Home > manager360 (Page 352)

ผู้สูงอายุไทย บางสิ่งที่จุดเดิม

ความเป็นไปของวันผู้สูงอายุไทย ที่แอบซ่อนแฝงนัยอยู่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ดูเหมือนจะผ่านเลยไปดั่งน้ำที่สาดรดเปียกปอนแปดเปื้อนแบบที่เคยเป็นมาในแต่ละรอบปี หากแต่ในปีนี้ สีสันของผู้สูงอายุไทยได้รับการปรุงแต่งให้เคลื่อนผ่านกระแสสูง และนำพาความสนใจจากสังคมได้ไม่น้อยเลย การปรากฏตัวขึ้นของวงดนตรี BENNETTY กลุ่มคนดนตรีในวัยสูงอายุ ที่มาพร้อมกับมิวสิกวิดิโอเพลง “จุดเดิม” กระชากความสนใจของชุมชนบนโลกออนไลน์และสังคมโซเชียลมีเดียอย่างกว้างขวางและส่งผ่านให้มีการแชร์เรื่องราวของผู้สูงอายุกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งดูจะเป็นผลสัมฤทธิ์ทางการตลาดของทีมงานที่เกี่ยวข้องอยู่เบื้องหลังได้เป็นอย่างดี ความพยายามที่จะส่งมอบพื้นที่ให้กลุ่มผู้สูงอายุได้แสดงออกซึ่งศักยภาพที่แฝงอยู่ สอดรับกับข้อเท็จจริงที่ว่า สังคมไทยกำลังเปลี่ยนผ่านจากสังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) ไปสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) โดยการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่าในปี 2560 ที่ผ่านมากลุ่มประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปในสังคมไทยมีสัดส่วนอยู่ที่ระดับร้อยละ 16.7 หรือมากถึงกว่า 11.3 ล้านคน และภายใน 3-5 ปีจากนี้สังคมไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ และมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนมากถึงร้อยละ 20 หรือ 1 ใน 5 ของประชากรเลยทีเดียว ขณะเดียวกัน รายงาน World Population Ageing ขององค์การสหประชาชาติ เมื่อเดือนตุลาคม 2560 ยังระบุว่าหลังจากปี 2552 ประชากรไทยที่อยู่ในวัยพึ่งพิง (เด็กและผู้สูงอายุ) จะมีจำนวนมากกว่าประชากรในวัยแรงงาน และในปี 2560

Read More

Netflix จับมือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ส่งซีรีส์ไทยกว่า 700 ชั่วโมง สู่สายตาสมาชิก 125 ล้านคนทั่วโลก

Netflix (เน็ตฟลิกซ์) ผู้นำบริการด้านความบันเทิงทางอินเทอร์เน็ตระดับโลก ได้ประกาศความร่วมมืออย่างเป็นทางการ กับ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ผู้นำทางด้านสื่อและธุรกิจบันเทิงแบบครบวงจรของเมืองไทย ในการนำคอนเทนต์ที่หลากหลายซีรีส์กว่า 700 ชั่วโมงไปออกอากาศให้กับสมาชิกของ Netflix (เน็ตฟลิกซ์) กว่า 125 ล้านคนทั่วโลกได้รับชมพร้อมกัน สำหรับข้อตกลงในครั้งนี้คือการนำซีรีส์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดของกลุ่มจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เช่น Hormones (ฮอร์โมน), Bad Genius (แบด จีเนียส), O-Negative (โอเนกาทีฟ) ฯลฯ เฉกเช่นเดียวกันกับซีรีส์ 11 เรื่องใหม่ที่กำลังจะออกอากาศ ไม่ว่าจะเป็น Girl From Nowhere The Series (เกิร์ล ฟอร์ม โนแวร์ เดอะ ซีรีส์), The Judgement (เดอะ จัดจ์เมนท์), Monkey Twins (มังกี้ ทวิน), Bangkok

