Home > Life (Page 24)

“หนังสือ” เพื่อนที่ดีที่สุด ที่ใครหลายคนอาจลืม

งานสัปดาห์หนังสือครั้งที่ 46 ที่จัดขึ้นเมื่อ 3 ปีก่อน คงจะเป็นช่วงเวลาในความทรงจำของคนในวงการหนังสือเลยก็ว่าได้ เมื่อเป็นปีที่เกิดปรากฏการณ์ใหม่ นั่นคือ หนังสือแนวประวัติศาสตร์ กลายเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสำหรับนักอ่าน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอิทธิพลจากละครโทรทัศน์ชื่อดังเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” ที่ปลุกกระแสรักการอ่านให้ก่อตัวขึ้น ซึ่งความนิยมของหนังสือขายดี ไม่ได้จำกัดวงอยู่เพียงแค่นวนิยายชื่อดังเท่านั้น แต่ยังขยายวงไปยังหนังสือแนวประวัติศาสตร์ ไล่เรียงไปถึงจดหมายเหตุที่บันทึกเรื่องราวสมัยกรุงศรีอยุธยา เวลานั้นกระแสดังกล่าวสร้างให้เกิดนักอ่านหน้าใหม่ขึ้นจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะนักอ่านรุ่นเยาว์ ถัดจากนั้นอีก 2 ปี เป็นปีที่โลกได้เผชิญหน้ากับความท้าทาย นั่นคือไวรัสโควิด-19 ที่เข้าเล่นงานอุตสาหกรรมที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ไม่เว้นแม้แต่อุตสาหกรรมหนังสือ ที่เดิมทีก็ถูก Disrupt จากยุคดิจิทัล ซึ่งฝากบาดแผลไว้อย่างสาหัส เพราะนอกจากจะไม่สามารถจัดงานสัปดาห์หนังสือในรูปแบบ Offline เฉกเช่นเดิมได้ แต่การจัดงานในรูปแบบ Online ก็ไม่ได้รับกระแสตอบรับจากนักอ่านดีเช่นเดิม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่บีบบังคับให้ต้องระมัดระวังในการจับจ่าย ผู้คนจำนวนมากตัดสินใจตัดงบการซื้อหนังสือออก เมื่อยังมีความไม่แน่นอนที่เป็นผลมาจากการชะลอทางเศรษฐกิจ กระนั้นอุตสาหกรรมหนังสือและผู้คนที่อยู่ในแวดวง ยังคงมุมานะ และเดินหน้าทำงานกันต่อไป ด้วยการเสาะแสวงหาต้นฉบับแห่งการสร้างสรรค์ ที่จะเพิ่มพูนความรู้ ความบันเทิงให้แก่นักอ่านต่อไปอย่างไม่ย่อท้อ หากจะกล่าวว่า ไม่ว่าสถานการณ์ใด “หนังสือจะยังคงเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์” ก็คงไม่ผิดนัก การเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่มีวิวัฒนาการล้ำหน้าในหลายมิติ ส่งผลโดยตรงต่อวิถีชีวิตของเรา ก่อนที่ดิจิทัลจะมีอิทธิพลต่อเราเฉกเช่นทุกวันนี้ มือของใครหลายคนมักจะมีหนังสือให้ถืออยู่บ่อยครั้ง หลายคนเลือกหนังสือเป็นเครื่องมือในการใช้เศษเวลา ในขณะเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ

