Home > manager360 (Page 344)

CMO รุกตลาดบันเทิงเต็มสูบ จับมือพันธมิตร เปิด MACROWAVE EXPERIENCE จัดอีเว้นท์ คอนเสิร์ต เทศกาลดนตรี สนับสนุนศิลปินอิสระ ตอบโจทย์สตาร์ทอัพ-มิวสิค

“ซีเอ็มโอ” สบช่องตลาดบันเทิง เปิด “MACROWAVE EXPERIENCE” รับจัดงานอีเว้นท์งานคอนเสิร์ต รวมไปถึง Music Festival ให้กับศิลปินในสังกัด “MACROWAVE" ชุมชนดนตรีแห่งใหม่ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง“บีอีซี- เทโร มิวสิค” และ“Malama COLLECTIVE” แพลตฟอร์ม มิวสิค-สตรีมมิ่ง อันดับต้นๆ ของเมืองไทย สำหรับนักฟังเพลงนอกกระแส ด้าน “ผู้บริหาร CMO” เผย มองเห็นศักยภาพของบริษัท มีความพร้อมทั้งอุปกรณ์ระบบภาพ แสง และเสียง ตลอดจน มีบุคลากรที่คร่ำหวอดในแวดวง Music Production มาอย่างยาวนาน บวกกับเชื่อมั่นในคนรุ่นใหม่ที่มีพลังสร้างสรรค์ และมีฝีมือ จึงได้ร่วมผลักดัน และสนับสนุน ศิลปินให้สร้างผลงานดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองในรูปแบบ Startup Music นายเสริมคุณ คุณาวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีเอ็มโอ จำกัด (มหาชน) หรือ CMO ผู้นำธุรกิจสื่อสารการตลาดแบบครบวงจรแห่งอาเซียน

Read More

บำรุงราษฎร์และไวทัลไลฟ์ คว้า 10 รางวัลระดับเอเชียแปซิฟิกและไทย ยืนยันความเป็นผู้นำด้านสุขภาพของภูมิภาค

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้รับรางวัลสูงสุด “2018 Medical Tourism Hospital of the Year in Asia Pacific” ด้านการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ถึง 2 ปีซ้อน และศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ ได้รับรางวัล “2018 Integrated Health and Wellness Service Provider of the Year in Asia Pacific” และ “2018 Best Health Screening Provider of the Year in Asia Pacific” โดยมีคุณนภัส เปาโรหิตย์ ผู้อำนวยการด้านการตลาด โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และ มร. ไบรอัน

Read More

สัญญาณเตือนภัย Alibaba ธุรกิจไทยปรับตัวรับผลกระทบ

ข่าวการเยือนไทยพร้อมกับลงนามความร่วมมือผ่านบันทึกความเข้าใจ (MOU) 4 ฉบับของ แจ็ค หม่า ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัท อาลีบาบา เมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา นอกจากจะกลายเป็นประเด็นข่าวใหญ่ให้ภาครัฐได้ใช้โหมประโคมความมั่นใจในการลงทุน เพื่อกระตุ้นและขับเคลื่อนการพัฒนาในโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่รัฐไทยหมายมั่นปั้นมือจะผลักดันให้เกิดขึ้นในฐานะผลงานหลักแล้ว ในอีกด้านหนึ่ง การลงทุนและการมาถึงของ Alibaba ที่กำลังรุกคืบเข้าสู่สังคมไทยในรอบใหม่นี้ ยังได้รับการคาดหวังว่าจะเป็นจักรกลสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดเศรษฐกิจดิจิทัลที่สังคมไทยพยายามจะก้าวเดินไปบนทิศทางของไทยแลนด์ 4.0 ที่เป็นประหนึ่งนโยบายการพัฒนาในระยะถัดจากนี้ หากแต่เหรียญย่อมมี 2 ด้าน และสรรพสิ่งไม่ได้มีแต่แง่งามให้ชื่นชมเท่านั้น แต่ยังมีมิติด้านลบและผลกระทบที่อาจเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ เบียดแทรกและพร้อมจะบดบังทำลายศักยภาพการพัฒนาด้านอื่นๆ ลงไปพร้อมกันด้วย ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่าง Alibaba กับรัฐบาลไทย แผนงานการลงทุนและความร่วมมือที่อาลีบาบาจะดำเนินการประกอบด้วย การส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญของไทยคือข้าวและผลไม้ โดยภายในปี 2561 อาลีบาบามีเป้าหมายช่วยส่งออกข้าวไทย 45,000 ตัน และปี 2562 จำนวน 120,000 ตัน การส่งออกสินค้าไทยสู่นานาชาติมีเป้าหมายส่งออกสินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ หรือโอทอปของไทย 10 รายต่อปี หรือขั้นต่ำจำนวน 50 รายการสินค้า ขณะที่ด้านการท่องเที่ยว

