Home > Cover Story (Page 153)

“พาราไดซ์พาร์ค” จุดพลุ เสริมเขี้ยวเล็บรุกแนวรบใหม่

 การเปิดตัวห้างสรรพสินค้า โตคิว พาราไดซ์ พาร์ค นอกจากเป็นบิ๊กแองเคอร์ชิ้นใหม่ของศูนย์การค้าพาราไดซ์พาร์ค ยังหมายถึงการเตรียมพร้อมเพื่อรุกแนวรบย่านกรุงเทพตะวันออก ที่เต็มไปด้วยยักษ์ค้าปลีก โดยเฉพาะการประกาศผุดโครงการ “บางกอกมอลล์” ของกลุ่มเดอะมอลล์ เนื้อที่ 100 ไร่ มูลค่าลงทุนมากกว่า 20,000 ล้านบาท ในปี 2561  แน่นอนว่า โตคิวสาขา 2 ถือเป็นการขยายการลงทุนครั้งใหม่ หลังจากกลุ่มโตคิว ญี่ปุ่น เข้ามาเปิดสาขาในเมืองไทยแห่งแรกเมื่อ 30 ปีก่อนที่ศูนย์การค้ามาบุญครอง หรือ “เอ็มบีเค” ยุคปัจจุบัน โดยครั้งนี้กลุ่มโตคิวร่วมทุนกับบริษัท พาราไดซ์ รีเทล จำกัดในเครือบริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) จัดตั้งบริษัท พีที รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด สัดส่วนการร่วมทุน 50:50  เป็นผู้บริหารห้างสรรพสินค้าโตคิว สาขาพาราไดซ์ พาร์ค แยกออกจากห้างโตคิว สาขาเอ็มบีเค  ทาคาชิ

Read More

ไบโอฟาร์ม จากผู้ด้อยโอกาส สู่ผู้นำยาไทย

 “เราเป็นผู้ด้อยโอกาสด้านยามาก่อน แต่ตอนนี้เมื่อเราเป็นผู้นำนวัตกรรม ผมมองว่ายาสำคัญต่อประชาชนที่ต้องช่วยกันดูแลความเจ็บป่วยของคนไทย เราเองช่วยกันดูแล โครงการตู้ยา Biopharm เพื่อชุมชน คือหนึ่งในโครงการที่เราได้ทำตอบแทนสังคม และอยากให้คนไทยถึงยาดี ราคาถูกและมีคุณภาพ” คำกล่าวของเศกสุข  เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ไบโอฟาร์ม เคมิคอลส์ จำกัด ที่กล่าวในโครงการ จัดตู้ยา พร้อมยาสามัญประจำบ้าน เพื่อมอบให้กับชุมชนและโรงเรียนในต่างจังหวัดที่ขาดแคลน ถือเป็นการแสดงจุดยืนในการให้บริการยาที่มีคุณภาพ และให้อุปกรณ์ยาพื้นฐานเบื้องต้นได้เข้าถึงแหล่งชุมชน 100 ชุมชน พร้อมทั้งเป็นการเผยแพร่แบรนด์ไปยังกลุ่มผู้บริโภคมากขื้น หากย้อนไปเมื่อปี 2517 ไบโอฟาร์มได้เริ่มก่อตั้งธุรกิจ และเริ่มจากการเป็นตัวแทนนำเข้ายาจากต่างประเทศ เพื่อทำการจำหน่ายให้กับกลุ่มโรงพยาบาล หลังจากที่ราคายาต่างประเทศสูงขึ้น ในช่วงสามสิบกว่าปีที่แล้ว บริษัทฯ จึงได้คิดที่จะตั้งโรงงานไบโอแลปขึ้นผลิตยาเอง เพื่อให้ได้ยาที่ราคาถูกลง และมีคุณภาพทัดเทียมกับยาต้นแบบจากต่างประเทศ เป็นที่ยอมรับในระดับโลก ไบโอแลปถือเป็นโรงงานผลิตยาแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้มาตรฐาน Pharmaceutical Inspection Co-operation Scheme (PIC/S) ซึ่งหมายถึงการมีหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดี ผลิตยาตามข้อกำหนดอนุสัญญาระหว่างประเทศ มาประมาณ 2 ปีแล้ว นอกจากมาตรฐาน GMP โดยได้ผลิตยาทั้งสิ้น 9

