Home > Cover Story (Page 168)

Japanese Restaurant: วัฒนธรรมที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ

 ในบรรดาธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องด้วยมิติทางวัฒนธรรมนั้น ธุรกิจอาหารดูจะเป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่ดำเนินไปอย่างมีพลวัตและการจำเริญเติบโตอย่างต่อเนื่องมากที่สุดแขนงหนึ่ง และดูเหมือนว่าธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นที่กำลังเบ่งบานอยู่ในสังคมไทยด้วยมูลค่ารวมกว่า 2 สองหมื่นล้านบาทจะเป็นตัวอย่างที่ดีในมิติที่ว่านี้ ขณะเดียวกัน การเกิดขึ้นของร้านอาหารญี่ปุ่นที่กระจายตัวและครอบคลุมพื้นที่ในประเทศไทยอย่างกว้างขวางในขณะปัจจุบัน ก็เป็นประหนึ่งการรุกคืบทางวัฒนธรรมครั้งใหม่ที่กำลังแปลงสภาพเป็นมูลค่าทางธุรกิจที่ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในบริบทของธุรกิจร้านอาหารแต่โดยลำพังเท่านั้น หากยังหมายรวมถึงธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ที่ย่อมมีมูลค่ารวมนับได้หลายหมื่นล้านบาทอีกด้วย ปัจจัยที่ทำให้ร้านอาหารญี่ปุ่นกลับมามีสภาพคึกคักยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม หลังจากที่ครอบครองความนิยมในหมู่ผู้บริโภคชาวไทยมาอย่างยาวนาน ในด้านหนึ่งได้รับการประเมินว่าเป็นผลมาจากกระแสความตื่นตัวในเรื่องสุขภาวะจากการบริโภคและวิถีในการปรุงอาหาร ในขณะเดียวกันต้องยอมรับว่ากรอบโครงทางนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในแบบ Abenomics ก็มีส่วนไม่น้อยในการกระตุ้นให้วัฒนธรรมทางอาหารของญี่ปุ่น ได้รับการส่งเสริมให้เป็นกลไกในการกระตุ้นจักรกลทางเศรษฐกิจของประเทศในห้วงเวลานี้ คำประกาศกร้าวอย่างมั่นใจของ Shinzo Abe นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นต่อหน้านักลงทุนและผู้บริหารกองทุนน้อยใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (New York Stock Exchange) เมื่อช่วงปลายปี 2013 ที่ผ่านมาว่า “ญี่ปุ่นกลับมาแล้ว” สะท้อนมิติมุมมองและทัศนะของภาครัฐที่พร้อมจะสนับสนุนการรุกคืบครั้งใหม่ของภาคเอกชนญี่ปุ่น โดยเฉพาะเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงที่ว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเริ่มกลับมาฟื้นตัวและมีความเชื่อมั่นมากขึ้นอย่างช้าๆ แต่มั่นคง ความพยายามของ Shinzo Abe ในการนำพาญี่ปุ่นออกจากวัฏจักรที่เสื่อมถอยด้วย Abenomics ซึ่งเน้นไปที่ภาคธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดำเนินควบคู่กับวาทกรรม Beautiful Japan ที่เป็นการสื่อสารกับสาธารณชนวงกว้าง โดยตลอดเวลาที่ผ่านมา Shizo Abe ได้ใช้วาทกรรมว่าด้วย Beautiful Japan ขึ้นมาหนุนนำและสร้างเสริมคะแนนนิยม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่ากรอบโครงความคิดและเบื้องหลังวาทกรรมที่ว่านี้จะยังไม่ปรากฏเป็นรูปธรรมที่สามารถให้อรรถาธิบายให้จับต้องและเห็นจริงได้ก็ตาม สิ่งที่ญี่ปุ่นเผชิญก็คือ แรงงานญี่ปุ่นซึ่งถูกฝังอยู่ในกระบวนการผลิตที่ล้าสมัยและไม่สามารถดำรงความสามารถในการแข่งขันถูกผลักให้ต้องออกจากงาน ไปสู่งานในอุตสาหกรรมภาคบริการ และกว่าร้อยละ 40 ของแรงงานญี่ปุ่นในปัจจุบันอยู่ภายใต้สถานะการจ้างแบบ