Read More

เคทีซีเปิดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2561 เคาะจ่ายเงินปันผลหุ้นละ 5.30 บาท 11 พฤษภาคมนี้

เมื่อเร็วๆ นี้ “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดยนายปริญญา พัฒนภักดี (กลางขวา) ประธานกรรมการ ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน พร้อมด้วยนายระเฑียร ศรีมงคล (กลางซ้าย) กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารและคณะกรรมการบริษัทฯ ได้จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2561 (ครั้งที่ 16) โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิประจำปี 2560 ให้แก่ผู้ถือหุ้น ในอัตรา 5.30 บาท ต่อ 1 หุ้นสามัญ รวมเป็นเงินปันผลทั้งสิ้น 1,366,517,057 บาท และกำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 11 พฤษภาคม 2561 งานดังกล่าวจัดขึ้น ณ ห้องประชุมพลาซ่าแอทธินี 1 โรงแรมดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก

Read More

ไอ.ซี.ซี.ฯ จับมือ โรบินสันทำบิ๊กโปรเจคจัดโปรโมชั่นสุดคุ้ม “I.C.C. Big Surprise ”

นางรมิดา รัสเซลล์ มณีเสถียร กรรมการบริหาร และ ผู้อำนวยการฝ่ายบูติคสตรี บริษัท ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัท ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ได้จับมือกับบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสันฯ จัดบิ๊กโปรโจค ด้วยการจัดโปรโมชั่นลดราคาสินค้าใหม่ทั้งเคาน์เตอร์สูงสุด 40 เปอร์เซ็นต์ ภายใต้ชื่อ “ ไอ.ซี.ซี. บิ๊ก เซอร์ไพร์ส (I.C.C. Big Surprise)” ด้วยคอนเซปต์ “ช้อปมันส์วันไอซีซี รวมแบรนด์ดังลดคุ้มเว่อร์” พร้อมพบกับสินค้าใหม่ นวัตกรรมล้ำจากแบรนด์ชั้นนำ ระหว่างวันที่ 18 เมษายน ถึง 13 พฤษภาคม นี้เท่านั้น ณ ห้างสรรพสินค้า โรบินสัน ทุกสาขาทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็นปีที่ 5 ที่บริษัทไอ.ซี.ซี.ฯ ได้ร่วมกับ ห้างโรบินสัน

Read More

LPN ปรับโฉม “ลุมพินี ซีเล็คเต็ด สุทธิสาร – สะพานควาย” เจาะใจผู้หญิงทำงานด้วยคอนเซ็ปต์ “My Way My Life”

LPN บุกตลาดพรีเมียม เดินหน้า “Year of Change” ซื้อที่ดินใจกลางสุทธิสาร เปิดตัว “ลุมพินี ซีเล็คเต็ด สุทธิสาร–สะพานควาย” เจาะเป้าหมายผู้หญิงวัยทำงาน ด้วยคอนเซ็ปต์ “My Way My life” ปรับโฉมใหม่ด้วย New Façade สร้างมิติใหม่กับ New LPN Design เพิ่มพื้นที่ตู้เสื้อผ้าแบบ Walk-in closet และ Bay window พร้อมฟังก์ชั่น Smart room ระบบสั่งงานอัจฉริยะ พื้นที่ส่วนกลางเอาใจสาวรักสุขภาพกับห้องโยคะแห่งแรกบนวิวสูง ชั้น 22 พร้อมสระว่ายน้ำลอยฟ้าและสวนรวมใจขนาดใหญ่ ราคาเริ่มเพียง 2.59 ลบ. สำหรับห้องสตูดิโอแถมเฟอร์นิเจอร์ & แอร์ครบชุด ขนาด 1 และ 2 ห้องนอนแถมเฟอร์นิเจอร์ แอร์และเครื่องทำน้ำอุ่น เปิดขายอย่างเป็นทางการ 28 เม.ย.นี้ นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการบริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) เปิดเผยว่า ในปี 2561 นี้บริษัทได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานตามแนวทาง “Year of Change” โดยมีการปรับเปลี่ยนหลายด้านทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยในการพัฒนาอาคารชุดพักอาศัยจะมุ่งไปที่กลุ่มเป้าหมายระดับกลาง-บนจึงได้พัฒนาสินค้าคุณภาพระดับพรีเมียมออกสู่ตลาด

