดปัญหาข้างต้นคือการมีกฎหมายการแข่งขันทางการค้า ไทยเริ่มมีกฎหมายการแข่งขันทางการค้าตั้งแต่ พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ. 2490 และมีการพัฒนามาตามลำดับจนเป็น พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งออกมาแทน พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 นอกจากการมีกฎหมายเพื่อให้ผู้ประกอบการทั้งรายเล็กและรายใหญ่มีสิทธิในการแข่งขันทางการค้าอย่างยุติธรรม ยังมีสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า หรือ กขค. (TCCT) ซึ่งมีหน้าที่สนับสนุนผู้ประกอบการ รับเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูล ทำความตกลงและร่วมมือกับองค์กรหรือหน่วยงานในและต่างประเทศเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประกอบการ ล่าสุด TCCT ร่วมกับองค์การศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศจัดงาน TCCT Competition Policy Symposium: An Optimal Competition

Read More

ฉายภาพแนวคิด อัญรัตน์ พรประกฤต ดีเอ็นเอ เจน 4 ของ ยูบิลลี่ ไดมอนด์

เป็นอีกครั้งที่ “ผู้จัดการ 360 องศา” ได้พูดคุยกับ ผู้บริหารของบริษัท ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) อย่างคุณอัญรัตน์ พรประกฤต ทายาทรุ่นที่ 4 ของร้านเพชรที่ถือกำเนิดมาจากร้านเพชรเล็กๆ ย่านสะพานเหล็ก แม้ไม่ได้วางตัวให้รับช่วงต่อธุรกิจของครอบครัว แต่การจับพลัดจับผลูในช่วงการค้นหาตัวเอง ทำให้อัญรัตน์เจอสิ่งที่ใช่ งานที่ชอบ จนก้าวเข้าสู่ปีที่ 22 ของการทำงานที่ ยูบิลลี่ “อัญไม่ได้ถูกวางแผนอนาคตว่าต้องเข้ามารับช่วงต่อ เพราะตอนที่คุณพ่อบริหารงานอยู่ ท่านคิดว่า สามารถที่จะลดความเป็นธุรกิจครอบครัว มองหาผู้บริหารมืออาชีพที่เหมาะสมเข้ามาทำงาน ท่านก็จะปล่อยให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไป ส่วนลูกๆ ใครอยากทำอาชีพอะไร เก่งด้านไหน มีความชอบอะไร ก็ไปทำในสิ่งที่ตัวเองชอบได้เลย” อัญรัตน์ พรประกฤต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ย้อนอดีตให้ฟัง แต่ด้วยความที่เติบโตมาในบ้านที่ทำธุรกิจ การช่วยงานเล็กๆ น้อยๆ จึงเป็นเหมือนหน้าที่ ที่ไม่ต้องมีคนคอยบอก อัญรัตน์มักช่วยงานง่ายๆ ที่เด็กหญิงสักคนจะทำได้ “การช่วยงานหน้าร้าน เช่น

Read More