Read More

72 ปี สหพัฒนพิบูล ยิ่งแก่ ยิ่งเก๋า? จาก Manufacturer สู่ Retail Outlet

 อาณาจักรสหพัฒนพิบูลที่ถูกบุกเบิกและสร้างรากฐานโดย ดร.เทียม โชควัฒนา ในปี พ.ศ. 2485 ช่วงเวลาที่ไทยประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจการค้าของประเทศไทยในเวลานั้น หายากนักที่จะมีใครกล้าเสี่ยงกับความไม่แน่นอนของสถานการณ์  หากแต่นายเทียม โชควัฒนา อาศัยความเก๋าบวกกับแนวคิดก้าวกระโดดใจกล้า สั่งกาแฟเข้ามาเก็บไว้ในสต๊อกมากถึง 3,000 กระสอบ แม้จะต้องจ่ายราคาทุนถึง 100 บาทต่อกระสอบ จากปกติที่ซื้อขายกันเพียง 85 บาทต่อกระสอบ กระนั้นเสียงคัดค้านของบุคคลในครอบครัวก็ยังเบาบาง ไม่ทำให้นายเทียมหวั่นไหวได้ ซึ่งช่วง 7 วันแรก เหมือน 7 วันอันตราย ร้านเฮียบฮะ ต้องยอมขายกาแฟขาดทุนซึ่งขายออกในราคา 95 บาท เพราะหลายๆ ร้านก็ยังคงมีสินค้าในสต๊อกเพื่อจำหน่าย กระทั่งสงครามและสถานการณ์คุกรุ่น เกิดภาวะสินค้าขาดตลาด ร้านเฮียบฮะที่ยังคงมีสินค้าเหลืออยู่ในโกดังจำนวนมากทำให้ขายกาแฟได้กระสอบละ 300 บาท ภายในเวลาเพียง 90 วัน กำไรที่ทำได้สูงถึง 200 เปอร์เซ็นต์  ความสำเร็จขั้นต้นที่ได้รับนั้นเอื้ออำนวยมาจากภาวะวิกฤตสงคราม ที่ไม่มีร้านค้าใดมีสินค้าค้างสต๊อกเหลือในเวลานั้น และถ้าหากนายเทียมหยุดคิดและพอใจเพียงแค่นั้น สหพัฒนพิบูลคงไม่เกิด นับเป็นการมองเห็นโอกาสในช่วงเวลาวิกฤตก็ว่าได้ หลังจากเปิดร้านเฮียบฮะได้แค่ 6 เดือน

Read More

“บุณยสิทธิ์” ส่งต่อ “เจน 3” ผลัดยุคลุยขยายอาณาจักร

 บุณยสิทธิ์  โชควัฒนา ใช้เวลา 2 ปี ปรับกระบวนทัพครั้งใหญ่ในเครือสหพัฒนฯ ทั้งโละสินค้า ปิดโรงงาน สกัดจุดอ่อนและเพิ่มจุดแข็ง เหตุผลไม่ใช่แค่ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจที่ฉุดกระชากยอดขายโตต่ำสุดในรอบหลายสิบปี แต่เร่งติดอาวุธรับศึกรอบใหม่ ต่อสู้กับแบรนด์ต่างชาติและผลักดันบริษัทในเครือกว่า 300 บริษัทบุกแนวรบโกลบอลมาร์เก็ตสู่เป้าหมายใหญ่ตั้งแต่ปี 2557 เปลี่ยนจาก “เกียร์สโลว์” เดินหน้าใส่ “เกียร์ 5” ดัน “โชควัฒนา” รุ่นที่ 3 ขึ้นมาเป็นหัวหอกหลักขับเคลื่อนธุรกิจเต็มรูปแบบ สัญญาณภาพจากการแถลงข่าวงานแสดงสินค้าเครือสหพัฒนฯ ครั้งที่ 18  โดย 3 ทายาทหลัก คือ เวทิต โชควัฒนา กรรมการรองผู้อำนวยการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้บริหารธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคมากกว่าร้อยแบรนด์ ลุยธุรกิจค้าปลีก ทั้ง “108 ช็อป” และ “ลอว์สัน 108”  ธรรมรัตน์ โชควัฒนา กรรมการผู้ช่วยผู้อำนวยการบริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล

Read More

สหพัฒน์: ขับเคลื่อนเพื่ออยู่รอด

 การขับเคลื่อนธุรกิจในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาของเครือสหพัฒนฯ ยักษ์ใหญ่แห่งวงการผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภค ที่มีบริษัทในเครือ 300 กว่าบริษัท ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคเกือบทุกหมวดในชีวิตประจำวันมากกว่า 30,000 รายการ จากกว่า 100 แบรนด์ นอกจากเป็นการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนานวัตกรรมด้านสินค้าแล้ว ยังเป็นการปรับโครงสร้างธุรกิจ รุกคืบเข้าสู่ธุรกิจค้าปลีกอย่างเต็มระนาบ เพื่อสร้างจุดแข็งและจุดขายใหม่ให้กับองค์กร เป็นการเคลื่อนไหวที่น่าจับตา ความพยายามก้าวเท้าเข้าสู่ธุรกิจค้าปลีกที่สำคัญมากก้าวหนึ่งของสหพัฒนฯ ก็คือการร่วมเปิดสถานี SHOP CH เพื่อจำหน่ายสินค้าผ่านทางช่องทีวีดาวเทียม ที่ข้ามพ้นข้อจำกัดของเวลา เพราะเปิดส่งสัญญาณให้ได้ซื้อขายกันตลอด 24 ชั่วโมง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับข้อเท็จจริงที่ว่า พันธมิตรทางธุรกิจที่ประกาศความร่วมมือกันในครั้งนั้น ปรากฏชื่อของ บริษัท ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีโครงข่ายธุรกิจกว้างขวางและเป็นผู้ผลิตรายการทีวีชอปปิ้งอันดับ 1 ของประเทศญี่ปุ่น การรุกเข้าสู่ธุรกิจทีวีชอปปิ้งของสหพัฒนฯ จึงเป็นประหนึ่งการยืนอยู่บนสปริงบอร์ดที่พร้อมทะยานไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว แม้ทีวีชอปปิ้งจะเป็นช่องทางในการจำหน่ายสินค้าที่น่าสนใจมากๆ แต่ขณะเดียวกัน ทีวีชอปปิ้งย่อมไม่ใช่คำตอบที่หนักแน่นคำตอบเดียวสำหรับสหพัฒนฯ ที่ต้องการรุกคืบไปข้างหน้าอย่างมั่นคงในระยะยาว โดยยังไม่ได้กล่าวถึง บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด ในฐานะพันธมิตรร่วมค้าอีกรายของสหพัฒนฯ ใน SHOP CH