Read More

ฟังเสียงหัวใจตัวเองบ้าง แล้วจะมีความสุขขึ้น

โลกอินเทอร์เน็ตขยายอิทธิพลเข้ามาในชีวิตประจำวันของมนุษย์ในทุกช่วงเวลา ตั้งแต่ตื่นลืมตา กระทั่งหลับตานอนอีกครั้งในยามราตรี จนทำให้เราแทบจะตัดขาดจากโลกโซเชียลไม่ได้ บางคนใช้เวลาอยู่กับโลกโซเชียลนานเกินไปจนความรู้สึกนึกคิดที่เป็นของตัวเองอย่างแท้จริงได้ถูกครอบงำ หรือรูปแบบวิถีชีวิตถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง เดิมทีมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่หาความรื่นรมย์ในชีวิตด้วยการดื่มด่ำกับกลิ่นกรุ่นของกาแฟยามเช้า เดินสำรวจต้นไม้ในสวนหลังบ้าน มือหนึ่งถือแก้วกาแฟที่ยังมีควันลอยฟุ้งส่งกลิ่นกาเฟอีนปลุกให้เราตื่นตัว อีกมือถือกรรไกรตัดกิ่ง คอยเล็ม ริด ใบไม้ที่แห้งเหี่ยวโรยราออกจากต้น ทว่า ปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีเจริญรุดหน้าแบบก้าวกระโดด ความรื่นรมย์ในยามเช้าเปลี่ยนไปจากเดิม กาแฟแก้วโปรดถูกจับคู่กับโทรศัพท์มือถือที่ตอบรับสัญญาณของโลกออนไลน์ตัวแปรสำคัญที่นำพาให้เราหลุดจากโลกแห่งความเป็นจริง และสร้างความบันเทิงจากเรื่องราวที่ถูกถ่ายทอดลงในโลกอินเทอร์เน็ต ทั้งความขัดแย้ง ปมดราม่าของผู้คนจากหลากหลายวงการ การเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยทำให้ผู้คนจำนวนมากไม่สามารถอยู่กับตัวเองได้ และแทบไม่เคยฟังเสียงตัวเอง เสียงหัวใจ หรือแม้แต่เสียงลมหายใจของตัวเอง บ่อยครั้งที่เราปล่อยความคิดของตัวเองให้เอนเอียงไปกับมายาคติของโลกออนไลน์ ปล่อยให้ตัวเองถูกชักจูงได้ง่ายขึ้น น่าแปลกที่คนแปลกหน้าเหล่านี้สร้างอิทธิพลต่อเราขึ้นมาจากตัวอักษรที่ลอยเคว้งอยู่กลางอากาศที่มีเพียงช่องสัญญาณอินเทอร์เน็ตเป็นตัวเชื่อมต่อเท่านั้น หลายคนแทบไม่รู้ตัวเองเลยว่า การปล่อยให้มายาภาพเหล่านี้เข้ามามีอิทธิพลในความคิดเรานั้น เราเหลือความสุขที่แท้จริงน้อยลง แต่เรากลับคิดเป็นจริงเป็นจังกับทัศนะที่เปิดเผยเพียงด้านเดียวบนโลกออนไลน์ แม้โลกคู่ขนานใบนี้จะมีความเป็นจริงอยู่บ้าง ทว่า อีกมิติของโลกใบดังกล่าวก็อัดแน่นไปด้วยมายาลวงเช่นกัน ความสุขของเราถูกลดทอนให้น้อยลง ความเครียดสะสมมากขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง พื้นที่ส่วนตัวลดลง แม้กระทั่งเราเห็นคุณค่าของตัวเอง และคนรอบข้าง คนในครอบครัวน้อยลง จะดีกว่าไหม ถ้าเราสร้างสมดุลระหว่างโลกแห่งความเป็นจริง และการใช้ประโยชน์จากโลกคู่ขนานที่เรียกว่า “โซเชียลมีเดีย” ให้เกิดขึ้น เริ่มจากการปิด เปิดโลกออนไลน์ให้เป็นเวลา เพื่อสร้างเวลาส่วนตัวอย่างแท้จริง ในเมื่อเราฟังเสียงจาก “คนอื่น” มามากมาย แล้วเพราะอะไรเราจะหยุดและฟังเสียงของตัวเองบ้างไม่ได้ ตื่นนอนตอนเช้า ใช้เวลากับการจิบกาแฟ ทอดสายตาไปกับต้นไม้ใบหญ้า สีเขียวของใบไม้ และสีสันของดอกไม้จะช่วยให้สายตาของเราได้พักผ่อน หลับตาลง ปล่อยให้สรรพเสียงเดินทางเข้าสู่โสตประสาทเราอย่างช้าๆ

