Home > On Globalization (Page 23)

RAMEN

 เรื่องแปลกแต่จริงเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นแทบทุกครั้ง เวลาที่มีโอกาสได้ให้การต้อนรับอาคันตุกะจากเมืองไทยที่ไปเยี่ยมเยือนครอบครัวเรา ก็คือนอกจาก Sushi จะเป็นอาหารที่ทุกคนนึกถึงและขอโอกาสไปลิ้มลองลำดับต้นๆ ในฐานะเป็นสินค้าพื้นเมืองของญี่ปุ่นแล้ว อาหารยอดนิยมอีกชนิดหนึ่งก็เห็นจะเป็น Ramen ที่ทุกคณะต้องขอให้พาไปลิ้มชิมรส ที่บอกว่าแปลกก็เพราะโดยส่วนตัวมีความสงสัยอยู่เสมอว่าทำไมพี่น้องผองเพื่อนจึงโปรดปราน Ramen ในญี่ปุ่นกันนัก และคิดนึกเอาเองว่าพวกเขาน่าจะเบื่อระอากับบะหมี่และก๋วยเตี๋ยวที่มีอยู่อย่างดาษดื่นตามทุกหัวถนนในเมืองไทยกันแล้ว อีกทั้ง Ramen ก็ไม่น่าจะเป็นตัวแทนของอาหารในเชิงวัฒนธรรมของญี่ปุ่นที่ชัดเจน ซึ่งพวกเขากำลังเสาะแสวงหามากนักและออกจะเป็นภาพสะท้อนอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนกันเสียมากกว่า การเคลื่อนตัวของ Ramen จากจีนเข้าสู่ญี่ปุ่นยังเป็นที่ถกเถียงไม่น้อยว่าเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด ขณะที่ชื่อเรียก Ramen ก็ดำเนินไปท่ามกลางสมมุติฐานมากมายว่าแผลงหรือเพี้ยนเสียงมาจากคำเรียกขานชนิดใดแบบไหนกันแน่ ซึ่งสมมุติฐานทั้งหมดก็พยายามอธิบายว่าทำไม Ramen จึงถูกเรียกว่า Ramen ทั้งในฐานะที่เป็นคำบอกคุณลักษณะของเส้น วิธีการปรุง หรือแม้กระทั่งอากัปกิริยาในการปรุงเลยทีเดียว แต่ชื่อเรียกที่ดูจะจริงจังกว่าของ Ramen เกิดขึ้นในช่วงต้นของ Meiji นี่เอง โดยชื่อเรียก Ramen ในสมัยนั้นบ่งบอกที่มาของ Ramen ไว้อย่างชัดเจนว่า Shina soba หรือ Chuka soba ซึ่งหมายถึงก๋วยเตี๋ยวจีน อย่างตรงไปตรงมา ความนิยมของ Ramen ในช่วงเวลาดังกล่าวดำเนินไปอย่างจำกัด ก็เพราะ Ramen เป็นอาหารที่พบได้เฉพาะในภัตตาคารและร้านอาหารจีนเท่านั้น เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในอาหารขึ้นเหลากันเลยก็ว่าได้ แต่เมื่อมาถึงสมัย Showa สถานะของการเป็นอาหารขึ้นห้างของ

