Home > vietnam (Page 2)

ซินจ่าว ซาปา ทักทายเมืองแห่งสายหมอก

 AEC Leisure อากาศเย็นปะทะใบหน้าทันทีที่ก้าวลงจากรถ ทะเลสาบกว้างกลางเมืองฉายภาพสะท้อนภูเขาน้อยใหญ่ที่โอบล้อมเมืองอยู่โดยรอบ ม่านหมอกที่แผ่คลุมเมืองและภาพชาวเขาเผ่าต่างๆ ในชุดประจำเผ่าที่สร้างสีสันและชูธรรมชาติรอบข้างให้งดงามมีเสน่ห์มากยิ่งขึ้น ทำให้ไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมสถานที่แห่งนี้จึงเป็นหนึ่งหมุดหมายสำคัญในแผนที่ท่องเที่ยวของใครหลายคน “ซาปา” เมืองแห่งขุนเขาและสายหมอก สถานที่ที่นักท่องเที่ยวหลายคนอยากไปเยือน ยิ่งเข้าช่วงฤดูหนาวอย่างนี้ด้วยแล้ว เชื่อแน่ว่า ซาปาจะเป็นจุดหมายของหลายๆ คนที่ต้องการสัมผัสลมหนาว สายหมอก และธรรมชาติที่งดงาม ห่างจากกรุงฮานอยเมืองหลวงของเวียดนามไปทางทิศเหนือประมาณ 350 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของเมือง “ซาปา” (SaPa) ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดลาวไก (Lao Cai) จากฮานอยเราสามารถเดินทางมายังซาปาได้ทั้งทางรถยนต์และรถไฟ แต่ที่ได้รับความนิยมและสะดวกสบายที่สุดเห็นจะเป็นการใช้บริการรถไฟตู้นอน สามารถหาซื้อตั๋วรถไฟได้ตามโรงแรมหรือบริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่าย รถไฟจะออกจากฮานอยช่วงหัวค่ำ และมาถึงจังหวัดลาวไกตอนเช้า จากลาวไกต้องต่อรถตู้เพื่อเดินทางไปซาปาอีกราวๆ 1 ชั่วโมง พลันที่ก้าวลงจากรถอากาศหนาวเย็นอันเป็นเอกลักษณ์ของซาปาก็เข้ามาทักทายผู้มาเยือนแทบจะในทันที ด้วยความที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,650 เมตร และเป็นดินแดนแห่งขุนเขาจึงทำให้ซาปาเป็นเมืองที่มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี ยิ่งช่วงฤดูหนาวบางปีที่หนาวจัดที่นี่จะถูกปกคลุมด้วยหิมะ สร้างภาพงามที่หลายคนอยากมาสัมผัสด้วยตัวเอง ในอดีตซาปาคือเมืองตากอากาศของเจ้านายชั้นสูงชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาปกครองเวียดนามในยุคอาณานิคม แต่ความจริงเมืองและผู้คนต่างตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่มาก่อนที่ชาวตะวันตกจะเดินทางมาพบ ซึ่งทุกวันนี้เรายังคงได้เห็นร่องรอยของเจ้าอาณานิคมที่ทิ้งไว้ ทั้งสถาปัตยกรรมของอาคารบ้านเรือนและการวางผังเมืองแบบเฟรนช์โคโลเนียล และที่โดดเด่นเห็นจะเป็น “โบสถ์คาทอลิก” เก่าแก่กลางเมืองที่ยังใช้งานมาถึงปัจจุบัน จากเมืองตากอากาศสมัยอาณานิคมนานวันเข้าซาปาก็กลายเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวมากขึ้น ทั้งชาวเวียดนามเองที่มักจะหาเวลาในช่วงวันหยุดมาพักผ่อนที่นี่ รวมถึงนักท่องเที่ยวชาติต่างๆ ด้วยเช่นกัน เมื่อมีการขยายตัวด้านการท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ นานา ทั้งโรงแรมที่พักหลายระดับ ร้านอาหารหลากสัญชาติ

