Home > Cover Story (Page 173)

ASAVA หวังดันแฟชั่นไทย สวนกระแสเศรษฐกิจ

 ท่ามกลางกระแสการเมืองที่ร้อนแรงในขณะนี้ที่ส่งผลกระทบกับธุรกิจหลายประเภท ธุรกิจแฟชั่นแม้จะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ แต่กระนั้นธุรกิจนี้ก็ไม่เคยหยุดนิ่ง “ธุรกิจแฟชั่น เป็นธุรกิจที่หยุดนิ่งไม่ได้  ต้องรู้จักบริหารค่าใช้จ่ายต้นทุน แต่ไม่ควรหยุดกิจกรรมต่างๆ ของแบรนด์ เพราะจะทำให้กระแสนิยมหายไป”    พลพัฒน์ อัศวประภา เจ้าของแบรนด์อาซาว่า (ASAVA) และ เอเอสวี (ASV) แบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่น ระดับพรีเมียม ได้กล่าวในการเปิดตัวคอลเลกชั่นใหม่             ทั้งนี้ จากภาพรวมของธุรกิจแฟชั่นของประเทศไทย เมื่อปีที่ผ่านมา ถือว่ามีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยกลุ่มเป้าหมายแต่ละแบรนด์อยู่ที่วัยทำงาน ที่มีอำนาจในการจับจ่ายสูง และมีจำนวนคนมากขึ้น ทำให้แฟชั่นไทยได้รับความนิยมมาก ประกอบกับคนไทยเปลี่ยนจากการนิยมแบรนด์นอกหันมาสวมใส่เสื้อผ้าแบรนด์ไทยมากขึ้น ทำให้ตลาดแฟชั่นไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดดและต่อเนื่อง    ในขณะที่อาจมีมุมมองที่ว่าเสื้อผ้าแฟชั่นไม่ใช่ธุรกิจที่มีความสำคัญมากเท่าไหร่กับวิถีชีวิต แต่ขณะเดียวกันกับเป็นธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาล ซึ่ง ณ ปีที่ผ่านมาตลาดเครื่องนุ่งห่มมีมูลค่าที่สูงถึง 86,000 ล้านบาท   ตลาดแฟชั่น ณ ปัจจุบัน นอกจากจะมีการแข่งขันชิงตลาดกันเองแล้ว ยังต้องแข่งขันกับแบรนด์ต่างชาติที่ตบเท้าเข้ามาช่วงชิงตลาดในไทย เช่น CK, DKNY,

Read More

“ซีพี” รุกนิวคอนเซ็ปต์ ไลฟ์สไตล์คอมแพคซูเปอร์ฯ

เกือบ  8 ปี บนเส้นทางการขยายเข้าสู่ช่องทางค้าปลีกของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ภายใต้แบรนด์ “ซีพี” โดยมีบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีพีเอฟ” เป็นตัวขับเคลื่อนตามนโยบายใหญ่จากประธาน ธนินท์ เจียรวนนท์ มีการปรับเปลี่ยน Business Model หลายรอบ แก้จุดอ่อน หาจุดแข็ง และเสริมสิ่งเติมเต็มที่เหมาะสมกับโจทย์ทางการตลาด ล่าสุดยกเครื่องและเขย่าอีกรอบ โดยตั้งเป้าปี 2557 สร้างความแข็งแกร่งเพื่อเป็นผู้นำตลาด Food Retail ในเมืองไทยและยกขบวนหน้าร้านทุกโมเดลบุกตลาดโลกเต็มรูปแบบในปี 2558   ภายใต้จุดแข็งข้อสำคัญ คือการเป็น Food Convenience Store ที่ดีที่สุด จากจุดเริ่มต้น การเปิดเอาท์เล็ต “เอฟมาร์ท” จำหน่ายเนื้อสัตว์ หมู ไก่ ไข่ ขยายเป็น “ซีพีเฟรชมาร์ท” เปิดหน้าร้านที่มีสีสันมากขึ้น เพิ่มความหลากหลายของสินค้า ไม่ใช่แค่เนื้อสัตว์ดิบๆ แต่พัฒนาเข้าสู่การเป็น “ห้องครัวของชุมชน”