Read More

อาหารคลายร้อน

อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นในเดือนเมษายน กำลังแจ้งเตือนให้ได้ตระหนักว่าการมาถึงของฤดูร้อนในประเทศไทยได้เคลื่อนเข้ามาให้ได้สัมผัสแล้ว ควบคู่กับความร้อนระอุของแสงแดดจัดจ้าและลมแล้งที่รุนแรงหนักหน่วง การมาถึงของฤดูร้อนเช่นว่านี้ ทำให้หลายๆ คนคงนึกถึงอาหารคลายร้อน ซึ่งในแต่ละวัฒนธรรมก็คงมีความหลากหลายแตกต่างกันออกไป เพราะหากเป็นวัฒนธรรมตะวันตกซุ้มขายไอศกรีม ตามหัวมุมถนนคงเป็นแหล่งรวมพลของทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่ต้องการสัมผัสความหวานเย็นและดับกระหายคลายความร้อนที่เผชิญ ขณะที่ในญี่ปุ่นและภาคพื้นตะวันออกไกล บะหมี่เย็นอาจเป็นคำตอบ ที่นอกจากจะให้ความชุ่มคอชื่นใจแล้ว ยังอิ่มท้องไปในคราวเดียวกันด้วย สำรับอาหารของไทยที่อุดมด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน และดูจะมีความหลากหลายให้ได้เลือกเสพเลือกรับประทานสำหรับดับกระหายคลายความร้อน ต่อสู้กับอุณหภูมิที่เพิ่มสูงร้อนแรงนี้ไม่ด้อยไปกว่ากัน แม้ว่าเมนูอาหารสำรับไทยบางสำรับจะดูไกลตัวออกไปหรือถูกค่อนว่าเป็นเมนูโบราณ แต่ทุกสำรับไทยกลับเป็นเมนูที่มีภูมิปัญญาชาญฉลาดแฝงอยู่ไม่น้อย เพราะนอกจากจะรับประทานดับร้อน ยังลดอาการร้อนในได้ด้วย สำรับอาหารไทยซึ่งถือเสมือนหนึ่งเป็นตัวแทนแห่งการมาถึงของฤดูร้อนสำรับแรก คงหนีไม่พ้น “ข้าวแช่” โดยการลิ้มชิมรสความอร่อยแบบสวยๆ สไตล์ชาววังของอาหารสำรับนี้ ปัจจุบันมีให้บริการหลายแห่ง โดยเฉพาะร้านไหนที่เป็นข้าวแช่ต้นตำรับดั้งเดิม ยิ่งเครื่องแน่น หลากหลาย อร่อยเพลินไปอีก โดยทั่วไปเครื่องเคียงข้าวแช่ จะประกอบไปด้วย ลูกกะปิทอด, พริกหยวกห่มสไบสอดไส้หมูและกุ้ง, หัวไชโป๊วผัดหวาน, หัวหอมสอดไส้ปลาแห้ง, ปลาช่อนผัดหวาน, หมูสับ-ปลากุเลาแห้งเค็ม บางร้านก็จะเพิ่มปลายี่สนผัดหวานให้ด้วย รับประทานคู่กับข้าวสวยแช่น้ำลอยดอกมะลิ ใส่น้ำแข็ง หอมเย็นชื่นใจ คลายร้อนได้ดีทีเดียว เคล็ดไม่ลับของการรับประทานข้าวแช่แบบถูกวิธี อยู่ที่การตักเครื่องเคียงเข้าปากก่อน แล้วค่อยตามด้วยข้าว และน้ำลอยดอกไม้ ไม่ควรตักเครื่องเคียงมาวางลงในชามข้าวสวย เพราะจะทำให้ข้าวแฉะไปด้วยน้ำมัน ซึ่งจะทำให้รับประทานไม่อร่อย เสียของไปอีก สำรับอาหารคลายร้อนอีกสำรับในช่วงฤดูร้อนเช่นนี้ ที่ขอแนะนำ “ขนมจีนซาวน้ำ” ซึ่งเป็นอีกสำรับที่เหมาะสำหรับรับประทานในช่วงหน้าร้อน