Read More

จับตา ปตท. ผนวก ราชบุรีโฮลดิ้ง พลังงานไทยในอาเซียน

 ภายใต้สถานการณ์ที่ประเทศไทยมีความต้องการใช้พลังงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อสภาพอากาศทั้งไทยและทั่วโลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด แต่เมื่อเทียบกับแหล่งพลังงานภายในประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัด จำเป็นอย่างยิ่งที่ไทยต้องนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ด้วยวิกฤตด้านพลังงานที่ไทยกำลังเผชิญอยู่ ทำให้หลายหน่วยงานออกมาตรการหรือกิจกรรมเพื่อรณรงค์การประหยัดพลังงาน รวมไปถึงการหาช่องทางที่จะนำพลังงานทดแทนทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานจากขยะ มาใช้ หรืออีกหนึ่งทางเลือกคือการมองแหล่งพลังงานตามแนวตะเข็บชายแดนหรือประเทศเพื่อนบ้าน เช่นที่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เพิ่งจรดปากกาลงนามความร่วมมือลงทุนด้านพลังงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ที่ผ่านมา แม้หลักใหญ่ใจความของบันทึกความเข้าใจดังกล่าว จะมีเนื้อหาเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการลงทุนโครงการด้านพลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองรับความต้องการใช้พลังงานของประเทศ เสริมสร้างเสถียรภาพความมั่นคงด้านพลังงานในอนาคต และสร้างความเข็มแข็งในการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศร่วมกัน ดูเหมือนบันทึกความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นไปเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่สองบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านพลังงาน มากกว่าจะเป็นดั่งสโลแกนที่ได้ยินจนคุ้นหูว่า “พลังไทย เพื่อไทย”  แน่นอนว่าความร่วมมือของทั้งสองบริษัทจะได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานอย่าง ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ที่นอกจากจะเป็นประธานในงานและพยานคนสำคัญแล้ว ยังให้ความเห็นที่เสมือนเป็นแรงสนับสนุนแก่บริษัทพลังงานและบริษัทไฟฟ้าของไทยที่เป็นไปเพื่อรองรับอนาคตของประเทศ การศึกษาเพื่อดำเนินโครงการด้านพลังงานที่สำคัญและเป็นทิศทางพลังงานในอนาคตที่จำเป็นของไทย ทั้งก๊าซธรรมชาติเหลว และถ่านหิน “พลังความร่วมมือของแต่ละบริษัทจะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนที่อยู่ในไทยและในต่างประเทศได้ทั้งในวันนี้และอนาคต ที่สำคัญที่สุดคือเป็นการแสดงถึงศักยภาพของบริษัทพลังงานและบริษัทไฟฟ้าของไทย ที่สามารถสร้างโครงข่ายพลังงานในระดับชาติ ด้วยความมุ่งมั่นในบทบาทหน้าที่สร้างเสถียรภาพความมั่นคงด้านพลังงาน สร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และความยั่งยืนด้านพลังงานของสังคมไทย” แนวความคิดดังกล่าวดูเหมือนจะตรงกับสโลแกนของ คสช. ที่ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” การขยับของสองบริษัทที่มีธงนำด้านพลังงาน