Read More

“24th July” กิจการเพื่อสังคมจากความรัก สู่โอกาสใหม่ของผู้ต้องขังหญิง

 ท่ามกลางกระแสความขัดแย้งในสังคมที่ดูเหมือนจะหาจุดลงตัวและบทสรุปแห่งปัญหาได้อย่างยากลำบาก ในอีกมุมหนึ่งของสังคมไทยยังปรากฏกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากความรักและกำลังส่งมอบโอกาสใหม่ๆ ให้กับผู้ต้องขังหญิงให้สามารถกลับมามีชีวิตใหม่อย่างปกติสุขได้อีกครั้ง “นับเป็นความภูมิใจอย่างยิ่งต่อผู้มีส่วนร่วมทุกท่าน รวมไปถึงทางเรือนจำต่างๆ และผู้ต้องขังหญิงทุกท่านที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันเปิดร้านนี้ขึ้น เป็นโอกาสที่จะได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยผู้ต้องขังหญิง เพื่อนำรายได้ไปสนับสนุนผู้ต้องขังหญิง เป็นทุนต่อการคืนสู่สังคมเมื่อถึงวันปล่อยตัว การที่เราได้สนับสนุนร้านนี้นอกเหนือจากจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้ผู้ต้องขัง ยังเป็นการสนับสนุนกิจกรรมของเรือนจำซึ่งทำภารกิจในการปรับพฤติกรรมคนซึ่งเคยกระทำผิดให้คืนสู่สังคมอย่างเป็นคนดีแล้ว ยังเป็นการแสดงให้เห็นว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่มีการให้อภัย ให้กำลังใจซึ่งกันและกันและให้โอกาส มอบความรักให้แก่ทุกท่าน” ข้อความข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของโอวาทที่พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงประทานให้กับผู้ร่วมงานเปิดร้าน  “24th JULY” ณ The Scenery Vintage Farm อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งย่อมสะท้อนแนวพระดำริและความคิดที่อยู่เบื้องหลังกิจกรรมนี้ได้เป็นอย่างดี แม้ว่ากรณียกิจของพระบรมวงศานุวงศ์แห่งสถาบันกษัตริย์ไทย จะดำเนินไปเพื่ออำนวยประโยชน์ให้กับปวงประชาราษฎร์อยู่เนืองๆ และเนิ่นนาน แต่สำหรับกิจการเพื่อสังคม ในนาม  “24th JULY” ภายใต้มูลนิธิ ณภาฯ ในพระดำริของพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา กำลังเป็นประหนึ่งการเปิดมิติใหม่ให้กับกิจการเพื่อสังคม (social enterprise) ด้วยการผสมผสานแนวความคิดและการบริหารจัดการในเชิงธุรกิจให้เข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้น เพราะแม้ว่าผลิตภัณฑ์ภายในร้าน “24th JULY” จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากฝีมือการผลิตของผู้ต้องขังหญิง ภายในเรือนจำทั่วประเทศ ที่ทางมูลนิธิได้ส่งเจ้าหน้าที่หรือวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเข้าไปฝึกอบรม และให้ความรู้แก่ผู้ต้องขังหญิงในการทำงานฝีมือต่างๆ จนเกิดความเชี่ยวชาญและสามารถรังสรรค์ผลิตภัณฑ์อย่างสวยงามขึ้นมาจำหน่ายได้ แต่จุดแตกต่างกลับอยู่ที่มิติของการออกแบบ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยสินค้าส่วนใหญ่ของ “24th JULY” จะเน้นไปที่การสร้างผลิตภัณฑ์แบบออร์แกนิกจากธรรมชาติ

Read More

พลังงานแสงอาทิตย์ โอกาสใหม่ของ “ชาร์ป”

