Home > Cover Story (Page 20)

ถอดรหัสความสำเร็จ BIODERMA ตำนานคลีนซิ่งฝาชมพู กับการปักหมุดในไทย

ถ้าพูดถึง BIODERMA Sensibio H2O (ไบโอเดอร์มา เซ็นซิบิโอ เอชทูโอ) เชื่อว่าต้องเป็นที่รู้จักของใครหลายๆ คน โดยเฉพาะสาวๆ ที่ชอบการแต่งหน้า ด้วยความเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวคุณภาพดี หรือคลีนซิ่งฝาสีชมพูในตำนาน ที่ครองใจผู้ใช้ชาวไทยมามากกว่า 10 ปี นับตั้งแต่ยุคที่ต้องหิ้วมาจากต่างประเทศเพราะยังไม่มีขายในไทย กระทั่งผู้ผลิตอย่าง NAOS GROUP ตัดสินใจปักหมุดบุกตลาดไทยจริงจังเมื่อ 7 ปีก่อน ภายใต้บริษัท นาโอส (ประเทศไทย) จำกัด (NAOS) NAOS GROUP (นาโอส) บริษัทผลิตภัณฑ์ดูแลผิวสัญชาติฝรั่งเศส ที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2520 โดย ฌอง โนเอล โทเรล (Jean-Noël Thorel) เภสัชกรและผู้เชี่ยวชาญด้านชีววิทยาชาวฝรั่งเศส ปัจจุบันมีแบรนด์ที่พัฒนาภายใต้บริษัททั้งสิ้น 3 แบรนด์ ได้แก่ BIODERMA, INSTITUT ESTHEDERM และ

Read More

อัปเดตความคืบหน้า Dusit Central Park โปรเจกต์ยักษ์ บนสุดยอดทำเลทอง

บนถนนพระราม 4 กำลังมีการก่อสร้าง 2 โครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่จาก 2 ค่ายยักษ์ ที่ขับเคี่ยวกันมาอย่างดุเดือดและเป็นที่จับตาของแวดวงอสังหาริมทรัพย์ของไทย โครงการแรก “วัน แบงค็อก” (One Bangkok) ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท วัน แบงค็อก โฮลดิ้งส์ จำกัด ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทของ “เจริญ สิริวัฒนภักดี” “วัน แบงค็อก” เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสม (Mixed-Use) ขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนพื้นที่ 104 ไร่ บนถนนพระราม 4 และถนนวิทยุ เดิมเคยเป็นที่ตั้งของโรงเรียนเตรียมทหาร สนามมวยเวทีลุมพินี และสวนลุมไนท์บาซาร์  ซึ่งเป็นพื้นที่ของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ตัวโครงการใช้เงินลงทุนสูงถึง 120,000 ล้านบาท พื้นที่อาคารรวม 1.83 ล้าน ตร.ม.

Read More

ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว ติดปีกธุรกิจ สู่สตรีทฟู้ดมหาชน

ข้าวราดแกง ก๋วยเตี๋ยว อาหารสามัญประจำเมืองที่คนไทยมักนึกถึงและต้องมีสักหนึ่งมื้อที่จะถูกเลือกในหนึ่งวัน ทั้งสองเมนูสามารถหารับประทานได้ไม่ยาก โดยเฉพาะก๋วยเตี๋ยวที่มีทั้งร้านประเภทเจ้าของดำเนินกิจการเอง และแฟรนไชส์ ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว ร้านบะหมี่ป้ายสีเหลืองอีกหนึ่งแฟรนไชส์ก๋วยเตี๋ยวที่มักถูกจัดอันดับให้เป็นแฟรนไชส์ที่น่าลงทุน ปัจจุบันมีแฟรนไชส์จำนวน 4,500 สาขา จากจุดเริ่มต้นเมื่อปี 2537 ที่พันธ์รบ กำลา ประธานบริหาร ตั้งต้นพัฒนาสูตรเส้นบะหมี่ น้ำซุป เมื่อมองเห็นช่องทางการตลาดจึงดำเนินกิจการในรูปแบบแฟรนไชส์ พร้อมสร้างระบบการกระจายสินค้าให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2543 ด้วยทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท ภายใต้ชื่อบริษัท ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว จำกัด ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงทุนจดทะเบียนเป็น 150 ล้านบาท เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 และแจ้งเปลี่ยนชื่อบริษัทอีกครั้งเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2566 เป็นบริษัท ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด “เมื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว คาดว่าจะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 10,000