Read More

มารดาที่อยู่ในระหว่างการตั้งท้องและการคลอดลูก มีอัตราการเสียชีวิตสูงสุดในอเมริกา

 เรื่องนี้กลายเป็นที่ค่อนข้างน่าตกใจเมื่อองค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่า ประเทศอเมริกาเป็นประเทศที่มีอัตราการตายของมารดาในระหว่างการตั้งครรถภ์และการคลอดลูกสูงที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่พัฒนาแล้ว องค์การอนามัยโลกยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา คือตั้งแต่ปี 2543 ถึงปี 2553 ประเทศอื่นๆ มีอัตราการตายของมารดาในระหว่างการตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน แต่ประเทศอเมริกากลับมีอัตราการตายของมารดาที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าคือ ในจำนวนเด็กที่เกิดมาหนึ่งแสนคน จะมีมารดาที่เสียชีวิตระหว่างการตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรถึง 21 คน  ถึงแม้ว่าประเทศอเมริกาจะมีอัตราการตายของมารดาในระหว่างที่ตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรสูงแล้ว ยังมีเรื่องที่น่าตกใจกว่าคือ ผู้หญิงผิวดำในอเมริกาหรือผู้หญิงที่มีสัญชาติแอฟริกันอเมริกันนั้นจะมีอัตราการตายของมารดามากกว่าผู้หญิงผิวขาวหรือผู้หญิงสัญชาติอเมริกันสามถึงสี่เท่า ซึ่งอัตราการตายที่มากขนาดนี้ไม่ได้มีการลดลงเลยตั้งแต่ปี 2483 ซึ่งอัตราการตายเหล่านี้ถือเป็นการตายที่สามารถหลีกเลี่ยงได้หากมารดาที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์หรือคลอดบุตรได้รับการรักษาที่ถูกวิธี สถานการณ์การตายของมารดาผิวดำนี้ยิ่งแย่ลงไปอีกตามรัฐและเมืองใหญ่ๆ ในประเทศอเมริกา เพราะตามรัฐและเมืองใหญ่ๆ นั้น อัตราการเสียชีวิตของมารดาที่เป็นคนผิวดำนั้นจะยิ่งสูงมากขึ้นไปอีก  ยกตัวอย่างเช่น อย่างที่รัฐเทกซัส อัตราการเสียชีวิตของมารดาระหว่างที่ตั้งครรภ์และคลอดบุตรเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่าในช่วงเวลา 15 ปีที่ผ่านมา เมื่อปี 2539 ในจำนวนเด็ก 100,000 คน จะมีมารดาเสียชีวิต 6 คน ในขณะที่ในปี 2553 ในจำนวนเด็กที่เท่ากันมีมารดาที่เสียชีวิตถึง

Read More

China Town ในญี่ปุ่น

 แม้ว่าจะเพิ่งฉลองปีใหม่ไปเมื่อไม่นาน แต่เราก็กำลังจะผ่านตรุษจีนไปอีกแล้ว ขณะที่ปีใหม่ไทยที่เรียกว่าสงกรานต์ก็ขยับใกล้เข้ามาเพียงอีกไม่กี่อึดใจ ซึ่งดูเหมือนว่าการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ปีม้า-มะเมีย จะโจนทะยานไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วมากขึ้นหลังจากนี้ เมื่อพูดถึงตรุษจีน จะละเลยไม่พูดถึง Chinatown หรือย่านคนจีนเสียเลยก็ดูจะกระไรอยู่ ในประเทศไทย แม้ว่าเราจะมีเยาวราชและสำเพ็งเป็นประหนึ่งศูนย์กลางของวัฒนธรรมจีน ที่เรียกได้ว่าเป็น Chinatown อยู่กลางกรุงเทพฯ แต่ดูเหมือนว่าปัจจุบัน ย่านคนจีนของไทยกระจายอยู่ทั่วทุกหนแห่ง เพราะชาวจีนได้หลอมรวมเป็นคนไทยเชื้อสายจีนมานานกว่า 2-3 ศตวรรษแล้ว และคงเหมือนกับอีกหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอีกหลายภูมิภาคของโลกที่คนจีนได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานและมีบทบาททั้งในเชิงสังคม และเศรษฐกิจ การเมืองไม่น้อยเช่นกัน ไม่เว้นแม้แต่ญี่ปุ่น ซึ่งมีรากฐานและขนบทางวัฒนธรรมที่แน่นหนา ก็ยังได้รับอิทธิพลและการถ่ายเททางวัฒนธรรมจากจีนในระดับที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน โดยมีเมืองท่าที่สำคัญ 3 แห่งเป็นกลไกสำคัญในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนี้ นางาซากิ (Nagasaki) ถือเป็นเมืองหน้าด่านแห่งแรกๆ ของญี่ปุ่นที่ได้เก็บรับวัฒนธรรมจีนเข้ามาในญี่ปุ่น โดยผ่านทางนักเดินเรือชาวโปรตุเกสที่เดินทางค้าขายสินค้าจากยุโรป ผ่านช่องแคบมะละกา มาเก๊า และแผ่นดินใหญ่ของจีน ก่อนที่จะมาขึ้นฝั่งที่ปลายทางในเมืองนางาซากิ ตั้งแต่เมื่อกว่า 420-450 ปีที่แล้ว แต่หลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชาวจีนในเมือง นางาซากิ เริ่มหนาแน่นจริงจังก็เมื่อ 150-200 ปีที่ผ่านมานี้เอง โดยประมาณกันว่าในช่วงปี 1800-1850 ประชากรในเมืองนางาซากิ กว่า 1 ใน 3 เป็นชาวจีนที่อพยพเข้ามาประกอบกิจการค้าขาย และรับจ้างแรงงานอยู่ในเมืองท่าแห่งนี้ กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นในห้วงเวลาที่คาบเกี่ยวต่อเนื่องกับการเปิดเมืองท่าเรือเพื่อการค้าขายกับต่างประเทศทั้งที่ โยโกฮามา