Read More

ฝันของ Medical Hub กลางสมรภูมิอุตสาหกรรมยาไทย

  ความเจ็บป่วยเป็นสิ่งธรรมดาของมนุษย์ และเมื่อเจ็บป่วยก็ต้องพยายามหาทางแก้ไข บำบัด เพื่อความอยู่รอด ยาถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มีความสำคัญต่อมนุษย์  ธุรกิจยาเป็นธุรกิจที่ค่อนข้างใหญ่ และมีมูลค่าสูงถึงหนึ่งแสนแปดหมื่นล้านบาท และมีแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 15% ต่อปี ทั้งนี้ได้แบ่งเป็นตลาดยาในโรงพยาบาลประมาณ 80% และเป็นตลาดร้านขายยา ประมาณ 20% โดยที่ตลาดโรงพยาบาลนั้นแบ่งเป็นโรงพยาบาลรัฐ 80% โรงพยาบาลเอกชน 20% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าตลาดยานั้นยังคงเน้นไปที่โรงพยาบาลรัฐเป็นส่วนใหญ่ และเป็นการใช้รักษาโรคต่อเนื่อง เช่น ยาเบาหวาน  ยาความดันโลหิต ยาโรคหัวใจ เป็นต้น ท่ามกลางการแข่งขันอย่างรุนแรงทั้งผู้ผลิตไทยและต่างชาติ ปัจจุบันบริษัทผลิตยาในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ บริษัทผู้ผลิตยาข้ามชาติ (MNCs หรือ Multinational Companies)  อาทิ ยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น และบริษัทยาที่ผลิตในประเทศ  ซึ่งส่วนมากจะเป็นยาสามัญทั่วไป ในขณะเดียวกัน ที่ผ่านมาพบว่ายอดขาย 70% ของตลาดยามาจากบริษัทข้ามชาติเพราะมักจะเป็นยาที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ มีพื้นฐานมาจากการวิจัยพัฒนา ซึ่งมีการนำเข้าก็มี 2 แบบคือ การให้

Read More

“มาม่า” พลิกกลยุทธ์ บุก “ราเมน” สู้วิกฤต

 การเปิดตัวธุรกิจร้านอาหารราเมนญี่ปุ่น “KAIRI KIYA (ไคริคิยะ)” ของ “ไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์” เป้าหมายหนึ่งเป็นการเปิดกลยุทธ์แก้พิษเศรษฐกิจและปัญหาหนี้ครัวเรือนพุ่งสูง ที่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มรากหญ้าอย่างจังจนภาพรวมตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมูลค่ากว่า 16,000 ล้านบาท เติบโตติดลบ และยอดขาย “มาม่า” เติบโตต่ำสุดในรอบ 42 ปี “มาม่า ซองละ 6 บาท ราเมน ชามละ 150 บาท เพิ่มมูลค่าตัวนี้ดีกว่า!!” เวทิต โชควัฒนา ในฐานะกรรมการรองผู้อำนวยการบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) และกรรมการบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป “มาม่า” กล่าวกับ “ผู้จัดการ360  ํ”  แน่นอนว่า หากเปรียบเทียบสถานการณ์การเติบโตทางธุรกิจ เวทิตยอมรับว่าตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหรือ “บะหมี่ซอง” ราคาซองละ 6 บาท มีลูกค้าระดับรากหญ้าเป็นกลุ่มหลักและเป็นสินค้าทั่วไปที่แมสมากๆ  แม้มาม่าพยายามใช้กลยุทธ์เพิ่มมูลค่าสินค้าหลากหลายรูปแบบ เช่น ออกสินค้ากลุ่มพรีเมียมอย่างมาม่าราเมง บะหมี่อบแห้ง “เมนดาเกะ”

