Home > World Animal Protection

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกชูกระแสสังคมต่อต้านการเลี้ยงสัตว์ป่า

จากข่าวคลิปดัง พาสิงโตนั่งรถชมวิว องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก World Animal Protection เห็นถึงกระแสโซเชียลมีเดียที่พร้อมจับตาและตรวจสอบการเลี้ยงสัตว์ป่า สะท้อนถึงความตระหนักของสังคมที่ร่วมต่อต้านการเลี้ยงสัตว์ป่าซึ่งสอดคล้องกับการทำงานขององค์กรฯ ที่เชื่อมั่นว่า “สัตว์ป่าควรมีชีวิตอยู่ในป่า และไม่ควรถูกนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง” สัตว์ป่าเกิดมาพร้อมสัญชาตญาณสัตว์ป่าที่รักอิสระจึงไม่เหมาะที่จะถูกเอามาเลี้ยงไว้ที่บ้านหรือสถานที่จำกัด ซึ่งส่งผลให้สัตว์ป่าเหล่านี้ถูกจำกัดไม่ให้สามารถแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติได้ ทำให้สัตว์ป่าเหล่านี้เกิดความเครียด และส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ อีกทั้งยังต้องเผชิญความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อจากโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน (Zoonoses) ดังที่เคยเกิดขึ้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 นิค สจ๊วร์ต ผู้อำนวยการฝ่ายแคมเปญสัตว์ป่า องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก กล่าวว่า “เหตุการณ์ทารุณกรรมสัตว์ป่าครั้งนี้ สร้างโอกาสให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายไทยได้อย่างเต็มที่ เพราะสัตว์ป่าไม่ใช่สิ่งของ สิงโตและสัตว์ป่าก็ต่างมีความรู้สึก ปัจจุบันนี้สัตว์ป่าถูกเพาะพันธุ์และขายเพื่อหากำไร ทั้งเพื่อนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงรวมถึงเพื่อกิจกรรมล่าสัตว์ป่า การนำสัตว์ป่ามาเป็นส่วนประกอบของยาแผนโบราณ นำซากสัตว์ป่ามาโชว์ ฯลฯ องค์กรฯ กำลังเรียกร้องให้ยุติการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าเพื่อหากำไร และเหตุการณ์นี้ตอกย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่รัฐบาลทั่วโลกจะต้องเร่งดำเนินการและปกป้องสัตว์ป่าจากการแสวงหาผลกำไรที่โหดร้าย” “องค์กรฯ และผู้สนับสนุนของเราไม่สนับสนุนการผสมพันธุ์สัตว์ป่าเชิงพาณิชย์ ตลอดจนการนำสัตว์ป่าเหล่านั้นมาใช้งานอย่างโหดร้ายทารุณ ผิดธรรมชาติของสัตว์ป่า ที่เห็นได้ชัดคือการแสดงโชว์สัตว์ป่าตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในปัจจุบัน นักท่องเที่ยวต่างชาติรวมไปถึงคนไทยต่างตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้มากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดกระแสต่อต้านการเลี้ยงสัตว์ป่าที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง” องค์กรฯ เห็นถึงความใส่ใจ และการทำงานอย่างรวดเร็วของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อตรวจยึดสิงโตสองตัวที่ปรากฎในข่าว อย่างไรก็ตามองค์กรฯ ยังคาดหวังที่จะได้เห็น

Read More

“Stop Elepains” กางเกงช้างที่เผยอีกด้านความทรมานของช้างไทย พร้อมชวนร่วมยกระดับคุณภาพชีวิตช้างไทย