Read More

หลุมพรางของโซเชียลมีเดีย อิทธิพลด้านลบที่เกิดกับผู้ใช้งาน

ปฏิเสธไม่ได้ว่า เราได้ก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัลอย่างเต็มตัวแล้ว เมื่อรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนในปัจจุบันไม่อาจตัดขาดโลกโซเชียลมีเดียได้ เมื่อเหล่าวิศวกรผู้ออกแบบ นักพัฒนาแอปพลิเคชัน หรือโปรแกรมเมอร์ ได้ย่อส่วนและรวบรวมความสะดวกสบายมาไว้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แม้โลกโซเชียลจะมีข้อดีนานัปการ ทั้งการย่นระยะทางการสื่อสารระหว่างบุคคลที่อยู่คนละฟากฝั่งโลกให้เหมือนอยู่ใกล้กัน มีส่วนสำคัญในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม ทว่า อีกด้านหนึ่งที่เหล่านักพัฒนาไม่ได้สร้างไว้คือ เครื่องมือป้องกันกับดักหรือหลุมพรางที่เกิดขึ้นในโลกคู่ขนานแห่งนี้ เพราะปัจจุบันโลกเสมือนที่ว่า ไม่เพียงแต่มีข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเป็นไปในสังคม อีกแง่มุมหนึ่งคือ มีข่าวสารปลอมว่อนอยู่ทั่วทุกซอกมุมบนโลกอินเทอร์เน็ต มิติด้านบวกที่สร้างประโยชน์ให้แก่ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียที่ชาญฉลาดคือ ค้นคว้าหาข้อมูล สำหรับการวิเคราะห์ แยกแยะ และประมวลผลด้วยมันสมองของแต่ละบุคคล ภายใต้พื้นฐานการหาข้อเท็จจริง ขณะที่มิติด้านลบ คือ สร้างข้อมูลและปั่นกระแสเพื่อให้ผู้ใช้งานบางส่วนเชื่อข้อมูลเหล่านั้นโดยปราศจากการวิเคราะห์ใดๆ นี่อาจเป็นหลุมพรางที่เกิดในโลกโซเชียล แน่นอนว่า ส่วนหนึ่งมาจากกรอบความเชื่อเดิมที่เป็นเสมือนรากเหง้าในอุดมคติของแต่บุคคล อันนำมาสู่การ “เลือก” และ “คลิก” เพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลนั้นๆ กำเนิดผู้พิพากษาบนโลกโซเชียล อิทธิพลในแง่ลบที่ตามมาหลังจากหลุมพรางของโซเชียลเริ่มทำงานคือ เปลี่ยนผู้คนให้กลายเป็นประหนึ่งผู้พิพากษาทางสังคมภายในเวลาอันรวดเร็ว หลายต่อหลายครั้งที่ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดีย มักตัดสินชีวิตของบุคคลอื่นจากข้อมูลที่ปรากฎอยู่บนโลกออนไลน์ ความง่ายดายของการเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ ทำให้ผู้ใช้งานแชร์ข้อมูลเดิมๆ ซ้ำๆ พร้อมกับความคิดเห็นแบบเปิดเผยที่ขาดการตระหนักถึงผลที่จะตามมาต่อชีวิตผู้อื่น เพียงเพราะ “เห็นเขาแชร์กัน” และต้องการที่จะมีส่วนร่วมในกระแสสังคมในขณะนั้น ท้ายที่สุดความจริงปรากฏและพบว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการเข้าใจผิดของบุคคลเพียงไม่กี่คน เราจะพบวลีซ้ำซากที่บ่งบอกถึงความมักง่ายอันไร้สามัญสำนึกว่า “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” อ่านน้อยลง พาดหัวยืนหนึ่ง หลุมพรางของโซเชียลมีเดียที่สร้างอิทธิพลแง่ลบ ไม่ได้มีเพียงเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้ผู้ใช้งานจำนวนไม่น้อย กลายเป็นนักอ่านที่มีโควตาไม่เกิน 2 บรรทัด แม้ว่าหลายปีก่อน จะมีคำพูดว่า