Read More

ชัยวัฒน์ นันทิรุธ จากความไม่รู้ สู่การเป็นผู้นำบรรจุภัณฑ์ยืดอายุอาหาร

"ถ้าผมรู้ ผมคงไม่ทำ แต่เพราะผมไม่รู้ไง" วรรคทองของ "ชัยวัฒน์ นันทิรุจ" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอกา โกลบอล จำกัด ที่ท้าทายตัวเองด้วยการเดินออกจากธุรกิจของครอบครัวซึ่งในขณะนั้นตัวเองเป็นทายาทรุ่นที่ 2 ของบริษัทแป้งมันสำปะหลังชั้นนำของไทย ก่อนจะเริ่มต้นธุรกิจของตัวเองเมื่อปี 2546 ด้วยแรงบันดาลใจเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ยืดอายุอาหาร ที่ยังไม่มีใครทำในเวลานั้น “การอยู่ในธุรกิจของครอบครัวก็เป็นสิ่งที่ดี แต่เราก็อยากออกมาทำอะไรด้วยตัวเอง ต้องการมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เวลานั้นมองว่า นวัตกรรมที่เกี่ยวกับแพ็กเกจจิ้งยังไม่มีคนทำ ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นการตัดสินใจที่ยาก และถ้ารู้ว่าช่วงเริ่มต้นจะประสบปัญหาการขาดทุน ต้องรอคอย ถ้าผมรู้ ผมคงไม่ทำ แต่คิดว่าไหนๆ ก็ทำแล้ว การทำธุรกิจเหมือนการเดินทาง ไม่ใช่ทุกคนที่ฉลาด เก่ง แล้วจะประสบความสำเร็จ บางครั้งมันอาจจะเป็นพรหมลิขิต เรารู้ว่ามันยากแต่เรามองเห็น Volume เรามองเห็นอนาคต ก็เลยต้องสู้ไปจนมาถึงทุกวันนี้ แต่ผมเชื่อว่าคนที่เก่ง อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ เขาอาจจะไม่ทำก็ได้ เพราะมันยาก สำหรับผมอาจจะฟลุกก็ได้” การมองเห็นธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตสูงในอนาคต ทำให้ชัยวัฒน์ตัดสินใจจับมือกับนักลงทุนจากออสเตรีย เพื่อลงทุนในบริษัท ไทยออสโตร โมลด์ จำกัด

Read More

นางสาวสยาม กิมมิกงานฉลองรัฐธรรมนูญ

รัฐบาลจัดการประกวดนางสาวไทยครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2477 ใช้ชื่อว่า “นางสาวสยาม” ในงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ภายในพระราชอุทยานสราญรมย์ สโมสรคณะราษฎร โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมส่งเสริมงานฉลองรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนซึ่งเดินทางมาจากทุกจังหวัด เพราะมีการคัดเลือกตัวแทนสาวงามจากทั่วประเทศ  ปี 2482 รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขครั้งที่ 1 ว่าด้วยนามของประเทศ เปลี่ยนเรียกชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” การประกวด “นางสาวสยาม” จึงเปลี่ยนเป็น “นางสาวไทย” พร้อมปรับใช้ชุดผ้าไหม เสื้อเปิดหลัง กางเกงกระโปรงยาวถึงเข่า และเพิ่มการสวมใส่ชุดกีฬา กางเกงขาสั้น เสื้อแขนกุดเปิดหลังในปีถัดมา ปี 2484-2488 ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสงครามหลังกองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ชายฝั่งหลายแห่ง ต้องยกเลิกงานฉลองรัฐธรรมนูญจนสงครามสงบและใช้เวลาฟื้นฟูประเทศระยะหนึ่ง ปี 2491 รัฐบาลฟื้นงานฉลองรัฐธรรมนูญ รวมถึงการประกวดนางสาวไทย โดยปี 2492 เพิ่มการสวมใส่ชุดว่ายน้ำ ปี 2497 เป็นปีสุดท้ายที่รัฐบาลมีบทบาทในการจัดการประกวด เพราะงานฉลองรัฐธรรมนูญถูกยกเลิกด้วยเหตุผลทางการเมืองในช่วงรอยต่อของประชาธิปไตยและเผด็จการ แต่มีการจัดประกวดระดับท้องถิ่นและในโอกาสพิเศษต่าง ๆ เช่น การประกวดเทพีลุมพินี