ไม่เฉพาะกางเกงช้างเท่านั้นที่ได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาเยือนประเทศไทย การแสดงโชว์ช้างยังเป็นไฮไลท์อันดับต้นๆ ที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ รวมถึงคนไทยเองต้องเคยได้ชม และรู้สึกทึ่งในความสามารถของช้างไทย แต่สิ่งที่หลายคนอาจไม่เคยรู้คือเบื้องหลังอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ใช้ช้างเพื่อสร้างความบันเทิง เหล่านี้กลับแฝงไว้ด้วยความโหดร้ายที่ต้องผ่านการฝึกอย่างทารุณตั้งแต่ช้างยังเล็ก ไปจนถึงการถูกบังคับให้ต้องแสดงพฤติกรรมผิดธรรมชาติ อย่าง การเดินสองขา เต้น วาดรูป ฯลฯ เพื่อมอบความบันเทิงให้นักท่องเที่ยว แม้การโชว์อาบน้ำช้างที่ดูเหมือนจะเย็นสบาย แต่แท้จริงแล้ว ช้างต้องถูกบังคับให้อาบน้ำซ้ำๆ วันละหลายๆ รอบ หรือแม้กระทั่งเมื่อจบโชว์แล้ว จะมีกี่คนที่รู้ว่าช้างส่วนใหญ่ต้องถูกล่ามด้วยโซ่สั้นๆ ไว้ในที่แคบ โดยไม่ได้กินอาหารที่หลากหลายเหมือนช้างที่อยู่ในป่า เรื่องราวเบื้องหลังการโชว์ช้างแสนรู้เหล่านี้จึงปรากฏเป็นลวดลายบน กางเกงช้าง “Stop Elepains” แสดงภาพช้างที่ถูกฝึกให้ยืนบนเก้าอี้ตัวเล็กๆ ช้างที่มีรอยแผลตามตัว ช้างนอนหมดแรง และช้างที่มีน้ำตา ซึ่งเป็นลายพิมพ์ที่มีเอกลักษณ์ต่างจากกางเกงช้างตามท้องตลาดทั่วไป แคมเปญ “Stop Elepains” The Elephant Pants that Save Elephants’ Lives เกิดจากความร่วมมือของ Dentsu Creative Thailand และ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (ประเทศไทย) หรือ World Animal Protection (Thailand)

Read More

จับตาศึกชิงแฟรนไชส์ซี KFC กับความหวังยกระดับสวัสดิภาพไก่?

สำนักข่าวรอยเตอร์ได้รายงานความเคลื่อนไหวของดีลธุรกิจอาหารครั้งใหญ่ เมื่อ บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด หรือ RD ต้องการขายสิทธิ์การบริหารกิจการ KFC ในประเทศไทยที่บริหารอยู่ราว 240 สาขา สถานการณ์นี้กำลังเป็นที่จับตาในกระแสธุรกิจอย่างร้อนแรง แต่ไม่ว่าบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง บริษัท เซ็นทรัล เรสเตอรองส์ กรุ๊ป หรือ บริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (บริษัทในเครือไทยเบฟเวอเรจ) ซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจการแฟรนไชส์ KFC ในประเทศไทยอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว จะกลายมาเป็นผู้ถือครองสิทธ์แฟรนไชส์ KFC เจ้าใหญ่ที่สุดในประเทศไทยหากมีการปิดดีลธุรกิจกับ RD สำเร็จ แต่กระนั้นในมุมมองความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคและสังคมต่อแหล่งที่มาของเนื้อไก่ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลัก รวมถึงนโยบายที่คำนึงถึงการยกระดับมาตรฐานสวัสดิภาพไก่ จะยังมีความหวังอยู่หรือไม่ KFC แบรนด์ไก่ทอดระดับโลกยอดนิยมของคนไทยนั้น ซึ่งมี บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นเจ้าของและดำเนินการขายสิทธิ์แฟรนไชส์ ซึ่งมีสาขาทั้งหมด 22,621 สาขา (ปี พ.ศ.

Read More

การล่าสัตว์เพื่อรางวัล กำลังฉุดอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของแอฟริกาใต้ให้เสียหาย