Read More

ความล่มสลายของชุมชน ภายใต้นามของการพัฒนา

ความเคลื่อนไหวในเขตชุมชนเมืองพระนครในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมานอกจากจะมีการชุมนุมเรียกร้องสิทธิการอยู่ในพื้นที่ของชาวหมู่บ้านบางกลอยที่กำลังเป็นประเด็นว่าด้วยการไล่รื้อและทวงคืนพื้นที่ผืนป่าในนามของการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก่อนที่จะเคลื่อนขบวนไปปักหลักชุมนุมใกล้ทำเนียบรัฐบาลพร้อมกับการจัดตั้งหมู่บ้านทะลุฟ้า ในอีกด้านหนึ่งชุมชนชาวสามเสน-บางลำพู-พระสุเมรุ กำลังพะวักพะวงกับข่าวแนวเขตเวนคืนเพื่อสร้างรถไฟฟ้าที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ความเป็นไปของการอนุรักษ์และการพัฒนาในสังคมไทยดูจะเป็นประเด็นเปราะบางที่สร้างผลกระทบต่อชุมชนแต่ละแห่งอย่างต่อเนื่องตลอดมา ขึ้นอยู่กับว่ากลไกรัฐจะเอ่ยอ้างเหตุผลในการกระทำต่อประชาชนในพื้นที่อย่างไร ซึ่งนั่นล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อการดำรงอยู่ของชุมชนอย่างไม่อาจเลี่ยงได้ หากลองย้อนพิจารณาในกรณีของชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอยและใจแผ่นดินเขตรอยต่อไทย-เมียนมา เขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานที่กลับมาเป็นประเด็นสาธารณะอีกครั้ง หลังจากที่อุทยานแห่งชาติ “แก่งกระจาน” และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเปิด “ยุทธการพิทักษ์ป่าต้นน้ำเพชร” ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ส่งผลให้เครือข่ายองค์กรสิทธิมนุษยชน เรียกร้องให้ยุติปฏิบัติการ และยุติการจับกุมชาวบ้านทุกคน พร้อมคืนสิทธิพื้นที่อาศัยทำกิน ตามวิถีชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ตามมติ ครม. 3 สิงหาคม 2553 ซึ่งต่อมาศาลปกครอง มีคำวินิจฉัยว่าบ้านบางกลอย เป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม และการกระทำของเจ้าหน้าที่เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ปฏิบัติตามมติ ครม. 3 สิงหาคม 2553 และให้ยุติการจับกุม แม้ศาลปกครองจะมีคำวินิจฉัยดังกล่าว หากแต่ชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอยก็ไม่สามารถกลับเข้าพื้นที่ของบรรพบุรุษได้ เนื่องจากไม่มีเอกสารสิทธิ์ในการครอบครองพื้นที่ สร้างความผิดหวังให้กับชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอยไม่น้อย ความด่างพร้อยของประพฤติการจากเจ้าหน้าที่ของรัฐในกรณีของชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย ถูกผลิตซ้ำให้เห็นในกรณีของยุทธการตะนาวศรี ซึ่งเจ้าหน้าที่รุกเข้าไปเผาทำลายบ้านเรือนชาวกะเหรี่ยง และยังเกี่ยวโยงกับโศกนาฏกรรมเฮลิคอปเตอร์ 3 ลำของทหารตกบริเวณ อ.แก่งกระจาน เมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตมากถึง 17 ศพ

