Home > Cover Story (Page 24)

Duck Donuts จากนอร์ทแคโรไลนา สู่สยามดิสคัฟเวอรี่

ตลาดโดนัทเมืองไทยกลับมาคึกคักอีกครั้ง เมื่อ Duck Donuts โดนัทชื่อดังจากรัฐนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา บินตรงมาเปิดสาขาในไทย ปักหมุดสยามดิสคัฟเวอรี่เป็นสาขาแรก พร้อมชิงส่วนแบ่งตลาดมูลค่ากว่า 3,500 ล้านบาท และเป็นหนึ่งในตัวเลือกให้กับเหล่าคนรักโดนัท ตลาดโดนัทในเมืองไทยเป็นอีกหนึ่งตลาดขนมที่มีความน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว ทั้งมูลค่าตลาดที่สูงถึง 3,500 ล้านบาท และผู้เล่นที่หลากหลายทั้งแบรนด์ใหญ่ที่มีหลายร้อยสาขาทั่วประเทศ ไปจนถึงแบรนด์เล็กๆ สไตล์โฮมเมด ปี 2521 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของตลาดโดนัทในไทย โดยมีสุทธิชัย จิราธิวัฒน์ และสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ ในนามบริษัท ไทยแฟรนไชซิ่ง จำกัด เป็นผู้บุกเบิก ด้วยการนำเข้าแบรนด์โดนัทชื่อดังจากสหรัฐอเมริกาอย่าง “มิสเตอร์ โดนัท” (MISTER DONUT) เข้ามาเปิดในไทย โดยปักหมุดสยามสแควร์เป็นสาขาแรก กระทั่งปี 2546 มิสเตอร์ โดนัท จึงได้เข้าไปอยู่ภายใต้การบริหารงานของบริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG มิสเตอร์ โดนัท ถือเป็นผู้นำในตลาดโดนัท ที่ครองส่วนแบ่งสูงกว่า 52%

Read More

เปิดบ้านยูนิลีเวอร์ ‘U-House 2.0’ บริษัทขวัญใจคนรุ่นใหม่

เดือนกันยายนที่ผ่านมา ยูนิลีเวอร์คว้ารางวัล HR Asia Best Companies to Work For in Asia Awards 2023 สุดยอดองค์กรดีเด่นที่น่าทำงานมากที่สุดในเอเชีย ประจำปี 2566 ที่จัดโดย HR Asia นิตยสารชั้นนำด้านทรัพยากรบุคคลของภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเป็นรางวัลที่ได้รับเป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน นอกจากนั้น จากการสำรวจ 50 บริษัทที่คนรุ่นใหม่อยากร่วมงานด้วยมากที่สุดประจำปี 2566 ของ WorkVenture ที่ประกาศผลไปเมื่อต้นปี ยูนิลีเวอร์ยังติดอันดับที่ 13 จากบรรดา 50 บริษัทชั้นนำของไทยอีกด้วย และล่าสุดยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย ยังทุ่มงบประมาณกว่า 30 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงสำนักงานใหญ่บริเวณถนนพระราม 9 สู่การเป็น ‘U-House 2.0’ สำนักงานใหญ่โฉมใหม่ เพื่อรองรับการทำงานแบบ “Hybrid Working” รูปแบบการทำงานแห่งอนาคตที่กำลังเข้ามามีบทบาทในหลายๆ องค์กร ทำไมยูนิลีเวอร์ถึงเป็นองค์กรที่ครองใจคนรุ่นใหม่