Read More

“แฟมิลี่มาร์ท” ติดปีกแฟรนไชส์ ฝ่าด่านสมรภูมิล้อมกรอบ

  สงครามคอนวีเนียนสโตร์ 3 ค่ายยักษ์ เปิดศึกช่วงชิงทำเลผุดสาขาใหม่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะเบอร์ 2 อย่าง “แฟมิลี่มาร์ท” กำลังเจอโจทย์หินล้อมกรอบ ทั้งเบอร์ 1 เซเว่น-อีเลฟเว่น ที่เร่งปูพรมสาขาถี่ยิบทุกพื้นที่ แถมเบอร์ 3 มาแรง “ลอว์สัน 108” ซึ่งทุนญี่ปุ่นประกาศรุกตลาดต่อเนื่อง อาศัยจุดขายความแปลกใหม่ฉีกตลาดร้านสะดวกซื้อและเตรียมเปิดศึกแฟรนไชส์ในเร็ววันด้วย  ยังไม่นับค่าย “เทสโก้โลตัส” หลังเปิดโมเดลคอนวีเนียนสโตร์ “ร้าน 365” ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ประเดิม 5-6 สาขาในทำเลใจกลางเมือง เช่น ประตูน้ำ ทองหล่อ ตลาดมหาสิน-บางนา ด่านสำโรง และสาขามหาวิทยาลัยศรีปทุม ขณะนี้กำลังวางทิศทางขยายธุรกิจอย่างเข้มข้น  ส่วนค่ายซีพี นอกจาก “เซเว่น-อีเลฟเว่น” ยังมี “ซีพีเฟรชมาร์ท” ที่พยายามพัฒนาและแตกไลน์ร้านสไตล์คอนวีเนียนสโตร์โฉมใหม่ ล่าสุด เปิดตัวร้านซีพีเฟรชมาร์ท คอนเซ็ปต์ Modern Home Meal Solution จับคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบการปรุงอาหารมื้อง่ายๆ

Read More

WB Organic Farm ธุรกิจสีเขียวของ “สหพัฒน์”

  สหพัฒน์ใช้เวลากว่า 5 ปี ผ่าตัด “แพนเอเซียฟุตแวร์” ยกเครื่องธุรกิจผลิตรองเท้า ซึ่งเป็นกิจการดั้งเดิมตั้งแต่ยุคนายห้างเทียม โชควัฒนา ปรับกระบวนทัพพลิกสถานการณ์จาก “ขาดทุน” เริ่มเห็น “กำไร” และตั้งเป้าให้เป็นหัวขบวนบุกธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยประเดิมเปิดฉากรุกตลาดผลิตภัณฑ์ผักออร์แกนิก “WB Organic Farm” เป็นหัวขบวนแรก ก่อนหน้านี้ ในช่วงการปรับโครงสร้างองค์กรและคณะกรรมการบริหารบริษัทอยู่ระหว่างพิจารณาการลงทุนในธุรกิจใหม่ที่สร้างผลตอบแทนอย่างยั่งยืน มีกระแสข่าวว่า เครือสหพัฒน์มีการเสนอและศึกษาแผนการลงทุนธุรกิจใหม่ 2-3 ธุรกิจ โดยหนึ่งในนั้นน่าจะเป็นธุรกิจพลังงานทดแทน เนื่องจากมีบริษัทในเครือ คือ  บริษัท สหโคเจน (ชลบุรี) จำกัด (มหาชน) หรือ SCG เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าและไอน้ำ มีบริษัทภายใต้การบริหาร 3 แห่ง มีกำลังติดตั้งมากกว่า 200 เมกะวัตต์ ได้แก่ โรงไฟฟ้าศรีราชา โรงไฟฟ้าลำพูน และโรงไฟฟ้ากำแพงเพชร  ขณะเดียวกันมีกลุ่มทุนใหม่สนใจเข้าร่วมลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เนื่องจากสหพัฒน์มีที่ดินและพื้นฐานการดำเนินธุรกิจด้านพลังงาน รวมทั้งมีโอกาสทำรายได้และกำไรสูง  แต่อาจเป็นเพราะนโยบายด้านพลังงานของรัฐไม่นิ่งหรือสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ยังไม่พ้นจุดเสี่ยงทำให้การลงทุนโครงการขนาดใหญ่ถูกพับเก็บไว้ก่อน  สุนทรา ฐิติวร ผู้จัดการฝ่ายบริหารธุรกิจ บริษัท แพนเอเซียฟุตแวร์