Read More

KYE: บนหนทางแห่งความร้อนหนาว จากพัดลมสู่เครื่องปรับอากาศ

 ย้อนอดีตความเป็นไปของอาณาจักรธุรกิจที่มีอายุยีนยาวกว่า 50 ปี ในนามบริษัท กันยงอีเลคทริก (KYE) จำกัด (มหาชน) ไม่ได้เกิดขึ้นบนเส้นทางที่ราบเรียบ หากแต่เป็นประวัติการณ์ความสำเร็จที่ผ่านร้อนหนาวมาอย่างโชกโชน ก่อนที่จะยืนหยัดอย่างมั่นคงในปัจจุบัน ปฐมบทแห่งตำนานการก่อตั้ง KYE เริ่มต้นขึ้นเมื่อชายหนุ่มเชื้อสายจีนที่ชื่อว่า เอี๊ยบ กิมเหลี่ยง จากเกาะฟอร์โมซ่า หรือที่เราเรียกว่า “ไต้หวัน” ในปัจจุบัน ได้อพยพหนีภาวะข้นแค้นจากความยากจนของครอบครัว เดินทางมาสู่ประเทศไทยที่เขาไม่เคยรู้จักมาก่อน ด้วยแรงบันดาลใจและความหวังที่จะสร้างฐานะและสร้างชีวิตใหม่ที่ดีกว่าเดิม เอี๊ยบ กิมเหลี่ยง เริ่มต้นชีวิตที่กรุงเทพฯ ในฐานะลูกจ้างในร้านซ่อมจักรยานเล็กๆ แห่งหนึ่ง ก่อนที่จะสั่งสมทุนเปิดร้านขายยางรถยนต์ “Yokohama” จากญี่ปุ่น ก่อนที่จะได้รับการเชิญชวนจากนักธุรกิจญี่ปุ่นให้ผันตัวเข้าสู่ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่กำลังเป็นสินค้าล้ำสมัยในขณะนั้น “ร้านสหกันยงวัฒนา” ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายพัดลมและจักรเย็บผ้า ภายใต้ตราสินค้า “มิตซูบิชิ” ตราสินค้าที่ได้รับความไว้วางใจจากชาวญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน โดยเอี๊ยบ กิมเหลี่ยง หรือ “สิทธิผล โพธิวรคุณ” นำสินค้าขึ้นท้ายจักรยาน เพื่อออกแนะนำสินค้าให้เป็นที่รู้จัก ก่อนที่จะได้รับการเรียกขานด้วยสรรพนามใหม่ว่า “นายห้าง” ในเวลาต่อมา เมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น อนาคตของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าจึงมีแววสดใส ในขณะที่การแข่งขันด้านการขายสินค้ายี่ห้อต่างๆ ก็ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งสินค้าที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่นเองและจากประเทศตะวันตก

Read More

“กันยง” ลุยโรดแมพ 2020 Turn Around รายได้

 “กันยง อีเลคทริก” ฉลองครบรอบ 50 ปี อย่างสาหัสสากรรจ์ หลังเจอวิกฤตยอดขายในรอบปี 2556 ติดลบต่ำกว่าเป้าหมาย 20% จนกลายเป็นที่มาของแผนเทิร์นอะราวด์พลิกสถานการณ์ ภายใต้แนวคิด “Growing for The Better Tomorrow” โดยวางยุทธศาสตร์เจาะตลาดใหม่ทั่วโลก ไม่ใช่แค่เอเชียแปซิฟิก แต่ต้องกระโดดข้ามไปยึดตลาดยุโรปและทวีปอเมริกา ตามแผนโรดแมพ 2020 ของมิตซูบิชิ อีเล็คทริค คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ที่ประกาศผลักดันยอดขายทะลุ 5 ล้านล้านเยน ตามโรดแมพ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ปักธงให้ 4 ประเทศหลักในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย คือ ไทย อินเดีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย เป็นฐานการผลิตและฐานการส่งออกไปยังตลาดทั่วโลก โดยใช้เครือข่ายหรือเน็ตเวิร์คของมิตซูบิชิ อีเล็คทริค สำนักงานภาคพื้นเอเชียและโอเชียเนีย ซึ่งบริหารเครือข่าย 9 ประเทศ คือ ไทย