Read More

เรื่องเล่าจากสนามกอล์ฟ

 ช่วงที่ผ่านมา คุณพ่อบ้านคนดี มีโอกาสได้ออกรอบตีกอล์ฟ กับเพื่อนพ้องน้องพี่ที่คุ้นเคยกันหลายรอบ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะช่วงเวลาวันหยุดในห้วงรอยต่อข้ามปี ทำให้พอจะมีเวลาวางมือจากภารกิจประจำได้บ้าง และถือเป็นโอกาส refresh ความสัมพันธ์กับผู้คนแวดล้อมไปในตัว เรื่องเล่าเกี่ยวกับบทสนทนาในก๊วนกอล์ฟ ย่อมเป็นไปอย่างออกรส เพราะนอกจากจะถามไถ่กันถึงสารทุกข์สุกดิบ ไล่เรียงตั้งแต่เรื่องอนาคตของบุตรหลาน ซึ่งกำลังเดินทางเข้าสู่ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ มาสู่การวิเคราะห์เรื่องภาวะเศรษฐกิจที่รุมเร้า หรือแม้กระทั่งวิพากษ์วิจารณ์เหตุบ้านการเมืองในช่วงที่ผ่านมา แต่ที่วาบแวบเข้ามาในความคิดของผู้เขียน กลับเป็นความรู้สึกถึงบรรยากาศครั้งเก่า เมื่อคราวที่พำนักอยู่ในญี่ปุ่นกว่า 4 ปีและเป็นช่วงที่คุณพ่อบ้านคนดีต้องแสวงหาโอกาสออกรอบตีกอล์ฟในญี่ปุ่น แบบหัวเดียวกระเทียมลีบ แม้จะไม่คุ้นชินกับสำนวนหนังสือกำลังภายในมากนัก แต่ทุกครั้งที่เห็นคุณพ่อบ้านแบกถุงกอล์ฟไปออกรอบโดยลำพัง ก็ให้นึกถึงคำเปรียบเปรยที่ว่า กอล์ฟเป็นเหมือนเพลงกระบี่ ที่ต่อให้ฝึกซ้อมร่ายรำเท่าใด แต่หากไม่ได้ประลองกับผู้คนย่อมไม่อาจรู้ว่าฝีมือของเราพัฒนาก้าวหน้า มีจุดด้อยให้แก้ไขอย่างไร ให้ได้แอบยิ้มในใจ โชคดีที่ในญี่ปุ่นมีกิจกรรมกอล์ฟประเภทหนึ่งที่เรียกว่า โอเพ่น คอมเปะ ที่เป็นการออกเสียงแบบญี่ปุ่นซึ่งมาจากคำว่า open competition ที่เปิดโอกาสให้นักกอล์ฟต่างระดับฝีมือและต่างภูมิหลังได้มาร่วมออกรอบตีกอล์ฟกัน ข้อมูลเกี่ยวกับโอเพ่น คอมเปะ มีอยู่หลากหลายในหนังสือแจกฟรี ที่วางไว้ตาม Driving Range และร้านขายอุปกรณ์กอล์ฟซึ่งมีอยู่ทั่วไปแทบทุกหัวมุมถนน หากมองอย่างผิวเผินหนังสือเหล่านี้ก็เป็นเพียงสื่อโฆษณาที่เสนอขายอุปกรณ์กอล์ฟและแนะนำสนามกอล์ฟธรรมดา แต่ท้ายเล่มของหนังสือเหล่านี้จะมีตารางโอเพ่น คอมเปะ ของแต่ละสนามแจ้งไว้ให้เลือกกันล่วงหน้า 2-3 เดือนเลยทีเดียว แม้ว่าชื่อกิจกรรมจะมีนัยชี้ชัดว่าเป็นเรื่องของการแข่งขัน โดยมีของรางวัลมากมายรอคอยอยู่ แต่นักกอล์ฟส่วนใหญ่ไม่ได้จริงจังกับเรื่องดังกล่าวมากนัก หากได้รางวัลก็ถือเป็นกำไรเสียมากกว่า เพราะนอกจากนักกอล์ฟจะไม่รู้มือหรือระดับความสามารถผู้แข่งขันรายอื่นแล้ว ด้วยระบบการคิดคะแนนแบบพีเรีย และดับเบิ้ลพีเรีย ซึ่งไม่ต่างจากการคิดคะแนนแบบ 36