Read More

รถยนต์พลังงานไฟฟ้า จุดเปลี่ยนอุตสาหกรรมยานยนต์

ความเป็นไปของงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 39 ซึ่งปิดฉากลงไปแล้ว อาจเป็นดัชนีชี้วัดประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยในห้วงเวลาปัจจุบันได้พอสมควร หากแต่ในภาพที่กว้างออกไป ภายใต้แนวคิด “ปฏิวัติทุกการเคลื่อนไหว” ดูเหมือนว่าอุตสาหกรรมยานยนต์กำลังเดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนผ่านที่น่าสนใจไม่น้อยเลย เพราะนอกจากค่ายรถยนต์แต่ละรายจะนำเสนอยนตรกรรมรุ่นใหม่ๆ ที่ประกอบส่วนด้วยนวัตกรรมและการออกแบบที่ล้ำหน้าไปในแต่ละปีแล้ว ประเด็นที่หลายฝ่ายจับตามองก็คือการมาถึงของรถยนต์พลังงานกึ่งไฟฟ้า และพลังงานไฟฟ้า ที่อาจเป็นจุดเปลี่ยนผ่านทั้งในมิติของการเป็นผู้นำตลาด และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตในระบบอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคตอีกด้วย ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ความพยายามว่าด้วยการส่งเสริมการผลิตและใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ได้รับการกล่าวถึงอยู่เป็นระยะ หากแต่ดูเหมือนว่ารูปธรรมที่ชัดเจนทั้งในมิติของนโยบายหรือมาตรการเพื่อสร้างแรงจูงใจทั้งต่อผู้บริโภคและผู้ผลิตกลับยังโดดเด่นให้จับต้องได้มากนัก กระทั่งพัฒนาการล่าสุดที่เกิดขึ้นเริ่มปรากฏภาพที่แจ่มชัดขึ้น เมื่อผู้ประกอบการหลายรายต่างทยอยเปิดตัวเทคโนโลยีและรุกตลาดรถยนต์ไฟฟ้าและกึ่งไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องในห้วงเวลาปัจจุบัน การปรับตัวของผู้ประกอบการยานยนต์เข้าสู่รถยนต์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ในด้านหนึ่งสอดรับกับนโยบายของรัฐไทยที่พยายามผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งดำเนินควบคู่ไปกับแผนพัฒนาในโครงการพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ด้วยหวังว่านโยบายดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้ไหลบ่าเข้ามาช่วยดูดซับภาวะเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง แรงส่งจากนโยบายดังกล่าวดูจะได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการพอสมควร เมื่อไมเคิล เกรเว่ ประธานบริหาร บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า นโยบายว่าด้วยรถยนต์ไฟฟ้าของรัฐบาลไทย ทั้งในส่วนของการสนับสนุนการผลิตและการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้บริโภค จัดได้ว่าดีที่สุดในภูมิภาคอาเซียนในห้วงเวลาปัจจุบัน และทำให้เมอร์เซเดส-เบนซ์ตัดสินใจเดินหน้าผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่งตรงกับแนวทางของเมอร์เซเดส-เบนซ์ ทั่วโลกที่วางแผนในการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยียานยนต์ยุคใหม่ ก่อนหน้านี้ เมอร์เซเดส-เบนซ์ ได้ดำเนินการรุกตลาดรถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด หรือ PHEV ในหลากหลายรุ่น และได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นที่พึงพอใจ ซึ่งส่งผลให้เมอร์เซเดส-เบนซ์ กำลังดำเนินการปรับปรุงแผนการผลิตของโรงงานใหม่ทั้งหมด เพื่อให้สอดรับกับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ชนิดปลั๊กอินไฮบริด (PHEV)

Read More

พลังงานทดแทน ภาระหรือตัวช่วย?

