หวังวัคซีนหนุนจีดีพีโต ช่วยดึงเศรษฐกิจไทยพ้นวิกฤต
การแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ที่ดำเนินมาตั้งแต่เมื่อเดือนเมษายน 2564 ดูจะเป็นปัจจัยเร่งที่ฉุดให้การเติบโตของเศรษฐกิจไทยทรุดหนักลงไปอีก โดยการคาดการณ์ของจีดีพีไทยในปี 2564 ล่าสุดได้รับการประเมินว่าจะอยู่ในระดับที่เติบโตเพียงร้อยละ 0.8-1.6 ต่อปี หลังจากที่การระบาดระลอกที่ 3 มีแนวโน้มว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจมากถึง 5.8 แสนล้านบาท ผลพวงของการระบาดระลอกใหม่ดังกล่าวทำให้กลไกรัฐคงระดับความเข้มข้นของมาตรการควบคุมโรคยาวนานขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ ขณะที่แผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงอุปสงค์ในประเทศได้รับผลทางลบค่อนข้างมาก โดยมูลค่าความเสียหายต่อเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงถึง 4.0-5.8 แสนล้านบาท ซึ่งการระบาดของ COVID-19 ระลอกเดือนเมษายนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศมากกว่า 3 เดือน โดยสถานการณ์การระบาดในประเทศได้แพร่กระจายไปยังหลายคลัสเตอร์ทั่วประเทศ จนเป็นการยากที่จะควบคุมให้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว สะท้อนจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2,000-3,000 คนต่อวัน ข้อมูลที่น่าสนใจในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาอยู่ที่สัดส่วนผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนที่ยังอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 2.3 และกระจุกตัวเพียงบางพื้นที่ ทำให้จำเป็นต้องกลับมาใช้มาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดขึ้นอีกครั้ง ซึ่งย่อมกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก่อนที่การรณรงค์ระดมปูพรมฉีดวัคซีนจะเริ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่ามกลางความสับสนกังวลต่อปริมาณและการกระจายวัคซีนที่กลไกรัฐดำเนินการอยู่ว่าจะสามารถขยับสัดส่วนการฉีดวัคซีนให้เพิ่มมากขึ้นตามเป้าหมายที่รัฐกำหนดไว้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้หลายฝ่ายประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในทิศทางลบหนักหน่วงมากขึ้น เกิดขึ้นจากรูปแบบการแพร่ระบาดที่มีแนวโน้มรุนแรงและยาวนานกว่าที่คาด ส่งผลให้ต้องคงระดับความเข้มข้นของมาตรการควบคุมโรคให้ยาวนานขึ้น ขณะที่แผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่แน่นอนสูงจากการแพร่ระบาดของเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษและอินเดียในหลายประเทศ และการระบาดครั้งใหม่นี้ทำให้เศรษฐกิจและตลาดแรงงานมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ล่าช้ากว่าเดิม การคาดการณ์ผลกระทบต่อเศรษฐกิจในช่วง 4 เดือนระหว่างเมษายนถึงกรกฎาคม คาดว่าอุปสงค์ในประเทศจะเสียหายประมาณ 1.3 แสนล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 0.9 ต่อจีดีพี ซึ่งในกรณีที่เลวร้ายกว่านั้นหากยาวนานไปถึง
Read More