Read More

ONSEN

 อากาศในเมืองไทยช่วงปลายปีที่ผ่านมา แม้จะได้ชื่อว่าเป็นฤดูหนาว แต่อุณหภูมิรอบข้างกลับไม่ได้ทำให้รู้สึกเย็นอกเย็นใจเท่าใดนัก แถมบางช่วงยังร้อนระอุขึ้นมาเสียอีก ความเหนื่อยล้าที่สะสมมาตลอดทั้งปี หากได้รับการบำบัดปลดปล่อยออกไปบ้างก็คงทำให้ภารกิจในช่วงของการเริ่มต้นปีใหม่เป็นไปด้วยความสดใสไม่น้อย ถ้าเป็นในเมืองไทย ท่านผู้อ่านจำนวนไม่น้อยคงนึกถึงสปาและการนวดแผนไทย ซึ่งดูเหมือนจะเป็นกระแสที่แผ่ซ่านออกไปเกือบทั่วทุกหัวถนน และดำเนินไปตามแต่มาตรฐานของสถานประกอบการแต่ละแห่งให้เลือกใช้บริการ แต่สำหรับชาวญี่ปุ่น พวกเขามีวิธีผ่อนคลายความอ่อนล้าและเสริมสร้างพลังชีวิตให้กลับคืน ด้วยการอาบและแช่น้ำพุร้อน หรือที่เรียกกันติดปากว่า ออนเซน (Onsen) ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติอีกอย่างหนึ่งก็ว่าได้ แม้ว่าออนเซนจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับเซนโต (Sento) หรือสถานที่อาบน้ำรวมแบบ public bath แต่ข้อแตกต่างอย่างสำคัญอยู่ที่ออนเซนเป็นน้ำพุร้อนตามธรรมชาติ อีกทั้งยังต้องมีคุณสมบัติว่าด้วยแร่ธาตุที่ละลายเจือปนอยู่ตามข้อกำหนดกว่า 19 ชนิด ภายใต้ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของญี่ปุ่น ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นหมู่เกาะ (Archipelago) และตั้งอยู่ในแนวของภูเขาไฟและรอยแยกเลื่อนใต้แผ่นดิน ทำให้ทั่วทั้งประเทศญี่ปุ่นมีแหล่งน้ำพุร้อนกระจายอยู่มากมาย และกลายเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรมการท่องเที่ยวไปโดยปริยาย หนึ่งในแหล่งน้ำพุร้อนที่มีชื่อเสียงและคุ้นตามากที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น คงหนีไม่พ้นแหล่งน้ำพุร้อนที่เมือง Hakone ด้วยเหตุที่อยู่ใกล้ภูเขาไฟฟูจิ ผู้คนที่เดินทางไปเยี่ยมชมความงามของฟูจิ จึงถือโอกาสแวะเวียนและสัมผัสประสบการณ์การอาบและแช่น้ำพุร้อนที่อุดมด้วยกำมะถัน ซึ่งเชื่อกันว่ามีคุณสมบัติในการบำบัดความเครียดหรือแม้กระทั่งอาการของโรคผิวหนังด้วย และด้วยเหตุที่น้ำพุร้อนในแต่ละแห่ง มีคุณสมบัติของแร่ธาตุที่ละลายเจือปนแตกต่างกันออกไป บรรดาโรงแรมและรีสอร์ต รวมถึงบ้านพักตากอากาศในแบบญี่ปุ่นที่เรียกว่า เรียวกัง (ryokan) ในเมือง Hakone จึงมีออนเซนเป็นจุดขายควบคู่กับการบรรยายสรรพคุณของน้ำพุร้อนว่ามีคุณสมบัติอย่างไร เพื่อให้นักท่องเที่ยวเลือกสรรได้ตามความประสงค์ จุดเด่นของออนเซนในแถบเมือง Hakone อีกส่วนหนึ่งอยู่ที่การเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ไปได้เกือบตลอดทั้งปี เพราะฉากหลังที่เป็นทิวทัศน์ของภูเขาไฟฟูจินั้น มีความงดงามเปลี่ยนแปลงเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลด้วยเช่นกัน แต่ก็ด้วยความที่ Hakoneเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแบบall season มากเกินไปเช่นที่ว่านี้ ทำให้แหล่งท่องเที่ยวออนเซนในภูมิภาคอื่นสามารถเบียดแทรกโดยอาศัยลักษณะเด่นของแต่ละพื้นถิ่นมาเป็นจุดดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมายที่ไม่นิยมความจำเจ