Read More

กันยงฯ-มิตซูบิชิ “พัด” ที่โบกและแผ่กว้าง

 จังหวะก้าวของบรรษัทผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่มีอายุยืนยาวมากว่า 50 ปี ในหลายกรณีย่อมไม่ได้เป็นเพียงการเฉลิมฉลองที่องค์กรแห่งหนึ่งสามารถยืนหยัดฝ่ามรสุมของวิกฤตการณ์มาได้อย่างตลอดรอดฝั่งเท่านั้น หากยังมีมิติมุมมองว่าด้วยบาทย่างสำหรับอนาคตที่ท้าทายและต้องเผชิญอยู่เบื้องหน้าด้วย การแถลงข่าวของ กันยงอิเลคทริก ในวาระครบรอบ 50 ปี ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาก็ดำเนินไปในบริบทที่ไม่แตกต่างกันนี้ เพราะนอกจากจะเป็นการย้อนพินิจ ความสำเร็จและประสบการณ์ในช่วงที่ต้องดำเนินฝ่าวิกฤตการณ์หลากหลายแล้ว ในอีกด้านหนึ่งยังเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตที่กำลังคืบคลานเข้ามา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับการเปิดประชาคมอาเซียน หรือ AEC ที่กำลังกลายเป็นโอกาสและความท้าทายสำหรับผู้ประกอบการที่จะต้องปรับตัวเข้าแย่งชิงกันอย่างเอิกเกริก รวมถึง  กันยงอีเลคทริก ที่มุ่งมั่นจะก้าวไปสู่การเป็น regional brand ในช่วง 5 ปีข้างหน้านี้ให้ได้ พัฒนาการของการก้าวสู่การเป็นแบรนด์ระดับภูมิภาค ไม่ได้ปรากฏขึ้นเฉพาะในกรณีของกันยงอิเลคทริก เท่านั้น หากแต่ดูเหมือนผู้ประกอบเกือบจะทุกรายได้วางเป้าหมายนี้เป็นประหนึ่งเข็มมุ่งไม่แตกต่างกัน หากแต่ผู้ใดจะบรรลุสู่เป้าประสงค์นี้ด้วยวิสัยทัศน์และกระบวนการทางธุรกิจอย่างไรเท่านั้น “มิตซูบิชิฯ เข้ามาปักหลักลงทุนในประเทศไทยร่วมกับกันยงฯ มานานกว่า 50 ปี ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าตลาดในภูมิภาคยังเล็กมาก แต่นับจากนี้ ด้วยขนาดของประชากรกว่า 600 ล้านคน และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาค อาเซียนจะเป็นตลาดหลักของเรา” ประพัฒน์ โพธิวรคุณ กล่าวถึงทิศทางของกันยงอิเลคทริก ไว้ครั้งหนึ่งเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากประการหนึ่งก็คือ ก่อนหน้านี้กำลังผลิตของกันยงอิเลคทริก กว่าร้อยละ 75 เป็นไปเพื่อการส่งออก ซึ่งมีตลาดหลักส่วนใหญ่เน้นหนักไปที่ตลาดญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของผู้ร่วมทุน

Read More

Thai AirAsia เขย่ง-ก้าว-กระโดด

 หากย้อนไปเมื่อกว่า 10 ปีที่ผ่านมา การเดินทางโดยเครื่องบินดูจะเป็นความสะดวกที่มีไว้ให้เฉพาะคนร่ำรวย และเป็นความใฝ่ฝันของคนรายได้ต่ำทั้งหลาย ที่จะมีประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตได้เดินทางท่องเที่ยวบน “นกเหล็กขนาดมหึมา” สักครั้ง แต่เมื่อธุรกิจการบินได้ผุดสายการบินต้นทุนต่ำ การนั่งเครื่องบินได้กลายเป็นเรื่องที่ทุกคนเข้าถึงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดขึ้นของแอร์เอเชีย และ “ไทยแอร์เอเชีย” ซึ่งถือว่ามีบทบาทในการพลิกน่านฟ้าของไทยและอาเซียนอย่างไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป ไทยแอร์เอเชีย เปิดตัวเมื่อต้นปี 2546 ด้วยสโลแกน “ใคร ใคร ก็บินได้” โดยเที่ยวบินราคาต่ำรอบแรกเปิดตัวเมื่อกุมภาพันธ์ 2547 อันเป็นช่วงเดียวกับที่ “นกแอร์” เปิดตัวในฐานะสายการบินโลว์คอสต์รายที่ 2 ของเมืองไทย โดยมีการบินไทยเป็นแบ็กอัพ มาถึงวันนี้ ธุรกิจการบินในประเทศไทยเติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะช่วง 1-2 ปีนี้ที่เศรษฐกิจของอาเซียนขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ธุรกิจการบินขยายตัวตามไปด้วย แต่เชื่อกันว่า ทันทีที่เปิดเสรีน่านฟ้าอาเซียนในปี 2558 โอกาสการเติบโตของธุรกิจการบินจะมากกว่านี้อีกมหาศาล เพื่อรองรับตลาดอาเซียนที่ใหญ่กว่าไทย 10 เท่า ช่วงที่ผ่านมาหลายสายการบินในไทยจึงมีความเคลื่อนไหวที่ร้อนแรง โดยเฉพาะ “เบอร์หนึ่ง” ในตลาดโลว์คอสต์ โดยปีที่ผ่านมา ไทยแอร์เอเชียได้เข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อระดมทุนมาขยายฝูงบิน เพิ่มเที่ยวบิน และเปิดเส้นทางบินใหม่ เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเส้นทางสู่อาเซียนและจีนตอนใต้ ปัจจุบัน ไทยแอร์เอเชียมีเส้นทางสู่ประเทศจีนตอนใต้ถึง