 ความตื่นตัวว่าด้วยพลังงานสะอาดและพลังงานทดแทนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยต่างเร่งระดมสรรพกำลังในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อรองรับกับการเติบโตของอุตสาหกรรมพลังงาน และดูเหมือนว่าผู้ประกอบการจากญี่ปุ่นจะเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่พยายามแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่จากปรากฏการณ์นี้ การปรากฏตัวขึ้นของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา แม้จะดำเนินไปท่ามกลางข้อถกเถียงถึงความคุ้มค่าการลงทุนและความเหมาะสมของการเป็นพลังงานทางเลือก ที่จะเข้ามามีบทบาทอย่างจริงจังสำหรับอนาคตในระดับมหภาค แต่สำหรับมิติมุมมองในทางธุรกิจแล้ว พลังงานแสงอาทิตย์ กำลังเป็นโอกาสที่เปิดกว้างสำหรับการลงทุนที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง ความเคลื่อนไหวเช่นว่านี้ประเมินได้จากการลงนามข้อตกลงสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ในประเทศไทย ระหว่างชาร์ป คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น กับบริษัท เสริมสร้างพลังงาน จำกัดเพื่อร่วมก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ ในจังหวัดลพบุรี โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งนี้ มีกำลังการผลิต 52 เมกะวัตต์ โดยเริ่มก่อสร้างในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เพื่อให้แล้วเสร็จและดำเนินการได้ภายในสิ้นปี 2557 ซึ่งจะส่งผลให้กำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมดของชาร์ปในประเทศไทยมีปริมาณมากกว่า 150 เมกะวัตต์ สำหรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งนี้ บริษัท เสริมสร้างพลังงาน จำกัด ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการได้มอบหมายให้บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน) บริษัทผู้รับเหมา ก่อสร้างรายใหญ่ของประเทศไทย และบริษัท อิตัลไทยวิศวกรรม จํากัด ดูแลเรื่องงานก่อสร้างและการวางระบบไฟฟ้า  ขณะที่บริษัท ชาร์ป คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น จะทำหน้าที่จัดหาแผงเซลล์แสงอาทิตย์และควบคุมทุกขั้นตอนการก่อสร้าง โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และการให้บริการบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า ในฐานะที่เป็นเจ้าของและผู้พัฒนาเทคโนโลยี ชาร์ปเลือกที่จะใช้เทคโนโลยีที่ใช้เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางหรือ Thin-film solar module ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเซลล์แสงอาทิตย์แบบผลึกแล้ว

Read More

Media Revolutionist ธงนำ “RS” บนดิจิตอลทีวี

 ปี 2557 นับเป็นปีประวัติศาสตร์แห่งการปฏิวัติวงการโทรทัศน์ครั้งใหญ่ของเมืองไทย โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกสู่ระบบดิจิตอล ทำให้เกิดสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิตอลซึ่งเป็นฟรีทีวีช่องใหม่ เพิ่มขึ้นมาถึง 24 ช่อง แต่จะว่าไปแล้ว สมรภูมิดิจิตอลทีวีดูเหมือนจะเพิ่งเริ่มบรรเลงบทโหมโรงกันเมื่อต้นปีนี้เอง ขณะที่การเปิดฉากจริงของจอดิจิตอลทีวีทั้ง 24 ช่องจะ (ต้อง) เริ่มขึ้นภายในเดือนเมษายนนี้ แต่แค่เพียงเดือนแรก ก็มีผู้คร่ำหวอดในอุตสาหกรรมโทรทัศน์หลายรายที่มองว่า สมรภูมิดิจิตอลทีวีแห่งนี้อาจมีผู้รอดหลงเหลืออยู่เพียง 1 ใน 3 จากจำนวนเริ่มต้น  สำหรับค่ายเพลงยักษ์ใหญ่อายุ 32 ปีอย่าง “อาร์เอส” ไม่เพียงแค่ตั้งเป้าให้เข้าไปอยู่ในกลุ่ม “ผู้รอด” แต่บริษัทยังตั้งเป้าจะก้าวขึ้นไปเป็น “เบอร์ 3” ของวงการดิจิตอลทีวีภายใน 3 ปี โดยชูกลยุทธ “Media Revolutionist” หรือ “ผู้ปฏิวัติวงการสื่อ” เพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมาย ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่คือการเป็น “บริษัทมีเดีย”   ในงานแถลงทิศทางธุรกิจปี 2557 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมาว่า ปี 2557 สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. อาร์เอส