Read More

Honor Killing พ่อฆ่าลูกสาวในประเทศเยเมน

  เยเมน (Yemen) หรือสาธารณรัฐเยเมน ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้และเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง สาธารณรัฐเยเมนมีประธานาธิบดีเป็นผู้นำประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารประเทศ ประเทศนี้มีประชากรอยู่ประมาณ 25 ล้านคน ผู้คนส่วนใหญ่ของประเทศเป็นชาวอาหรับ และมีภาษาอารบิกเป็นภาษาราชการ มีศาสนาประจำชาติคือ ศาสนาอิสลามซึ่งมีทั้งนิกายซุหนี่ (Sunni) และชีอะห์ (Shia) อย่างที่ทราบกันว่า ถ้าหากประเทศไหนมีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ประเทศนั้นจะประกาศบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับศาสนาและจารีตประเพณี (Custom Law) ที่ต้องปฏิบัติตัวให้ถูกต้องตามที่ศาสนาอิสลามกำหนดด้วยเช่นกัน อย่างเช่นเวลาที่ผู้หญิงจะออกจากบ้านต้องแต่งตัวให้ปกปิดมิดชิดทุกส่วนของร่างกาย และต้องมีผ้าคลุมผมด้วยเช่นกัน  ประเทศเยเมนก็เป็นเหมือนประเทศอื่นๆ ที่มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ คือมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและจารีตประเพณีที่เคร่งครัด แต่มีอยู่อย่างหนึ่งที่ผู้คนชาวเยเมนถือฎิบัติกันมาอย่างยาวนานมากกว่าประเทศอื่นๆ คือการให้ลูกสาวแต่งงานตั้งแต่ยังเด็ก ในขณะที่หลายๆ ประเทศเริ่มมีนโยบายต่างๆ ออกมาเพราะไม่ต้องการสนับสนุนเรื่องการแต่งงานตั้งแต่ยังเด็ก แต่สำหรับประเทศเยเมนนั้นผู้คนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการแต่งงานตั้งแต่ยังเด็ก แต่ที่แปลกไปจากประเทศอื่นๆ คือ ไม่ได้บังคับให้เด็กแต่งงานกับผู้ชายที่มีอายุมากกว่าเหมือนกับประเทศอื่นๆ แต่บังคับให้เด็กผู้หญิงและผู้ชายที่อยู่ในวัยใกล้เคียงกันแต่งงานกันเอง ตามเมืองต่างๆ ในเขตชนบทของประเทศเยเมนยังมีกฎที่ปฎิบัติกันมายาวนานและยังใช้อยู่ในทุกวันนี้คือ การที่พ่อบังคับให้ลูกสาวแต่งงานตั้งแต่ยังเป็นเด็กมากๆ เช่นต้องแต่งงานตั้งแต่อายุได้ 8 ปี องค์กร Human Right Watch ได้ออกมากล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ในปี 2542 ประเทศเยเมนได้มีการยกเลิกการกำหนดอายุขั้นต่ำของการแต่งงานที่ว่า เด็กจะต้องมีอายุอย่างน้อย 15

Read More

ปีใหม่แบบญี่ปุ่น (2)