Read More

Dien Bien Phu รอยประทับแห่งสงคราม

 สมรภูมิรบเดียนเบียนฟู การเผชิญหน้าครั้งสำคัญในสงครามอินโดจีน ระหว่างกองทัพทหารฝรั่งเศสในฐานะเจ้าอาณานิคมกับกองทัพเวียดมินห์ของขบวนการกู้ชาติเวียดนาม ในฐานะผู้ดิ้นรนเพื่อให้หลุดพ้นจากการเป็นประเทศอาณานิคม สงครามที่ชาวเวียดนามภาคภูมิใจว่านำมาซึ่งเอกราชของชาติอย่างแท้จริง แต่เป็นสงครามที่ฝรั่งเศสเองไม่อยากจะจดจำ กาลเวลาผ่านมาแล้วหลายทศวรรษ วันนี้เราจะไปสัมผัสร่องรอยที่ยังหลงเหลืออยู่ของการสู้รบในครั้งนั้น เดียนเบียนฟู (Dien Bien Phu) คือเมืองหนึ่งในจังหวัดเดี่ยนเบียนตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเวียดนาม ห่างจากกรุงฮานอยประมาณ 200 กิโลเมตร ทิศตะวันตกอยู่ใกล้กับชายแดนแขวงพงสาลีของประเทศลาว  เดียนเบียนฟูมีชื่อเสียงและเป็นที่จดจำเนื่องจากเป็นสมรภูมิรบอันโด่งดังระหว่างฝรั่งเศสกับกองกำลังเวียดมินห์ที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม–พฤษภาคม ค.ศ.1954 ลงเอยด้วยความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสจนต้องถอนกำลังออกจากเวียดนามเหนือ และถือเป็นการสิ้นสุดลงของสงครามอินโดจีนครั้งแรก เราเดินทางมายังเมืองเดียนเบียนฟูผ่านทางประเทศลาว ลัดเลาะมาเรื่อยๆ จากเวียงจันทน์ เข้าโพนสะหวัน เชียงขวาง ต่อไปยังซำเหนือ เวียงไซย เมืองงอย ล่องเรือต่อไปยังเมืองขวา ก่อนที่จะนั่งรถข้ามชายแดนต่อมายังเมืองเดียนเบียนฟู เป็นเส้นทางที่ได้สัมผัสวิถีชีวิตและธรรมชาติที่ยังงดงามของลาว  บางช่วงบางตอนยังเป็นเส้นทางที่เกี่ยวโยงกับสงครามอินโดจีน อย่างแขวงเชียงขวางที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของลาวซึ่งถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศ มีชายแดนติดกับเวียดนาม เป็นเส้นทางในการลำเลียงกองกำลังและอาวุธยุทโธปกรณ์จากเวียดนามเหนือมาสู่ขบวนการปะเทดลาว รวมถึง “ถ้ำท่านผู้นำ” ที่เมืองเวียงไซย อดีตศูนย์บัญชาการใหญ่ของกองทัพปลดปล่อยประเทศลาว ที่ในสมัยสงครามอินโดจีน ผู้นำขบวนการปลดปล่อยประเทศลาว ได้ใช้สถานที่แห่งนี้เป็นฐานที่มั่นและศูนย์บัญชาการใหญ่เพื่อต่อต้านการรุกรานจากต่างชาติ ที่ซึ่งสงครามยังคงทิ้งร่องรอยของมันไว้ให้เราเห็น และครั้งนี้เราจะไปที่เดียนเบียนฟู อีกหนึ่งจิ๊กซอว์สำคัญของภาพสงครามอินโดจีน จากเมืองขวาของลาวมีรถบัสนำเราไปสู่เดียนเบียนฟูของเวียดนามผ่านทางด่าน Tay Trung ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5-6 ชั่วโมง เพราะเป็นทางขึ้นเขาถนนแคบ และอาจต้องเจอสภาพรถที่ผู้โดยสารและสิ่งของแน่นเอี๊ยดเต็มทุกพื้นที่ของรถ เพราะเป็นอีกหนึ่งเส้นทางที่ทั้งคนลาว คนเวียดนาม รวมถึงนักท่องเที่ยวนิยมใช้ในการเดินทางไปมาระหว่างลาวและเวียดนาม รถบัสขนาดเล็กที่อัดแน่นไปด้วยคนและข้าวของพาเราลัดเลาะไปตามความสูงของเทือกเขาเป็นเวลาหลายชั่วโมง

Read More

การเข้าถึงตลาดพม่าของสินค้าเวียดนาม

นอกจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้นขึ้นเรื่อยๆ เวียดนามกำลังวิเคราะห์อย่างจริงจังถึงการส่งสินค้าเพื่อเข้าไปตีตลาดอันกว้างใหญ่ในพม่า เว็บไซต์หนังสือพิมพ์อุตสาหกรรมการค้า (เวียดนาม) รายงานว่าตั้งแต่ต้นปี 2555 จนถึงทุกวันนี้ ข่าวการปฏิรูปในพม่า ดึงดูดความสนใจของนักลงทุนจากทุกประเทศทั่วโลกมากที่สุด บวกกับการผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรของออสเตรเลีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา จึงเหมือนการเพิ่ม พลังดึงดูดให้แก่ตลาดนี้ นักลงทุนหลายราย กำลังรอคอยคว้าโอกาส “กระโดด” เข้าพม่า นักธุรกิจเวียดนามไม่ยอมหลุดจากแนวโน้มนี้ สินค้าเวียดนามได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น ตามสถิติของสถานเอกอัครราชทูตเวียดนามประจำพม่า 2-3 ปีมานี้ แต่ละปี มีคณะธุรกิจเวียดนามไปพม่ากว่า 200 คณะ ซึ่งเป็นบรรดาคณะทางการอาศัยการสนับ สนุนช่วยเหลือของสถานเอกอัครราชทูตได้แนะนำคู่ค้า แต่ยังไม่รวมถึงคณะปลีกย่อยที่เดินทางไปด้วยตนเอง ดังนั้นเฉลี่ย 2-3 วัน จึงมีหนึ่งคณะที่เดินทางไปเพื่อพบปะติดต่อ การค้า ฝ่าม ถิ โห่ง ทาญ รองอธิบดีกรมเอเชีย-แปซิฟิก กระทรวงอุตสาหกรรมการค้าเวียดนามเปิดเผยว่าตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ ระเบิดที่งานนิทรรศการนานาชาติแห่งหนึ่งเมื่อปี 2548 ประเทศนี้ก็ไม่อนุญาตให้องค์กรต่างประเทศจัดงานแสดงสินค้านานาชาติในพม่า ตั้งแต่ปี 2553-2555 ทุกปี เวียดนามจะได้รับอนุญาตให้เปิดงานแนะนำสินค้าในพม่า ยิ่งกว่านั้น สินค้าเวียดนามได้รับการต้อนรับจากคนพม่าอย่างอบอุ่น

Read More