Home > manager360 (Page 353)

โรบินสันจับมือ ไอ.ซี.ซี. ทำบิ๊กโปรเจ็กต์ จัดโปรโมชั่นสุดคุ้ม “I.C.C. Super Sale”

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) จับมือ บริษัท ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ทำบิ๊กโปรเจ็กต์ จัดโปรโมชั่นลดกระหน่ำสินค้า ไอ.ซี.ซี. ฯ กว่า 100 แบรนด์ ทั้งเสื้อผ้าสตรี บุรุษ เด็ก เครื่องหนัง ชุดว่ายน้ำ ชุดชั้นใน และเครื่องสำอาง ลดทั้งเคาน์เตอร์สูงสุด 50 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งสินค้าใหม่ พลาดไม่ได้ ระหว่างวันที่ 17 เมษายน ถึง 7 พฤษภาคม 2560 ณ โรบินสัน ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ และโรบินสันไลฟ์สไตล์ ทุกสาขาทั่วประเทศ คนึงหา แซ่ตั่น ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบริหารสินค้าทั่วไป บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในปีนี้โรบินสันมุ่งเน้นสร้างประสบการณ์พิเศษแก่นักช้อป ตามโรดแมป

Read More

ยักษ์กะโจน นำทีมปั่นจักรยาน เข้าร่วมงาน “คืนชีวิตให้แผ่นดิน ครั้งที่ 11”

ผ่านพ้นไปด้วยความภาคภูมิใจของเหล่านักปั่นกว่าร้อยชีวิต ที่มาร่วมพิสูจน์ใจ พิชิตเป้าหมายได้สำเร็จ สำหรับกิจกรรม “ธรรมธุรกิจชวนปั่น พิสูจน์ใจไปด้วยกัน ในระยะทาง 109 กิโลเมตร” เมื่อวันเสาร์ที่ 18 มี.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการปั่นจักรยานจาก พิคคาเดลี่ แบงคอก โดยอารียา พรอพเพอร์ตี้ มุ่งสู่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง จ.ชลบุรี เพื่อไปเข้าร่วมมหกรรมคืนชีวิตให้แผ่นดิน ครั้งที่ 11 “สานต่อศาสตร์พระราชา สถาปนาปูทะเลย์มหาวิชชาลัย” งานจักรยานครั้งใหญ่แห่งเดือน มี.ค. “ธรรมธุรกิจชวนปั่น พิสูจน์ใจไปด้วยกัน ในระยะทาง 109 กิโลเมตร” มีนักปั่นเข้าร่วมกว่า 100 ราย นำโดย หนาว - พิเชษฐ โตนิติวงศ์ (ผู้จัดการโครงการธรรมธุรกิจ), อัยย์ - วีรานุกูล, แอ๊ป - ธุวชิต วิไลโอฬาร, โอ -

Read More

มอนเด นิสซิน เปิดตัว “ควอร์น” โปรตีนทางเลือก ไร้เนื้อสัตว์ จากอังกฤษ

บริษัทมอนเด นิสซิน ผู้ผลิตอาหารรายใหญ่แห่งประเทศฟิลิปปินส์ ทุ่มงบกว่า 23,000 ล้านบาท ควบรวมกิจการ บริษัท ควอร์น ฟู้ดส์ ประเทศอังกฤษ มุ่งเปิดตลาด โปรตีนทางเลือก ไร้เนื้อสัตว์ ภายใต้แบรนด์ “ควอร์น” (Quorn™) สู่ภูมิภาคเอเชียรวมถึงไทย เชื่อการเปิดตัว ควอร์น ครั้งแรกในไทยจะสามารถเจาะเทรนด์คนไทยยุคใหม่ที่รักสุขภาพและสิ่งแวดล้อม คาดธุรกิจผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์จะเติบโตได้มากกว่า 20% ในอีก 2 ปีข้างหน้า มร.รูฟิโน เทียมลี ประธานบริหาร บริษัท มอนเด นิสซิน ประเทศสิงคโปร์ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารในเครือ บริษัท มอนเด นิสซิน ภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า “จากแนวทางของบริษัทแม่ที่ต้องการขยายธุรกิจทั้งในประเทศที่มีฐานอยู่ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ ไทย ออสเตรเลีย อังกฤษ จึงได้ขยายธุรกิจ สู่ผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือก ภายใต้แบรนด์ “ควอร์น” (Quorn™) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารทางเลือกแบรนด์ดังจากประเทศอังกฤษ