Read More

ฝันใหญ่ของขวัญตา สุดแสง พา เดอะ พรอดดิจีสู่เบอร์หนึ่ง Tech startup

ท่ามกลางวิกฤตทั้งภาวะเศรษฐกิจที่ยังมีปัจจัยลบรอบด้านจากภายในและภายนอกประเทศ การฟื้นตัวในหลายอุตสาหกรรมยังไม่ชัดเจน และบางอุตสาหกรรมกำลังประสบกับภาวะวิกฤต โดยเฉพาะการค้าระหว่างประเทศที่อาจได้รับผลกระทบจากสงคราม แม้ธุรกิจภาคเอกชนเริ่มตื่นตัว สังเกตได้จากการเปิดตัวโครงการใหม่ๆ และมีกิจกรรมออกมาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อีกหนึ่งธุรกิจที่ดูเหมือนวิกฤตที่เกิดขึ้นแทบไม่สร้างผลกระทบได้มากเท่าที่ควร และยังคงเติบโตได้อย่างสวนกระแส นั่นคือธุรกิจสตาร์ทอัป ที่หลายศูนย์วิจัยและพยากรณ์เศรษฐกิจเห็นพ้องกันว่า ธุรกิจสตาร์ทอัปมีทิศทางโตแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะ Tech Startup หนึ่งในนั้นคือ บมจ. เดอะ พรอดดิจี (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการ ไอทีเอาท์ซอสซิ่ง จัดหาผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีสารสนเทศแบบครบวงจร มี “ขวัญตา สุดแสง” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และฝันอันยิ่งใหญ่คือการนำ “เดอะ พรอดดิจี” ไปสู่การเป็น Tech Startup เบอร์หนึ่งของไทย “ชื่อเล่น ‘ฝัน’ มีฝันที่ยิ่งใหญ่ จากประสบการณ์การทำงานที่ออราเคิล อยากนำประสบการณ์มายกระดับตลาดแรงงานด้าน IT ในไทย และยกระดับตลาด Tech ในไทย เป้าหมายของเรา คือการเป็นเบอร์หนึ่งในธุรกิจ IT Outsourcing” ขวัญตาเปิดเผย พร้อมทั้งอธิบายลักษณะของธุรกิจว่า “เราเป็นธุรกิจบริการให้คำปรึกษา คำแนะนำและบริการด้านการพัฒนาระบบงานด้านสารสนเทศให้กับลูกค้า โดยมีการส่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางให้กับกลุ่มลูกค้าในบริษัทต่างๆ

Read More

เปิดเป้าหมาย รัชวิภา เอ็ม อาร์ ไอ เซ็นเตอร์ สู่ศูนย์ MRI ชั้นนำอาเซียน

เทรนด์ดูแลสุขภาพ ที่ขยายตัวด้วยอัตราเร่งแบบก้าวกระโดดส่งผลให้อุตสาหกรรมความงามและการดูแลสุขภาพมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง Global Wellness Institute (GWI) หรือสถาบันโกลบอลเวลเนส คาดการณ์ว่าในปี 2568 เศรษฐกิจเพื่อสุขภาพทั่วโลก (Global Wellness Economy) จะมีมูลค่าประมาณ 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 230 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ อีกหนึ่งเทรนด์ที่เริ่มได้รับความนิยม คือ การดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ที่ค่อยๆ เพิ่มจำนวนมากขึ้น เพราะสามารถเห็นรอยโรคและความผิดปกติได้ตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งจะสามารถป้องกันและอาจหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนรวมถึงปัญหาสุขภาพร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต GWI เปิดเผยรายงานว่าในปี 2563 ภาคสาธารณสุข เวชศาสตร์ป้องกัน และการแพทย์เฉพาะบุคคล สร้างรายได้ 375,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีภาคสาธารณสุขและเวชศาสตร์ป้องกันถือครองตลาดสูงถึง 92% คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 344,100 ล้านดอลลาร์ ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มุมมองด้านสุขภาพของผู้คนเริ่มเปลี่ยนไป หลายคนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในเชิงการป้องกัน ซึ่งเป็นการดูแลสุขภาพในขณะที่ร่างกายยังคงแข็งแรงดี การทำ MRI หรือ Magnetic Resonance Imaging