ข่าวการส่งสัญญาณทบทวนนโยบายพลังงานทั้งระบบของ ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อปลายปี 2560 ที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งได้ส่งแรงสั่นสะเทือนต่ออุตสาหกรรมพลังงานทดแทน ที่ก่อนหน้านี้ได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วจากผลการส่งเสริมของภาครัฐให้ต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันไปโดยปริยาย ขณะเดียวกันกรณีดังกล่าวยังเป็นภาพสะท้อนวิถีทางความคิดว่าด้วยพลังงานของรัฐไทย ที่น่าจับตามองอย่างยิ่งว่า นิยามของพลังงานทดแทนในทัศนะของกลไกผู้กำหนดนโยบายประเมินพลังงานทดแทนในฐานะที่เป็นทางเลือกตัวช่วย หรืออยู่ในฐานะที่เป็นภาระต่อทิศทางการพัฒนาประเทศอย่างไร ความกังวลใจที่เกิดขึ้นกับผู้ลงทุนในโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานทดแทน เป็นผลมาจากข่าวการระงับการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนทั้งจากโรงไฟฟ้าขยะ โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน พลังงานทดแทน พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ที่ก่อนหน้านี้ได้รับการส่งเสริมในฐานะที่เป็นโรงไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด ภายใต้เหตุผลที่ว่าราคาการรับซื้อไฟฟ้าจากแหล่งผลิตพลังงานทดแทนเหล่านี้ไม่ควรจะอยู่ในอัตราที่สูงกว่าราคาไฟฟ้าจากแหล่งผลิตพลังงานหลัก และไม่ควรเป็นภาระต่อประเทศ กระทรวงพลังงานยังระบุด้วยว่า สถานการณ์ด้านพลังงานของไทยไม่ได้อยู่ในภาวะขาดแคลนไฟฟ้า และมีไฟฟ้าเพียงพอที่จะรองรับกับความต้องการใช้พลังงานในช่วงระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ที่เป็นโครงการใหม่ๆ ทั้งในรูปแบบโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) และโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็กมาก (VSPP) เพิ่มเติม ข้อมูลจากกระทรวงพลังงานระบุว่า ในปี 2560 ที่ผ่านมา มีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเข้าสู่ระบบ 7,529 เมกะวัตต์ จากผู้ประกอบการ 7,083 ราย แบ่งเป็นโรงไฟฟ้าขยะชุมชน 189 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าชีวมวล 3,202 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าชีวภาพ 377 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ

Read More

บริษัท เจพี ประกันภัย จำกัด (มหาชน) การผนึกพลังครั้งใหญ่ของ “ฟีนิกซ์ประกันภัย” ผสานกำลัง “เจมาร์ท” ก้าวสู่เบอร์ 1 ด้าน InsurTech

บริษัท ฟีนิกซ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด มหาชน กางแผนรุกธุรกิจปีนี้ ประกาศรีแบรนด์ดิ้งครั้งใหญ่ในรอบ 20 ปี ในชื่อ บริษัท เจพี ประกันภัย จำกัด (มหาชน) จัดทัพรับแผนการตลาดเชิงรุกปี 61 สร้างผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่หลากหลาย และขยายฐานลูกค้า มุ่งสู่บริการดิจิทัล ตอกย้ำความแข็งแกร่งจากการผสานกำลัง “กลุ่มเจมาร์ท” ผู้นำในธุรกิจค้าปลีกและการเงินที่มีฐานลูกค้าทั่วประเทศ และก้าวสู่เบอร์ 1 ด้าน InsurTech อย่างสมบูรณ์แบบ นายเพียรไกร อัศวโภคา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เจพี ประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เจพี ประกันภัยเกิดจากการร่วมทุนกันระหว่าง บริษัท ฟีนิกซ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และกลุ่มเจมาร์ทที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่ได้เข้ามาถือหุ้นในสัดส่วน 55 เปอร์เซ็นต์ ด้วยการอัดเงินลงทุนกว่า 390 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกลยุทธ์ที่สำคัญจึงได้มีการรีแบรนด์ครั้งใหญ่ของ