Read More

สรรพเสียงจากธรรมชาติ บำบัดจิตใจ ฟื้นฟูร่างกาย

ปัจจุบันนับเป็นยุคทองของอินเทอร์เน็ต ผู้คนใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านทางโลกโซเชียลมีเดีย ก้มหน้าและฝังตัวอยู่กับโลกเสมือนที่ถูกย่อส่วนลงมาในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เราตอบสนองต่อสิ่งเร้าทั้งที่เราเป็นผู้กำหนดความอยากรู้นั้นเอง และจากความคาดหวังของผู้คนรายล้อมรอบตัว บ่อยครั้งที่สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นจนเกินความพอดี และสะสมจนก่อให้เกิดความเครียดทีละเล็กทีละน้อย จนกลายเป็นอาการป่วย หรือโรคเครียด คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตผ่านทุกอุปกรณ์ 9 ชั่วโมง 1 นาทีต่อวัน สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก อีกข้อมูลที่น่าสนใจคือ ผลสำรวจจาก บมจ. ซิกน่า ประกันภัย พบว่า ไทยเป็นประเทศที่มีความเครียดสูงเป็นอันดับ 5 ของโลก จากทั้งหมด 23 ประเทศที่ทำการสำรวจ โดยมีคนไทยถึง 91 เปอร์เซ็นต์ยอมรับว่าตัวเองมีความเครียด ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 84 เปอร์เซ็นต์ และที่แย่ไปกว่านั้น มีอยู่ประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่สามารถหาคำตอบได้ว่า ความเครียดที่ตัวเองกำลังเผชิญอยู่เกิดจากสาเหตุใด ซึ่งทำให้ไม่สามารถจัดการและรับมือกับความเครียดได้ การใช้ชีวิตของคนไทยในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้เวลาอยู่ในบ้านมากกว่าอยู่นอกบ้าน และนั่นทำให้เราใช้เวลาอยู่ในโลกอินเทอร์เน็ตมากกว่าโลกแห่งความเป็นจริง ผลคือ แม้เราจะใช้เวลาในช่วงวันหยุดเพื่อพักผ่อนอยู่กับบ้าน ทว่า เรายังไม่ได้ปลดปล่อยตัวเองออกจากโลกที่อุดมไปด้วยความเครียด ความกดดัน และยิ่งห่างไกลจากธรรมชาติมากขึ้นไปด้วย ผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถสลัดตัวเองให้หลุดจากความเครียดที่เกาะกินจิตใจได้ อาจเพราะเข้าใจว่า การที่จะหลีกหนีให้พ้นจากภาวะความเครียดได้จำเป็นต้องออกเดินทางไปหาธรรมชาติ แน่นอนว่าหากสามารถทำได้คงจะดีไม่น้อย

Read More

Dirty Coffee ความเปรอะเปื้อนที่กลมกล่อม

“Dirty Coffee ต้องใช้เวลาสักครู่นะครับ” เสียงตอบกลับจากบาริสต้าประจำร้าน เมื่อได้รับออเดอร์เป็น Dirty coffee เมนูกาแฟชื่อแปลกหูแต่แฝงไว้ด้วยรสชาติที่กลมกล่อม ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา กาแฟชื่อชวนสงสัยแก้วนี้ได้รับความนิยมจากบรรดาคอกาแฟเป็นอย่างมาก ร้านกาแฟหลายร้าน โดยเฉพาะร้านกาแฟประเภท Specialty coffee หรือกาแฟพิเศษ ต่างบรรจุเมนูนี้ไว้ในลิสต์เพื่อดึงดูดลูกค้า จนกลายเป็นตัวชูโรงให้กับบางร้านไปเลยทีเดียว แต่หลายคนคงมีคำถามผุดขึ้นในใจว่า Dirty Coffee คืออะไร ทำไมใช้คำว่า dirty ที่แปลว่า สกปรก มาผสมกับเครื่องดื่มอย่างกาแฟ และทำไมถึงกลายเป็นที่นิยมชมชอบอยู่ในชณะนี้ จริงๆ แล้ว Dirty Coffee คือกาแฟนมที่เสิร์ฟแยกชั้นกันอย่างชัดเจนและต้องเสิร์ฟมาในแก้วใสแช่เย็นไม่ใส่น้ำแข็ง ด้านล่างเป็นชั้นสีขาวของนมสดที่แช่มาจนเย็น ส่วนด้านบนเป็นสีน้ำตาลเข้มของ espresso shot หรือ ristretto shot ที่ค่อยๆ ไหลแทรกซึมเข้ากับชั้นของนมด้านล่าง ก่อให้เกิดลวดลายเฉพาะตัว เขรอะนิดๆ อาร์ตหน่อยๆ อันเป็นที่มาของชื่อ Dirty Coffee เมนูกาแฟที่โดดเด่นทั้งรูปลักษณ์และรสสัมผัสที่มีเอกลักษณ์ ต้นกำเนิดของกาแฟแก้วพิเศษนี้เพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นานนัก โดยมาจากการสร้างสรรค์ของ “คัตซึยูกิ ทานากะ”