Read More

“อาทิตย์ อุไรรัตน์” : ตำนานที่มีชีวิตและความหวังครั้งใหม่

หากกล่าวถึงนักธุรกิจ-การเมืองไทยที่ดำเนินบทบาทโลดแล่นและอุดมด้วยสีสัน พร้อมด้วยเรื่องราวแห่งชีวิตที่มีทั้งมิติของความสำเร็จและบทเรียนบนความล้มเหลวให้ได้สืบค้นติดตาม “อาทิตย์ อุไรรัตน์” ถือได้ว่าเป็นอีกชื่อหนึ่งในทำเนียบนามของ “ตำนานที่ยังมีชีวิต” (Living Legend) ที่ต้องได้รับการเอ่ยถึงในลำดับต้นๆ อย่างไม่อาจปฏิเสธ เพราะด้วยวัย 79 ปี หากเป็นผู้คนทั่วไปคงใช้เวลาในช่วงที่เป็นประหนึ่งปัจฉิมวัยนี้ ให้ผ่านพ้นไปด้วยการพักผ่อน หรือแม้กระทั่งคิดทบทวนอดีตกาลครั้งเก่า ด้วยท่วงทำนองที่อ่อนแรงกำลังในการสร้างสรรค์และขาดความคิดคำนึงถึงอนาคตเบื้องหน้า แต่สำหรับ อาทิตย์ อุไรรัตน์ ดูเหมือนเขายังอุดมด้วยจิตวิญญาณของการพัฒนาและความคิดฝันคาดหวังที่หาได้ยากสำหรับผู้คนที่กำลังมุ่งหน้าสู่การเป็นผู้สูงอายุในวัย 80 (octogenarian) นี้ ความแตกต่างของ อาทิตย์ อุไรรัตน์ เมื่อเปรียบเทียบกับนักธุรกิจ-การเมือง รายอื่นๆ ของสังคมไทยที่เห็นได้ชัดในด้านหนึ่งอยู่ที่ทัศนะที่ก้าวหน้า ความกล้าหาญในการตัดสินใจโดยยึดถือผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง และไม่สยบยอมต่ออำนาจและผลกระทบที่อาจมีต่อกิจการของเขาและครอบครัว ซึ่งในด้านหนึ่งอาจทำให้ภาพลักษณ์โดยรวมของอาทิตย์ อุไรรัตน์ ทั้งในมิติของการเมืองและธุรกิจ ดูประหนึ่งไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก แต่ด้วยวิถีที่ว่านี้ อาทิตย์ อุไรรัตน์ กลับกลายเป็นตัวแบบ (model) และตัวแทน (represent) ที่สะท้อนมิติความเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ได้เป็นอย่างดี ย่างก้าวของอาทิตย์ อุไรรัตน์ นับตั้งแต่การเข้าไปดำรงตำแหน่งผู้ว่าการประปานครหลวง เมื่อปี 2527 ซึ่งได้รับการกล่าวถึงในฐานะ อัศวินม้าขาว ที่เข้าไปกอบกู้กิจการของการประปานครหลวงที่เคยเป็นดินแดนสนธยาและอุดมด้วยผลประโยชน์ ให้ปลอดพ้นจากอำนาจแทรกแซงเพื่อผลประโยชน์ของทั้งเหล่าข้าราชการและนักการเมือง

Read More

“ดุสิตธานี” บนจุดตัดแห่งยุคสมัย

  การประกาศความร่วมมือระหว่างเครือดุสิตธานี (DTC) กับกลุ่มเซ็นทรัล โดยเซ็นทรัลพัฒนา (CPN) เพื่อร่วมการปรับโฉมและพัฒนาพื้นที่โรงแรมดุสิตธานีให้เป็นอาคารพาณิชยกรรมแบบประสม (mixed use) ภายใต้งบลงทุน 36,700 ล้านบาท นอกจากจะเป็นดีลใหญ่แห่งปีแล้ว กรณีดังกล่าวยังสะท้อนภาพภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนไปของธุรกิจโรงแรม และการพัฒนาที่ดินในเขตเมืองหลวงของสยามประเทศที่มีนัยสำคัญอีกด้วย อาคารของโรงแรมดุสิตธานีที่มีความสูง 23 ชั้นซึ่งตั้งตระหง่านอยู่ที่หัวมุมถนนพระราม 4 ตัดกับถนนสีลมมานานเกือบ 5 ทศวรรษเคยได้รับการกล่าวถึงในฐานะที่เป็นตัวแทนและสัญลักษณ์ของการก้าวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ (modernism) ของสังคมไทย และเป็นแลนด์มาร์คสำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย กำลังจะถูกรื้อถอน เพื่อเปิดทางให้โครงการที่จะประกอบส่วนด้วยศูนย์การค้า โรงแรม และอาคารสำนักงาน เบียดแทรกขึ้นมาทดแทน ความเป็นไปของดุสิตธานี ในด้านหนึ่งสะท้อนวิถีและข้อเท็จจริงของธุรกิจโรงแรมของไทยที่เผชิญหน้ากับการแข่งขันที่หนักหน่วง หลังจากมีโรงแรมจากเครือระดับนานาชาติเข้ามาเปิดดำเนินการอย่างหลากหลาย ขณะที่ผู้ประกอบการดั้งเดิมของไทย ทั้งดุสิตธานี ปาร์คนายเลิศ โรงแรมเอเชีย แอมบาสเดอร์ ต่างอยู่ในภาวะที่ต้องปรับตัว และปรับปรุงอาคารสถานที่ให้สามารถดึงดูดและเป็นทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวระดับต่างๆ ได้มากขึ้น ควบคู่กับปรากฏการณ์ของการพัฒนาพื้นที่ในเขตเมืองที่ทำให้ราคาที่ดินกลายเป็นส่วนหนึ่งของสมการการสร้างประโยชน์ทางธุรกิจอีกด้วย ทางเลือกของผู้ประกอบการหรือทายาทที่รับช่วงธุรกิจแต่ละราย จึงดำเนินไปบนบริบทที่หลากหลาย โดยในกรณีของณพาภรณ์ โพธิรัตนังกูร กรรมการผู้จัดการของโรงแรมปาร์คนายเลิศ จำกัด ทายาทรุ่นที่ 4 ของเลิศ เศรษฐบุตร และหลานยายของท่านผู้หญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ ระบุว่า “ธุรกิจโรงแรมมีการแข่งขันสูงมาก