Read More

บี.กริม เพาเวอร์ (BGRIM) ผนึกพันธมิตร ผุดโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ขนาด 420 เมกะวัตต์ใหญ่ที่สุดในอาเซียน

บมจ. บี.กริม เพาเวอร์ (BGRIM) เดินหน้าขยายธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมีความคืบหน้าของโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ใหญ่ที่สุดในเวียดนามและในอาเซียนขนาด 420 เมกะวัตต์ ร่วมกับบริษัท Xuan Cau Co., Ltd. โดยจะสรุปลงนามสัญญาร่วมทุนภายในปลายเดือนเมษายนนี้ ซึ่งขณะนี้ได้มีการพิจารณาคัดเลือกผู้รับเหมาและหารือร่วมกับสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ โครงการดังกล่าวจะเริ่มเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์และรับรู้รายได้ภายในเดือนมิถุนายน 2562 มั่นใจดันสัดส่วนพลังงานทดแทนและการลงทุนในต่างประเทศตามเป้า 30% ใน 5 ปี นาง ปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM เปิดเผยเพิ่มเติมกรณี รมว.พลังงานส่งสัญญาณไม่รับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในช่วง 5 ปี ไม่ได้มีผลต่อบริษัทเนื่องจากโครงสร้างรายได้หลักมาจาก โครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติประเภท SPP กว่า 2,200 เมกะวัตต์ จากโครงการทั้งหมดที่มีสัญญาแล้วทั้งสิ้น 2,518 เมกะวัตต์ และบริษัทมีโอกาสในการขยายธุรกิจไปต่างประเทศ เช่นโครงการพลังงานน้ำในสปป. ลาว โครงการสายส่งในกัมพูชาและเวียดนาม และโครงการพลังงานทดแทนในฟิลิปปินส์

Read More

วัฒนธรรมการ “อ่าน” ของไทย บนหนทางตีบตันและล่มสลาย?

กระแสความนิยมของละคร “บุพเพสันนิวาส" ที่พัฒนาจากนวนิยายที่มียอดพิมพ์ซ้ำหลายครั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมานับตั้งแต่การพิมพ์ครั้งแรกในปี 2552 ขณะที่ความสนใจจากแฟนละครและนักอ่านกำลังช่วยผลักให้นวนิยายเล่มนี้มียอดพิมพ์ครั้งใหม่ๆ เพิ่มขึ้น นอกจากจะได้รับการกล่าวถึงในฐานะปรากฏการณ์บุพเพสันนิวาสของสังคมไทยแล้ว ในอีกด้านหนึ่งยังสะท้อนมิติความคิดของการอ่านในสังคมไทยได้อย่างมีนัยสำคัญ ฉากหลังของนวนิยายที่นำช่วงเวลาประวัติศาสตร์มานำเสนอและดำเนินเรื่องราวส่งผลให้ผู้ชมและผู้อ่านจำนวนไม่น้อยเพลิดเพลินไปกับบรรยากาศย้อนอดีต และมีอีกจำนวนไม่น้อยสนใจใฝ่รู้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นไปด้วยความรู้สึกสำนึกที่ต้องการจะเข้าถึงอรรถรสของบทประพันธ์ให้มากขึ้น หรือจะโดยแรงกระตุ้นที่ประสงค์จะเรียนรู้ให้ถึงรากแห่งประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่เป็นประหนึ่งเบ้าหลอมสำนึกทางสังคมในปัจจุบัน กระนั้นก็ดี ความเป็นไปในมิติที่ว่านี้ คงไม่สามารถอธิบายสำนึกทางประวัติศาสตร์ของสังคมไทยที่ดำเนินไปอย่างฉาบฉวย แม้ว่าบทประพันธ์นี้จะดำเนินไปท่ามกลางฉากหลังของอดีตกาลที่ล่วงเลยมากว่า 300 ปีก็ตาม เพราะสำหรับสังคมไทยคำว่าประวัติศาสตร์ดูจะเป็นเรื่องราวสำหรับการท่องจำและเก็บรายละเอียดปลีกย่อย ที่ห่างไกลไปจากการศึกษาทำความเข้าใจเรียนรู้ที่พร้อมจะวิพากษ์และเก็บรับเป็นบทเรียน มิพักต้องกล่าวถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยที่ดูเหมือนจะถูกทิ้งให้เลือนหายไปจากความทรงจำอย่างช้าๆ ความเป็นไปที่ดำเนินประหนึ่งโลกคู่ขนานกับปรากฏการณ์ละครบุพเพสันนิวาส ซึ่งออกอากาศตอนแรกเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ก็คือ ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ มีกิจกรรมเสวนาว่าด้วย “ทางรอดหรือทางตายแห่งอนาคตของประเทศและรัฐบาลที่ไม่มี ‘ระบบหนังสือของชาติ’” ซึ่งจัดโดย วิชาบรรณาธิการศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่ามกลางบรรยากาศแห่งวิกฤตเรื่องความรู้ประชาชาติ การจัดการระบบหนังสือ และระบบความรู้ของประเทศไทย รวมถึงการสูญหายปิดตัวลงของสื่อสิ่งพิมพ์ที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงที่ผ่านมา ข้อเสนอว่าด้วยแนวความคิดและการสร้างความเข้าใจกับภาครัฐ ในการพัฒนาสังคมเพื่อการอ่านที่ยั่งยืน ท่ามกลางกระแสธารแห่งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากพัฒนาการของเทคโนโลยีและระบบดิจิทัล แต่ดูเหมือนว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐจะตอบกลับมาด้วยความว่างเปล่า กรณีที่ว่านี้ ดูจะสอดรับกับท่วงทำนองและความเป็นไปของงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 46 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 16 ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคมไปจนถึงสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน (29 มีนาคม-8 เมษายน) ที่มีแนวความคิดของงานประจำปีนี้ว่า