Read More

ผู้สูงอายุไทย บางสิ่งที่จุดเดิม

ความเป็นไปของวันผู้สูงอายุไทย ที่แอบซ่อนแฝงนัยอยู่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ดูเหมือนจะผ่านเลยไปดั่งน้ำที่สาดรดเปียกปอนแปดเปื้อนแบบที่เคยเป็นมาในแต่ละรอบปี หากแต่ในปีนี้ สีสันของผู้สูงอายุไทยได้รับการปรุงแต่งให้เคลื่อนผ่านกระแสสูง และนำพาความสนใจจากสังคมได้ไม่น้อยเลย การปรากฏตัวขึ้นของวงดนตรี BENNETTY กลุ่มคนดนตรีในวัยสูงอายุ ที่มาพร้อมกับมิวสิกวิดิโอเพลง “จุดเดิม” กระชากความสนใจของชุมชนบนโลกออนไลน์และสังคมโซเชียลมีเดียอย่างกว้างขวางและส่งผ่านให้มีการแชร์เรื่องราวของผู้สูงอายุกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งดูจะเป็นผลสัมฤทธิ์ทางการตลาดของทีมงานที่เกี่ยวข้องอยู่เบื้องหลังได้เป็นอย่างดี ความพยายามที่จะส่งมอบพื้นที่ให้กลุ่มผู้สูงอายุได้แสดงออกซึ่งศักยภาพที่แฝงอยู่ สอดรับกับข้อเท็จจริงที่ว่า สังคมไทยกำลังเปลี่ยนผ่านจากสังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) ไปสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) โดยการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่าในปี 2560 ที่ผ่านมากลุ่มประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปในสังคมไทยมีสัดส่วนอยู่ที่ระดับร้อยละ 16.7 หรือมากถึงกว่า 11.3 ล้านคน และภายใน 3-5 ปีจากนี้สังคมไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ และมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนมากถึงร้อยละ 20 หรือ 1 ใน 5 ของประชากรเลยทีเดียว ขณะเดียวกัน รายงาน World Population Ageing ขององค์การสหประชาชาติ เมื่อเดือนตุลาคม 2560 ยังระบุว่าหลังจากปี 2552 ประชากรไทยที่อยู่ในวัยพึ่งพิง (เด็กและผู้สูงอายุ) จะมีจำนวนมากกว่าประชากรในวัยแรงงาน และในปี 2560

Read More

Netflix จับมือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ส่งซีรีส์ไทยกว่า 700 ชั่วโมง สู่สายตาสมาชิก 125 ล้านคนทั่วโลก

Netflix (เน็ตฟลิกซ์) ผู้นำบริการด้านความบันเทิงทางอินเทอร์เน็ตระดับโลก ได้ประกาศความร่วมมืออย่างเป็นทางการ กับ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ผู้นำทางด้านสื่อและธุรกิจบันเทิงแบบครบวงจรของเมืองไทย ในการนำคอนเทนต์ที่หลากหลายซีรีส์กว่า 700 ชั่วโมงไปออกอากาศให้กับสมาชิกของ Netflix (เน็ตฟลิกซ์) กว่า 125 ล้านคนทั่วโลกได้รับชมพร้อมกัน สำหรับข้อตกลงในครั้งนี้คือการนำซีรีส์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดของกลุ่มจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เช่น Hormones (ฮอร์โมน), Bad Genius (แบด จีเนียส), O-Negative (โอเนกาทีฟ) ฯลฯ เฉกเช่นเดียวกันกับซีรีส์ 11 เรื่องใหม่ที่กำลังจะออกอากาศ ไม่ว่าจะเป็น Girl From Nowhere The Series (เกิร์ล ฟอร์ม โนแวร์ เดอะ ซีรีส์), The Judgement (เดอะ จัดจ์เมนท์), Monkey Twins (มังกี้ ทวิน), Bangkok