Read More

ไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ เกมลุยน่านฟ้าโลก

 10 ปีที่แล้ว “ไทยแอร์เอเชีย” ได้สร้างภูมิทัศน์ (landscape) ใหม่ในการเดินทางทางอากาศให้กับน่านฟ้าประเทศไทย ด้วยการเปิดให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline) ที่มาพร้อมกับปรากฏการณ์เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคในหลายมิติ จนก้าวขึ้นมาเป็น “ผู้นำ” ในธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำของเมืองไทย ด้วยจำนวนผู้ใช้บริการสายการบินนี้รวมตลอด 10 ปี มากกว่า 50 ล้านคน  ปัจจุบัน ไทยแอร์เอเชียมีเที่ยวบินต่อสัปดาห์มากกว่า 800 เที่ยว ไปยังจุดหมายปลายทาง 36 แห่ง ครอบคลุมภายในประเทศ และหลายจุดหมายในต่างประเทศที่มีพิสัยการบินไม่เกิน 4 ชั่วโมง ทั้งนี้เพื่อเป็นการต่อยอดความสำเร็จดังกล่าว เมื่อวันที่ 22 เมษายน ที่ผ่านมา “ไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์” จึงถือกำเนิดขึ้น  แม้ว่าการเปิดตัวสายการบินใหม่ครั้งนี้ ไม่ได้ให้ความรู้สึกเหมือน “ระเบิด” ลูกใหม่ของอุตสาหกรรมการบินไทย เหมือนเมื่อครั้งเปิดไทยแอร์เอเชียเมื่อ 10 ปีก่อน แต่ด้วยแคมเปญเปิดตัวเส้นทางบินแรก กรุงเทพ-โซล ในราคาเริ่มต้นที่ 1,999 บาทต่อเที่ยว (รวมภาษีและค่าธรรมเนียมแล้ว)

Read More

Tony Fernandes บินสูงสู่ความสำเร็จ?

 ชัยชนะของทีม Queens Park Rangers เหนือคู่แข่งขัน Derby County เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากจะทำให้ QPR ได้เลื่อนชั้นขึ้นมาสู่สังเวียน Premier League ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลลีกสูงสุดของอังกฤษ ที่มีมูลค่ามหาศาลแล้ว ในอีกด้านหนึ่งยังทำให้ชื่อของ Tony Fernandes นักธุรกิจสัญชาติมาเลเซีย ในฐานะประธานสโมสรฟุตบอลแห่งนี้ และเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง สายการบิน AirAsia ได้รับความสนใจกล่าวถึงอย่างกว้างขวางอีกด้วย และจังหวะก้าวทางธุรกิจของ Tony Fernanades ก็เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจไม่น้อยเช่นกัน Tony Fernanades สั่งสมประสบการณ์ในธุรกิจด้วยการร่วมงานกับ Virgin Atlantic หนึ่งในอาณาจักรธุรกิจของ Richard Branson ในฐานะผู้สอบบัญชี และขยับไปเป็น financial controller ให้กับกลุ่ม Virgin Records ที่กรุงลอนดอนในช่วงปี 1987-1989 เมื่อเขากลับมายังมาเลเซีย เขากลายเป็นกรรมการผู้จัดการที่อายุน้อยที่สุดให้กับ Warner Music (Malaysia) ก่อนที่จะขยับไปเป็นรองประธาน Warner Music

Read More