Read More

ขบถ : สิทธัตถะ โคตมะ (563–483 BCE )

“จงอย่าเชื่อสิ่งใดง่ายๆ แม้แต่คำพูดของเรา จนกว่าจะได้พิสูจน์ด้วยปัญญาและเหตุผลแล้ว” สิทธัตถะ น่าจะถูกเรียกได้ว่าเป็นนักปฏิวัติเปลี่ยนแปลงหัวก้าวหน้าคนแรกๆ ของโลก เพราะไม่เพียงตั้งคำถามกับบรรทัดฐานความเชื่อเดิมของสังคม ระบบวรรณะที่แบ่งคนตามลำดับชั้นพร้อมกับสิทธิติดตัวแต่กำเนิด ความสมเหตุสมผลของการบูชายัญเทพเจ้า ความศักดิ์สิทธิ์ของสถานภาพบุคคลบางจำพวกเท่านั้น แต่สิทธัตถะลงมือเปลี่ยนแปลงสร้างสังคมใหม่ตามความเชื่อของตัวเอง เรียกว่า สังคมสังฆะ เน้นภราดรภาพ ความเท่าเทียมกันของทุกคน ไม่ให้ความสำคัญกับชาติกำเนิด แต่ประเมินคุณค่าของบุคคลจากการกระทำ สิทธัตถะย้ำในหลายโอกาสว่า แนวคิดของเขาเน้นการปฏิบัติ ศึกษาทดลองด้วยตนเอง จนเป็นความรู้เฉพาะตน (ปัจจัตตัง) เพราะแต่ละคนมีเหตุปัจจัยในชีวิตที่แตกต่างกัน ดังนั้น ย่อมไม่มีความรู้ชุดมาตรฐานเดียวสำหรับทุกคน (One size fits all) หากกล่าวในมิติของสถานภาพ ตำแหน่ง เจ้าชาย (Prince) ของสิทธัตถะ ได้เปรียบบรรดานักคิดนักปรัชญาร่วมสมัย เพราะได้ร่ำเรียนวิชาวิทยาการครบทุกด้าน มีชีวิตครอบครัวที่อบอุ่น อยู่อย่างสุขสบาย แต่นั่นกลับทำให้เขาตั้งคำถามกับชีวิตมากยิ่งขึ้น ชีวิตคืออะไร ชีวิตที่ดีเป็นอย่างไร ทำไมหลายคนต้องใช้ชีวิตอย่างมีความทุกข์ตั้งแต่เกิดจนตาย เราจะหลุดพ้นจากวงจรเหล่านี้ได้อย่างไร สิทธัตถะปฏิวัติตัวเองครั้งแรกด้วยการทิ้งทรัพย์สมบัติ สถานภาพไว้เบื้องหลัง ออกเดินทางค้นหาความหมายของชีวิต ฝากตัวเป็นลูกศิษย์กับอาจารย์มีชื่อ จนสำเร็จวิชาสูงสุด เพียงเพื่อจะพบว่า มันยังไม่สามารถตอบคำถามในใจ เขาจึงต้องออกเดินทางค้นหาสิ่งที่อาจเรียกว่า สัจธรรม หรือความจริงแท้อีกครั้งโดยลำพัง เคี่ยวเข็ญเข้มงวดกับร่างกายและจิตใจ