Read More

รถยนต์พลังงานไฟฟ้า จุดเปลี่ยนอุตสาหกรรมยานยนต์

ความเป็นไปของงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 39 ซึ่งปิดฉากลงไปแล้ว อาจเป็นดัชนีชี้วัดประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยในห้วงเวลาปัจจุบันได้พอสมควร หากแต่ในภาพที่กว้างออกไป ภายใต้แนวคิด “ปฏิวัติทุกการเคลื่อนไหว” ดูเหมือนว่าอุตสาหกรรมยานยนต์กำลังเดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนผ่านที่น่าสนใจไม่น้อยเลย เพราะนอกจากค่ายรถยนต์แต่ละรายจะนำเสนอยนตรกรรมรุ่นใหม่ๆ ที่ประกอบส่วนด้วยนวัตกรรมและการออกแบบที่ล้ำหน้าไปในแต่ละปีแล้ว ประเด็นที่หลายฝ่ายจับตามองก็คือการมาถึงของรถยนต์พลังงานกึ่งไฟฟ้า และพลังงานไฟฟ้า ที่อาจเป็นจุดเปลี่ยนผ่านทั้งในมิติของการเป็นผู้นำตลาด และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตในระบบอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคตอีกด้วย ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ความพยายามว่าด้วยการส่งเสริมการผลิตและใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ได้รับการกล่าวถึงอยู่เป็นระยะ หากแต่ดูเหมือนว่ารูปธรรมที่ชัดเจนทั้งในมิติของนโยบายหรือมาตรการเพื่อสร้างแรงจูงใจทั้งต่อผู้บริโภคและผู้ผลิตกลับยังโดดเด่นให้จับต้องได้มากนัก กระทั่งพัฒนาการล่าสุดที่เกิดขึ้นเริ่มปรากฏภาพที่แจ่มชัดขึ้น เมื่อผู้ประกอบการหลายรายต่างทยอยเปิดตัวเทคโนโลยีและรุกตลาดรถยนต์ไฟฟ้าและกึ่งไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องในห้วงเวลาปัจจุบัน การปรับตัวของผู้ประกอบการยานยนต์เข้าสู่รถยนต์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ในด้านหนึ่งสอดรับกับนโยบายของรัฐไทยที่พยายามผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งดำเนินควบคู่ไปกับแผนพัฒนาในโครงการพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ด้วยหวังว่านโยบายดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้ไหลบ่าเข้ามาช่วยดูดซับภาวะเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง แรงส่งจากนโยบายดังกล่าวดูจะได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการพอสมควร เมื่อไมเคิล เกรเว่ ประธานบริหาร บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า นโยบายว่าด้วยรถยนต์ไฟฟ้าของรัฐบาลไทย ทั้งในส่วนของการสนับสนุนการผลิตและการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้บริโภค จัดได้ว่าดีที่สุดในภูมิภาคอาเซียนในห้วงเวลาปัจจุบัน และทำให้เมอร์เซเดส-เบนซ์ตัดสินใจเดินหน้าผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่งตรงกับแนวทางของเมอร์เซเดส-เบนซ์ ทั่วโลกที่วางแผนในการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยียานยนต์ยุคใหม่ ก่อนหน้านี้ เมอร์เซเดส-เบนซ์ ได้ดำเนินการรุกตลาดรถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด หรือ PHEV ในหลากหลายรุ่น และได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นที่พึงพอใจ ซึ่งส่งผลให้เมอร์เซเดส-เบนซ์ กำลังดำเนินการปรับปรุงแผนการผลิตของโรงงานใหม่ทั้งหมด เพื่อให้สอดรับกับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ชนิดปลั๊กอินไฮบริด (PHEV)

Read More

พลังงานทดแทน ภาระหรือตัวช่วย?

ข่าวการส่งสัญญาณทบทวนนโยบายพลังงานทั้งระบบของ ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อปลายปี 2560 ที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งได้ส่งแรงสั่นสะเทือนต่ออุตสาหกรรมพลังงานทดแทน ที่ก่อนหน้านี้ได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วจากผลการส่งเสริมของภาครัฐให้ต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงันไปโดยปริยาย ขณะเดียวกันกรณีดังกล่าวยังเป็นภาพสะท้อนวิถีทางความคิดว่าด้วยพลังงานของรัฐไทย ที่น่าจับตามองอย่างยิ่งว่า นิยามของพลังงานทดแทนในทัศนะของกลไกผู้กำหนดนโยบายประเมินพลังงานทดแทนในฐานะที่เป็นทางเลือกตัวช่วย หรืออยู่ในฐานะที่เป็นภาระต่อทิศทางการพัฒนาประเทศอย่างไร ความกังวลใจที่เกิดขึ้นกับผู้ลงทุนในโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานทดแทน เป็นผลมาจากข่าวการระงับการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนทั้งจากโรงไฟฟ้าขยะ โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน พลังงานทดแทน พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ที่ก่อนหน้านี้ได้รับการส่งเสริมในฐานะที่เป็นโรงไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด ภายใต้เหตุผลที่ว่าราคาการรับซื้อไฟฟ้าจากแหล่งผลิตพลังงานทดแทนเหล่านี้ไม่ควรจะอยู่ในอัตราที่สูงกว่าราคาไฟฟ้าจากแหล่งผลิตพลังงานหลัก และไม่ควรเป็นภาระต่อประเทศ กระทรวงพลังงานยังระบุด้วยว่า สถานการณ์ด้านพลังงานของไทยไม่ได้อยู่ในภาวะขาดแคลนไฟฟ้า และมีไฟฟ้าเพียงพอที่จะรองรับกับความต้องการใช้พลังงานในช่วงระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ที่เป็นโครงการใหม่ๆ ทั้งในรูปแบบโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) และโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็กมาก (VSPP) เพิ่มเติม ข้อมูลจากกระทรวงพลังงานระบุว่า ในปี 2560 ที่ผ่านมา มีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเข้าสู่ระบบ 7,529 เมกะวัตต์ จากผู้ประกอบการ 7,083 ราย แบ่งเป็นโรงไฟฟ้าขยะชุมชน 189 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าชีวมวล 3,202 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าชีวภาพ 377 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ

Read More