Read More

JKN ลุยไทม์ไลน์หนีตาย เกมกอบกู้เรตติ้งครั้งใหญ่

กว่า 5 เดือนแล้ว บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ JKN ของ แอน-จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ยังหนีไม่พ้นปมปัญหาหนี้ก้อนใหญ่ โดยเฉพาะกรณีผู้ถือหุ้นกู้มูลค่ารวมมากกว่า 3,200 ล้านบาท แม้พยายามยืนยันว่า การยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง เพื่อปรับโครงสร้างกิจการและโครงสร้างทางการเงิน เป็นหนทางดูแลผู้ถือหุ้นและผู้ถือหุ้นกู้ให้ได้รับเงิน และได้รับความยุติธรรมมากที่สุด แต่ดูเหมือนผู้ถือหุ้นกู้ส่วนใหญ่ยังคลางแคลงใจ เพราะกว่าจะได้เงินต้องรอกระบวนการฟื้นฟูกิจการนานนับปี ล่าสุด นางนรินธร อนุเคราะห์ธนาพงษ์ รองกรรมการผู้จัดการสายงานการเงินและบัญชี JKN ออกมาระบุว่า ตั้งแต่บริษัทจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการขยายกิจการอย่างต่อเนื่อง โดยการระดมทุน ทั้งเพิ่มทุน กู้ยืมธนาคารพาณิชย์ และออกหุ้นกู้  มูลค่ากว่า 3 พันล้านบาท ซึ่งบริษัทนำเม็ดเงินมาขยายธุรกิจมูลค่ากว่า 2 พันล้านบาท ส่วนที่เหลือนำมาเป็นเงินทุนดำเนินธุรกิจ แต่เมื่อลูกค้าของ JKN ชำระเงินล่าช้ากว่ากำหนด ทำให้มีปัญหาการขาดสภาพคล่อง และไม่สามารถชำระคืนหุ้นกู้ได้ตามกำหนด โดยที่ปรึกษาการเงินและที่ปรึกษากฎหมายแนะนำให้ JKN ยื่นขอเข้าแผนฟื้นฟูกิจการกับศาลล้มละลายกลาง