เผยงานวิจัยล่าสุด : การล่าสัตว์เพื่อรางวัล กำลังฉุดอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของแอฟริกาใต้ให้เสียหาย งานวิจัยล่าสุดเปิดเผยให้เห็นว่าประชาชนในแอฟริกาใต้และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่างต้องการเห็นการยุติการล่าสัตว์เพื่อรางวัลหรือเพื่อนำซากสัตว์มาตกแต่งหรือเป็นของที่ระลึก (Trophy Hunting) และพร้อมสนับสนุนกิจกรรมที่จะสร้างเสริมประสบการณ์ที่เป็นมิตรกับสัตว์ป่า ซึ่งเป็นผลจากการปรึกษาหารือแบบเปิดกว้างของแอฟริกาใต้เกี่ยวกับร่างสมุดปกขาวเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพของแอฟริกาใต้อย่างยั่งยืน (Conservation and Sustainable Use of South Africa’s Biodiversity White Paper) องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก World Animal Protection ได้จัดทำวิจัยเกี่ยวกับทัศนคติของประชาชนต่อการล่าสัตว์เพื่อรางวัลโดยได้สำรวจประชาชนจากทั่วโลกจำนวน 10,900 คน ที่รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจากหลายๆประเทศที่เดินทางมาเที่ยวในแอฟริกาใต้เป็นประจำ รวมถึงประชาชนในแอฟริกาใต้ โดยผลสำรวจเผยให้เห็นว่าผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมดมีความรู้สึกต่อต้านอย่างรุนแรงต่อกีฬานองเลือด และยินดีให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อปกป้องสัตว์ป่าที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ โดยผ่านการท่องเที่ยวทางเลือกอื่นๆที่ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตสัตว์ เช่น การท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบต่อสัตว์ป่า ผลการวิจัย*ที่สำคัญเปิดเผยให้เห็นว่า : · ร้อยละ 84 ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เห็นว่า รัฐบาลแอฟริกาใต้จะต้องให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสัตว์ป่ามากกว่าการล่าสัตว์เพื่อรางวัล · ร้อย 74 ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เห็นว่า การกำหนดนโยบายโดยมีการการล่าสัตว์เพื่อรางวัลเป็นนโยบายหลัก จะเป็นการทำลายชื่อเสียงของแอฟริกาใต้ และทำให้นักท่องเที่ยว ร้อยละ 72 จะไม่เดินทางมาท่องเที่ยวที่แอฟริกาใต้ · คนแอฟริกาใต้ 7 ใน 10

Read More

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกเห็นพ้องสหภาพยุโรป ออกกฎเข้มจำกัดการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ฟาร์ม

เมื่อช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา สหภาพยุโรปบังคับใช้กฎหมายใหม่ที่มีผลในการห้ามใช้ยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่องในสัตว์ฟาร์ม องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก World Animal Protection เห็นพ้องว่าการบังคับใช้กฎหมายครั้งสำคัญนี้ถือเป็นความเคลื่อนไหวด้านนโยบายที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดในโลก ในแต่ละปี ทั่วทวีปยุโรปมีการเลี้ยงสัตว์ฟาร์มในกรงขังกว่า 300 ล้านตัว และในแต่ละปีมีการผลิตไก่พันธุ์เนื้อถึง 7,200 ล้านตัว สัตว์เหล่านี้ส่วนใหญ่ต้องทนทุกข์ทรมานในฟาร์มขนาดใหญ่ และได้รับยาปฏิชีวนะทางอาหารหรือน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากวิธีการเลี้ยงที่โหดร้าย ซึ่งกฎระเบียบฉบับใหม่ของสหภาพยุโรปได้กำหนดให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษาสัตว์ที่ป่วยเท่านั้น (ไม่ใช่ให้รวมทั้งคอก) ดังนั้นการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อแก้ปัญหาจากการเลี้ยงสัตว์ฟาร์มที่มีสวัสดิภาพต่ำนับแต่นี้ไปจึงเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ที่ผ่านมาปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็นได้ส่งผลกระทบทำให้เกิดวิกฤตด้านสาธารณสุขทั่วโลก3 ในแต่ละวันมีผู้เสียชีวิตทั่วโลกมากถึง 3,500 คนจากการติดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ (Superbugs) ซึ่งประมาณ 3 ใน 4 ของปริมาณยาปฏิชีวนะที่มีอยู่ทั่วโลกถูกใช้กับสัตว์ฟาร์ม โดยเฉพาะในฟาร์มอุตสาหกรรมที่มีการเลี้ยงดูอย่างทารุณโหดร้าย ในทางกลับกันสัตว์ที่ได้รับการเลี้ยงในฟาร์มที่มีสวัสดิภาพสูงจะมีสุขภาพดีกว่า มีภูมิต้านทานโรคได้ดีกว่า และแทบไม่ต้องพึ่งพายาปฏิชีวนะ เนื่องจากทวีปยุโรปเป็นแหล่งนำเข้าอาหารรายใหญ่ที่สุดของโลก ดังนั้นกฎระเบียบใหม่นี้จะส่งผลกระทบไปยังผู้ผลิตทั่วโลก เนื่องจากสหภาพยุโรปจะสามารถปฏิเสธการนำเข้าสัตว์ที่มีชีวิตหรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อเร่งการเติบโตของสัตว์ สหภาพยุโรปจะดำเนินการบังคับใช้กฎระเบียบใหม่นี้สำหรับผลิตภัณฑ์จากสัตว์ทั้งภายในทวีปยุโรปและรวมถึงประเทศคู่ค้า Jacqueline Mills หัวหน้าฝ่ายสัตว์ฟาร์ม องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก กล่าวว่า “เราพบเห็นสภาพความเป็นอยู่ของสัตว์ฟาร์มในกรงขังที่น่าหดหู่ เช่น ไก่ที่มีอัตราการเจริญโตเร็วมากจนยืนไม่ได้ และลูกหมูก็ถูกตัดตอนอวัยวะอยู่เป็นประจำ สัตว์นับพันล้านตัวที่เกิดในฟาร์มอุตสาหกรรมต้องใช้ชีวิตอย่างทุกข์ยาก นี่อาจทำให้เราได้บริโภคเนื้อสัตว์ราคาถูก แต่เรากลับลืมนึกถึงสิ่งที่ต้องแลกมาด้วยปัญหาสุขภาพของเราเอง” “วันนี้สหภาพยุโรปกำลังเดินหน้าแนวทางใหม่ที่เข้มข้นขึ้นในการแก้ไขปัญหาวิกฤต Superbugs ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ฟาร์มจะต้องยกระดับคุณภาพชีวิตสัตว์ ทุกประเทศทั่วโลกจะต้องลุกขึ้นเผชิญความจริงที่ว่า เราต้องยุติการเร่งผลิตเนื้อสัตว์ที่เต็มไปด้วยยาปฏิชีวนะที่เป็นผลจากการปกปิดปัญหาสวัสดิภาพสัตว์