Read More

จาก รพ. พญาไท สู่ RSU International ย่างก้าวแห่งการพิสูจน์บทเรียน

แม้ว่าข่าวการเปิดตัว RSU International Hospital ในฐานะที่เป็น Smart Hospital และจังหวะก้าวครั้งใหม่ของอาทิตย์ อุไรรัตน์ จะได้รับการตอบสนองจากแวดวงธุรกิจและสื่อสารมวลชนด้วยท่วงทำนองที่เฉยชาและเงียบงันกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ หากแต่ข้อเท็จจริงที่ยากปฏิเสธจากกรณีที่ว่านี้ก็คือ ความเคลื่อนไหวนี้เป็นภาพสะท้อนความมั่นใจและวิสัยทัศน์ที่น่าจับตามองของอาทิตย์ อุไรรัตน์ ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี นับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี 2540 ซึ่งทำให้โรงพยาบาลพญาไท ธุรกิจครอบครัวของตระกูลอุไรรัตน์ ในนามของ บมจ.ประสิทธิ์พัฒนา ต้องตกอยู่ในภาวะยากลำบากและในที่สุดต้องหลุดพ้นออกไปจากมือของตระกูลอุไรรัตน์ไปสู่ผู้ถือหุ้นรายใหม่ ที่ถือเป็นหนึ่งในตำนานมหากาพย์บทเรียนธุรกิจครั้งสำคัญของธุรกิจการเมืองไทยเลยทีเดียว การล่มสลายของโรงพยาบาลพญาไท ในจุดเริ่มต้นก็เป็นไปในลักษณะที่ไม่แตกต่างจากความล่มสลายของธุรกิจหลากหลายทั้งน้อยใหญ่ที่เกิดขึ้นในห้วงของวิกฤต ที่ต่างอาศัยเงินกู้ยืมจากตลาดทุนและตลาดเงินอย่างเฟื่องฟูในยุคเศรษฐกิจรุ่งเรือง แต่เมื่อเกิดวิกฤตมูลค่าของหนี้สินทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยกลับทำให้มูลค่าหนี้เพิ่มขึ้นมากกว่า 200-250% จากเหตุของการลดค่าเงินบาท และทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจต่างต้องเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูของศาลล้มละลายกลางในที่สุด แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในกรณีของโรงพยาบาลพญาไท เป็นไปมากกว่านั้น เนื่องเพราะท่ามกลางกระบวนการฟื้นฟูปรากฏตัวผู้แสดงทั้ง PWC (PricewaterhouseCoopers) ในฐานะผู้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการและปรับโครงสร้างทางการเงิน ตามคำแนะนำของไกรวิน ศรีไกรวิน หนึ่งในอดีตเจ้าหน้าที่ บล.ธนชาติ ซึ่งเข้ามาทำหน้าที่ที่ปรึกษาทางการเงินอีกรายในโรงพยาบาลพญาไท ในช่วงปี 2542 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อาทิตย์ อุไรรัตน์ ต้องทิ้งโรงพยาบาลพญาไทเพื่อไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาทิตย์ อุไรรัตน์ เคยย้อนรำลึกความทรงจำของเหตุการณ์ในห้วงยามนั้นไว้อย่างน่าสนใจว่า การเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรี ทำให้ต้องใช้เวลาทำงานในกระทรวงจนไม่มีเวลาดูแลความเป็นไปของโรงพยาบาลพญาไทในห้วงเวลาวิกฤตของกระบวนการทำแผนฟื้นฟูนี้มากพอ ยังไม่นับรวมประเด็นที่ว่า

Read More