 ในช่วงเทศกาลขึ้นปีใหม่ สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับชาวญี่ปุ่นก็คือเรื่องของการส่งความสุขให้กับผู้คนที่เคารพรัก และผูกพันถึงกันและกัน การส่งความสุขแบบญี่ปุ่นที่เรียกว่า Nengajo นี้ มีวิวัฒนาการต่อเนื่องมาเป็นลำดับนับตั้งแต่สมัย Heian ก่อนจะคลี่คลายมาสู่รูปแบบการส่งความสุขด้วยไปรษณียบัตร ซึ่งเเกิดขึ้นในยุคสมัย Meiji (1868-1912) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการจัดตั้งกิจการไปรษณีย์สมัยใหม่ในปี 1871 ควบคู่กับการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 มกราคม ตามแบบตะวันตกในปี 1873 บทบาทของ Nengajo ในรูปแบบของไปรษณียบัตรในห้วงเวลาดังกล่าว จึงเป็นประหนึ่งการหยิบยื่นความเป็นสมัยใหม่ให้กระจายสู่ประชาชนทุกระดับอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ควบคู่กับการสร้างค่านิยมใหม่ให้เกิดขึ้นไปพร้อมกัน นอกเหนือจากถ้อยความและคำอวยพรปีใหม่ ซึ่งเป็นประเด็นหลักของไปรษณียบัตรเหล่านี้แล้ว ความเป็นไปของ Nengajo ในเวลาต่อมายังเป็นภาพสะท้อนเรื่องราวในสังคมญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี เพราะในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สิ้นสุดลงพร้อมกับความบอบช้ำของญี่ปุ่น กิจการไปรษณีย์ได้ก้าวไปสู่การทำให้ Nengajo เป็นมากกว่าบัตรอวยพรความสุข หากผนวกเอาการหยิบยื่นโอกาส ด้วยการพิมพ์หมายเลขประจำไปรษณียบัตรแต่ละใบสำหรับการจับรางวัลแบบ lottery เข้าไปด้วย ท่านผู้อ่านอาจกำลังนึกถึงเงินรางวัล แบบที่ทำให้ผู้รับผันชีวิตให้กลายเป็นผู้มั่งคั่งในชั่วข้ามคืน ดุจเดียวกับที่ได้พบเห็นผู้โชคดีจากกิจกรรมส่งไปรษณียบัตรทายผลกีฬาหรือแม้กระทั่งฝาขวดเครื่องดื่มนานาชนิดในบ้านเรา หากแต่ในความเป็นจริงของรางวัลจาก Nengajo ในแต่ละช่วงบ่งบอกลำดับขั้นของการพัฒนาทั้งในมิติของเศรษฐกิจอุสาหกรรมและสังคมวัฒนธรรมของญี่ปุ่นอย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นจักรเย็บผ้าในช่วงทศวรรษ 1950 มาสู่โทรทัศน์และวิทยุทรานซิสเตอร์ ในช่วงทศวรรษ 1960 มาสู่เตาไมโครเวฟ ในช่วง 1980 รางวัลท่องเที่ยวต่างประเทศในช่วง 1990 ไปสู่ทีวีจอแบน notebook รวมถึงชุด home

Read More

ปีใหม่แบบญี่ปุ่น (1)