Read More

“สยามฟิวเจอร์” รีโนเวตใหญ่ งัดมาสเตอร์แพลนสกัดคู่แข่ง

 “นพพร วิฑูรชาติ” สวมบทเสือซุ่มอยู่นาน 2 ปี ปล่อยให้คู่แข่ง ทั้งยักษ์ใหญ่ค้าปลีก บริษัทอสังหาริมทรัพย์และเจ้าของที่ดินมือใหม่ เปิดเกมขยายแนวรบธุรกิจคอมมูนิตี้มอลล์อย่างดุเดือด ล่าสุด เจ้าพ่อไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์ประกาศลั่นกลองรบรีโนเวตสาขาในเครือข่ายครั้งใหญ่ ปรับมาสเตอร์แพลนการดำเนินธุรกิจ เน้นการวางกลยุทธ์การตลาดที่เข้มข้นขึ้น เสริมแม็กเน็ตตัวเด็ดๆ และขยายสาขาใหม่ในทำเลที่มีศักยภาพ โดยประเดิมปรับโฉมศูนย์การค้าเอสพลานาด รัชดาภิเษก ภายใต้แนวคิด The Best Art & Entertainment Complex 2014  แน่นอนว่า เหตุผลข้อสำคัญของการเลือก “เอสพลานาด” เป็นจุดยุทธศาสตร์แรกในสงครามคอมมูนิตี้มอลล์ ไม่ใช่เพียงแค่การเปิดให้บริการครบ 7 ปี  แต่ทำเลรัชดาภิเษกกลายเป็น “ไข่แดง” และเขตธุรกิจทำเลทองแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ กลายเป็นศูนย์รวมย่านธุรกิจ ตลาดหลักทรัพย์ บริษัทยักษ์ใหญ่ โครงการคอนโดมิเนียม คอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ โรงแรมระดับ 5 ดาว สถานบันเทิง มีเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดิน และที่สำคัญการเปิดศูนย์การค้าเซ็นทรัลพระราม 9 ที่ถือเป็นคู่แข่งหลักช่วงชิงลูกค้าตั้งแต่ต้นทางหัวมุมถนนรัชดาภิเษก ขณะที่ “เอสพลานาด” เจอผลพวงปัญหาธุรกิจฟิตเนส “แคลิฟอร์เนีย ว้าว”

Read More

กันยงปรับกลยุทธ์ เพิ่มฐานผลิตในไทย มุ่งสู่ตลาด AEC

 ชายหนุ่มเชื้อสายจีน ชื่อ นายเฮี๊ยบ กิมเหลียง จากเกาะฟอร์โมซา (ไต้หวัน) เดินทางหนีความแร้นแค้นเข้ามาต่อสู้ในเมืองไทย ยุคเสื่อผืนหมอนใบ เริ่มนับหนึ่งจากการเป็นลูกจ้างในร้านซ่อมจักรยานเล็กๆ ใช้ทักษะในอาชีพ บวกกับความขยัน มัธยัสถ์ อดออม สะสมเงินทุนมาเปิดร้านขายยางรถยนต์ ยี่ห้อโยโกฮาม่า ซึ่งนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น รู้จักกับนักธุรกิจชาวญี่ปุ่นจำนวนมาก และชักนำเข้าสู่วงการธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า  เมื่อปี พ.ศ. 2507 สิทธิผล โพธิวรคุณ (เฮี๊ยบ กิมเหลียง) และเพื่อนๆ ได้ร่วมกับบริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค คอร์เปอร์เรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งบริษัท กันยงอีเลคทริก แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ขึ้น (ชื่อในขณะนั้น) ผลิตพัดลมไฟฟ้ายี่ห้อ “มิตซูบิชิ อีเล็คทริค” โดยมีโรงงานตั้งอยู่ที่ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ บนพื้นที่เพียง 6 ไร่ ด้วยจำนวนพนักงานเพียง 50 คน ซึ่งถือได้ว่าเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าแห่งแรกในต่างประเทศ ที่บริษัท

Read More

BGH ปรับกลยุทธ์สู้ศึกรอบด้าน ดัน “เทเลแคร์คลินิก” ฮุบรากหญ้า

เครือกรุงเทพดุสิตเวชการ หรือกลุ่ม BGH ต้องปรับกระบวนทัพครั้งใหญ่ เพื่อสู้ศึกรอบด้าน ทั้ง “ศึกใน “จากการชุมนุมทางการเมืองของมวลมหาประชาชนภายใต้การนำของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรือ กปปส. ที่ยืดเยื้อยาวนานหลายเดือน ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อภาวะเศรษฐกิจ จำนวนลูกค้าทั้งคนไทย ต่างชาติ และ “ศึกนอก” ที่มีเครือข่ายโรงพยาบาลต่างชาติประกาศปักธงรุกขยายตลาดเข้าสู่อาเซียน รวมถึงแถบเอเชียแปซิฟิก  แม้ด้านหนึ่ง กลุ่ม BGH ต้องถอยหลายก้าว เลื่อนเป้าหมายการขยายเครือข่ายโรงพยาบาลครบ 50 แห่งทั่วประเทศไทยและอาเซียนภายในปี 2558 ออกไปอีกอย่างน้อย 2-3 ปี เพื่อรอดูสถานการณ์ต่างๆ รวมทั้งประกาศนโยบายการดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบมากขึ้นและเน้นการบริหารต้นทุน เพื่อรักษาอัตราผลกำไรให้สวยงาม  แต่อีกด้านหนึ่ง มรสุมและปัจจัยเสี่ยงที่รุมเร้ากลับสอดรับกับแนวทางใหม่ของกลุ่ม BGH  การพุ่งเป้าเจาะตลาดรากหญ้า โดยใช้โมเดลธุรกิจใหม่ สร้างและขยาย “คลินิกชุมชน” เป็นกลไกเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลแม่ทั้ง 5 แบรนด์  คือ กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ กลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช โรงพยาบาลบีเอ็นเอช กลุ่มโรงพยาบาลพญาไท และกลุ่มโรงพยาบาลเปาโล โรงพยาบาลในเครือข่ายที่กลุ่ม BGH ซื้อกิจการและลงทุนสร้างให้เป็นโรงพยาบาลระดับกลางเจาะชุมชนใหม่ หรือหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด

Read More

“แมงป่อง” ดิ้นเพื่ออยู่รอด รีเฟรชบุก “ไลฟ์สไตล์ช็อป”

 หลังจากเงียบหายไปจากตลาดธุรกิจโฮมเอนเตอร์เทนเมนต์นานหลายปี เจอฤทธิ์แผ่นผีอาละวาดหนักจนต้องปิดสาขาทั่วประเทศ จากยุคเฟื่องฟูที่เคยปูพรมเกือบ 400 แห่ง เหลือเพียง 36 แห่ง ล่าสุด เจ้าแม่แมงป่อง กิตติ์ยาใจ ตรีเอกวิจิตร หวนคืนวงการในฐานะ “ยานแม่” ส่ง “ยานลูก” สองพี่น้อง ณลันรัตน์ นันท์นนส์ และปิยวรรพ์ทา ตรีเอนกวนิศ แตกไลน์ธุรกิจไลฟ์สไตล์ช็อป “กิซแมน (Gizman)” ซึ่งไม่ใช่แค่แผนกดปุ่มรีเฟรชธุรกิจ “แมงป่อง” ให้กลับมาชีวิตชีวาและเพิ่มพิษในตัว แต่ยังเป็นการดิ้นเพื่ออยู่รอด โดยหวังจะกลับมาผงาดในฐานะผู้นำธุรกิจรีเทลกลุ่ม Lifestyle Gedget ภายใน 5 ปี  ตามโรดแมพใหม่ของยานแม่ Gizman จะเป็นตัวสร้างรายได้หลัก ค่อยๆ แซงหน้าร้านแมงป่อง และผลักดันรายได้รวมจากปัจจุบันเฉลี่ย 700 ล้านต่อปี พุ่งพรวดเป็น 3,000 ล้านบาทต่อปี  กิตติ์ยาใจ ตรีเอกวิจิตร ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท แมงป่อง 1989 จำกัด

Read More

เจมาร์ท มั่นใจธุรกิจ ขยายสู่หัวเมืองรับ AEC

 “ถือว่าเป็นครั้งแรกในการจัดงานลักษณะนี้ เพราะเคยสัญญาว่าถ้ารายได้ของกลุ่มแตะ 10,000 ล้านบาท จะจัดงานแบบนี้ขึ้นมา” คำกล่าวเปิดงาน เสมือนประกาศความสำเร็จของอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจมาร์ท จำกัด (มหาชน) ในงานแถลงนโยบายและทิศทางธุรกิจของบริษัทเจมาร์ท เมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ธุรกิจที่เติบโตมาจากตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า และก้าวเข้ามาสู่ธุรกิจมือถืออย่างอย่างเต็มตัว ตั้งแต่ปี 2538 ล่วงเลยมาขึ้นปีที่ 25ในปีนี้ ธุรกิจร้านค้าโทรศัพท์มือถือแบบเชนสโตร์ของเจมาร์ทที่เริ่มจากขยายร้านค้าทีละ 2-3 แห่ง จนกระทั่งถึงปัจจุบัน  เจมาร์ทได้ก้าวขึ้นมาครองความเป็นเบอร์หนึ่งของธุรกิจร้านค้าโทรศัพท์มือถือ ด้วยจำนวนสาขา 255 แห่ง และคาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะเพิ่มให้ได้ 300 สาขาทั่วประเทศ  “25 ปี ในความรู้สึกของคนไทยจะดีหรือไม่ดี แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จวบจน 25 ปีนี้ บริษัทเราพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว เพราะธุรกิจของเรามีองค์ประกอบ 2 อย่างที่เป็นจุดเด่น คือ 1. Capacity (ความจุ) และ 2. Speed (ความเร็ว) ซึ่งถ้าคุณมี 2 อย่างนี้ คุณจะไปได้ไกลกว่าคู่แข่ง”

Read More