Read More

ทางแพร่งแห่ง “ผังเมืองกรุงเทพฯ” อนุรักษ์สิ่งเก่าหรือพัฒนาสิ่งใหม่

  กรุงเทพมหานครกำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 234 แห่งการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ราชธานีที่ 4 ของสยามประเทศ กระนั้นมหานครแห่งสยามเมืองยิ้มก็ยังไม่หยุดพัฒนา  ทัศนียภาพในกรุงเทพฯ แม้จะไม่สวยงามเป็นระเบียบหากเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วในทวีปเอเชียด้วยกัน คงไม่แปลกเพราะสำนักผังเมืองซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการพัฒนากรุงเทพฯ ให้สวยงาม เป็นระเบียบและน่าอยู่ เริ่มงานด้านผังเมืองกรุงเทพฯ อย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2496 และมี พ.ร.บ. การผังเมืองใช้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2518 แม้จะยังคงใช้จนถึงปัจจุบันแต่ก็เต็มไปด้วยข้อบกพร่องในเรื่องของการบังคับใช้ เนื่องจากรูปแบบการปกครองในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง ความล้าสมัยของ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว ไม่เอื้อประโยชน์ต่อการจัดรูปแบบผังเมืองในบางเรื่อง และทำให้ผู้มีอำนาจหน้าที่พยายามอย่างหนักที่จะผลักดันให้มี พ.ร.บ. การผังเมืองฉบับใหม่ขึ้นมา กระทั่งล่าสุด สนช. มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติการผังเมืองในวาระแรกแล้ว  สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. การผังเมือง มีดังนี้ 1. กำหนดกรอบนโยบายแห่งชาติด้านการผังเมืองและการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีคณะกรรมการนโยบายผังเมืองและการใช้พื้นที่แห่งชาติ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายด้านการผังเมือง โดยบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ โอนกิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ และบุคลากร ฯลฯ ของกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดไปไว้กับสำนักงานคณะกรรมการผังเมืองฯ 2. จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการผังเมืองฯ สังกัดสำนักนายกฯ

Read More

เยาวราช-ตลาดน้อย เส้นขนานบนรอยทางและรางรถไฟ

 ในห้วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านยุคสมัย รวมไปถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในหลายมิติ แม้ความล้ำสมัยของวิทยาการคือตัวแปรสำคัญที่สร้างให้เกิดพลวัตอันจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาในสังคม แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจหมายถึงการคืบคลานเข้ามาแทนที่วัฒนธรรมทางสังคมดั้งเดิม ซึ่งอาจหมายถึงเสน่ห์แห่งวิถีชีวิตของชุมชนที่ตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น เยาวราช ถนนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานแห่งนี้ ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2434–พ.ศ.2443 เพื่อให้เยาวราชเป็นสถานที่สำหรับส่งเสริมการค้า เดิมชื่อ “ถนนยุพราช” และได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า “ถนนเยาวราช” ซึ่งมีชุมชนชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เคยได้ชื่อว่าเป็นย่านธุรกิจการค้าที่สำคัญตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ นอกเหนือไปจากเยาวราช ยังมีอีกหนึ่งชุมชนที่เป็นสถานที่อันเต็มไปด้วยวัฒนธรรมและเสน่ห์ที่ชวนให้ค้นหา แฝงตัวอยู่ในตรอกเล็กๆ บนถนนเจริญกรุง “ตลาดน้อย” ชุมชุนเล็กๆ ที่มีชาวจีนขยายตัวมาจากสำเพ็งเมื่อครั้งที่เศรษฐกิจรุ่งเรือง ด้วยทำเลที่ไม่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยามากนัก สร้างความสะดวกในการสัญจร ประกอบกับมีถนนเจริญกรุงตัดผ่าน อีกทั้งคลองผดุงกรุงเกษมไหลผ่าน จึงไม่แปลกหากย่านนี้จะเคยเป็นย่านการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ ที่สามารถรองรับการค้าได้ทั้งทางบกและทางน้ำ ห้องแถวไม้สองชั้นมีจำนวน 20 กว่าห้อง ที่บรรพบุรุษเคยอาศัยอยู่และใช้พื้นที่หน้าบ้านเป็นแหล่งค้าขายทั้งอาหารพื้นถิ่น โรงน้ำแข็ง โรงกลึง ธุรกิจเซียงกง อัตลักษณ์ที่ทำให้คนภายนอกรู้จักและจดจำตลาดน้อยได้มากขึ้น แม้ว่าในปัจจุบันตรอกนี้จะไม่มีตลาดให้เห็น แต่เมื่อถึงหน้าเทศกาลไหว้บะจ่าง เทศกาลถือศีลกินผัก วันตรุษจีน ชาวตลาดน้อยยังสืบทอดวิถีเดิมจนกระทั่งปัจจุบัน ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลให้ไชน่าทาวน์ไม่ใช่ย่านธุรกิจที่สำคัญของไทยอีกต่อไป อีกทั้งการขยายตัวของระบบคมนาคมแบบรางที่กำลังแทรกตัวเข้ามาแบบก้าวกระโดด แม้ความก้าวหน้าในด้านการคมนาคมจะมีส่วนช่วยให้ชีวิตมีความสะดวกสบายมากขึ้น ซึ่งเป็นตัวช่วยสำคัญในการย่นระยะทางและเครื่องมือในการช่วยประหยัดเวลาได้อย่างดี คำถามในนาทีนี้คือการเข้ามาแทรกตัวของรถไฟใต้ดินท่ามกลางถนนที่อุดมไปด้วยวัฒนธรรมนั้นเป็นเรื่องที่ยอมรับได้หรือไม่อย่างไร  แม้ปัจจุบันจะมีเพียงเส้นทางรถไฟใต้ดินสายสีน้ำเงินเท่านั้นที่กำลังก่อสร้างอยู่ หากแต่ในอนาคตอันใกล้ โครงการรถไฟสายสีม่วง และสายสีแดง ที่กำลังรอการอนุมัติในหลักการและงบประมาณ