Read More

บอร์ด ปตท. ประกาศผลสรรหา ซีอีโอ คนที่ 9

ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานกรรมการ ปตท. เปิดเผยว่า คณะกรรมการ ปตท. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและวิศวกรรม ปตท. เป็นผู้ที่เหมาะสมจะดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. คนต่อไป แทนนายเทวินทร์ วงศ์วานิช ที่จะหมดวาระในวันที่ 30 สิงหาคม 2561 โดย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. คนใหม่ ซึ่งเป็น ซีอีโอ คนที่ 9 นับตั้งแต่ก่อตั้ง ปตท.มา จะเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2561 เป็นต้นไป นายชาญศิลป์ เป็นผู้มีประสบการณ์สูงในการทำงานใน ปตท. มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ตอบสนองแผนกลยุทธ์ของ ปตท. ในเรื่อง Disruptive Technology เพื่อแสวงหาธุรกิจใหม่ของ ปตท. และสามารถขับเคลื่อนธุรกิจของ ปตท. ต่อไป

Read More

รัฐไทยพึ่งคาถา Alibaba หวังเสก “ดิจิทัลฮับ” ปลุก EEC

การเดินทางเยือนไทยของ Angel Zhao Ying ประธานกลุ่มความเป็นผู้นำด้านโลกาภิวัตน์ อาลีบาบา (Alibaba Globalization Leadership Group) เมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ดูจะได้รับความสนใจและพยายามประเมินค่าในฐานะที่เป็นประหนึ่งการปลุกประกายความหวังของรัฐบาลในการผลักดันโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคจะวันออก หรือ EEC ไม่น้อยเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพิจารณาจากถ้อยแถลงของสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี หลังจากที่คณะผู้บริหารบริษัท อาลีบาบา กรุ๊ป จำกัด เข้าเยี่ยมคารวะ ซึ่งระบุว่า อาลีบาบายืนยันจะเข้ามาลงทุนในไทย เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค และจะตัดสินใจเลือกพื้นที่เพื่อทำเป็น Startup Digital Hub CLMVT ในเร็ววันนี้ ก่อนที่สมคิดจะระบุว่า การที่อาลีบาบาตัดสินใจจะเข้ามาลงทุนในไทยจะมีส่วนช่วยในการส่งเสริมภาพลักษณ์ของไทย และเชื่อว่าบริษัทยักษ์ใหญ่อื่นๆ ก็จะเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นอีกด้วย ถ้อยแถลงดังกล่าว หากพิจารณาอย่างผิวเผินก็คงไม่มีประเด็นใดๆ น่าเสียหาย แต่เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดและลึกลงไปในข้อเท็จจริง อาลีบาบาซึ่งเป็นเพียงผู้ประกอบการธุรกิจรายหนึ่ง