 ช่วงปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง ท่านผู้อ่านเตรียมดำเนินกิจกรรมอะไรบ้างคะ หลายท่านอาจเดินทางท่องเที่ยว เติมพลังให้ชีวิต ขณะที่หลายท่านอาจปักหลักอยู่บ้านทบทวนวันปีที่เพิ่งผ่านไป แต่สำหรับชาวญี่ปุ่นช่วงปีใหม่ถือเป็นช่วงเวลาที่มีกิจกรรมต่างๆ หนาแน่น ซึ่งล้วนแต่อุดมด้วยเรื่องราวที่สะท้อนความลุ่มลึกและร่ำรวยของคติและวิธีคิดที่แหลมคมไม่น้อย เริ่มที่มิติของอาหารสำหรับปีใหม่กันก่อนดีไหม สำรับอาหารชุดพิเศษของชาวญี่ปุ่นในช่วงปีใหม่ ที่เรียกว่า Osechi Ryori นี้ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัย Heian หรือกว่าพันปีมาแล้ว เพื่อนชาวญี่ปุ่นท่านหนึ่งซึ่งมีพื้นเพเดิมเป็นชาวเมืองเกียวโต เคยเชื้อเชิญให้ผู้เขียนและครอบครัวไปร่วมรับประทานอาหารปีใหม่สำรับพิเศษนี้ร่วมกับคุณพ่อคุณแม่ของเขาที่บ้าน Osechi Ryori ในครั้งนั้น นอกจากจะเต็มไปด้วยบรรยากาศของมิตรภาพอันอบอุ่น และรสชาติอาหารอันโอชะแล้ว ยังทำให้ได้รับความรู้จากอรรถาธิบายถึงความหมายและที่มาที่ไปของอาหารที่ทุกคนในครอบครัวช่วยกันลงมือทำสำรับนี้มากขึ้นด้วย ท่านผู้อ่านซึ่งคุ้นเคยกับอาหารญี่ปุ่น คงจะทราบดีว่าอาหารญี่ปุ่นมีจุดเด่นอยู่ที่ความสดใหม่ของวัตถุดิบในการปรุงเป็นหลัก หรือหากจะกล่าวให้ถูกต้อง ควรต้องเรียกว่าสดจนไม่ต้องปรุง แต่ Osechi-Ryori จะให้ความรู้สึกที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง เพราะคติของชาวญี่ปุ่นแต่เดิมนั้น ถือว่าตลอด 3 วันแรกของการขึ้นปีใหม่ ที่เรียกว่า Oshoogatsu เป็นช่วงเวลาที่ไม่ควรประกอบอาหารใดๆ ยกเว้นเพียงการปรุงซุป Ozoni ซึ่งเป็นซุปใสที่ประกอบด้วยก้อนแป้งข้าวเหนียว (โมะจิ : mochi) ผัก และอาหารแห้งอื่นๆ ที่เป็นอาหารพิเศษสำหรับปีใหม่อีกชนิดหนึ่ง การเตรียมสำรับอาหาร Osechi จึงต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนวันสิ้นปี ด้วยเหตุนี้ Osechi ในยุคแรกๆ จึงถูกจำกัดให้เป็นเพียงชุดอาหารที่ประกอบส่วนด้วยผักต้มผักดอง เท่าที่ความรู้เกี่ยวกับการถนอมอาหารในขณะนั้นจะเอื้อให้จัดเตรียมได้ ความหลากหลายที่มีเพิ่มเติมเข้ามาในสำรับ Osechi ในเวลาต่อมา ในด้านหนึ่งจึงเป็นประหนึ่งเครื่องบ่งชี้ความสามารถในการสรรหาวัตถุดิบและความก้าวหน้าในการถนอมอาหารของชาวญี่ปุ่นไปในตัว ขณะเดียวกันองค์ประกอบของสำรับ