Read More

ส้มตำหมื่นล้าน จากอาหารพื้นถิ่นสู่เมนูแห่งชาติ

ส้มตำ เมนูประจำชาติไทย แม้ไม่มีหลักฐานแน่ชัดถึงที่มา และการนำมะละกอดิบมาปรุงเป็นส้มตำครั้งแรกเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่า มะละกอเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง ชาวสเปนและโปรตุเกสนำมาปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคต้นกรุงศรีอยุธยา ชาวฮอลันดาอาจนำพริกเข้ามาเผยแพร่ ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีทูตชาวฝรั่งเศสผู้มาเยือนกรุงศรีอยุธยา คือ นีกอลา แฌร์แวซ และซีมง เดอ ลา ลูแบร์ พรรณนาว่า เวลานั้นมะละกอกลายเป็นพืชพื้นเมืองชนิดหนึ่งของสยามและกล่าวถึงกระเทียม มะนาว มะม่วง กุ้งแห้ง ปลาร้า ปลากรอบ กล้วย น้ำตาล แตงกวา พริกไทย ถั่วชนิดต่าง ๆ ที่สามารถใช้ปรุงส้มตำได้ เวลาต่อมา ตำราอาหาร แม่ครัวหัวป่าก์ ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2451 ในสมัยรัชกาลที่ 5 พูดถึงอาหารที่คล้ายส้มตำ โดยใช้มะขามเป็นส่วนผสมหลัก ในชื่อว่า ปูตำ ส่วนในตำราอาหารเก่า ๆ อย่าง ตำรับสายเยาวภา ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท มีอาหารที่เรียกว่า

Read More

สมรภูมิแซ่บๆ ร้อนๆ เจ้าตลาด “ตำมั่ว-นิตยา” รุกหนัก

“เหม็ง แซ็ปนัว” ในเครือบริษัท ฟู้ด แฟคเตอร์ (Food Factors) ของทายาทสิงห์ ต๊อด ปิติ ภิรมย์ภักดี ประกาศเดินหน้าช่วงชิงเม็ดเงินในสมรภูมิอาหารอีสาน ส้มตำ ไก่ย่าง จิ้มจุ่ม ที่มีมูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท ตามยุทธศาสตร์ผลักดันรายได้ในฐานะ 1 ใน 6 ธุรกิจเสาหลักภายใต้อาณาจักรบุญรอดบริวเวอรี่ อันได้แก่ ธุรกิจเบียร์-โซดา บรรจุภัณฑ์ ซัปพลายเชน อสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจภูมิภาค และกลุ่มอาหาร ขณะเดียวกัน บริษัท เคที เรสทัวรองท์ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ซานตาเฟ่และเหม็งแซ็ปนัว ซึ่งก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มฟู้ด แฟคเตอร์ เมื่อปี 2562 ต้องการใช้จังหวะนี้รีแบรนดิ้ง สร้างภาพลักษณ์ใหม่ “ไทยอีสานโมเดิร์น” เพื่อรุกแผนการใหญ่ในปีหน้า แน่นอนว่า ตลาดอาหารไทยอีสานมีขนาดใหญ่มาก เพราะมีทั้งร้านแบรนด์ใหญ่ในโมเดิรน์เทรด ร้านดั้งเดิมเก่าแก่ที่รุกเข้าสู่ช่องทางใหม่ๆ เช่น คอมมูนิตี้มอลล์ สถานีบริการน้ำมัน รวมถึงร้านริมทางที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์มากมาย แค่ครก