กลับมีความเคลื่อนไหวหรือการตัดสินใจที่มีบทบาทอิทธิพลและสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับรัฐไทยมากเสียยิ่งกว่าความพยายามของรัฐไทยในการสื่อสารและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาคมโลกไปเสียแล้ว ประเด็นดังกล่าว ทำให้อาลีบาบาอยู่ในสถานะประหนึ่ง change agent ที่รัฐไทยกำลังต้องพึ่งพา หลังจากที่ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมายังไม่สามารถกอบกู้ภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นจากนักลงทุนได้มากนัก แม้จะพยายามระดมมาตรการส่งเสริม และขายฝันโครงการ EEC เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลกแล้วก็ตาม มิติความคิดที่สะท้อนผ่านการให้สัมภาษณ์สื่อของสมคิด รองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล ครั้งล่าสุด ยังเป็นการตอกย้ำภาพการพัฒนาและอนาคตที่น่ากังวลของไทย เพราะบทบาทและสถานะของอาลีบาบาในอีกด้านหนึ่งก็คือการเป็นเพียงผู้ประกอบการที่มีฐานะเป็นคนกลางขนาดใหญ่ ที่ไม่เพียงแต่จะไม่มีวัตถุดิบหรือระบบการผลิตสินค้าใดๆ หากแต่สิ่งที่อาลีบาบามีและสื่อแสดงอย่างเด่นชัด ก็คือแนวความคิดที่สอดรับกับการแบ่งงานกันทำ (division

Read More

‘เซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต’ ย้ำความเป็นสุดยอดซูเปอร์รีจินัลมอลล์ แห่งเซ้าท์อีสต์เอเชีย

‘เซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต’ ย้ำความเป็นสุดยอดซูเปอร์รีจินัลมอลล์ แห่งเซ้าท์อีสต์เอเชีย ดึง ‘อิเกีย’ เป็นพันธมิตรสร้างความเจริญเติบโตย่านบางใหญ่อย่างก้าวกระโดด ขึ้นแท่นศูนย์กลางธุรกิจฝั่งกรุงเทพฯ ตะวันตก บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอ็น ผู้นำด้านธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดของไทย และผู้บริหารศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต นำโดย ดร. ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด แถลงวิสัยทัศน์ความเป็นซูเปอร์- รีจินัลมอลล์แห่งเซ้าท์อีสต์เอเชียของ "เซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต" พร้อมดึง "อิเกีย" แบรนด์เฟอร์นิเจอร์อันดับ 1 ของโลกเป็นพันธมิตร โดยอิเกียสโตร์โมเดลใหม่ใหญ่ที่สุดในไทยจะเปิดให้บริการวันที่ 15 มี.ค. 61 นี้ ขณะที่ซีพีเอ็นเตรียมทุ่มงบการตลาดกว่า 120 ล้านบาท สร้างสรรค์แคมเปญ “ขยายความสุข สนุกกับชีวิตใหญ่มาก” สอดรับความเจริญและไลฟ์สไตล์ Urbanization ย่านบางใหญ่-เวสต์เกต ที่เตรียมขึ้นแท่นทำเลทองด้วยศักยภาพศูนย์กลางความเจริญฝั่งกรุงเทพฯ ตะวันตก (West

Read More