Home > Tellscore

ดิไอคอน ป่วนวงการติดลบ อินฟลูเอนเซอร์ เรตติ้งตก

“อินฟลูเอนเซอร์ พรีเซนเตอร์ คนที่มีชื่อเสียง ต้องเข้าใจธุรกิจมากกว่านี้ ก่อนตกปากรับคำทำสัญญา เพราะมีหลายธุรกิจที่มีทุนสีเทาอยู่เบื้องหลัง ถ้าพรีเซนต์และไม่มีสิ่งนั้นจริงๆ จะถูกเช็กบิลแรงมาก และทำให้ภาพรวมธุรกิจอินฟลูเอนเซอร์เสียหายไปด้วย” สุวิตา จรัญวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เทลสกอร์ จำกัด (Tellscore) หนึ่งในผู้นำอินฟลูเอนเซอร์มาร์เก็ตติ้งแพลตฟอร์ม กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ถึงกรณีบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป ซึ่งถูกกล่าวหาหลอกลวงผู้บริโภคด้วยการให้ร่วมลงทุน และจำหน่ายสินค้าในลักษณะขายตรง เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 และความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ซึ่งถือเป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 โดยใช้กลยุทธ์พรีเซนเตอร์ดาราและพิธีกรชื่อดังโปรโมตธุรกิจ ขณะเดียวกัน การใช้สื่อโซเชียลมีเดียเป็นอาวุธกระจายข่าวสารเข้าถึงผู้คนจำนวนมาก แม้คดีดิไอคอนยังไม่ได้ข้อสรุปทางคดี แต่ถือเป็นกรณีตัวอย่างที่ทำให้วงการอินฟลูเอนเซอร์ต้องสร้างมาตรฐานทั้งในแง่การรับงาน การศึกษาธุรกิจ ไม่ใช่หวังสร้างรายได้ทางเดียว เพราะมีสินค้าและธุรกิจรอรีวิวหรือนำเสนออีกจำนวนมาก “เรื่องนี้มีสองด้าน ทั้งฝั่งประชาชนและอินฟลูเอนเซอร์ พรีเซนเตอร์ ทุกวันนี้ เรายังหลงเชื่อคนอวดรวย ทั้งที่ยุคปัจจุบันไม่มี Quick Win ไม่มีผลตอบแทนรวดเร็ว

Read More

ตลาดคอนเทนต์ครีเอเตอร์บูมหนัก “เทลสกอร์” ตั้งเป้ายอดขายพุ่ง 30%

เรียกว่าบูมอย่างต่อเนื่องเลยทีเดียวสำหรับตลาดคอนเทนต์ครีเอเตอร์ ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดทั้งจำนวนคอนเทนต์ครีเอเตอร์และมูลค่าทางการตลาด จากสถิติของ Linktree พบว่าปัจจุบันมีคอนเทนต์ครีเอเตอร์ประมาณ 200 ล้านคนทั่วโลก หรือประมาณ 3% จากประชากรโลก และมีมูลค่าตลาดถึง 5.5 ล้านล้านบาท มีข้อมูลที่น่าสนใจระบุว่า เพียง TikTok แพลตฟอร์มเดียวก็สามารถสร้างงานและรายได้ให้กับคอนเทนต์ครีเอเตอร์ในฝรั่งเศสได้ถึง 55,000 ล้านบาท ในปี 2023 (GDP ของฝรั่งเศสมีขนาดใหญ่กว่าไทย 5 เท่า และมีผู้ใช้โซเชียลมีเดียน้อยกว่าไทย 8%) อีกทั้งยังพบว่าปี 2024 เป็นปีที่คอนเทนต์ครีเอเตอร์ทั่วโลกเปลี่ยนมาเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์แบบ Full time มากที่สุด สำหรับในประเทศไทยขนาดตลาดคอนเทนต์ครีเอเตอร์อยู่ที่ 45,000 ล้านบาท คาดว่ามีคอนเทนต์ครีเอเตอร์มากถึง 9 ล้านคน ครอบคลุมตั้งแต่ระดับ Nano - Macro - Mega Creator ทั้งที่เป็น Full time และ Part time