Read More

เปิดไอเดียปลุกปั้น Clicknic เจาะฐานบัตรทอง 47 ล้านคน

นักธุรกิจหนุ่มวัยสี่สิบ จบสาขาเศรษฐศาสตร์ มีธุรกิจส่วนตัวผลิตถังก๊าซหุงต้ม แต่มีเพื่อนกลุ่มแพทย์และเภสัชกรหลายคน เขาเกิดไอเดียและเห็นโอกาสธุรกิจที่ยังไม่มีใครทำจริงจัง ตัดสินใจรวมตัวกับเพื่อนทำ Telepharmacy ก่อนอัปเกรดเป็น Telemedicine และกำลังเตรียมโปรเจกต์ใหญ่ ไม่ใช่แค่สร้างเครือข่ายทั่วกรุงเทพฯ แต่ต้องการปูพรมทั่วประเทศ “ผมมองว่า Telemedicine ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ แก้ปัญหาระบบสาธารณสุขไทย เราไม่ได้ต้องการสร้างโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น แต่ต้องการแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ความต้องการมากขึ้น แก้ปัญหาความแออัดในโรงพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว” นีล นิลวิเชียร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คลิกนิกเฮลท์ จำกัด (Clicknic) กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ถึงแนวคิดและจุดเริ่มต้นเมื่อ 7 ปีก่อน ซึ่งความจริงเป็นการดิสรัปชัน (Disruption) โรงพยาบาล สร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ให้คุณหมอกับคนไข้มาเจอกัน แทนการเจอกันในโรงพยาบาล สะดวกรวดเร็วขึ้น ใช้เวลารอไม่กี่นาที พร้อมบริการส่งยาถึงบ้านและเคลมสิทธิ์บัตรทองได้ รวมถึงสิทธิ์ประกันของบริษัทเอกชน หรือจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง แน่นอนว่า ช่วงแรกเหมือนสิ่งใหม่ในตลาด แต่สถานการณ์โควิดแพร่ระบาดสร้างประสบการณ์ให้ผู้คนเรียนรู้ระบบเทเลเมดิซีน ในจังหวะเวลาที่ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ต้องงัดโครงการ Self-Isolation ทั้งการปรึกษา

Read More

Fest by SCGP เปิดบ้านโชว์นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก พร้อมรองรับดีมานด์บรรจุภัณฑ์ยั่งยืนโตต่อเนื่อง

Fest by SCGP (เฟสท์) เปิดบ้านโชว์นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารเพื่อสิ่งแวดล้อมสำหรับตลาดอาหารพร้อมทาน-เนื้อสดแช่เย็น และตู้อัตโนมัติด้วยฐานการผลิตศักยภาพสูง ชูศักยภาพการผลิตและทีมงานคุณภาพ พร้อมรองรับความต้องการบรรจุภัณฑ์อาหารยั่งยืนที่มีการเติบโตสูง นายกิตชัย ทัศนวิญญู Foodservice Packaging Solutions Manager บริษัท ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย จำกัด ในเครือเอสซีจี แพคเกจจิ้ง (SCGP) ผู้นำบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน เปิดเผยว่า ปัจจุบัน SCGP ดำเนินธุรกิจอยู่ใน 3 หมวดหลัก ได้แก่ ธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร (Integrated Packaging Business), ธุรกิจเยื่อและกระดาษ (Fibrous Business) และธุรกิจเกี่ยวกับการรีไซเคิล (Recycling Business) สำหรับ “Fest by SCGP” หรือ เฟสท์ เป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัยภายใต้ธุรกิจเยื่อและกระดาษในเครือเอสซีจี แพคเกจจิ้ง ที่ครอบคลุมบรรจุภัณฑ์อาหารที่ครบทุกการใช้งาน ทั้งกล่องอาหาร ถาดอาหาร จาน ชาม ถ้วย