Read More

พณัญญา เจริญสวัสดิ์พงศ์ ดันแอปฯ KANNA ปฏิวัติชาวนารุ่นใหม่

ประเด็นข้าว Ong Cua ST25 ของเวียดนามคว้ารางวัลชนะเลิศในการประชุมสุดยอดข้าวโลกนานาชาติ ประจำปี 2566 ที่เมืองเซบู ในประเทศฟิลิปปินส์ กลายเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายหวั่นวิตกมากขึ้น ทั้งที่ข้าวหอมมะลิจากไทยเคยยึดแชมป์รางวัลข้าวที่ดีที่สุดในโลก แต่ปี 2565 เสียตำแหน่งให้ “ผกาลำดวน” ของกัมพูชา และปีล่าสุดไม่ผ่านแม้กระทั่งรอบ 3 อันดับแรก ตัวแปรหนึ่งที่ถกเถียงกัน คือ การพัฒนาพันธุ์และนวัตกรรมการเพาะปลูกแนวใหม่ ซึ่งข้าว ST25 ของเวียดนามมีการพัฒนาต่อเนื่องได้สายพันธุ์ผสมระหว่างข้าวหอมมะลิไทย ข้าวบาสมาติของอินเดียและข้าวญี่ปุ่น จนได้เม็ดเรียวยาว มีความหอม และเหนียวนุ่ม ขณะที่ประเทศไทยมีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวมากถึง 4.68 ล้านครัวเรือน ประมาณ 17 ล้านคน เนื้อที่เพาะปลูกข้าวนาปีและนาปรัง เฉลี่ยปีละ 70-71 ล้านไร่ คิดเป็น 47% ของเนื้อที่ทำการเกษตรทั้งประเทศ 149 ล้านไร่ มีผลผลิตข้าว 31-32 ล้านตันข้าวเปลือกต่อปี หรือ 20 ล้านตันข้าวสาร แม้การส่งออกเติบโตแต่ยังต้องการการพัฒนาพันธุ์ข้าวและการเพิ่มผลผลิต พณัญญา เจริญสวัสดิ์พงศ์

Read More

เจาะหุ้นนางงาม MGI ลุ้นตลาด มงจะลง-ไม่ลง

ได้ฤกษ์ซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ไปแล้วเมื่อวันที่ 14 ธันวาคมที่ผ่านมา สำหรับหุ้นนางงาม บริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ MGI หลังจากซีอีโอใหญ่ ณวัฒน์ อิสรไกรศีล ใช้เวลาแต่งตัวปลุกปั้นมานานกว่าสิบปีด้วยเงินลงทุนเริ่มต้น 1 ล้านบาท ขณะเดียวกันการนำร่องเสนอขายหุ้น IPO จำนวน 60 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 4.95 บาท เมื่อวันที่ 4, 6 และ 7 ธ.ค. ที่ผ่านมา สามารถสร้างแรงดึงดูดนักลงทุนจองซื้อหมดเกลี้ยง ซึ่งนายณวัฒน์ประกาศใช้เม็ดเงินลงทุนปรับปรุงอาคารสำนักงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้า และผลิตรายการ เพื่อเพิ่มศักยภาพและผลักดันการเติบโตอย่างก้าวกระโดด หากย้อนดูผลการดำเนินงานของ MGI ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เริ่มจากปี 2563 มีรายได้รวม 338.80 ล้านบาท

Read More

Coty ยักษ์ใหญ่ด้านความงามโลก ได้เวลาจัดทัพบุกตลาดเมืองไทย

เชื่อว่าถ้าเอ่ยชื่อของแบรนด์น้ำหอมอย่าง Gucci, Burberry, Chloé, HUGO BOSS, Marc Jacobs ไปจนถึง Calvin Klein ย่อมเป็นที่รู้จักกันดีของใครหลายๆ คน แต่ส่วนใหญ่อาจจะไม่รู้ว่าน้ำหอมแบรนด์ดังเหล่านี้ล้วนอยู่ภายใต้บริษัทด้านความงามยักษ์ใหญ่ของโลกที่อยู่มานานกว่า 120 ปี อย่าง “Coty” ทั้งสิ้น และที่น่าสนใจมากไปกว่านั้น คือ ยักษ์ใหญ่รายนี้กำลังจัดทัพปรับขบวนเพื่อเข้ามาบุกตลาดความงามเมืองไทยอย่างเต็มตัว ด้วยการเปิดสำนักงานและแต่งตั้งผู้นำคนใหม่ที่มาพร้อมกลยุทธ์สร้างการเติบโต เพื่อชิงส่วนแบ่งการตลาดความงามและน้ำหอมที่เติบโตไม่หยุด Coty (โคตี้) ถือเป็นบริษัทด้านความงามที่อยู่ในทอป 5 ของโลก ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2447 ณ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยเริ่มจากการเป็นผู้ผลิตน้ำหอม และถือเป็นเจ้าแรกที่เริ่มทำน้ำหอมในตลาดแมส เพราะก่อนหน้านั้นน้ำหอมคือสินค้าสำหรับชนชั้นสูงเท่านั้น ซึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญคือการเปิดตัวน้ำหอม Calvin Klein ในปี 2537 ที่ทำให้ Coty นิยามตัวเองว่าเป็น Mass Fragrance หรือผู้ที่ทำให้น้ำหอมเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ แม้จะเริ่มจากการผลิตน้ำหอม แต่ปัจจุบัน Coty ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์จนครอบคลุมทั้งน้ำหอม เครื่องสำอาง