Read More

การท่องเที่ยวริมโขง แกร่งและพร้อมเข้าสู่ AEC

  งวดเข้ามาทุกขณะกับการนับถอยหลังเข้าสู่การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ห้วงเวลาที่ผ่านมาหลายฝ่ายต่างเร่งเตรียมความพร้อมเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงและโอกาสที่กำลังจะมาถึง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน ทั้งในบริบทของสังคม เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นอีกฟันเฟืองหลักในวงล้อแห่ง AEC การสร้างความพร้อมและความแข็งแกร่งทางการท่องเที่ยว จึงเป็นสิ่งสำคัญในการนำพาประเทศเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างมีศักยภาพ การศึกษาวิจัยศักยภาพการท่องเที่ยวตามลำน้ำโขงไทย-ลาว เป็นอีกหนึ่งโครงการที่เกิดขึ้นภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. เพื่อพัฒนาและเตรียมความพร้อมให้กับการท่องเที่ยวระหว่างไทย-ลาว-เวียดนาม โดยมีลำน้ำโขงเป็นศูนย์กลาง แม่น้ำโขงที่มีความยาวราว 4,900 กิโลเมตร ติดอันดับ 10 ของแม่น้ำที่ยาวที่สุดในโลกไหลผ่านและเป็นเส้นกั้นพรมแดนประเทศน้อยใหญ่มากถึง 6 ประเทศ ตั้งแต่ จีน พม่า ลาว ไทย เวียดนาม และกัมพูชา อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ร่วมกันระหว่างประเทศสองฟากแม่น้ำโขง หลากหลายด้วยวิถีชีวิตและวัฒนธรรมประจำถิ่น ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวได้อย่างดี “เส้นทางท่องเที่ยวริมฝั่งโขงนครพนม-คำม่วน” คือผลผลิตอย่างเป็นรูปธรรมของความพยายามในการสร้าง จัดการ และพัฒนาให้เกิดแหล่งท่องเที่ยว อันเกิดจากการศึกษาวิจัยศักยภาพการท่องเที่ยวตามลำน้ำโขงไทย-ลาว ที่ผ่านการทำงานร่วมกันระหว่าง สกว. และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทั้งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว รวมถึงผู้ประกอบการท่องเที่ยวภายในท้องถิ่น ผลักดันให้เกิดโปรแกรมการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งชาวเอเชียและยุโรป จากจังหวัดเล็กๆ ทางภาคอีสานของประเทศไทย อย่างจังหวัดนครพนม กับเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ตอนกลางของ สปป.ลาว

Read More