Read More

ศึกมาสคอตมาร์เกตติ้ง น้องหมีเนยฉามขวบ จึ้งมาก

ปรากฏการณ์ “น้องหมีเนย” ที่พลิกเปลี่ยนจากมาสคอตโนเนมเดินเหงาๆ กลายมาเป็นไอดอลวัย “ฉามขวบ” ชื่อดังระดับอินเตอร์ มีแฟนคลับต่างชาติเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมายังประเทศไทย ยอมต่อคิวตั้งแต่ตี 5 เพื่อใกล้ชิดกระทบไหล่จนห้างแตก กำลังจุดประกายให้แบรนด์ต่างๆ จับ Mascot Marketing ปรับโฉมมาสคอตที่โด่งดังในอดีตกลับมาฟื้นคืนชีพอีกครั้ง ต้องยอมรับว่า น้องหมีเนยของ Butter bear ร้านขนมหวานในเครือ Coffee Beans by Dao ใช้เวลาสร้างกระแสด้วยคอนเทนต์และสตอรี่ภายใต้รูปลักษณ์น่ารักอวบอ้วน ตะมุตะมิ คอสตูมเก๋ๆ ทั้งชุดผ้ากันเปื้อน ชุดไทย ชุดนางฟ้า และที่สำคัญ คลิปโชว์ทักษะการเต้น Cover เพลงฮิตใน TIKTOK ทั้ง T-POP และ K-POP   โดยเฉพาะเพลงแจ้งเกิด Magnetic ของวง ILLIT เกิร์ลกรุ๊ปชื่อดังจากแดนกิมจิ สร้างกระแสไวรัล ขยายแฟนคลับ “ด้อมน้องเนย” ล้นหลาม ในเวลาต่อมา ยังปล่อยผลงานเพลงเดบิวต์ “It’s

Read More

เจาะอินฟลูเอนเซอร์ 4 หมื่นล้าน แข่งเดือดสู้พิษเศรษฐกิจ-ตัดงบ

แม้ตลาดอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ในประเทศไทยมีมูลค่ามากกว่า 40,000 ล้านบาท อัตราเติบโตเฉลี่ย 20-25% ติดต่อกัน 4 ปีแล้ว รายได้ดี ไม่ต้องเข้าออฟฟิศ ไม่ต้องทำประจำ จนเป็นอาชีพในฝันของใครหลายคน แต่วงการนี้นับวันยิ่งยากและแข่งขันรุนแรงมากขึ้น ท่ามกลางเศรษฐกิจย่ำแย่ บริษัทนับพันรายจ่อปิดตัว ผู้ประกอบการตัดลดงบโฆษณา สุวิตา จรัญวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เทลสกอร์ จำกัด (Tellscore) หนึ่งในผู้นำด้านอินฟลูเอนเซอร์มาร์เก็ตติ้งแพลตฟอร์ม กล่าวกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ว่า ตลาดอินฟลูเอนเซอร่ใกล้ถึงจุดพีกและรายได้ต่อหัวเริ่มน้อยลงกว่าเดิม หลังผ่านยุคเฟ้อช่วงปี 2565 ซึ่งอัตราราคาเฟ้อมาก แพงมาก โดยหลังจากนี้ภาพรวมตลาดจะไม่ได้เติบโตเหมือน 4 ปีที่ผ่านมา อาจย่อตัวลงมาที่ 20% ต้องดูปัจจัยต่างๆ ภาวะเศรษฐกิจโลกและภาวะเศรษฐกิจไทย แต่มั่นใจไม่ต่ำกว่า 20% อย่างไรก็ตาม หากสำรวจรายได้ของเหล่าอินฟลูเอนเซอร์มาจากหลายช่องทาง ได้แก่ รายได้จากแบรนด์และเอเจนซี (Pay per

Read More

สุวิตา จรัญวงศ์ ลุยภารกิจ ดัน “เทลสกอร์” เบอร์ 1 อินฟลูเอนเซอร์

สุวิตา จรัญวงศ์ นักการตลาดสาวลูกครึ่ง ไทย-เยอรมัน อยู่ในวงการ Digital Marketing มานานมากกว่า 20 ปี เห็นการเปลี่ยนแปลงและโอกาสทองตั้งแต่ยังไม่มีใครเรียก Influencer Marketing  รีบจับมาเป็นธุรกิจ เขียนซอฟต์แวร์ตั้งแต่ปี 2548 เพราะมองกลยุทธ์การใช้ดารา นางแบบ นักกีฬา มาเป็นพรีเซนเตอร์สินค้า ไม่รู้ได้อะไรชัดเจน นอกจากภาพข่าวสวยๆ ลงหน้าข่าว อย่างไรก็ตาม Passion การบุกเบิกและปลุกปั้นแพลตฟอร์มใหม่ต้องใช้เวลาหลายปี พิสูจน์ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเองกับมือ กว่าจะได้ผลลัพธ์ชัดเจนและเห็นช่องทางทำรายได้ จนตัดสินใจจับมือกับเพื่อนเปิดบริษัท เทลสกอร์ จำกัด (Tellscore) ผู้พัฒนาเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มบริหารจัดการอินฟลูเอนเซอร์รายแรกของไทย “สื่อโซเชียลมีเดียมาแรงตั้งแต่บริษัท แอปเปิล เปิดตัวไอโฟนรุ่นแรกเมื่อปี 2550 เกิดกระแสการใช้งานโซเชียลอย่างแพร่หลาย Facebook บูมในประเทศไทยแล้ว เกิดเน็ตไอดอลในวงการตลาด ก่อนมาถึงยุคบล็อกเกอร์ อินฟลูเอนเซอร์และครีเอเตอร์ แต่เน็ตไอดอลมักมีภาพลักษณ์ วับๆ แวมๆ จึงไม่ใช่คำที่นักการตลาดปลื้มมากนัก จนเกิดอินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งมาพร้อมกับคำว่า อินฟลูเอนเซอร์ มาร์เก็ตติ้ง

Read More