Read More

สมบัติ หงส์ไพฑูรย์ ภารกิจปรับ “ลุค” ซานตาเฟ่-เหม็ง แซ็ปนัว

“ผมจบวิศวะ ทำโรงกลั่นน้ำมัน อยู่ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ผมเป็นเพื่อนกับคุณสุรชัย ชาญอนุเดช เขาก่อตั้งแบรนด์ซานตาเฟ่ ช่วงที่กำลังขยายเยอะและต้องควบคุมต้นทุน เขาชวนผมมาเป็นซีเอฟโอบริหารต้นทุน เปลี่ยนแนวผมไปเลย” สมบัติ หงส์ไพฑูรย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคที เรสทัวรองท์ จำกัด เล่าถึงวันแรกที่พลิกเปลี่ยนชีวิตแบบฉีกแนวมาลุยธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งส่วนหนึ่งเพราะเป็นคนชอบรับประทานอาหารทุกประเภทแล้วแต่อารมณ์ บางวันรู้สึกชิลๆ อยากรับประทานสเต๊ก บางวันรู้สึกสนุกๆ ต้องกินอาหารไทยอีสาน หรือบางวันอารมณ์ Unlimited ต้องรับประทานบุฟเฟต์ ขณะเดียวกัน หากย้อนเส้นทางเริ่มต้นของสุรชัย ชาญอนุเดช ซึ่งจริงๆ ไม่ได้ตั้งใจจับธุรกิจร้านอาหารตั้งแต่แรก ไม่ต่างจากสมบัติ หงส์ไพฑูรย์ สุรชัยทำงานเป็นพนักงานธนาคาร ได้เงินเดือนแค่ 3,600 บาท ใช้จ่ายแบบเดือนชนเดือน ทำได้สักพัก ตัดสินใจลาออกไปทำงานบริษัท เอสแอนด์พี รับผิดชอบงานด้านการออกแบบ การประสานงาน การหาทำเล และการเซตระบบของร้านค้า กลายเป็นประสบการณ์และปลุก Passion ทำธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งแม่ของสุรชัยเปิดร้านข้าวแกงอยู่ด้วย จังหวะนั้นโรงพยาบาลพญาไทชักชวนสุรชัยเปิดร้านอาหารตามสั่งในโรงพยาบาล โดยใช้ชื่อ “ครัวไท” ปรากฏว่าขายดีมาก และขยายสาขาอย่างรวดเร็ว แต่การขยายสาขามากเกินไปเกิดปัญหาเรื่องคนและการบริหารจัดการวัตถุดิบ

Read More

ทะเลไทยทำเลทอง แม่เหล็กธุรกิจอสังหาฯ

พื้นที่ริมชายหาด เป็นทำเลหมายปองของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ เพราะไม่ว่าจะศักราชไหน ทำเลทองอย่างชายทะเลยังได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเสมอ นั่นเพราะทะเลไทยมักจะติดอันดับสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม และสวยติดอันดับโลกในหลายพื้นที่ ด้วยเหตุผลดังกล่าวส่งผลให้พื้นที่ชายหาดมักจะถูกเล็งไว้สำหรับพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย ทั้งบ้านแนวราบ คอนโดมิเนียม หรือโรงแรม สิ่งที่ตามมาคือราคาซื้อขายที่ดินถูกปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ที่ดินชายทะเลในจังหวัดภูเก็ต หลังสถานการณ์โควิดมีการปรับราคาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยที่ดินริมหาดราคาขายต่อไร่อยู่ที่ประมาณ 50-70 ล้านบาท ในขณะที่ทำเลอื่นๆ ที่อยู่ห่างทะเลไม่มากราคาขายอยู่ที่ 30-40 ล้านบาทต่อไร่ สถานการณ์โควิดที่ผ่านมาแม้ภูเก็ตจะได้รับผลกระทบจากการปิดเมือง รายได้จากการท่องเที่ยวซึ่งเป็นแหล่งเดียวมีค่าเท่ากับศูนย์ ทว่า ราคาที่ดินกลับเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าเมืองจะเงียบเหงาไปช่วงหนึ่งก็ไม่ทำให้ราคาที่ดินถูกปรับลดลงแต่อย่างใด และภูเก็ตยังเป็นที่ต้องการของชาวต่างชาติที่มองหาบ้านหลังที่สอง เพื่อพักผ่อน หรือหนีภัยสงครามในกลุ่มลูกค้าชาวรัสเซีย ที่ยังคงหมายตาไข่มุกแห่งอันดามันนี้เป็นหมุดหมาย นอกจากนี้ ทะเลอันดามันยังขึ้นชื่อเรื่องความสวยงาม นอกจากทะเลไทยในฝั่งอันดามันที่เนื้อหอมสำหรับนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แล้ว ทะเลฝั่งอ่าวไทยก็ได้รับความสนใจไม่ต่างกัน ด้วยพื้นที่ที่อยู่ใกล้ระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ EEC เช่น พัทยา ที่มีศักยภาพและมีโอกาสเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่นที่ บันยัน ทรี กรุ๊ป เลือกปักหมุดลงใจกลางหาดจอมเทียน เปิดโครงการ Skypark Lucean Jomtien Pattaya ภายใต้การดูแลของ อุรดี กุลกีรติยุต กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลูนิค

Read More