Read More

HOLY LAND: ฐานถิ่นแห่งความขลัง

 ช่วงที่ผ่านมา นอกจากจะได้ยินได้ฟังข่าวเกี่ยวกับเรื่องนิรโทษกรรมแล้ว อีกข่าวที่น่าสนใจไม่น้อยเพราะเป็นประหนึ่งรูปการณ์จิตสำนึกและเข็มมุ่งในแนวนโยบายแห่งรัฐ ก็เห็นจะเป็นเรื่องของมหกรรมสินค้า OTOP ที่รวบรวมของดีจากทุกสารทิศมาให้ได้เลือกซื้อเลือกชม ข่าวเกี่ยวกับ OTOP หรือรายการโทรทัศน์ประเภทของดีทั่วถิ่นไทย ทำให้บทสนทนาบนโต๊ะอาหารที่บ้านช่วงวันหยุด ดำเนินไปท่ามกลางการหวนรำลึกบรรยากาศเมื่อครั้งที่สมาชิกในบ้านมีโอกาสได้พักอาศัยและร่วมตะลอนทัวร์ ไปทัศนศึกษาความเป็นไปของเมืองต่างๆ ในญี่ปุ่นเป็นกำลัง โดยเฉพาะการไล่เรียงอาหารรสเด็ดบ้างไม่เด็ดบ้างที่ได้เคยมีโอกาสลิ้มลอง แต่เหนือสิ่งอื่นใดนอกเหนือไปจากรสชาติของอาหารที่ได้ลิ้มลองดังกล่าวก็คือการได้ไปเยือนถิ่นที่เป็นประหนึ่งดินแดนศักดิ์สิทธิ์และเข้มขลังของอาหารแต่ละชนิดกันเลยทีเดียว ถึงจะไม่ได้มีการกำหนดให้เป็นคำขวัญประจำถิ่น แต่อาหารหลายชนิด รวมถึงผลิตผลทางการเกษตรที่หลากหลายก็กลายเป็นสินค้าเลื่องชื่อและสัญลักษณ์ประจำท้องถิ่นไปโดยปริยาย พร้อมกันนี้การสถาปนาเมืองหลวงหรือสร้างดินแดนศักดิ์สิทธิ์ให้กับอาหารแต่ละชนิดในด้านหนึ่งยังดำเนินควบคู่ไปพร้อมกับลักษณะท้องถิ่นนิยมที่ลุ่มลึกไม่น้อย เมื่อครั้งที่มีโอกาสเดินทางไป Hiroshima อาหารที่เราลงมติว่าสมควรต้องใช้เวลาเพื่อขจัดความหิวและเติมเต็มพลังงานให้กลับคืนมาก็คือ Okonomiyaki ซึ่งหลายท่านอาจเรียกว่าเป็น pizza ญี่ปุ่น แต่หากจะแปลความตามตัวอักษรอาหารชนิดนี้ก็จะมีความหมายว่า as you like itนี่แหละ แม้อาหารชนิดนี้จะมีชื่อเรียกขานดังกล่าว จากผลของส่วนประกอบที่หลากหลายเปิดโอกาสให้ผู้ปรุงและผู้ทานสามารถเลือกใส่เลือกปรุงได้ตามแต่ใจปรารถนา ในลักษณะที่ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว แต่เพราะ Hiroshima ได้รับการสถาปนาให้เป็นประหนึ่งเมืองหลวงของ Okonomiyaki โดยแท้ และชาวบ้านร้านถิ่นในเมืองนี้ ก็พร้อมจะระบุว่าการปรุงในแบบ Hiroshima คือ Okonomiyaki สูตรต้นตำรับเสียด้วย ขณะเดียวกันก็มีข้อถกเถียงกันอยู่ไม่น้อยว่า Okonomiyaki ถือกำเนิดขึ้นมาอย่างไรและเริ่มต้นในพื้นที่แห่งใดก่อนกันแน่ เพราะที่ Osaka เอง ก็พยายามจะบอกว่า Okonomiyaki มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่นั่นเช่นกัน แต่ดูเหมือนว่า Osaka จะได้รับการยอมรับว่าเป็นต้นทางและเมืองหลวงของ

Read More

สิทธิผู้หญิงในอัฟกานิสถานกำลังจะหมดไปหรือไม่เมื่อทหารอเมริกาจะถอนกำลังออกมาตอนสิ้นปีหน้า

เป็นเวลา 12 ปีมาแล้วที่สงครามต่อต้านการก่อการร้าย (War On Terror) ได้เริ่มขึ้น สงครามนี้เกิดขึ้นหลังจากการก่อวินาศกรรมในประเทศอเมริกาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 และประเทศอื่นๆ ในเวลาต่อมา ทำให้ทหารของประเทศสมาชิกในกลุ่มองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่า NATO) และประเทศอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม NATO ได้ร่วมมือกันเพื่อกำจัดกลุ่มอัลกออิดะห์ (Al-Qaeda) และองค์การก่อการร้ายอื่นๆ อย่างเช่น กลุ่มตาลีบัน ซึ่งเป็นกลุ่มก่อการร้ายอิสลามและกลุ่มการเมืองซึ่งปกครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศอัฟกานิสถาน หรือกลุ่มฮามาส ซึ่งเป็นกลุ่มก่อการร้ายในปาเลสไตน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อปลดปล่อยปาเลสไตน์จากอิสราเอล เป็นต้นปัจจุบันมีทหารประมาณ 55,000 –60,000 คนที่ประจำการอยู่ในประเทศอัฟกานิสถาน ซึ่งรัฐบาลของบารัค โอบามา ได้ออกมาประกาศว่าจะมีการถอนกำลังทหารทั้งหมดออกจากประเทศอัฟกานิสถานตอนสิ้นปีหน้าก่อนจะถึงเวลาถอนกำลังทหารตอนสิ้นปีหน้านี้ ประเทศอเมริกาและประเทศอัฟกานิสถานได้มีการพูดคุยตกลงกันว่า (1) ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า จะเริ่มมีการถอนกำลังทหารออกจากประเทศอัฟกานิสถาน โดยที่จะเหลือกำลังทหารไว้ประมาณ 34,000 คน และ (2) ตอนสิ้นปีหน้า

Read More