Read More

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก เปิดตัวเกม Piggy Run ครั้งแรกในไทย ชวนร่วมพาหมูหนีภัยผลักดันสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์ม

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก เปิดตัวเกม Piggy Run ครั้งแรกในไทย ชวนร่วมพาหมูหนีภัยพร้อมผลักดันสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มเพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย (World Animal Protection) เดินหน้ายกระดับสวัสดิภาพสัตว์ต่อเนื่อง พร้อมชวนประชาชนร่วมแก้ปัญหาสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์ม ผ่านการร่วมเล่นเกม “Piggy Run” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนเพื่อนำมาสู่การผลักดันด้านสวัสดิภาพสัตว์และยกเลิกการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคแบบรวมกลุ่มในสัตว์ฟาร์ม อันจะส่งผลต่อการเกิดวิกฤติเชื้อดื้อยาที่เป็นอันตรายต่อชีวิตคนจำนวนมาก นายโชคดี สมิทธิ์กิตติผล ผู้จัดการแคมเปญ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก กล่าวว่า “ปัจจุบันสัตว์ในฟาร์มอุตสาหกรรมยังต้องทนทุกข์ทรมานจากวิธีการเลี้ยงที่ขัดต่อสวัสดิภาพสัตว์ เช่น การใช้กรงขังคอกทั้งชีวิต หรือการตัดตอนอวัยวะอย่างเจ็บปวด เป็นต้น วิธีการเหล่านี้นำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวนะจำนวนมหาศาลเพื่อป้องกันความเจ็บป่วยจากสภาพความเป็นอยู่ที่โหดร้าย และนำไปสู่การเกิดเชื้อดื้อยาในฟาร์มสัตว์อุตสาหกรรมและส่งตามายังผู้บริโภค รวมถึงแพร่กระจายสู่แหล่งน้ำและสิ่งแวดล้อม เกม Piggy Run จึงเป็นการจำลองให้เห็นว่าสัตว์ฟาร์มต้องเจออะไรบ้าง โดยบอกเล่าผ่านหมูน้อย Piggy โดยที่ผู้เล่นต้องเผชิญความท้าทายด้วยการขยับหัวเพื่อช่วยให้หมูรอดจากภัยต่างๆ ซึ่งรับรองว่าทุกคนจะตื่นเต้นท้าทายกับสถานการณ์ในเกมพร้อมกับการได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการณรงค์ส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ฟาร์มและลดการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคไปพร้อมกัน” เกม Piggy Run เป็นเกมแรกในประเทศไทยที่เปิดโอกาสให้ผู้เล่นสามารถมีส่วนร่วมในการช่วยหมูให้รอดจากภัยร้ายต่างๆ โดยสถานการณ์ในเกมสะท้อนมาจากปัญหาการเลี้ยงหมูในฟาร์มอุตสาหกรรมที่ยังความใส่ใจด้านสวัสดิภาพ ทำให้ฟาร์มอุตสาหกรรมจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะแบบเกินความจำเป็นในฟาร์มเพื่อป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้น โดยปราศจากการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุซึ่งมาจากการเลี้ยงที่ไม่ใส่ใจสวัสดิภาพสัตว์นั่นเอง โดยปัจจุบันวิกฤติเชื้อดื้อยาเป็นปัญหาระดับโลกที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาปีละกว่า 38,000 คนหรือมีผู้เสียชีวิตทุกๆ 15 นาที องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกจึงขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมเล่นเกม Piggy Run