Read More

MITH – PROAD – PRANN การเดินทางของน้ำหอมแบรนด์ไทย

ถ้าพูดถึง “น้ำหอม” แน่นอนว่าย่อมเป็นที่ชื่นชอบของใครหลายๆ คน ถึงขนาดที่ว่า ถ้าวันไหนไม่ได้ฉีดน้ำหอมเหมือนมันขาดอะไรไปสักอย่าง นั่นทำให้ตลาดน้ำหอมเป็นอีกหนึ่งตลาดที่คึกคักและน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว ทั้งแบรนด์ชั้นนำระดับโลกที่ต่างพัฒนากลิ่นใหม่ๆ ออกสู่ตลาดกันอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงน้ำหอมแบรนด์ไทยที่ในระยะหลังมานี้มีหลากหลายแบรนด์และพัฒนาคุณภาพจนกล้าท้าชนกับโกลบอลแบรนด์ “ผู้จัดการ 360 องศา” มีโอกาสได้คุยกับ “จุติณัฏฐ์ ปิยวีรวงศ์” เจ้าของแบรนด์  MITH น้ำหอมแบรนด์ไทยที่อยู่ในตลาดมานานกว่า 8 ปี ด้วยน้ำหอมกว่าร้อยกลิ่น อีกทั้งยังพัฒนาแตกแบรนด์เพิ่มเติมจากน้ำหอมระดับแมสสู่น้ำหอมระดับพรีเมียมที่มีคุณภาพไม่แพ้แบรนด์ชั้นนำ “จุดเริ่มต้นก็เหมือนหลายๆ แบรนด์ คือเริ่มจาก passion เอาสิ่งที่ตัวเองรักมาต่อยอดเป็นธุรกิจ ผมเป็นคนที่หลงรักน้ำหอมมาก ตอนแรกก็ใช้แบรนด์ต่างประเทศทั่วไปที่ราคามันก็ค่อนข้างสูง เราก็พยายามหาว่าแบรนด์ไทยมีใครบ้างที่ทำได้ระดับนั้น ซึ่งมันก็ยังไม่เจอ เลยตัดสินใจลุยธุรกิจนี้ อีกอย่างผมมองว่ามันน่าจะไปได้ เพราะขนาดตลาดใหญ่มากเราสามารถไปแชร์มาได้ และแนวโน้มการเติบโตในธุรกิจนี้มีสูง เพราะน้ำหอมมันแทรกซึมอยู่กับทุกคน” จุติณัฏฐ์เล่าถึงจุดเริ่มต้นในการเข้าสู่ธุรกิจน้ำหอม โดยการเปิดตัวน้ำหอมแบรนด์ MITH ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ถ้าย้อนไป ณ จุดเริ่มต้นในการทำธุรกิจ จุติณัฏฐ์บอกกับเราว่า มันคือ “การดับเครื่องชน” เพราะเขาเริ่มต้นในการทำธุรกิจด้วยต้นทุนจากทุกสิ่งที่มี ทั้งการใช้เงินเก็บจากการเป็นนักออกแบบตกแต่งภายในมาหลายปี อีกทั้งทรัพย์สินที่มีอยู่ก็ถูกนำไปเข้าธนาคารเพื่อนำเงินมาเป็นต้นทุนในการทำน้ำหอมเช่นกัน “ดับเครื่องชนจริงๆ เรียกว่าทุบหม้อข้าวเพื่อมาทำแบรนด์น้ำหอมขายเลยทีเดียว

Read More