Read More

ลดความดันโลหิตได้ด้วยวิธีธรรมชาติ

Column: Well – Being เมื่อหมอวินิจฉัยว่าคุณมีอาการความดันโลหิตสูง อาจเป็นเรื่องยากที่คุณจะเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า ความดันโลหิตสูงส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมอย่างไรบ้าง ที่สำคัญเมื่อคุณเกิดอาการดังกล่าวขึ้นแล้วจะไม่แสดงอาการให้คุณทราบได้ในชีวิตประจำวัน แต่ความจริงที่ต้องเน้นย้ำคือ ความดันโลหิตสูงเป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างยิ่ง เพราะนำไปสู่โรคที่เป็นเพชฌฆาตเงียบหลายโรค เช่น โรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง ภาวะสมองเสื่อม และไตวาย ซ้ำร้ายกว่านั้น ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (ซีดีซี) ของสหรัฐฯ ยังยืนยันว่า ปี 2018 ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุสำคัญให้เกิดการเสียชีวิตในประชากรร่วม 500,000 คน ซีดีซียังให้ข้อมูลต่อไปว่า ที่น่าตกใจกว่านั้นคือ หนึ่งในห้าของประชากรวัยผู้ใหญ่ในสหรัฐฯ ไม่รู้ตัวว่ามีอาการความดันโลหิตสูง หมอจึงเตือนว่า ถ้าในรอบสองปีที่ผ่านมานี้ คุณไม่เคยวัดความดันโลหิตเลย หมอแนะนำให้ไปวัด โดยค่าความดันที่สูงกว่า 130/80 มม. ปรอทถือว่าเข้าข่ายความดันโลหิตสูง (ค่าตัวบนคือ ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว และค่าตัวล่างคือ ความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว) แม้ว่ายาจะช่วยลดความดันโลหิตได้ แต่อาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น ตะคริวที่ขา เวียนศีรษะ และนอนไม่หลับ ข่าวดีคือ คนส่วนใหญ่สามารถลดความดันโลหิตได้ด้วยวิธีธรรมชาติโดยไม่ต้องกินยา “การเปลี่ยนวิถีชีวิตเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการป้องกันและบำบัดความดันโลหิตสูง” ดร. แบรนดี

Read More

จริงไหม … เป็นโควิด-19 ทำให้ปวดหลัง?

Column: Well – Being ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (ซีดีซี) ของสหรัฐฯ ไม่ได้ระบุเป็นการเฉพาะว่า ปวดหลังเป็นอาการของโรคโควิด-19 แต่ได้รวมเอาอาการปวดกล้ามเนื้อและปวดตัวเป็นสัญญาณที่ต้องระวัง ดังนั้น คุณควรวิตกกังวลหรือไม่ถ้ามีอาการปวดหลัง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าไม่จำเป็น นิตยสาร Prevention แจกแจงข้อมูลที่คุณควรรู้ดังนี้ ปวดหลังเป็นอาการร่วมของโควิด-19? ผลสำรวจโดย Survivor Corps ซึ่งเป็นเฟซบุ๊กที่สนับสนุนผู้รอดชีวิตจากโรคโควิด-19 และ ดร. นาตาลี แลมเบิร์ต แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอินเดียนา พบว่า ผู้ที่ได้ชื่อว่าหายจากโรคโควิด-19ในทางเทคนิคแล้วยังต้องเผชิญกับอาการระยะยาวหรืออาการข้างเคียงต่างๆ เช่น ปวดหลังส่วนล่าง ส่วนบน และส่วนกลาง เป็นไปได้ไหมที่ป่วยโควิด-19 แล้วไม่มีไข้? อาการปวดหลังที่มีสาเหตุจากโควิด-19 ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มอาการเดียวกับการปวดหรือเจ็บกล้ามเนื้อทั่วไป ซึ่งซีดีซีระบุว่าเป็น “อาการที่เป็นทางการ” นอกจากนี้ ยังมีรายงานจากองค์การอนามัยโลกประจำเดือนกุมภาพันธ์ ระบุว่า จากคนไข้โควิด-19 ร่วม 56,000 รายในจีน มีเกือบร้อยละ 15 เผชิญกับอาการปวดและเจ็บกล้ามเนื้อ “โควิด-19 ก็เหมือนโรคจากไวรัสตัวอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของอาการเชิงระบบ” ดร. มาร์คัส ดูดา ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์

Read More