Read More

วันช้างโลก – ผุดโฆษณาหยุดใช้ช้างสร้างความบันเทิง

วันช้างโลก - ผุดโฆษณาหยุดใช้ช้างสร้างความบันเทิง ชูค่านิยมท่องเที่ยวต้องไม่ทำร้ายช้างโดยองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก เนื่องในวันช้างโลก 12 สิงหาคม องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World Animal Protection) เปิดตัวสื่อประชาสัมพันธ์ภายใต้แคมเปญ Elephants Not Entertainers มุ่งสร้างค่านิยมใหม่ของการท่องเที่ยวแบบไม่ทำร้ายช้าง พร้อมรณรงค์หยุดการนำช้างมาทำกิจกรรมสร้างความบันเทิง สอดรับกับความพยายามปรับปรุงสวัสดิภาพช้างอย่างเป็นระบบผ่านการยื่นร่าง พ.ร.บ.ช้างไทย เข้าสู่รัฐสภา นางสาวโรจนา สังข์ทอง ผู้อำนวยการองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย กล่าวว่า “จุดประสงค์ของการเปิดตัวโฆษณารณรงค์ดังกล่าว เนื่องมาจากทุกวันนี้ในประเทศไทยมีช้างราวๆ 2,800 ตัวที่ถูกใช้ในกิจกรรมเพื่อความบันเทิง แต่เบื้องหลังที่นักท่องอาจไม่เคยรู้ คือ การพรากลูกช้างจากแม่ เพื่อนำมาฝึกตั้งแต่ยังเด็ก โดยช้างจะถูกบังคับ กักขัง ถูกขอสับซ้ำๆ ทั้งล่ามโช่ ทำร้าย ใช้งานหนัก เพื่อให้หวาดกลัวมนุษย์และเชื่องพอที่จะแสดงกิจกรรมที่ผิดธรรมชาติ การที่นักท่องเที่ยวร่วมชื่นชมการแสดงของช้างแสนรู้เป็นการสนับสนุนให้ช้างต้องถูกทรมานทางอ้อมโดยที่เราไม่รู้ตัว” “องค์กรฯ มีเป้าหมายที่อยากเห็นช้างเลี้ยงรุ่นที่มีอยู่ในปัจจุบันได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด และไม่มีการผสมพันธุ์เชิงพาณิชย์อีก อยากเห็นช้างที่เป็นสัตว์ป่า ได้รับการปกป้องในถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติของพวกเขา ถ้าคุณรักช้าง ทุกคนต้องช่วยกันปกป้องพวกเขาให้ได้ใช้ชีวิตตามธรรมชาติ แต่หากอยากเที่ยวอยากชมช้างจริงๆ แนะนำให้ศึกษาช้างในแหล่งธรรมชาติอย่างอุทยานแห่งชาติหรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือปางช้างที่เป็นมิตรต่อช้างซึ่งมีมาตรฐานด้านสวัสดิภาพสูง” โฆษณารณรงค์ชุดนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นเสียงสะท้อนสำหรับช้างเท่านั้น แต่ต้องการสร้างความตระหนักให้กับคนดูเห็นว่า เบื้องหลังของการแสดงช้างที่ดูน่ารักน่าเอ็นดู

Read More